กิเยร์โม ริกอนโด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิเยร์โม ริกอนโด
ชื่อจริงกิเยร์โม ริกอนโด โอร์ติซ
ฉายาEl Chacal
รุ่นแบนตัมเวท
ซูเปอร์แบนตัมเวท
ซูเปอร์เฟเธอร์เวท
เกิด30 กันยายน พ.ศ. 2523
ซานติอาโก เด กูบา
ชกทั้งหมด19
ชนะ17
ชนะน็อก11
แพ้1
เสมอ0
ผู้จัดการอเล็กซ์ โบโนเต
เทรนเนอร์รอนนี ชิลด์ส์
สถิติเหรียญโอลิมปิก
มวยสากลสมัครเล่น
ตัวแทนของ ธงของประเทศคิวบา คิวบา
โอลิมปิกฤดูร้อน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซิดนีย์ 2543 แบนตัมเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2547 แบนตัมเวท
มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เบลฟาสต์ 2544 แบนตัมเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เหมียนหยาง 2548 แบนตัมเวท
มวยสากลสมัครเล่นเวิลด์คัพ
เหรียญทอง - ชนะเลิศ อัสตานา 2545 แบนตัมเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ มอสโก 2548 แบนตัมเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ บากู 2549 แบนตัมเวท
กีฬาแพนอเมริกัน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซานโตโดมิงโก 2546 แบนตัมเวท
กีฬาอเมริกากลางและแคริบเบียน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ การ์ตาเฮนา 2549 แบนตัมเวท
มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์คิวบา
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2000–06 (7×) แบนตัมเวท

กิเยร์โม ริกอนโด โอร์ติซ (สเปน: Guillermo Rigondeaux Ortiz) เป็นนักมวยสากลชาวคิวบา เกิดเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2523 ที่ซานติอาโก เด กูบา ประเทศคิวบา เป็นนักมวยที่ประสบความสำเร็จในการชกมวยทั้งมวยสากลสมัครเล่นและมวยสากลอาชีพ โดยได้เหรียญทองกีฬาโอลิมปิก 2 ครั้ง และยังเป็นแชมป์โลกหลายสถาบัน

มวยสากลสมัครเล่น[แก้]

ริกอนโดติดทีมชาติคิวบาเข้าแข่งขันโอลิมปิก 2 ครั้ง ครั้งแรก โอลิมปิก พ.ศ. 2543 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย รอบแรก ชนะน็อก โมเอซ เซมเซมี จากตูนิเซีย ยก 1 เมื่อ 16 กันยายน รอบสอง ชนะอาร์เอสซี คาซูมาซะ สึจิโมโตะ จากญี่ปุ่น ยก 3 เมื่อ 21 กันยายน รอบก่อนรองชนะเลิศ ชนะ อะอาซี อะกากูว์โลลู จากตุรกี เมื่อ 26 กันยายน รอบรองชนะเลิศ ชนะ คลอเรนซ์ วิลสัน จากสหรัฐ เมื่อ 28 กันยายน รอบชิงชนะเลิศ ชนะ เรียมกุล มาลักเบกอฟ จากรัสเซีย เมื่อ 30 กันยายน ได้เหรียญทอง [1]

ต่อมา ริกอนโดติดทีมชาติเข้าแข่งขัน โอลิมปิก พ.ศ. 2547 ที่เอเธนส์ ประเทศกรีซ รอบแรก ชนะ หลิว ยฺเหวียน จากจีน เมื่อ 17 สิงหาคม รอบสอง ชนะอาร์เอสซี เมห์รุลลอห์ ลาสซี จากปากีสถาน ยก 3 เมื่อ 20 สิงหาคม รอบก่อนรองชนะเลิศ ชนะ เกนนาดี โกวัลยอฟ จากรัสเซีย เมื่อ 23 สิงหาคม รอบรองชนะเลิศ ชนะ บาโฮดีร์จอน ซุลโตนอฟ จากอุซเบกิสถาน เมื่อ 27 สิงหาคม รอบชิงชนะเลิศ ชนะ วรพจน์ เพชรขุ้ม จากไทย เมื่อ 29 สิงหาคม ได้เหรียญทอง[2]

มวยสากลอาชีพ[แก้]

ริกอนโดไม่ไปปรากฏตัวในการแข่งขันกีฬาแพนอเมริกันที่บราซิลใน พ.ศ. 2550 และมีข่าวว่าเขาจะลี้ภัยไปสหรัฐเพื่อชกมวยสากลอาชีพเช่นเดียวกับยัน บาร์เตเลมี, ยูริโอร์กิส กัมโบอา และออดลานิเอร์ โซลิสที่ลี้ภัยไปก่อนหน้านี้ในปีเดียวกัน อีกเดือนต่อมา เขามอบตัวกับตำรวจบราซิลเพื่อกลับคิวบา แต่ประธานาธิบดีฟิเดล กัสโตร ประกาศว่าริกอนโดไม่สามารถติดทีมชาติคิวบาได้อีก ริกอนโดลี้ภัยอีกครั้งผ่านเม็กซิโกไปยังไมอามีใน พ.ศ. 2552 และขึ้นชกมวยสากลอาชีพในที่สุด

ริกอนโดได้ครองแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวทหลายสถาบัน ทั้ง WBA WBO ระหว่าง พ.ศ. 2556 - 2560 ใน พ.ศ. 2560 เขาได้รับยกย่องจากเดอะริงว่าเป็นนักมวยยอดเยี่ยมในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท[3] และนักมวยยอดเยี่ยมปอนด์ต่อปอนด์ในลำดับที่เก้า ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ริกอนโดเลื่อนรุ่นขึ้นมาชิงแชมป์โลกในรุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท กับวาซีล โลมาเชนโก ผลการชกริกอนโดแพ้อาร์ทีดียก 6[4]

เกียรติประวัติ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-06. สืบค้นเมื่อ 2018-07-14.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-06. สืบค้นเมื่อ 2018-07-14.
  3. "All Rankings". Transnational Boxing Rankings Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-06. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  4. "Lomachenko Makes Rigondeaux Quit After Six For TKO Victory". BoxingScene.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-12-11.
  5. espn.com