กองกำลังรบนอกประเทศบริติช (สงครามโลกครั้งที่สอง)
กองกำลังรบนอกประเทศบริติช | |
---|---|
เบรน แคริเออร์ ของหน่วยทหารม้าฮุสซาร์ที่ 13/18 ในช่วงการฝึกซ้อมรบใกล้กับวิมี, วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1939 | |
ประจำการ | 2 September 1939 – 31 May 1940 |
ปลดประจำการ | 1940 |
ประเทศ | บริเตน |
เหล่า | Army |
รูปแบบ | กองกำลังรบนอกประเทศ |
บทบาท | ปฏิบัติการภาคสนามในฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ |
กำลังรบ | 390,000 นาย[1] 13 กองพล (จำนวนขีดสุด) |
ขึ้นกับ | 1re groupe d'armées (1st Army Group) Front du Nord-est (North-Eastern Front) |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผบ. สำคัญ | John Vereker, 6th Viscount Gort (Lord Gort) |
กองกำลังรบนอกประเทศบริติช (British Expeditionary Force - BEF) เป็นชื่อของกองทัพบกบริติชที่ถูกส่งไปยังฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1939 ภายหลังบริติชและฝรั่งเศสได้ประกาศสงครามกับนาซีเยอรมนี เมื่อวันที่ 3 กันยายน เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังรบนอกประเทศบริติชได้ดำรงอยู่ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1939 เมื่อกองบัญชาการกองกำลังรบนอกประเทศบริติชได้ถูกก่อตั้งขึ้นจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 เมื่อกองบัญชาการกองกำลังรบนอกประเทศบริติชได้ปิดตัวลงและกองกำลังทหารได้กลับมาอยู่ภายใต้คำสั่งของกองบัญชาการกองทัพบ้านเกิด ในช่วงปี ค.ศ. 1930 รัฐบาลบริติชได้วางแผนที่จะยับยั้งสงครามโดยการยกเลิกกฏสิบปีและติดตั้งอาวุธใหม่จากระดับความพร้อมที่ต่ำในช่วงต้นปี 30 กองเงินจำนวนมากมายได้ถูกส่งไปให้กับราชนาวีและกองทัพอากาศหลวง แต่มีแผนการที่จัดให้มีกองกำลังทหารบกและกองกำลังรักษาดินแดนจำนวนเล็กน้อยเพื่อประจำการในดินแดนโพ้นทะเล
นายพล Lord Gort ได้ถูกแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการแห่งกองกำลังรบนอกประเทศบริติช เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 และกองกำลังรบนอกประเทศบริติชได้เริ่มเคลื่อนทัพไปยังฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1939 กองกำลังรบนอกประเทศบริติชได้รวมตัวกันตามแนวชายแดนเบลเยียม-ฝรั่งเศส กองกำลังรบนอกประเทศบริติชได้เข้าประจำตำแหน่งทางด้านซ้ายของกองทัพฝรั่งเศสที่ 1 ภายใต้การบัญชาการของกองทัพกลุ่มฝรั่งเศสที่ 1 (1re groupe d'armées) ของแนวรบด้านตะวันออกเฉียงเหนือ (Front du Nord-est) ส่วนใหญ่ของกองกำลังรบนอกประเทศบริติชได้ใช้เวลา ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939 ถึง 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 ในการขุดแนวป้อนกันสนามเพละบนชายแดน เมื่อยุทธการที่ฝรั่งเศส(กรณีเหลือง) ได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 กองกำลังรบนอกประเทศบริติชประกอบด้วยร้อยละ 10 ของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรในแนวรบด้านตะวันตก
กองกำลังรบนอกประเทศบริติชได้เข้าร่วมในแผนดีล ซึ่งเป็นการตีโฉบฉวยในการรุกคืบเข้าเบลเยี่ยมจนถึงแนวของแม่น้ำดีล แต่กองทัพกลุ่มที่ 1 ต้องล่าถอยอย่างรวดเร็วผ่านทางเบลเยียมและทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ภายหลังจากเยอรมันได้บุกทะลวงไปยังตอนใต้ที่ยุทธการที่เซอด็อง (12 - 15 พฤษภาคม) การโจมตีตอบโต้กลับในท้องถิ่นที่ยุทธการที่อารัส (ค.ศ. 1940) (21 พฤษภาคม) เป็นความสำเร็จทางยุทธวิธีอย่างมาก แต่กองกำลังรบนอกประเทศบริติช กองทัพฝรั่งเศส และกองทัพเบลเยียมในทางเหนือของแม่น้ำซอมได้ล่าถอยไปยังเดิงแกร์กบนชายฝั่งทะเลเหนือของฝรั่งเศสหลังจากนั้นได้ไม่นาน กองกำลังทหารบริติชและฝรั่งเศสได้ถูกอพยพในปฏิบัติการไดนาโม (26 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน) เพื่อไปยังอังกฤษ ภายหลังการยอมจำนนของกองทัพเบลเยียม
กองกำลังซาร์ กองพลทหารราบที่ 51 (ภูเขา) และกองกำลังเสริมได้เข้ายึดครองพื้นที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวมาฌีโนเพื่อการฝึกซ้อม กองกำลังได้ต่อสู้ร่วมกับหน่วยทหารฝรั่งเศสท้องถิ่น ภายหลังจากวันที่ 10 จากนั้นก็ได้เข้าร่วมกับกองทัพที่ 10 ทางตอนใต้ของแม่น้ำซอม พร้อมกับกองพลโบวแมนที่ถูกแต่งตั้งทันทีโดยไม่ได้เตรียมความพร้อมและกองพลยานเกราะที่ 1 เพื่อต่อสู้รบในยุทธการที่อาบวีล (27 พฤษภาคม-4 มิถุนายน) บริติชได้พยายามที่จะก่อตั้งกองกำลังรบนอกประเทศบริติชขึ้นมาใหม่ด้วยการฝึกของกองพลกองกำลังบ้านเกิดในอังกฤษ กองกำลังทหารได้อพยพออกจากฝรั่งเศสและกองกำลังสื่อสารทางตอนใต้ของแม่น้ำซอม(ที่ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า กองกำลังรบนอกประเทศบริติชที่สอง) แต่กองบัญชาการกองกำลังรบนอกประเทศบริติชก็ไม่ได้เปิดขึ้นมาเลย
ภายหลังจากประสบความสำเร็จในการรุกของเยอรมันครั้งที่สองในฝรั่งเศส(กรณีแดง) กองกำลังรบนอกประเทศบริติชที่สองและกองกำลังทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้ถูกอพยพออกจากเลออาฟวร์ในปฏิบัติไซเคิล(10-13 มิถุนายน) และท่าเรือบนมหาสมุทรแอตแลนติกและเมดิเตอร์เรเนียนของฝรั่งเศสในปฏิบัติการเอเรียล (15-25 มิถุนายน ไม่เป็นทางการจนถึงวันที่ 14 สิงหาคม) กองทัพเรือได้ช่วยเหลือผู้คนจำนวน 558,032 คน รวมทั้งทหารบริติชจำนวน 368,491 นาย แต่กองกำลังรบนอกประเทศบริติชได้สูญเสียจำนวน 66,426 นายในจำนวนนี้ จำนวนที่ถูกสังหารหรือเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ 11,014 นาย จำนวนผู้บาดเจ็บ 14,074 นาย และจำนวนผู้สูญหายหรือถูกจับกุม 41,338 นาย รถถังประมาณ 700 คัน รถมอเตอร์ไซค 20,000 คัน รถยนต์และรถบรรทุก 45,000 คัน ปืนใหญ่สนาม 880 กระบอก และอุปกรณ์ขนาดใหญ่ 310 ชิ้น ปืนต่อต้านอากาศยานจำนวนประมาณ 500 กระบอก ปืนต่อต้านรถถัง 850 กระบอก ปืนไรเฟิลต่อต้านรถถัง 6,400 กระบอก และปืนกล 11,000 กระบอกได้ถูกทอดทิ้ง เมื่อหน่วยทหารได้มาถึงอังกฤษ พวกเขาได้ถูกเปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อำนาจของผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองกำลังบ้านเกิด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Defeat in the West, 1940". National Army Museum. สืบค้นเมื่อ 25 August 2020.