ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์
ไฟล์:ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์.jpg
เลขาธิการพรรครักประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
18 กุมภาพันธ์ 2553 – 9 มกราคม 2555
ถัดไปสุพัสรา นราแย้ม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 ธันวาคม พ.ศ. 2504 (62 ปี)
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์

ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ (เกิด 24 ธันวาคม พ.ศ. 2504)[1] สมาชิกอดีตสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครักประเทศไทย อดีตเลขาธิการพรรคต้นตระกูลไทย พรรคสู้เพื่อไทย และพรรครักประเทศไทย

การศึกษา[แก้]

ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมต้น จากโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จบชั้นมัธยมปลาย จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นได้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท จากคณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

การทำงาน[แก้]

ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ ประกอบอาชีพเป็นทนายความ เริ่มทำงานประจำที่สำนักงานบำรุงสุวิชา อภิศักดิ์ ต่อมาจึงได้เข้าร่วมงานทางการเมืองร่วมกับพรรคความหวังใหม่ พรรคกิจสังคม และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตที่ 3 สังกัดพรรคถิ่นไทย[1] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้น ได้ย้ายมาร่วมงานการเมืองกับชูวิทย์ และเป็นเลขาธิการพรรคซึ่งชูวิทย์ก่อตั้ง ได้แก่ พรรคต้นตระกูลไทย พรรคสู้เพื่อไทย

ในระหว่างที่ชูวิทย์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งของชูวิทย์ จากนั้น ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 11 สังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งอีก ก็ย้ายกลับมาทำงานกับชูวิทย์ ในการจัดตั้งพรรคการเมือง ชื่อ พรรครักประเทศไทย ซึ่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครักประเทศไทย ในลำดับที่ 2[2] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรกในการเลือกตั้งครั้งนี้

ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรครักประเทศไทย แต่เกิดข้อขัดแย้งกับชูวิทย์ในเรื่องการลาออกจากสมาชิกพรรค โดยชูวิทย์ไม่พอใจที่ชัยวัฒน์ลงมติไว้วางใจพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก และความสนิทสนมกับจตุพร พรหมพันธุ์[3] ชูวิทย์ได้แถลงข่าวพร้อมทั้งนำวิดีโอการสนทนากับชัยวัฒน์ โดยมีใจความว่าชัยวัฒน์ มีส่วนได้ผลประโยชน์จากการสร้างถนนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช[4] วันที่ 31 มกราคม 2556 กกต. มีมติเห็นชอบให้เสนอเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย ของชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ ตามที่คณะกรรมการไต่สวนของกกต.เสนอ ซึ่งความเห็นของคณะกรรมการไต่สวนเห็นว่า การที่ชัยวัฒน์ลงลายมือชื่อในหนังสือลาออกจากเป็นสมาชิกพรรครักประเทศไทยจริง ตามกฎหมายแล้ว ถือว่าเมื่อหนังสือลาออกของชัยวัฒน์ ยื่นถึงนายทะเบียนสมาชิกพรรค การลาออกนั้นเป็นอันสมบูรณ์ จึงส่งผลให้สิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (7)

ในปี พ.ศ.2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในปี พ.ศ.2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง
  2. รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พร้อมนโยบายของพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ สำนักงาน กกต. สืบค้นวันที่ 3 มิถุนายน 2554
  3. "ชูวิทย์"ยื่นหนังสือ กกต. หลัง"ชัยวัฒน์-โปรดปราน"ลาออกสมาชิกพรรค[ลิงก์เสีย]
  4. 'ชูวิทย์'งัดคลิปวิดีโอแฉ ยืนยัน'ชัยวัฒน์'เซ็นลาออกเอง
  5. 150ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อชาติ เด็กจตุพร-ยงยุทธเพียบ
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ ถัดไป
ไม่มี
เลขาธิการพรรครักประเทศไทย
(18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 - 9 มกราคม พ.ศ. 2555)
สุพัสรา นราแย้ม