กิเยร์โม ริกอนโด
กิเยร์โม ริกอนโด | |
---|---|
เกิด | กิเยร์โม ริกอนโด โอร์ติซ 30 กันยายน พ.ศ. 2523 |
สถิติเหรียญโอลิมปิก | ||
---|---|---|
มวยสากลสมัครเล่น | ||
ตัวแทนของ คิวบา | ||
โอลิมปิกฤดูร้อน | ||
ซิดนีย์ 2543 | แบนตัมเวท | |
เอเธนส์ 2547 | แบนตัมเวท | |
มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก | ||
เบลฟาสต์ 2544 | แบนตัมเวท | |
เหมียนหยาง 2548 | แบนตัมเวท | |
มวยสากลสมัครเล่นเวิลด์คัพ | ||
อัสตานา 2545 | แบนตัมเวท | |
มอสโก 2548 | แบนตัมเวท | |
บากู 2549 | แบนตัมเวท | |
กีฬาแพนอเมริกัน | ||
ซานโตโดมิงโก 2546 | แบนตัมเวท | |
กีฬาอเมริกากลางและแคริบเบียน | ||
การ์ตาเฮนา 2549 | แบนตัมเวท | |
มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์คิวบา | ||
2000–06 (7×) | แบนตัมเวท |
กิเยร์โม ริกอนโด โอร์ติซ (สเปน: Guillermo Rigondeaux Ortiz) เป็นนักมวยสากลชาวคิวบา เกิดเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2523 ที่ซานติอาโก เด กูบา ประเทศคิวบา เป็นนักมวยที่ประสบความสำเร็จในการชกมวยทั้งมวยสากลสมัครเล่นและมวยสากลอาชีพ โดยได้เหรียญทองกีฬาโอลิมปิก 2 ครั้ง และยังเป็นแชมป์โลกหลายสถาบัน
มวยสากลสมัครเล่น
[แก้]ริกอนโดติดทีมชาติคิวบาเข้าแข่งขันโอลิมปิก 2 ครั้ง ครั้งแรก โอลิมปิก พ.ศ. 2543 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย รอบแรก ชนะน็อก โมเอซ เซมเซมี จากตูนิเซีย ยก 1 เมื่อ 16 กันยายน รอบสอง ชนะอาร์เอสซี คาซูมาซะ สึจิโมโตะ จากญี่ปุ่น ยก 3 เมื่อ 21 กันยายน รอบก่อนรองชนะเลิศ ชนะ อะอาซี อะกากูว์โลลู จากตุรกี เมื่อ 26 กันยายน รอบรองชนะเลิศ ชนะ คลอเรนซ์ วิลสัน จากสหรัฐ เมื่อ 28 กันยายน รอบชิงชนะเลิศ ชนะ เรียมกุล มาลักเบกอฟ จากรัสเซีย เมื่อ 30 กันยายน ได้เหรียญทอง [1]
ต่อมา ริกอนโดติดทีมชาติเข้าแข่งขัน โอลิมปิก พ.ศ. 2547 ที่เอเธนส์ ประเทศกรีซ รอบแรก ชนะ หลิว ยฺเหวียน จากจีน เมื่อ 17 สิงหาคม รอบสอง ชนะอาร์เอสซี เมห์รุลลอห์ ลาสซี จากปากีสถาน ยก 3 เมื่อ 20 สิงหาคม รอบก่อนรองชนะเลิศ ชนะ เกนนาดี โกวัลยอฟ จากรัสเซีย เมื่อ 23 สิงหาคม รอบรองชนะเลิศ ชนะ บาโฮดีร์จอน ซุลโตนอฟ จากอุซเบกิสถาน เมื่อ 27 สิงหาคม รอบชิงชนะเลิศ ชนะ วรพจน์ เพชรขุ้ม จากไทย เมื่อ 29 สิงหาคม ได้เหรียญทอง[2]
มวยสากลอาชีพ
[แก้]ริกอนโดไม่ไปปรากฏตัวในการแข่งขันกีฬาแพนอเมริกันที่บราซิลใน พ.ศ. 2550 และมีข่าวว่าเขาจะลี้ภัยไปสหรัฐเพื่อชกมวยสากลอาชีพเช่นเดียวกับยัน บาร์เตเลมี, ยูริโอร์กิส กัมโบอา และออดลานิเอร์ โซลิสที่ลี้ภัยไปก่อนหน้านี้ในปีเดียวกัน อีกเดือนต่อมา เขามอบตัวกับตำรวจบราซิลเพื่อกลับคิวบา แต่ประธานาธิบดีฟิเดล กัสโตร ประกาศว่าริกอนโดไม่สามารถติดทีมชาติคิวบาได้อีก ริกอนโดลี้ภัยอีกครั้งผ่านเม็กซิโกไปยังไมอามีใน พ.ศ. 2552 และขึ้นชกมวยสากลอาชีพในที่สุด
ริกอนโดได้ครองแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวทหลายสถาบัน ทั้ง WBA WBO ระหว่าง พ.ศ. 2556 - 2560 ใน พ.ศ. 2560 เขาได้รับยกย่องจากเดอะริงว่าเป็นนักมวยยอดเยี่ยมในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท[3] และนักมวยยอดเยี่ยมปอนด์ต่อปอนด์ในลำดับที่เก้า ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ริกอนโดเลื่อนรุ่นขึ้นมาชิงแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท กับวาซีล โลมาเชนโก ผลการชกริกอนโดแพ้อาร์ทีดียก 6[4]
เกียรติประวัติ
[แก้]- แชมป์ WBA - NABA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท
- ชิง , 18 กันยายน 2552 ชนะทีเคโอ ฌิอูวังนิ อังดราดือ ( บราซิล) ยก 3 ที่ โรงแรมฟอนเทนเบลอ ไมแอมี รัฐฟลอริดา สหรัฐ
- แชมป์เฉพาะกาล WBA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท
- ชิง , 13 พฤศจิกายน 2553 ชนะคะแนน ริการ์โด กอร์โดบา ( ปานามา) ที่ เอทีแอนด์ทีสเตเดียม อาร์ลิงตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 1 , 19 มีนาคม 2554 ชนะทีเคโอ วิลลี เคซีย์ ( ไอร์แลนด์) ยก 1 ที่ ซิตีเวสท์โฮเทล ดับลิน ประเทศไอร์แลนด์
- แชมป์โลก WBA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท
- ชิง , 21 มกราคม 2555 ชนะน็อก ริโค รามอส ( สหรัฐ) ยก 6 ที่ ปาล์มคาสิโนรีสอร์ท ลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 1 , 9 มิถุนายน 2555 ชนะทีเคโอ เทออน เคนเนดี ( สหรัฐ) ยก 5 ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส ลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 2 , 15 กันยายน 2555 ชนะคะแนน โรเบอร์โต มาร์โรควิน ( สหรัฐ) ที่ โธมัสแอนด์แม็กเซนเตอร์ ลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐ (ต่อมา WBA เลื่อนตำแหน่งให้ริกอนโดเป็นซูเปอร์แชมป์)
- แชมป์โลก WBA (ซูเปอร์แชมป์) รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท
- ป้องกันครั้งที่ 1 และชิงแชมป์โลก WBO และ The ring ในรุ่นเดียวกัน , 13 เมษายน 2556 ชนะคะแนน โนนิโต โดแนร์ ( ฟิลิปปินส์) ที่ เรดิโอซิตีมิวสิกฮอล นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 2 , 7 ธันวาคม 2556 ชนะคะแนน โจเซฟ อักเบโก ( กานา) ที่ บอร์ดวอล์กฮอล แอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 3 , 19 กรกฎาคม 2557 ชนะน็อก สด ปูนอินทรียิม ( ไทย) ยก 1 ที่ เดอะเวนีเชียนมาเก๊า มาเก๊า ประเทศจีน
- ป้องกันครั้งที่ 4 , 31 ธันวาคม 2557 ชนะอาร์ทีดี ฮิซาชิ อามางาซะ ( ญี่ปุ่น) ยก 11 ที่ ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ โอซากะ จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 5 , 13 พฤศจิกายน 2553 ชนะอาร์ทีดี เจสซา ดิกเกน ( สหราชอาณาจักร) ยก 2 ที่ ไอซ์อารีนาเวลส์ คาร์ดิฟฟ์ ประเทศเวลส์ สหราชอาณาจักร
- ป้องกันครั้งที่ 6 และชิงแชมป์โลก IBO ในรุ่นเดียวกัน , 17 มิถุนายน 2560 ชนะทีเคโอ มอยเซส โฟลเรส ( เม็กซิโก) ยก 2 ที่ แมนดะเลย์เบย์ ลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐ (ภายหลังคณะกรรมการกีฬารัฐเนวาดาได้เปลี่ยนผลการชกเป็นไม่มีการตัดสิน)[5]
- สละแชมป์
- แชมป์ WBC International (แชมป์เงา WBC) รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท
- ชิง , 21 พฤศจิกายน 2558 ชนะคะแนน เดรียน ฟรานซิสโก ( ฟิลิปปินส์) ที่ แมนดะเลย์เบย์ ลาสเวกัส รัฐเนวาดา สหรัฐ
- สละแชมป์
- แชมป์โลก WBA รุ่นแบนตัมเวท
- ชิง (ที่ว่าง) , 8 กุมภาพันธ์ 2563 ชนะคะแนน ลิโบริโอ โซลิส ( เวเนซุเอลา) ที่ พีพีแอลเซนเตอร์ อเลนทาวน์ รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ
- ถูกปลด 14 สิงหาคม 2564
- เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
- ชิงแชมป์โลก WBO รุ่นจูเนียร์ไลท์เวท , 9 ธันวาคม 2560 แพ้อาร์ทีดี วาซีล โลมาเชนโก ( ยูเครน) ยก 6 ที่ เมดิสันสแควร์การ์เดน นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
- ชิงแชมป์โลก WBO รุ่นแบนตัมเวท , 14 สิงหาคม 2564 แพ้คะแนน จอห์น ริเอล คาซิเมโร ( ฟิลิปปินส์) ที่ ดิกนีตีเฮลท์สปอร์ตพาร์ก คาร์สัน รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
- ชิงแชมป์เงา WBC รุ่นแบนตัมเวท , 26 กุมภาพันธ์ 2565 แพ้คะแนน บินเซนต์ อัสโตรลาบิโอ ( ฟิลิปปินส์) ที่ เอมิเรตส์กอล์ฟคลับ ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-06. สืบค้นเมื่อ 2018-07-14.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-06. สืบค้นเมื่อ 2018-07-14.
- ↑ "All Rankings". Transnational Boxing Rankings Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-06. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
- ↑ "Lomachenko Makes Rigondeaux Quit After Six For TKO Victory". BoxingScene.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-12-11.
- ↑ espn.com