กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ
กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ | |
---|---|
West Caucasian Abkhazo-Circassian[1] Abkhaz–Adyghean North Pontic Pontic | |
ภูมิภาค: | คอเคซัสเหนือในยุโรปตะวันออก |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | หนึ่งในตระกูลของภาษาแรกของโลก |
ภาษาดั้งเดิม: | Proto-Northwest Caucasian |
กลุ่มย่อย: | |
กลอตโตลอก: | abkh1242[2] |
Circassian
Abazgi
Ubykh (สูญหาย) |
กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Caucasian languages)[3] หรือกลุ่มภาษาปอนติก หรืออับคาซ-อะดืยเก เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเทือกเขาคอเคซัส[4] โดยเฉพาะในรัสเซีย จอร์เจีย และตุรกี และมีผู้พูดภาษาเหล่านี้กลุ่มเล็กๆในตะวันออกกลาง ทางยูเนสโกจัดให้ภาษาทั้งหมดอยู่ในช่วง "เสี่ยงต่อการสูญหาย" หรือ "เสี่ยงต่อการสูญหายอย่างมาก"[5]
ลักษณะสำคัญ
[แก้]กลุ่มภาษานี้ทั้งหมดมีเสียงสระน้อย ( 2 หรือ 3 เสียง) แต่มีเสียงพยัญชนะมาก ตัวอย่างเช่น ภาษาอูบึกมีสระเพียง 2 เสียง แต่ถือเป็นภาษาที่มีเสียงพยัญชนะมากที่สุดสำหรับภาษาที่อยู่นอกเขตแอฟริกาตอนใต้ ซึ่งนักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่าการเกิดเสียงพยัญชนะจำนวนมากเกิดจากการรวมกันของเสียงพยัญชนะที่อยู่ใกล้เคียงกันหรือกับเสียงพยัญชนะที่กลายมาจากเสียงกึ่งสระและควบรวมกันกลายเป็นพยัญชนะใหม่ และอาจเกิดจากระบบอุปสรรคในไวยากรณ์สมัยโบราณ ที่เสียงพยัญชนะที่เป็นอุปสรรคควบรวมกับพยัญชนะอีกตัวกลายเป็นเสียงพยัญชนะใหม่ เช่นกัน
ไวยากรณ์
[แก้]ภาษาในกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือมีระบบนามแบบการกที่เรียบง่าย แต่มีระบบของคำกริยาที่ซับซ้อนจนดูเหมือนว่าโครงสร้างของประโยคทั้งหมดรวมอยู่ภายในคำกริยา
การจัดจำแนก
[แก้]ภาษาในกลุ่มนี้มี 5 ภาษาคือ ภาษาอับฮาเซีย ภาษาอบาซา ภาษากาบาร์เดียหรือภาษาเซอร์คาเซียตะวันออก ภาษาอะดืยเกหรือเซอร์คาเซียตะวันตก และภาษาอูบึกซึ่งตายแล้ว
- ภาษาอะดืยเก เป็นภาษาที่มีจำนวนผู้พูดมากภาษาหนึ่งในกลุ่มนี้ มี 500,000 คน ในรัสเซียและตะวันออกกลาง แบ่งเป็นในตุรกี 180,000 คน ในรัสเซีย 125,000 คน และเป็นภาษาราชการในสาธารณรัฐอะดืยเกีย ในจอร์แดน 45,000 คน ในซีเรีย 25,000 คน และในอิรัก 20,000 คน มีผู้พูดจำนวนเล็กน้อยในสหรัฐ
- ภาษากาบาร์เดีย มีผู้พูดทั้งหมดราว 1 ล้านคน แบ่งเป็นในตุรกี 550,000 คน และในรัสเซีย 450,000 คน และเป็นภาษาราชการในสาธารณรัฐกาบาร์ดิโน-บัลกาเรีย และสาธารณรัฐการาเชย์-เซอร์กัสเซีย มีเสียงพยัญชนะน้อยที่สุดในกลุ่มนี้คือมีเพียง 48 เสียง
- ภาษาอับฮาเซีย มีผู้พูดราว 100,000 คนในอับคาเซีย ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองในจอร์เจียและเป็นภาษาราชการด้วย จำนวนผู้พูดในตุรกีไม่แน่นอน ภาษานี้เริ่มใช้เป็นภาษาเขียนเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25 บางครั้งจัดให้เป็นภาษาเดียวกับภาษาอบาซา โดยแยกเป็นคนละสำเนียงเพราะมีความใกล้เคียงกันมาก
- ภาษาอบาซา มีผู้พูดทั้งหมด 45,000 คน แบ่งเป็นในรัสเซีย 35,000 คน และในตุรกี 10,000 คน มีการใช้เป็นภาษาเขียนแต่ไม่มีสถานะเป็นภาษาราชการ
- ภาษาอูบึก เป็นภาษาที่ใกล้เคยงกับภาษาอับคาซและภาษาอบาซามากกว่าอีก 2 ภาษาของกลุ่มนี้ ผู้พูดภาษานี้เปลี่ยนไปพูดภาษาอะดืยเก ภาษาอูบึกเป็นภาษาตายอย่างแท้จริงเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2535 เมื่อ ผู้พูดภาษานี้คนสุดท้ายคือ เตฟฟิก เอเซนต์ เสียชีวิตลง จัดเป็นภาษาที่มีเสียงพยัญชนะมากที่สุดในโลกเพราะมีถึง 81 เสียง ไม่มีการใช้เป็นภาษาเขียน
ความสัมพันธ์กับภาษาอื่น
[แก้]ความเชื่อมโยงกับภาษาฮัตติก
[แก้]ในอดีตจนถึง 1,257 ปีก่อนพุทธศักราช บริเวณอนาโตเลียรอบๆฮัตตูซา ซึ่งต่อมาถูกยึดครองโดยชาวฮิตไตต์ เคยเป็นดินแดนของชาวฮัตเตียนมาก่อน ซึ่งพูดภาษาที่ไม่ใช่ตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน และไม่เกี่ยวข้องกับภาษาฮิตไตต์ ภาษาฮัตติกที่เป็นภาษาโดดเดี่ยวนี้อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มภาษานี้ได้
ความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน
[แก้]กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนืออาจเคยมีความเกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนมาก่อนเมื่อ 12,000 ปีก่อนหน้านี้ โดยมีภาษษปอนดิกดั้งเดิมเป็นภาษาในยุคเริ่มแรกแต่แนวคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับเท่าใดนัก[6][7]
ความเชื่อมโยงกับกลุ่มภาษาคอเคซัสเหนือ
[แก้]นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่รวมกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือเข้ากับกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันออกเฉียงเหนือเป็นกลุ่มภาษาคอเคซัสเหนือแต่ความเชื่อมโยงของภาษาสองกลุ่มนี้มีไม่มากนัก
ความเชื่อมโยงระดับสูง
[แก้]มีนักภาษาศาสตร์บางคนพยายามเชื่อมโยงในระดับที่สูงกว่านี้ เช่นเชื่อมโยงเข้ากับภาษาเดเน-คอเคเซียน ภาษาบาสก์ ภาษาบูรูศัสกี ภาษาเยนิสเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีความพยายามเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ตระกูลภาษายูราลิก ตระกูลภาษาอัลไตอิก ตระกูลภาษาคาร์ทเวเลียน แต่ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Matthews, W. K. (2013). Languages of the USSR. Cambridge University Press. p. 147. ISBN 9781107623552.
- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Abkhaz–Adyge". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-13. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Hoiberg, Dale H. (2010)
- ↑ "UNESCO Atlas of the World's Languages in danger". www.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-06-03.
- ↑ Colarusso, John (2003). "Further Etymologies between Indo-European and Northwest Caucasian". Current Trends in Caucasian, East European and Inner Asian Linguistics, Papers in Honor of Howard Aronson. Amsterdam: Dee Ann Holisky and Kevin Tuite. pp. 41–60.
- ↑ Colarusso, John (1997), "Phyletic Links between Proto-Indo-European and Proto-Northwest Caucasian", The Journal of Indo-European Studies, 25 (1–2): 119–151
ข้อมูล
[แก้]- Burney, Charles (2004). Historical dictionary of the Hittites. Historical Dictionaries of Ancient Civilizations and Historical Era. Lanham, MD: Scarecrow Press. ISBN 978-0810849365.
- Chirikba, Viacheslav (1996). Common West Caucasian. The Reconstruction of its Phonological System and Parts of its Lexicon and Morphology. Leiden: Research School CNWS, School of Asian, African, and Amerindian Studies. ISBN 978-9073782716.
- Colarusso, John (1997). "Phyletic Links between Proto-Indo-European and Proto–Northwest Caucasian". The Journal of Indo-European Studies. Chicago Linguistic Society. 25 (1–2): 119–151.
- Colarusso, John (2003). "Further Etymologies between Indo-European and Northwest Caucasian". ใน Holisky, Dee Ann; Tuite, Kevin (บ.ก.). Current Trends in Caucasian, East European and Inner Asian Linguistics, Papers in Honor of Howard Aronson. Current Issues in Linguistic Theory. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company. pp. 41–60. ISBN 978-1588114617.
- Hoiberg, Dale H., บ.ก. (2010). "Abkhazo-Adyghian languages". Encyclopedia Britannica. Vol. I: A-ak Bayes (15th ed.). Chicago, IL: Encyclopedia Britannica Inc. p. 33. ISBN 978-1-59339-837-8.
- Nichols, Johanna (Mar 1986). "Head-Marking and Dependent-Marking Grammar". Language. Linguistic Society of America. 62 (1): 56–119. doi:10.1353/lan.1986.0014. JSTOR 415601. S2CID 144574879.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Starostin, S. A., บ.ก. (2008) [1994]. A North Caucasian Etymological Dictionary. Caravan Books. ISBN 978-0882061177.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- CIA linguistic map of the Caucasus
- Atlas of the Caucasian Languages with detailed Language Guide (by Yuri B. Koryakov)
- A Comparative Dictionary of North Caucasian Languages: Preface by Sergei Starostin & Sergein Nikolayev
- Ancient Adyghe Abkhaz–Abaza Ubykh alphabet