ซีอาร์อาร์ซีฉางชุนเรลเวย์วีฮิเคิลส์
หน้าตา
สำนักงานใหญ่ CRRC | |
ชื่อเดิม | CNR Changchun Railway Vehicles Co., Ltd. (พ.ศ. 2497–2558) |
---|---|
ประเภท | บริษัทจำกัด |
อุตสาหกรรม | ระบบราง |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2497 (1954 | )
สำนักงานใหญ่ | ฉางชุน จี๋หลิน ประเทศจีน |
ผลิตภัณฑ์ | รถไฟ, รถไฟความเร็วสูง, ระบบขนส่งมวลชนเร็ว |
เว็บไซต์ | บริษัท ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ วีฮิเคิลส์ ประเทศจีน |
ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์ วีฮิเคิล (อังกฤษ: CRRC Changchun Railway Vehicles) เป็นบริษัทผลิตขบวนรถไฟสัญชาติจีน โดยเป็นบริษัทลูกของบริษัท ซีอาร์อาร์ซี จำกัด ในขณะที่บริษัท ซีอาร์วี ถือกำเนิดขึ้นในปี 2002 ก็ได้เริ่มก่อตั้งบริษัทที่มีชื่อว่า บริษัท ฉางชุนคาร์ จำกัด เมื่อปี 1954. ต่อมาบริษัทได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ซีเอ็นอาร์ ก่อนที่จะควบรวมกิจการกับบริษัท ซีเอสอาร์ จำกัด เพื่อก่อตั้งบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ในปัจจุบัน. โดยได้ทำการผลิตขบวนรถไฟที่มีความหลากหลายสำหรับลูกค้าในประเทศจีนและต่างประเทศรวมทั้งหัวรถจักร, รถโดยสาร, หัวรถจักรไอน้ำ, รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและรถรางเบา โดยได้จัดตั้งการถ่ายโอนเทคโนโลยีความร่วมมือกับผู้ผลิตหลากหลาย ได้แก่ บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์ตเทชั่น, อัลสตอม และ ซีเมนส์โมบิลิตี้
การใช้งาน
[แก้]ประเทศไทย
- รถไฟฟ้าบีทีเอส
- "EMU-B1" จำนวน 12 ขบวน เพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่และแก้ไขปัญหาคอขวดบริเวณสถานีสะพานตากสิน และ "EMU-B2" จำนวน 5 ขบวน เพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า รวมทั้งหมด 17 ขบวน ซึ่งมีลักษณะภายนอกเหมือนกัน แต่มีจุดที่แตกต่างอยู่เล็กน้อยภายในของขบวนรถ[1] ตัวรถจะประกอบไปด้วย Tc-Car และ M-Car โดย Tc-Car จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ และ M-Car จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำเหล็กปลอดสนิมและอะลูมิเนียม ติดตั้งระบบปรับอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแผนที่นำทางหรือ Dynamic Route Map ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3 ซึ่งปัจจุบันรถไฟฟ้ารุ่นนี้ให้บริการทั้งสายสุขุมวิท และสายสีลม.[note 1]
- "EMU-B3" จำนวน 24 ขบวน เพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทตอนเหนือ ช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต โดยลักษณะตัวถังภายนอกจะเหมือนขบวนรถรุ่นซีเมนส์ โบซันคาย่าดีไซน์ แตกต่างเพียงป้ายไฟ LED แสดงสถานีปลายทาง ลวดลายบริเวณประตูห้อง Driver Cab ไฟสัญญาณข้างตู้ และเลขขบวนรถ. โดยภายในขบวนรถ ได้ออกแบบให้มีลักษณะเดียวกับ EMU-B รุ่นแรก แต่เปลี่ยนแผนที่แสดงเส้นทางจากแบบ LED เป็นแบบ LCD และเพิ่มพนักยืนพิงในขบวนรถแบบเดียวกับขบวนรถรุ่นซีเมนส์ โบซันคาย่าดีไซน์. โดยรับมอบครบทุกขบวนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยขบวนที่ 75-98 ให้บริการแล้วในสายสีลมและสายสุขุมวิท[2][3]
- รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน) ทางการจีนเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้ารุ่น CR400 Series (ฟู่ซิง) พร้อมชุดระบบอาณัติสัญญาณส่งมอบให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยดีไซน์ของตัวรถยังไม่ได้รับการเปิดเผย
ต่างประเทศ
- รถไฟใต้ดินปักกิ่ง
- รถไฟใต้ดินเทียนจิน
- เอ็มทีอาร์ ฮ่องกง
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ รถไฟฟ้า 2 รุ่นนี้ เดิมผลิตที่บริษัท ไชน่าซีเอ็นอาร์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ก่อนที่จะรวมกิจการกับบริษัท ซีเอสอาร์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด เป็นบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุนเรลเวย์ วีฮิเคิลส์ ในปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ความแตกต่างระหว่าง EMU-B1 กับ EMU-B2 - Bangkokbusclub.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-04. สืบค้นเมื่อ 2020-05-16.
- ↑ มาแล้วรถไฟฟ้าบีทีเอสใหม่จากจีน ขบวนแรก จาก 24 ขบวน
- ↑ รถไฟฟ้า BTS EMU-B3 ให้บริการในสายสีลมแล้ว - YouTube
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ซีอาร์อาร์ซีฉางชุนเรลเวย์วีฮิเคิลส์