โจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์ (วิดีโอเกม)
โจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์ | |
---|---|
ใบปลิวสำหรับเกมอาร์เคดดั้งเดิมซึ่งเปิดตัวในชื่อโจโจส์เวนเจอร์นอกประเทศญี่ปุ่น | |
ผู้พัฒนา | แคปคอม |
ผู้จัดจำหน่าย | แคปคอม
|
อำนวยการผลิต | โคจิ นากาจิมะ |
ออกแบบ | ชินจิอิโร โอบาตะ โยชิฟูมิ ฟูกูดะ มาโมรุ โอฮาชิ โคจิ ชิมิซุ |
แต่งเพลง | ยูโกะ ทาเกฮาระ เซ็ตสึโอะ ยามาโมโตะ |
เอนจิน | เอ็มที เฟรมเวิร์ก (เวอร์ชันความคมชัดสูง) |
เครื่องเล่น | อาร์เคด, เพลย์สเตชัน, ดรีมแคสต์, เพลย์สเตชัน 3, เอกซ์บอกซ์ 360 |
วางจำหน่าย | ธันวาคม ค.ศ. 1998
|
แนว | ต่อสู้ |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
ระบบอาร์เคด | ซีพี ซิสเตม III |
โจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์[a] (อังกฤษ: JoJo's Bizarre Adventure; ญี่ปุ่น: ジョジョの奇妙な冒険) เป็นวิดีโอเกมต่อสู้ที่พัฒนาโดยบริษัทแคปคอมโดยอิงจากมังงะของฮิโรฮิโกะ อารากิ ในชื่อเรื่องเดียวกัน เกมนี้พัฒนาโดยทีมเดียวกับที่รับผิดชอบซีรีส์สตรีทไฟเตอร์ III
เกมนี้เดิมเปิดตัวในอาร์เคดใน ค.ศ. 1998 บนแผงวงจรอาร์เคดซีพี ซิสเตม III (CPS-3) โดยเวอร์ชันนี้เป็นที่รู้จักนอกประเทศญี่ปุ่นในชื่อโจโจส์เวนเจอร์ (อังกฤษ: JOJO's Venture) ส่วนเกมเวอร์ชันอัปเดตเปิดตัวใน ค.ศ. 1999 โจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์: เฮอริทิจฟอร์เดอะฟิวเจอร์ (ジョジョの奇妙な冒険 未来への遺産, JoJo no Kimyō na Bōken Mirai e no Isan) โดยกลายเป็นเกมที่หกและเป็นเกมสุดท้ายที่วางจำหน่ายสำหรับบอร์ดซีพี ซิสเตม III รวมถึงพอร์ตเครื่องเล่นสำหรับเพลย์สเตชันและดรีมแคสต์ก็เปิดตัวในปีนั้นเช่นกัน นอกจากนี้ เกมเวอร์ชันความคมชัดสูงได้วางจำหน่ายในรูปแบบดิจิทัลสำหรับเพลย์สเตชัน 3 และเอกซ์บอกซ์ 360 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012[2]
เกมดังกล่าวผสมผสานกราฟิกที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอนิเมะของบริษัทแคปคอม ดังที่เห็นในซีรีส์ดาร์กสตอล์กเกอส์ เข้ากับตัวละครสีสันสดใสและเหตุการณ์ต่าง ๆ จากการสร้างสรรค์ของฮิโรฮิโกะ อารากิ ส่งผลให้มีรูปแบบภาพที่ดูมีสไตล์และมีรายละเอียดสูง นอกจากนี้ ยังมีกลไกรูปแบบการเล่นจำนวนมากที่เห็นได้จากเกมต่อสู้ของแคปคอมเกมก่อน ๆ เช่น การใช้เกจวัดพลังสำหรับท่าไม้ตายสุดยอด เช่นเดียวกับโหมดสแตนด์ใหม่ล่าสุด ซึ่งประกอบด้วยวิญญาณผู้พิทักษ์อันเป็นเอกลักษณ์ของซีรีส์นี้ที่มาพร้อมกับตัวละครเกือบทุกตัว และสามารถเรียกหรือยกเลิกตามความประสงค์ของผู้เล่น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรายการท่าและความสามารถของตัวละคร
ฮิโรฮิโกะ อารากิ ผู้เขียนต้นฉบับทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสำหรับเกมและสร้างงานศิลปะเฉพาะตัวสำหรับการโปรโมตและบรรจุภัณฑ์ ที่โดดเด่นที่สุดคือเขาได้พัฒนาการออกแบบตัวละครใหม่สำหรับมิโดร่าตั้งแต่ต้น เนื่องจากทางแคปคอมสนใจที่จะใช้เธอในเกม และในมังงะต้นฉบับมีการแสดงเธอตั้งแต่เอวลงมาเท่านั้น
โครงเรื่อง
[แก้]เกมดังกล่าวสร้างจากเรื่องราวหลักที่สามของมังงะเรื่องนักรบประกายดาว โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวัยรุ่นชาวญี่ปุ่นชื่อคูโจ โจทาโร่ ผู้ซึ่งได้พัฒนาความสามารถเหนือธรรมชาติที่เรียกว่า "สแตนด์" เมื่อโจเซฟ โจสตาร์ ผู้เป็นตาของเขาติดต่อมา โจทาโร่จึงรู้ว่าพลังนี้เป็นผลมาจากอิทธิพลของศัตรูคู่อาฆาตของตระกูลโจสตาร์ ที่เป็นแวมไพร์ชื่อดีโอ และขณะที่ชีวิตของแม่ของเขาตกอยู่ในอันตรายเมื่อเธอเริ่มพัฒนาสแตนด์ที่เธอควบคุมไม่ได้ โจทาโร่กับโจเซฟจึงออกเดินทางเพื่อทำลายดีโอเพื่อให้พวกเขาสามารถรักษาเธอได้
รูปแบบการเล่น
[แก้]รูปแบบการเล่นในโจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์เป็นไปตามเกมต่อสู้ขั้นพื้นฐาน โดยนักสู้สองคนจะต่อสู้กันเองโดยใช้การโจมตี, เทคนิค และท่าไม้ตายที่หลากหลายเพื่อทำให้แถบพลังชีวิตของคู่ต่อสู้หมดลง ส่วนซูเปอร์มิเตอร์ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อนักสู้จัดการและรับความเสียหายสามารถใช้เพื่อทำสุดยอดท่าไม้ตายเฉพาะตัวละครนั้นได้
คุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของเกมนี้คือการมี "พวกสแตนด์" ซึ่งเป็นการปล่อยพลังงานอันทรงพลังที่เป็นเอกลักษณ์ของนักสู้แต่ละคนออกมา โดยทั่วไปแล้ว สแตนด์จะรวมเข้ากับท่าของนักสู้ ตัวละครส่วนใหญ่จะมีสแตนด์ที่ใช้งาน พวกเขาสามารถนำเข้าและออกจากการต่อสู้ได้โดยใช้ปุ่ม "สแตนด์" ในขณะที่สแตนด์ไม่อยู่ นักสู้นั้นสามารถเพิ่มพลังการโจมตี, ใช้เทคนิคเฉพาะตัว, ได้มาซึ่งการทำให้ดีขึ้น เช่น การกระโดดสองจังหวะ และแม้แต่การโจมตีของสแตนด์แยกจากตัวละครนักสู้นั้น อย่างไรก็ตาม การโจมตีสแตนด์ของนักสู้จะสร้างความเสียหายให้แก่นักสู้นั้นด้วย ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการใช้สแตนด์ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจะเพิ่มเป็นสองเท่าหากสแตนด์อยู่ห่างจากผู้ใช้ ส่วนการปรากฏตัวของสแตนด์บนสมรภูมิจะถูกกำหนดโดยมาตรวัดสแตนด์ ซึ่งจะลดลงหากสแตนด์ถูกโจมตีและเพิ่มใหม่ในขณะที่สแตนด์ถูกถอนตัว หากมาตรวัดดังกล่าวหมดลง จะเกิด "สแตนด์แครช" ขึ้น ซึ่งจะทำให้นักสู้ติดสถานะมึนงงชั่วคราวและเปิดให้โจมตีได้ นอกจากนี้ คุณสมบัติอื่น ๆ ของสแตนด์ ได้แก่ แมตช์ "เบลซิงฟิตส์" ซึ่งสแตนด์สองตัวปะทะกัน โดยกำหนดให้นักสู้ต้องกดปุ่มเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ และความสามารถในกำหนดการสแตนด์ให้ทำการโจมตีต่อเนื่องกัน เพื่อทำการโจมตีแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับการโจมตีของผู้เล่นเองสำหรับบรรดาคอมโบที่ครอบคลุม โดยตัวละครบางตัวจะมีสแตนด์แบบ "แพสซีฟ" แทน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในจำนวนท่าของพวกเขา ทว่าโจเซฟวัยหนุ่มยังขาดสแตนด์โดยสิ้นเชิง
นอกเหนือจากโหมดทั่วไป เช่น เวอร์ซัส เกมดังกล่าวยังมีโหมดสตอรี ซึ่งเป็นศึกสำหรับผู้เล่นเดี่ยวที่ติดตามตัวละครแต่ละตัวในขณะที่พวกเขาเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ต่าง ๆ โดยเดินตามเรื่องราวของมังงะอย่างหลวม ๆ ในระหว่างแมตช์บางแมตช์ ฉากพิเศษพิเศษอาจเกิดขึ้นตามฉากในมังงะ เช่น เลื่อนด้านข้างที่ผู้เล่นต้องค้นหาและเอาชนะผู้ลอบสังหารที่มีนามว่าเอ็นดอล ในขณะที่หลีกเลี่ยงการโจมตีของสแตนด์เกบที่ใช้น้ำ หรือการต่อสู้พิเศษกับสแตนด์เดธ 13 ส่วนโหมดซูเปอร์สตอรีเป็นโหมดผู้เล่นเดี่ยวที่มีเฉพาะในพอร์ตเพลย์สเตชันของเกมนี้ โหมดดังกล่าวจะทำตามเรื่องราวของมังงะ โดยนำผู้เล่นผ่านการต่อสู้แบบต่อเนื่องในขณะที่เรื่องราวดำเนินไป โหมดนี้ยังมีมินิเกมต่าง ๆ ที่ผู้เล่นจะต้องทำให้สำเร็จเพื่อที่จะรุดหน้า เช่น ขับรถหรือเล่นเกมเสี่ยงโชค ส่วนเวอร์ชันความคมชัดสูงมีตัวกรองกราฟิกเสริมและหลายผู้เล่นออนไลน์
ตัวละครที่เล่นได้
[แก้]เกมอาร์เคดดั้งเดิมมีตัวละครให้เล่นได้ 13 ตัว ในขณะที่เวอร์ชันเฮอริทิจฟอร์เดอะฟิวเจอร์ และพอร์ตต่อมาจะเพิ่มตัวละครเพิ่มเติมอีกเก้าตัว ทำให้มีทั้งหมด 22 ตัว ส่วนในเวอร์ชันภาษาอังกฤษ ตัวละครบางตัวจะถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์ในดินแดนตะวันตก:
- อเลสซี่ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่ออเลสซี)
- โปลนาเรฟกับดาบอนูบิส[i]
- ชากะ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อชาคา)
- เดโบผู้ต้องสาป (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อดีโบ)
- ดีโอ[ii]
- ฮอลฮอร์สกับโบอิงโกะ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อโวอิง)[i]
- ฮอลฮอร์ส[i]
- อิกกี้ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่ออิกกี)
- ฌอง ปิแอร์ โปลนาเรฟ
- โจเซฟ โจสตาร์
- คูโจ โจทาโร่
- ข่าน (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อคาน)[i]
- มาไรยาห์ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อมาห์ราเฮีย)[i]
- มิโดร่า
- มูฮัมหมัด อับดุล
- นิวคะเคียวอิน[i]
- คะเคียวอิน โนริอากิ
- เพ็ตช็อป[i]
- รับเบอร์โซล (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อรอบเบอร์โซล)[i]
- ชาโดว์ดีโอ[ii]
- วานิลลาไอซ์ (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อไอด์)[i]
- โจเซฟวัยหนุ่ม (เวอร์ชันภาษาอังกฤษใช้ชื่อโจโจ้)[ii]
เวอร์ชันต่าง ๆ
[แก้]อาร์เคด
[แก้]การเปิดตัวอาร์เคดครั้งแรกของโจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์คือเดือนธันวาคม ค.ศ. 1998 ส่วนเวอร์ชันแปลภาษาอังกฤษได้รับการเผยแพร่ในเอเชียภายใต้ชื่อย่อคือโจโจส์เวนเจอร์ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการดัดแปลงมังงะและอนิเมะต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษที่ได้รับลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการ (จึงเปลี่ยนชื่อ) ตามมาด้วยเวอร์ชันแก้ไขอย่างเต็มที่ในชื่อโจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์: เฮอริทิจฟอร์เดอะฟิวเจอร์ ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1999 โดยมีตัวละครที่สามารถเล่นได้เพิ่มเติมอีกแปดตัว ส่วนเวอร์ชันภาษาอังกฤษที่วางจำหน่ายในทวีปยุโรปมีชื่อว่าโจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของญี่ปุ่น
เครื่องเล่น
[แก้]มีการผลิตสองเวอร์ชันเครื่องเล่น โดยเวอร์ชันเพลย์สเตชัน ค.ศ. 1999 มีพื้นฐานมาจากโจโจส์เวนเจอร์ แต่มีตัวละครเพิ่มเติมจากเวอร์ชันที่สองของเกมอาร์เคด และ "โหมดซูเปอร์สตอรี" ที่ผูกขาด ซึ่งครอบคลุมเรื่องราวนักรบประกายดาวทั้งหมด ส่วนเวอร์ชันดรีมแคสต์ ซึ่งเปิดตัวใน ค.ศ. 1999 มีทั้งเกมอาร์เคดเวอร์ชันดั้งเดิมและเวอร์ชันปรับปรุงในรูปแบบดั้งเดิม กระทั่งใน ค.ศ. 2012 พอร์ตความละเอียดสูงของเวอร์ชันดรีมแคสต์ที่พัฒนาโดยบริษัทแคปคอมได้รับการเผยแพร่แบบดิจิทัลในเพลย์สเตชัน 3 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม และเอกซ์บอกซ์ 360 ในวันต่อมา[2] ซึ่งลักษณะเฉพาะของเวอร์ชันนี้ประกอบด้วยตัวกรองกราฟิกและหลายผู้เล่นออนไลน์ แม้ว่าจะไม่มีโหมดซูเปอร์สตอรีของพอร์ตเพลย์สเตชันก่อนหน้าก็ตาม[3] กระทั่งเกมดังกล่าวถูกเพิกถอนออกจากหน้าร้านเพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก และเอกซ์บอกซ์ไลฟ์อาร์เคดเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2014 ไม่กี่เดือนหลังจากการเปิดตัวภาคออลสตาร์แบตเทิล[4]
การตอบรับ
[แก้]การตอบรับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ในประเทศญี่ปุ่น นิตยสารเกมแมชชีนฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 ได้จัดอันดับเวอร์ชันอาร์เคดในฐานะเกมอาร์เคดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเดือน[34] และนิตยสารดังกล่าวฉบับวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 ยังระบุว่าเวอร์ชันเฮอริทิจฟอร์เดอะฟิวเจอร์เป็นเกมอาร์เคดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเดือนเช่นกัน[35] โดยกลายเป็นซอฟต์แวร์อาร์เคดที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับสามของ ค.ศ. 1999 ในประเทศญี่ปุ่น รองจากเวอร์ชัวสไตรเกอร์ 2 และสตรีทไฟเตอร์ซีโร 2[36] ส่วนเครื่องเล่นภายในบ้าน เกมดังกล่าวเป็นเกมขายดีในญี่ปุ่น โดยขายได้มากกว่า 300,000 ยูนิตภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000[37][38]
เวอร์ชันดรีมแคสต์ได้รับทวิจารณ์เชิงนิยมชมชอบ ในขณะที่เวอร์ชันเพลย์สเตชันและเวอร์ชันความละเอียดสูงได้รับ "บทวิจารณ์แบบผสมหรือปานกลาง" ตามเว็บไซต์รวบรวมบทวิจารณ์อย่างเกมแรงกิงส์ และเมทาคริติก[5][6][9][10]
สกอต สไตน์เบิร์ก จากดิอิเล็กทริกเพลย์กราวด์ให้คะแนนดรีมแคสต์และเพลย์สเตชันเวอร์ชันละ 7.5 เต็ม 10 โดยกล่าวว่า "เป็นเกมต่อสู้ 2 มิติที่ทันสมัยที่สุด (และแปลกที่สุด) ของแคปคอมอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ก็ไม่ได้ทำให้ติดใจที่สุด"[39] ส่วนดี. สมิธ จากเกมเมอส์รีพลับลิกยกย่องเวอร์ชันดรีมแคสต์ โดยเรียกเวอร์ชันนี้ว่าเป็นพอร์ตที่ดีที่สุดของเกม เขายกย่องตัวละครที่หลากหลายและแปลกประหลาดของเกม โดยเปรียบเทียบความแปลกประหลาดของเกมว่าเทียบได้กับเกมต่อสู้อย่างกรูฟออนไฟต์ แม้ว่าเขาจะกล่าวว่าเกมนี้ "ไม่ได้เป็นเหล่านักสู้ที่มีเทคนิคมากที่สุด" แต่ก็ยังสามารถเป็นทางเลือกที่ถูกต้องสำหรับเกมสตรีทไฟเตอร์ III[40] และท็อกซิก ทอมมี จากนิตยสารเกมโปรกล่าวในฉบับเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000 ว่าเวอร์ชันเพลย์สเตชัน "ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านความบันเทิงได้ดีที่สุด คุณจะไม่พบว่ามันท้าทายเท่ากับเกมต่อสู้มุมมองด้านข้างของแคปคอมอื่น ๆ แต่อย่างน้อยคุณและเพื่อน ๆ ของคุณควรหัวเราะออกมาบ้างระหว่างสนามต่อสู้สุดป่วนของโจโจ้"[41][c] ในฉบับต่อมา เจกเดอะสเนกกล่าวถึงเวอร์ชันดรีมแคสต์ว่า "แฟนเกมต่อสู้จะรักหรือเกลียดตัวละครและการโจมตีแปลก ๆ ของเกมนี้ ดังนั้น ควรเช่าก่อนซื้อ"[42][d] อย่างไรก็ตาม นิตยสารเอดจ์ ให้คะแนนเวอร์ชันเครื่องเล่นเดียวกันห้าเต็มสิบโดยกล่าวว่า: "เกือบทุกแง่มุม [เกม] นั้นเป็นการบรรยายสำหรับผู้ศรัทธา ด้วยเหตุนี้ นี่จึงเป็นเกมสำหรับผู้คลั่งไคล้เพียงอย่างเดียว บางทีนั่นอาจเป็นความตั้งใจของแคปคอม"[43] และไคล์ ไนต์ จากออลเกมให้สองดาวสำหรับเวอร์ชันเครื่องเล่นเดียวกัน โดยระบุว่า "เป็นเกมที่น่าสนใจในการเล่น หากเพียงเพราะรูปลักษณ์และความรู้สึกที่แปลกอย่างไม่ต้องสงสัย แต่เกมไม่มีการปรับแต่งแบบละเอียดที่ทำให้กลายเป็นเกมต่อสู้ในฐานะส่วนถาวรของการสะสมของแฟนนักสู้คนหนึ่ง เกมนี้ดีสำหรับการทำให้หัวเราะเล็กน้อย แต่ไม่คุ้มค่าในระยะยาว"[44] ส่วนโจ ออตโตสัน จากเว็บไซต์เดียวกันให้คะแนนเวอร์ชันเพลย์สเตชันสองดาวครึ่ง โดยกล่าวว่า "แม้ว่าความยิ่งใหญ่อาจจะไม่ได้อยู่ในไพ่ทาโรต์ของโจโจ้ในครั้งนี้ก็ตาม แต่อย่างน้อยเขาก็ได้ต่อสู้กับทาวเวอร์และเอมเพรสของเดอะเวิลด์ ปัญหาเดียวคือเขาจะถูกละเลยในระหว่างการสับไพ่"[45] ซึ่งเจฟ ลันดริแกน จากนิตยสารเนกซ์เจนได้ระบุถึงเพลย์สเตชันเวอร์ชันเดียวกันในบทวิจารณ์ช่วงแรกของเขาว่า "เป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้เล่นที่จบเกมของแคปคอมเท่านั้น"[28] และในประเทศญี่ปุ่น นิตยสารแฟมิซือให้คะแนนเวอร์ชันดรีมแคสต์กับเพลย์สเตชันเวอร์ชันละ 31 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40[46][47]
อเล็กซ์ โรดส์ จากเกมโซนให้คะแนนเวอร์ชันความละเอียดสูงหกเต็มสิบ โดยกล่าวว่าเกมนี้ "มีโอกาสที่จะฉายแววในการครบรอบ 25 ปีของมัน น่าเสียดายที่ราคาที่สูงเกินไปเมื่อรวมกับความน่าดึงดูดใจของตลาดเฉพาะกลุ่มแล้ว ย่อมจะพินาศไปตั้งแต่เริ่ม แม้ว่ารูปแบบการเล่นจะแทบไม่ถูกแตะต้องจากเวอร์ชันดรีมแคสต์ แต่มีเพียงแฟนมังงะตัวยงเท่านั้นที่จะเลือกเกมนี้"[48] อย่างไรก็ตาม โจ วอล์กเกอร์ จากพุชสแควร์ให้ห้าดาวแก่เวอร์ชันเพลย์สเตชัน 3 จากสิบดาว โดยกล่าวว่า "โจโจส์บิซาร์แอดเวนเจอร์ เอชดี เวอร์. เป็นเรื่องน่าเศร้าในทางหนึ่ง เพราะถึงแม้ตัวเกมจะยังคงสมบูรณ์และสนุกสนานในการเล่น แต่ก็มีข้อเสนอน้อยเกินไปที่จะปรับราคาให้เหมาะสม"[49]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ジョジョの奇妙な冒険 JoJo no Kimyō na Bōken
- ↑ ในช่วงต้นบทวิจารณ์เวอร์ชันดรีมแคสต์ของนิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี นักวิจารณ์คนหนึ่งให้คะแนน 8.5 เต็ม 10, อีกสองคนให้คะแนนคนละ 8 เต็ม 10 และอีกคนให้คะแนน 6 เต็ม 10
- ↑ นิตยสารเกมโปรให้คะแนนเวอร์ชันเพลย์สเตชัน 4 คะแนนเต็ม 5 สองรายการสำหรับกราฟิกและการควบคุม และ 3.5 คะแนนเต็ม 5 สองรายการสำหรับส่วนประกอบด้านเสียงและความสนุกในบทวิจารณ์เบื้องต้น
- ↑ นิตยสารเกมโปรให้คะแนนเวอร์ชันดรีมแคสต์ 3 คะแนนเต็ม 5 สองรายการสำหรับกราฟิกและเสียง, 4 คะแนนเต็ม 5 สำหรับการควบคุม และ 3.5 คะแนนเต็ม 5 สำหรับส่วนประกอบด้านความสนุกสนาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Japanese Comics Come Alive in JoJo's Bizarre Adventure!". Capcom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2000.
- ↑ 2.0 2.1 Loo, Egan (July 14, 2012). "1st Jojo's Bizarre Adventure Fighting Game Remade in HD". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2012. สืบค้นเมื่อ July 15, 2012.
- ↑ Loo, Egan (August 1, 2012). "Jojo's Bizarre Adventure HD Fighting Game's Trailer Posted". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 4, 2012. สืบค้นเมื่อ October 1, 2012.
- ↑ Matulef, Jeffrey (September 11, 2014). "JoJo's Bizarre Adventure HD has been removed from Xbox Live and EU PSN". Eurogamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2016. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ 5.0 5.1 "Jojo's Bizarre Adventure for Dreamcast". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2019. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ 6.0 6.1 "Jojo's Bizarre Adventure for PlayStation". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2019. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. for PlayStation 3". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2019. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. for Xbox 360". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2019. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ 9.0 9.1 "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. critic reviews (PS3)". Metacritic. Fandom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2015. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ 10.0 10.1 "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. critic reviews (X360)". Metacritic. Fandom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2019. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Franklin, Eric (May 17, 2000). "Jojo's Bizarre Adventure [sic] (DC)". Gamecenter. CNET. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2000. สืบค้นเมื่อ September 29, 2023.
- ↑ Hancock, Patrick (September 6, 2012). "Review: JoJo's Bizarre Adventure HD Version (PSN)". Destructoid. Gamurs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Chou, Che; Hsu, Dan "Shoe"; Smith, Shawn; Johnston, Chris (March 2000). "JoJo's Bizarre Adventure (DC)" (PDF). Electronic Gaming Monthly. No. 128. Ziff Davis. p. 141. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 17, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Bramwell, Tom (April 27, 2000). "JoJo's Bizarre Adventure (Dreamcast)". Eurogamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 7, 2001. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Edwards, Matt (September 3, 2012). "Jojo's Bizarre Adventure HD Ver. Review (PS3)". Eurogamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2015. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Reppen, Erik; Fitzloff, Jay; Reiner, Andrew (March 2000). "JoJo's Bizarre Adventure - Dreamcast". Game Informer. No. 83. FuncoLand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2000. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ Reppen, Erik (April 2000). "JoJo's Venture [sic] - PlayStation". Game Informer. No. 84. FuncoLand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2000. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ Rodriguez, Tyrone "Cerberus" (February 2000). "JoJo's Venture (DC; Japan Import)". GameFan. Vol. 8 no. 2. Shinno Media. p. 64. สืบค้นเมื่อ September 14, 2020.
- ↑ Rodriguez, Tyrone "Cerberus" (January 2000). "JoJo's Venture (PS; Japan Import)". GameFan. Vol. 8 no. 1. Shinno Media. pp. 76–77. สืบค้นเมื่อ November 13, 2020.
- ↑ Schaller, Kevin (September 5, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. Review (PS3)". GameRevolution. CraveOnline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Mielke, James (December 10, 1999). "Jojo's Bizarre Adventure Review (DC; Japan Import)". GameSpot. Fandom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2014. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ Mielke, James (December 10, 1999). "Jojo's Bizarre Adventure Review (PS; Japan Import) [date mislabeled as "May 2, 2000"]". GameSpot. Fandom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2011. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ 23.0 23.1 McGee, Maxwell (August 29, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. Review". GameSpot. Fandom. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2022. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ BenT (May 8, 2000). "JoJo's Bizarre Adventure". PlanetDreamcast. IGN Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2009. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ Dunham, Jeremy (May 2, 2000). "JoJo's Bizarre Adventure Review (DC)". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2022. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Nix, Marc (April 11, 2000). "Jojo's Bizarre Adventure (PS)". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 11, 2022. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ 27.0 27.1 Ingenito, Vince (September 3, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Review". IGN. Ziff Davis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 14, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ 28.0 28.1 Lundrigan, Jeff (March 2000). "JoJo's Bizarre Adventure (PS)". NextGen. No. 63. Imagine Media. p. 91. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ Maruyama, Wataru (April 2000). "Jojo's Bizarre Adventure [sic]". Official U.S. PlayStation Magazine. Vol. 3 no. 7. Ziff Davis. p. 96. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Kemps, Heidi (August 22, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. Review". Official Xbox Magazine. Future US. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 24, 2012. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ "Jojo's Bizarre Adventure [sic]". PSM. No. 31. Imagine Media. March 2000. p. 44. สืบค้นเมื่อ September 29, 2023.
- ↑ "Review: JoJo's Bizarre Adventure HD Ver". PlayStation: The Official Magazine. No. 65. Future plc. December 2012. p. 87.
- ↑ Harwood, Edd (September 28, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Review (PS3)". The Digital Fix. Poisonous Monkey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2012. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ "Game Machine's Best Hit Games 25 - TVゲーム機ーソフトウェア (Video Game Software)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 580. Amusement Press, Inc. February 1, 1999. p. 21.
- ↑ "Game Machine's Best Hit Games 25 - TVゲーム機ーソフトウェア (Video Game Software)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 599. Amusement Press, Inc. November 15, 1999. p. 17.
- ↑ Akagi, Masumi, บ.ก. (February 1, 2000). "Sega's CG Videos Top Game Charts" (PDF). Game Machine. No. 603. Amusement Press, Inc. p. 18. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 3, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ "Dengeki Charts". Official UK PlayStation Magazine. No. 53. Future Publishing. December 25, 1999. p. 23.
- ↑ "Tommo Inks Deal With Capcom to Exclusively Distribute Japanese Hit Game JoJo's Bizarre Adventure". Business Wire. Berkshire Hathaway. March 2, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2000. สืบค้นเมื่อ June 17, 2019 – โดยทาง Yahoo.com.
- ↑ Steinberg, Scott (May 3, 2000). "Jojo's Bizarre Adventure [sic] (DC, PS)". The Electric Playground. Greedy Productions Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2003. สืบค้นเมื่อ September 29, 2023.
- ↑ Smith, D. (March 2000). "World Republic Review: JoJo's Bizarre Adventure (DC)". Gamers' Republic. Vol. 2 no. 10. Millennium Publications. p. 145.
- ↑ Toxic Tommy (March 2000). "JoJo's Bizarre Adventure (PS)" (PDF). GamePro. No. 138. IDG. p. 93. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2022. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Jake The Snake (April 2000). "JoJo's Bizarre Adventure (DC)" (PDF). GamePro. No. 139. IDG. p. 118. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Edge staff (February 2000). "Jo Jo's Bizarre Adventure [sic] (DC; Japan Import)" (PDF). Edge. No. 81. Future Publishing. p. 82. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2023. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Knight, Kyle. "JoJo's Bizarre Adventure (DC) - Review". AllGame. All Media Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2014. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ Ottoson, Joe. "JoJo's Bizarre Adventure (PS) - Review". AllGame. All Media Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2014. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
- ↑ "ドリームキャスト - ジョジョの奇妙な冒険 未来への遺産". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 915. Enterbrain. June 30, 2006. p. 50. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 8, 2020. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ "プレイステーション - ジョジョの奇妙な冒険". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 915. Enterbrain. June 30, 2006. p. 22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 23, 2020. สืบค้นเมื่อ September 28, 2023.
- ↑ Rhoades, Alex (August 23, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. review". GameZone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 27, 2012. สืบค้นเมื่อ September 13, 2012.
- ↑ Walker, Joe (September 1, 2012). "JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. Review". Push Square. Hookshot Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 26, 2023. สืบค้นเมื่อ September 29, 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- JoJo's Bizarre Adventure by Capcom (ในภาษาญี่ปุ่น)
- JoJo's Bizarre Adventure: Heritage for the Future by Capcom (ในภาษาญี่ปุ่น)
- JoJo's Bizarre Adventure HD Ver. Official website ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร สิงหาคม 10, 2014) (ในภาษาญี่ปุ่น)
- JOJO's Venture ที่ Killer List of Videogames