กองกำลังรบนอกประเทศบริติช (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
กองกำลังรบนอกประเทศบริติช | |
---|---|
ประจำการ | 1914–1918 |
ประเทศ | สหราชอาณาจักร |
ขึ้นต่อ | พระเจ้าจอร์จที่ 5 |
เหล่า | กองทัพบก |
รูปแบบ | กองทัพบก |
กำลังรบ | 247,400 นาย(ค.ศ. 1914–1915) 2.04 ล้านนาย[1] (ค.ศ. 1916–1918) |
สมญา | BEF |
ปฏิบัติการสำคัญ | See below |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ค.ศ. 1915–1918) | จอมพล Douglas Haig |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ค.ศ. 1914–1915) | นายพล John French |
กองกำลังรบนอกประเทศบริติช (British Expeditionary Force - BEF) เป็นหกกองพลของกองทัพบกบริติชที่ถูกส่งไปยังแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แผนการสำหรับกองกำลังรบนอกประเทศบริติชได้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1906 - ค.ศ. 1912 การปฏิรูปของฮาลเดนของกองทัพบกบริติชได้ดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม ริชาร์ด ฮาลเดน ภายหลังจากสงครามบัวร์ครั้งที่สอง (ค.ศ. 1899-ค.ศ. 1902)[2]
คำว่า"กองกำลังรบนอกประเทศบริติช" มักจะถูกใช้เพื่อเรียกโดยเฉพาะกองกำลังที่อยู่ในฝรั่งเศสก่อนที่จะสิ้นสุดลงในยุทธการที่อิพร์ครั้งแรกในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1914 ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1914 ภายหลังการสู้รบที่มงส์, Le Cateau, Aisne และอิพร์ การมีอยู่ของกองกำลังรบนอกประเทศบริติชแทบจะหมดลง แม้ว่ามันจะช่วยยัยยั้งการรุกคือของเยอรมันไว้ได้[3] จุดสิ้นสุดทางเลือกของกองกำลังรบนอกประเทศบริติช คือ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1914 เมื่อได้มีการแบ่งแยกออกเป็นกองทัพที่หนึ่งและที่สอง(กองทัพที่สาม สี่ และห้าถูกสร้างขึ้นในภายหลังในสงคราม) กองกำลังรบนอกประเทศบริติชยังคงเป็นชื่อทางการของกองทัพบกบริติชในฝรั่งเศสและฟลานเดอร์ ตลอดในช่วงสงครามโลกครั้งหนึ่ง
จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องไม่สนใจใยดีต่อกองกำลังรบนอกประเทศบริติช ซึ่งถูกกล่าวหาว่าได้ออกคำสั่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1914 เพื่อ"กำจัด...ชาวอังกฤษที่ทรยศและให้เดินข้ามกองกำลังขนาดเล็กที่น่ารังเกียจของนายพลเฟรนซ์" ดังนั้น ในปีต่อมา ผู้รอดชีวิตจากกองทัพประจำการจึงได้ขนานนามตัวเองว่า "ผู้ถูกเหยียดหยามเก่า"(The Old Contemptibles) ไม่เคยพบหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวที่ถูกออกโดยพระเจ้าไกเซอร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Baker, Chris. "Some British Army statistics of the Great War". The Long Long Trail. สืบค้นเมื่อ 21 November 2009.
- ↑ Tucker & Roberts (2005), p.504
- ↑ Chandler (2003), p.211