จูลอ อ็อนดราชี
หน้าตา
จูลอ อ็อนดราชี แด ชีกแซ็นต์กิราย แอ็ต กร็อซนอโฮร์กอ | |
---|---|
นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรฮังการี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1867 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1871 | |
กษัตริย์ | จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 |
ก่อนหน้า | แบร์ตอล็อน แซแมแร |
ถัดไป | แม็ญเฮร์ต โลนย็อย |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ แห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1871 – 8 ตุลาคม ค.ศ. 1879 | |
ก่อนหน้า | ฟรีดริช แฟร์ดีนันท์ ฟ็อน บ็อยสท์ |
ถัดไป | บารอนไฮน์ริช คาร์ล ฟ็อน ไฮเมอร์เล |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน ค.ศ. 1861 – 22 เมษายน ค.ศ. 1869 | |
เขตเลือกตั้ง | ชาโตรอยยออูยแฮ็ย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 มีนาคม ค.ศ. 1823 โอลาฮปอต็อก ราชอาณาจักรฮังการี จักรวรรดิออสเตรีย |
เสียชีวิต | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1890 โวลอสกา จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี | (66 ปี)
เชื้อชาติ | ฮังการี |
พรรคการเมือง | พรรคแดอัก |
คู่สมรส | กอตินกอ แก็นแกฟฟี |
บุตร | ติวอดอร์ อิโลนอ มอโน จูลอ |
ลายมือชื่อ | |
เคานต์ จูลอ อ็อนดราชี แด ชีกแซ็นต์กิราย แอ็ต กร็อซนอโฮร์กอ (8 มีนาคม ค.ศ. 1823 – 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1890) เป็นรัฐบุรุษชาวฮังการี ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีฮังการีในระหว่าง ค.ศ. 1867–1871 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีตั้งแต่ ค.ศ. 1871–1879 อ็อนดราชีเป็นพวกอนุรักษนิยม นโยบายระหว่างประเทศของเขาเน้นไปที่การขยายจักรวรรดิไปยังยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักรและเยอรมันและปราศจากความบาดหมางกับจักรวรรดิออตโตมัน เขามองว่ารัสเซียเป็นประเทศคู่แข่งสำคัญ เนื่องจากนโยบายการขยายอิทธิพลต่อพื้นที่ของชาวสลาฟและออร์ทอดอกซ์ เขาไม่ไว้วางใจขบวนการชาตินิยมสลาฟ โดยพิจารณาว่าเป็นภัยคุกคามต่อจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีที่มีหลากหลายชาติพันธุ์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ จูลอ อ็อนดราชี
- Andrássy's Speeches (ในภาษาฮังการี) edited by Béla Léderer (Budapest, 1891)
- Memoir (ในภาษาฮังการี) by Benjamin Kállay (Budapest, 1891)
- Eulogy (ในภาษาฮังการี) in the Akadémiai Értesítő, Évfolyam 14 (Budapest, 1891)
- Recollections of Count Andrássy (ในภาษาฮังการี), by Manó Kónyi (Budapest, 1891)
- von Wertheimer, Eduard (1922). Encyclopædia Britannica. Vol. 30 (12th ed.). .