การก่อการกำเริบสปาตาคิสท์
การก่อการกำเริบสปาตาคิสท์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918-1919 | |||||||
ทหารอาสาสมัครสปาตาคิสท์ในกรุงเบอร์ลิน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
พรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระเยอรมนี | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
คาร์ล ลีพคเน็ชท์ โรซา ลุคเซิมบวร์ค |
เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ฟรีดริช เอเบิร์ท | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เสียชีวิต 3,000 คน |
การก่อการกำเริบสปาตาคิสท์ ยังเป็นที่รู้จักกันคือ การก่อการกำเริบเดือนมกราคม เป็นการนัดหยุดงานทั่วไป (และการสู้รบด้วยอาวุธปืนประกอบไปด้วย) ในประเทศเยอรมนี ตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 12 มกราคม ค.ศ. 1919 เยอรมนีได้อยู่ในช่วงกลางของการปฏิวัติหลังสงคราม และสองเส้นทางที่ได้รับรู้ในความก้าวหน้าคือ ประชาธิปไตยสังคมหรือรัฐสภาสาธารณรัฐเช่นเดียวกับหนึ่งเส้นทางที่ถูกสร้างขึ้นโดยบอลเชวิคในรัสเซีย การก่อการกำเริบครั้งนี้เป็นการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี(SPD) ภายใต้การนำโดยฟรีดริช เอเบิร์ท และกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงของพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนีภายใต้การนำโดยคาร์ล ลีพคเน็ชท์และโรซา ลุคเซิมบวร์ค ที่ได้ก่อตั้งเมื่อก่อนหน้านี้และนำสันนิบาติสปาตาคิสท์(Spartakusbund) การต่อสู้แย่งชิงอำนาจครั้งนี้เป็นผลมาจากการสละราชบังลังก์ของจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี และการลาออกของนายกรัฐมนตรี มัคซีมีลีอานแห่งบาเดิน ซึ่งได้มอบอำนาจไปยังเอเบิร์ท ในฐานะที่เป็นผู้นำของพรรคที่ใหญ่ที่สุดในรัฐสภาเยอรมัน[1] การก่อการกำเริบที่คล้ายกันได้เกิดขึ้นและถูกปราบปรามในเบรเมิน, รูร์, ไรน์ลันท์, ซัคเซิน, ฮัมบวร์ค, ทือริงเงิน และบาวาเรีย และอีกครั้งของการสู้รบบนถนนที่รุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในกรุงเบอร์ลินในเดือนมีนาคม ซึ่งนำไปสู่ความท้อแท้อย่างกว้างขวางด้วยรัฐบาลไวมาร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jennifer Llewellyn, Jim Southey and Steve Thompson (2014). "The German Revolution". Alpha History.