สโมสรฟุตบอลปาร์ติซาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปาร์ติซาน
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลปาร์ติซาน
ฉายาCrno-beli (แดง-ขาว)
Parni valjak (รถบดถนน)
ชื่อย่อFKP
ก่อตั้ง4 ตุลาคม 1945; 78 ปีก่อน (1945-10-04)
สนามปาร์ติซาน สเตเดียม, ออโตโกมานดา, เบลเกรด
Ground ความจุ32,710 ที่นั่ง[1]
ประธานสโมสรมิโลรัด วูเซลิค
หัวหน้าผู้ฝึกสอนโซรัน มิโควิช
ลีกเซอร์เบียนซูเปอร์ลีกา
2022–23อันดับที่ 4
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลปาร์ติซาน (ซีริลลิกเซอร์เบีย: Фудбалски клуб Партизан, สัทอักษรสากล: [partǐzaːn]), หรือรู้จักกันในชื่อ ปาร์ติซานเบลเกรด (เซอร์เบีย: Партизан Београд / Partizan Beograd) หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า ปาร์ติซาน เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศเซอร์เบีย ตั้งอยู่ที่เบลเกรด เป็นส่วนหนึ่งของสโมสรกีฬาปาร์ติซาน[2] ปัจจุบันลงเล่นในเซอร์เบียนซูเปอร์ลีกา โดยพวกเขาอยู่บนลีกสูงสุดมาโดยตลอด พวกเขาคว้าแชมป์ได้ถึง 42 ครั้งจากทุกรายการ แบ่งเป็น ลีกในประเทศ 27 สมัย, ฟุตบอลถ้วยในประเทศ 14 สมัย และมิโตรปาคัพ 1 สมัย[3] ถ้าดูจากตารางคะแนนตลอดกาลของยูโกสลาฟเฟิร์สลีกแล้ว พวกเขาจะอยู่อันดับที่สอง[4]

ทีมปาร์ติซานนั้นก่อตั้งโดยข้าราชการทหารระดับสูงของกองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย (JNA) ในปี 2488 ในเบลเกรดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมกีฬายูโกสลาเวีย[5] โดยที่มีสนามเป็นของตนเองคือ สนามปาร์ติซาน ซึ่งเป็นสนามดั้งเดิมของตนเองที่นับตั้งแต่มีการก่อตั้งทีมขึ้นในปี พ.ศ. 2492[6] โดยทีมปาร์ติซานนั้นได้มีการบันทึกการลงการแข่งขันครั้งแรกในยูฟ่าแชมเปียนลีกเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2498[7] และยังเป็นเป็นสโมสรฟุตบอลบอลข่านและยุโรปตะวันออกทีมแรกที่สามารถเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศถ้วยยุโรปได้ในปีในปี 2509ซึ่งผลการแข่งขันในนัดนั้นทีมปาร์ติซานได้แพ้ให้ เรอัลมาดริด ไป 2-1 [8] ทีมปาร์ติซานถือได้ว่าเป็นคู่ปรับตลอดกาลกับ เรด สตาร์ เบลเกรด โดยการแข่งขันที่ทั้งสองทีมนี้เจอกัน จะถูกเรียกว่าดาร์บีชั่วนิรันดร์ นับเป็นดาร์บีกลางเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุด[9]และยังได้รับการโหวตว่าเป็นแมตซ์ที่มีการปะทะกันที่ดุเดือดและมีความรุนแรงมากที่สุดแมตซ์หนึ่งของโลก[10] โดยในเดือนกันยายน2552หนังสือพิมพ์ของอังกฤษเดลี่เมลได้ให้การแข่งขันระหว่างทีมเรดสตาร์ เบลเกรกกับปาร์ติซาน เบลเกรดเป็นทีมคู่ปรับที่มีการแข่งขันที่ติด1ใน4ของโลก[11] โดยสโมสรนี้ได้รับความนิยมมากทั้งใน ประเทศเซอร์เบีย มอนเตเนโกรและ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบอสเนียเชื้อสายเซริบ์ที่อาศัยอยู่ในเขตของ สาธารณรัฐเซิร์ปสกา และนอกจากนี้ยังมีแฟนบอลของทีมปาร์ติซานที่ยังเป็นอดีตยูโกสลาเวียและชาวเซริบ์โพ้นทะเลอีกด้วย[12]

และนอกจากนี้ทีมฟุตบอลปาร์ติซานยังได้มีอคาเดมี่เยาวชนที่มีชื่อเสียงและมุ่งเน้นในการปั้นนักเตะชาวเซอร์เบียส่งออกเพื่อไปค้าแข้งในลีกประเทศต่างๆของทวีปยุโรป และยังมีการประกาศในเดือนพฤศจิกายน 2558 ได้จัดอันดับให้สโมสรปาร์ติซาน เป็นอีกหนึ่งสโมสรชั้นนำจากการสำรวจ 31 ลีกในยุโรป[13]

ประวัติของสโมสร[แก้]

ช่วงการก่อตั้ง(2488)[แก้]

ทีมปาร์ติซานได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2488 ในกรุงเบลเกรดเป็นการก่อตั้งโดยทหารของกองทัพยูโกสลาเวีย โดยเป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่พวกพ้องซึ่งเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ที่ต่อสู้กับลัทธิฟาสซิสต์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวีย สโมสรก่อตั้งขึ้นและจัดการครั้งแรกโดยกลุ่มเจ้าหน้าทหารระดับสูงของกองทัพยูโกสลาเวียและทหารผ่านศึกจาก สงครามกลางเมืองสเปน ในบรรดาพวกเขามี Svetozar "Tempo" Vukmanović, KočaPopović, Peko Dapčević, Bogdan Vujošević, Mijalko Todorović, Otmar และ Ratko Vujović โดยภายในสองวันหลังจากที่มีการก่อตั้งทีมและได้เริ่มแข่งขันเป็นครั้งแรกของทีมโดยเป็นการแข่งขันกันเองเพื่อที่จะเลือกเซมุนและจบลงด้วยสกอร์ 4-2 โดยFlorijan Matekalo ได้ถูกบันทึกว่าเป็นคนแรกของทีมที่สามารถทำประคูให้แก่ทีมได้โดยมี Franjo Glazer เป็นผู้จัดการทีมคนแรกและในสามสัปดาห์ต่อมาทีมปาร์ติซานได้มีการไปแข่งขันที่ต่างประเทศเป็นครั้งแรก โดยได้ไปเยือน ประเทศเชโกสโลวาเกีย และได้แข่งขันกระชับมิตรจนสามารถเอาชนะ ทีมกองทัพสโลวักไปได้ 3-1 ในเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองในยูโกสลาเวียสิ้นสุดลงยังไม่มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นระบบดังนั้นทีมปาร์ติซาน จึงเล่นเกมกระชับมิตรและการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ การมีส่วนร่วมในยุโรปครั้งแรกของสโมสรเป็นการพบกับ สโมสรกีฬากลางแห่งกองทัพบก มอสโก ซึ่งเป็นทีมตัวแทนที่มาจาก สหภาพโซเวียต ในช่วงเวลานั้น

ในช่วงปี 2489-2501[แก้]

ในปลายเดือนสิงหาคม 2489 ลีกยูโกสลาเวียได้เริ่มก่อตั้งขึ้นมาและทีมปาร์ติซานได้ลงการแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกโดยสามารถเอาชนะทีม โปเพดา สกอเปีย ซึ่งเป็นทีมที่มาจาก สาธารณรัฐสังคมนิยมมาซิโดเนีย 1-0 และจากการที่สโมสรมีชื่อเสียงที่มากขึ้นทำให้กลายเป็นที่ดึงดูดของบรรดานักเตะที่มีฝีเท้าดีจากทั่วประเทศ เช่น Stjepan Bobek, Miroslav Brozović, Zlatko Čajkovski, Kiril Simonovski, Bela Palfi, Franjo Rupnik, Prvoslav Mihajlović, Aleksandar Atanacković, Miodrag Jovanović, Vladimir Firm, Ratko Čolić และ Franjo Šoštarić.และยังได้โค้ชผู้จัดการทีมที่มีฝีมือโดดเด่นชาวฮังการีเชื้อสายยิวอย่าง Illés Spitz และใช้เวลา 14 ปีในการเป็นผู้จัดการทีมของสโมสร และใช้วิธีการฝึกสอนแบบทีมชั้นนำของยุโรปและแท็คติคการเล่นรวมกับทีมที่มีความสามารถทางเทคนิคพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเป็นในการชนะการแข่งขันชิงแชมป์แรก ในช่วงการเปิดฤดูกาลของยูโกสลาเวียลีกในฤดูกาลปี 2489-2490 ซึ่งตามด้วยการชิงถ้วยสโมสรและยังสามารถชนะและเป็นแชมป์ในยูโกสลาเวียลีกในฤดูกาลปี 2491-2492 โดยเกมส์นั้นเป็นทีมปาร์ติซานเล่นในสนามเก่าของสโมสร โอเอฟเค เบลเกรด จนในปี 2492 ทีมปาร์ติซานก็ได้มีสนามรังเหย้าเป็นของตนเองและได้มีการตั้งชื่อสนามว่า JNA stadiumหรือสนามของกองทัพประชาชนแห่งยูโกสลาเวีย(สนามปาร์ติซาน)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Stadium info". Partizan.rs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-09. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
  2. "Crno-beli rođendan" (ภาษาเซอร์เบีย). Sportske.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 17 September 2012.
  3. "Trophies". Partizan.rs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-26. สืบค้นเมื่อ 14 September 2012.
  4. "Tabele-prvi-i-drugi-liga-Jugoslavije" (ภาษาบอสเนีย). Bihsoccer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2012.
  5. "History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-09. สืบค้นเมื่อ 2019-01-11.
  6. "History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-09. สืบค้นเมื่อ 2017-11-05.
  7. "History".
  8. "History".
  9. "Partizan Beograd – The Black and Whites of Belgrade". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 18 September 2012.
  10. "The Eternal Derby: The Story of Europe's Fiercest Football Rivalry".
  11. "THE LIST: The greatest rivalries in club football, Nos 10-1". สืบค้นเมื่อ 27 November 2009.
  12. "Makedonski "grobari" imaju stotinak karata za meč sa Škendijom". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-28. สืบค้นเมื่อ 2019-01-11.{{cite news}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. "Youth training in European football: a comparative analysis".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]