กระแสสงคราม
กระแสสงคราม | |
戦闘潮流 (Sentō Chōryū) | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Battle Tendency |
แนว | ผจญภัย, จินตนิมิต, เหนือธรรมชาติ[1] |
มังงะ | |
เขียนโดย | ฮิโรฮิโกะ อารากิ |
สำนักพิมพ์ | ชูเอชะ |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย | เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ |
ในเครือ | จัมป์คอมิกส์ |
นิตยสาร | โชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ |
กลุ่มเป้าหมาย | โชเน็ง |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2532 |
จำนวนเล่ม | 7 |
สื่ออื่น ๆ | |
| |
ลำดับ | |
ก่อนหน้า: แฟนธอม บลัด |
กระแสสงคราม (ญี่ปุ่น: 戦闘潮流; โรมาจิ: Sentō Chōryū) เป็นภาคที่ 2 ของซีรีส์มังงะ โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ แต่งเรื่องและวาดภาพโดยฮิโรฮิโกะ อารากิ ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ของสำนักพิมพ์ชูเอชะตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530[2] ถึง 27 มีนาคม พ.ศ. 2532[3] เป็นเวลา 112 ปี ด้วยจำนวนตอนทั้งหมด 69 ตอน ภายหลังรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือมังงะรวมเล่ม (ทังโกบง) ทั้งหมด 7 เล่ม เมื่อตีพิมพ์ในนิตยสารเป็นครั้งแรกเคยใช้ชื่อภาคเดิมว่า โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค 2 โจเซฟ โจสตาร์: สายเลือดอันภาคภูมินั้น (ジョジョの奇妙な冒険 第二部 ジョセフ・ジョースター —その誇り高き血統 JoJo no Kimyō na Bōken Dai Ni Bu Josefu Jōsutā Sono Hokoritakaki Kettō) ภาคนี้ดำเนินเรื่องต่อจาก แฟนธอม บลัด (พ.ศ. 2530) และต่อด้วย นักรบประกายดาว (พ.ศ. 2532-2535)
เนื้อเรื่องมีฉากในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรปในช่วงปี ค.ศ. 1938–39 ประมาณ 50 ปีหลังเรื่องราวในแฟนธอม บลัด เป็นเรื่องราวของโจเซฟ โจสตาร์และซีซาร์ อันโตนิโอ เซปเปลี ทายาทของโจนาธาน โจสตาร์และวิล เอ. เซปเปลีจากแฟนธอม บลัด ผู้สามารถใช้พลังงานอิงแสงอาทิตน์ที่เรียกว่าคลื่นมนตรา ทั้งคู่ร่วมกับอาจารย์คลื่นมนตราลิซาลิซา พยายามหาทางขัดขวางมนุษย์โบราณที่เรียกว่ามนุษย์เสาหิน ผู้ประดิษฐ์หน้ากากศิลาจากภาคแฟนธอม บลัด จากการได้รับศิลาทรงพลังที่เรียกว่าซูเปอร์อาจาซึ่งสามารถทำให้พวกมนุษย์เสาหินกลายเป็นสุดยอดสิ่งชีวิตและพิชิตจุดอ่อนต่อแสงอาทิตย์
กระแสสงครามได้รับการดัดแปลงเป็นอนิเมะในฐานะส่วนหนึ่งของฤดูกาลแรกของซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์ โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ผลิตโดยสตูดิโอเดวิดโปรดักชันในปี พ.ศ. 2555
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Read a Free Preview of JoJo's Bizarre Adventure: Part 2--Battle Tendency, Vol. 1". Viz Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-02.
- ↑ 週刊少年ジャンプ 1987/11/02 表示号数47 (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-17. สืบค้นเมื่อ 2018-06-17.
- ↑ 週刊少年ジャンプ 1989/03/27 表示号数15 (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-17. สืบค้นเมื่อ 2018-06-17.