จระเข้แคระ
จระเข้แคระ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีน–ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Sauropsida |
อันดับ: | Crocodilia |
วงศ์: | Crocodylidae |
สกุล: | Osteolaemus Cope, 1861 |
สปีชีส์: | O. tetraspis |
ชื่อทวินาม | |
Osteolaemus tetraspis Cope, 1861 | |
ชนิดย่อย | |
| |
การกระจายพันธุ์ของจระเข้แคระ |
จระเข้แคระ (อังกฤษ: dwarf crocodile; ชื่อวิทยาศาสตร์: Osteolaemus tetraspis) เป็นจระเข้ที่พบในทวีปแอฟริกา และเป็นชนิดของจระเข้ที่เล็กที่สุดในโลก ปัจจุบันจากการสุ่มตัวอย่างตรวจพบถึงการระบุประชากรที่แตกต่างกันสามกลุ่มพันธุกรรม ซึ่งการค้นพบนี้อาจยกชนิดย่อยขึ้นเป็นชนิด
ลักษณะ
[แก้]จระเข้แคระเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 1.5 เมตร (5 ฟุต) ยาวสุดเท่าที่มีการบันทึกไว้คือ 1.9 เมตร (6.2 ฟุต) จระเข้โตเต็มวัยมีสีดำ ท้องเหลืองมีแต้มสีดำ จระเข้วัยอ่อนมีขีดสีน้ำตาลอ่อนบนลำตัวและหาง และลวดลายสีเหลืองบนหัว
เนื่องจากมีขนาดเล็กจึงมีความเสี่ยงในการล่า จระเข้ชนิดนี้จึงมีเกล็ดเป็นเกราะหนาบริเวณคอ หลัง และหาง และยังมีผิวหนังแข็งเป็นเกล็ด ที่ท้องและใต้ลำคอ
จระเข้แคระมีจมูกทื่อสั้น กว้าง คล้ายกับเคแมนแคระคูเวียร์ อาจเป็นเพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ชุดฟันประกอบด้วยฟันส่วนหน้าของกระดูกขากรรไกรบน 4 ซี่ ฟัน 12 ถึง 13 ซี่บนขากรรไกรบน และฟัน 14 ถึง 15 ซี่บนกระดูกเดนทารี (Dentary)
O.t. tetraspis มีสีสว่างกว่า มีจุดมากกว่า จมูกไม่เชิดขึ้น และมีเกราะลำตัวมากกว่า O.t. osborni
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
[แก้]จระเข้แคระมีการกระจายพันธุ์ในที่ลุ่มเขตร้อนของพื้นกึ่งซาฮารา ของแอฟริกาตะวันตกทางภาคตะวันตกของแอฟริกากลาง ซึ่งมีการกระจายพันธุ์ได้ซ้อนทับกับจระเข้ปากแหลมทางตะวันตกไกลถึงประเทศเซเนกัล ทางตะวันออกไกลถึงสาธารณรัฐแอฟริกากลาง และทางใต้ถึงประเทศแองโกลา ชนิดย่อย O. t. tetraspis ส่วนมากพบในทางตะวันตกของแหล่งการกระจายพันธุ์ ขณะที่ O. t. osborni พบในป่าฝนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเท่านั้น
จระเข้แคระอาศัยอยู่ในบ่อน้ำตามหนองบึง และพบตามแม่น้ำในป่าฝนบ้างเล็กน้อย มีบึนทึกว่าพบที่บ่อน้ำในทุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งมันจะขุดโพรงเพื่ออาศัยระหว่างฤดูแล้ง
อ้างอิง
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Osteolaemus tetraspis ที่วิกิสปีชีส์
- Osteolaemus tetraspis@Crocodilian Species List
- Osteolaemus tetraspis@Crocodile Status Survey and Conservation Action Plan - Second Edition
- ↑ "Osteolaemus Cope 1860". Paleobiology Database. Fossilworks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.