ข้ามไปเนื้อหา

ปลาทูน่าแท้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Thunnus)

ปลาทูน่าแท้
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Tertiary–holocene [1][2]
ปลาทูน่าครีบเหลือง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: Scombriformes
Scombriformes
วงศ์: วงศ์ปลาอินทรี
Scombridae
เผ่า: Thunnini
Thunnini
สกุล: ปลาทูน่าแท้
Thunnus
South, 1845
ชนิดต้นแบบ
Scomber thynnus
Linnaeus, 1758
สกุลย่อย
  • T. (Thunnus) (กลุ่มปลาทูน่าครีบน้ำเงิน)
  • T. (Neothunnus) (กลุ่มปลาทูน่าครีบเหลือง)
ชื่อพ้อง
  • Albacora Jordan, 1888
  • Germo Jordan, 1888
  • Thynnus Aguilera, 2020
  • Kishinoella Jordan & Hubbs, 1925
  • Neothunnus Kishinouye, 1923
  • Orcynus Cuvier, 1816
  • Parathunnus Kishinouye, 1923
  • Semathunnus Fowler, 1933

ปลาทูน่าแท้ (อังกฤษ: true tuna, real tuna) เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง จำพวกปลาทูน่า ใช้ชื่อสกุลว่า Thunnus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)

ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการชั้นสูง ทำให้มีรูปร่างปราดเปรียวเพรียวยาวเหมือนตอร์ปิโด ลำตัวสีเงินแวววาว ถือเป็นปลาที่เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีเหงือกมีขนาดใหญ่ ร่างกายมีระบบปรับอุณหภูมิที่ดีเยี่ยม สามารถดูดซึมออกซิเจนไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสูง และมีกลไกการทำงานของหัวใจที่ดีเยี่ยม มีครีบแข็งทรงโค้งทั้งครีบทวารและครีบหลังอันที่สอง ส่วนครีบหางที่ใช้แหวกว่ายหักเลี้ยวได้อย่างว่องไวเป็นตัวขับเคลื่อนไปข้างหน้า[3]

ด้วยสรีระดังกล่าว จึงทำให้ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วมากกลุ่มหนึ่งในมหาสมุทร โดยสามารถทำความเร็วไปข้างหน้าได้ราว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสูงถึงเกือบ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 70–74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรองเพียงปลากระโทงแทง ซึ่งเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกเท่านั้น[4]

เนื่องด้วยการประมงเกินขีดจำกัด ทำให้ขอบเขตของสกุลนี้จึงลดลงอย่างมาก ดังตัวอย่างปลาสกุลนี้ถูกกำจัดออกไปจากทะเลดำจนไม่เหลือ[5]

การจำแนก

[แก้]

คำว่า Thunnus ในภาษาละตินนั้นมาจากคำ 2 คำในภาษากรีกโบราณคำว่า θύννος (thýnnos) แปลว่า “ปลาทูน่า” และ θύνω (thynō) แปลว่า "ที่พุ่ง; ที่โผ"[6][7]

เมื่องอิงตามสัณฐานวิทยาและข้อมูลลำดับดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียสั้น[8] สกุล Thunnus ในปัจจุบันจัดให้แบ่งออกเป็นสองสกุลย่อย คือ: Thunnus (Thunnus) (กลุ่มครีบน้ำเงิน) และ Thunnus (Neothunnus) (กลุ่มครีบเหลือง) อย่างไรก็ตาม การจำแนกแบบนี้ถูกตั้งคำถามจากการวิเคราะห์วิวัฒนาการชาติพันธุ์ล่าสุดของข้อมูลลำดับดีเอ็นเอภายในนิวเคลียส ซึ่งแก้ไขความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันระหว่างชนิดต่าง ๆ และไม่รองรับคำจำกัดความดั้งเดิมของกลุ่มครีบน้ำเงินและครีบเหลือง[9][10] โดยเฉพาะ การวิเคราะห์เหล่านี้ยืนยันการแบ่งปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกกับแอตแลนติกออกเป็นสองสายพันธุ์ และเสนอแนะว่าอันที่จริง ปลาทูน่าตาโตเป็นสมาชิกของสกุลย่อย Neothunnus ไม่ใช่สกุลย่อย Thunnus[9] การสร้างวิวัฒนาการชาติพันธุ์ดีเอ็นเอของไรโบโซมของนิวเคลียสใหม่ก่อนหน้านั้นก็แสดงผลลัพธ์ที่คล้ายกัน[11]

ตัวอย่างฟอสซิล

สกุลนี้แบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด ใน 2 สกุลย่อย:

รูปแสดงปลาทูน่าแท้แต่ละชนิดในขนาดต่างกัน โดยปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (บน) มีขนาดประมาณ 8 ฟุต (2.4 เมตร) ในตัวอย่างนี้
ปลาทูน่าแท้ในสกุล Thunnus ของวงศ์ Scombridae
 Scombridae 
Gasterochismatinae 

 Butterfly kingfishes (1 สกุล)

Scombrinae
 Scombrini 

 Mackerels (2 สกุล)

 Scomberomorini 

 Spanish Mackerels (3 สกุล)

 Sardini 

 Bonitos (4 สกุล)

 Thunnini

 Allothunnus, slender tunas

 Auxis, frigate tunas

 Euthynnus, little tunas

 Katsuwonus, skipjack tunas

 Thunnus 
 สกุลย่อย Thunnus

 กลุ่มครีบน้ำเงิน

 สกุลย่อย Neothunnus

 กลุ่มครีบเหลือง

 (ปลาทูน่าแท้) 
(Tunas)
แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์: Thunnus (ล่างขวาในภาพข้างบน) เป็นหนึ่งใน สกุลในอยู่ในเผ่า Thunnini ซึ่งมีอีกชื่อว่า ปลาทูน่าแท้ ประกอบด้วยปลาทูน่า 8 ชนิดจาก 15 ชนิด[1]
ต้นไม้สายวิวัฒนาการอีกแบบของ Thunnus
การสร้างต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ใหม่อีกแบบสำหรับสกุล Thunnus โดยอิงจากข้อมูลลำดับดีเอ็นเอของนิวเคลียสที่จัดให้ Thunnus obesus อยู่ในเคลดครีบเหลืองแทนที่จะเป้นเคลดครีบน้ำเงินในแบบดั้งเดิม[9]

ชนิด

[แก้]

คาดการณ์กันว่ามี Thunnus ถึง 7 ชนิด จนกระทั่งไม่นานมานี้ และปลาทูน่าครีบน้ำเงินแปซิฟิกกับปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือเคยเป็นชนิดย่อยของปลาชนิดเดียวกัน ใน ค.ศ. 1999 Collette ยอมรับว่าเมื่อพิจารณาทั้งโมเลกุลและสัณฐานวิทยาแล้ว ปลาสองชนิดนั้นจึงเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน[12][13]

รายงานขนาดสูงสุดของชนิดในสกุล Thunnus

การประมงเกินขีดจำกัด

[แก้]

ความต้องการซูชิและซาชิมิทั่วโลก ประกอบกับการเติบโตของประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการจับปลาชนิดนี้มากเกินไปทั่วโลก[14] และปลาครีบน้ำเงินเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุดและถือเป็น "ข้อกังวลด้านการอนุรักษ์ที่ร้ายแรง"[15] ทำให้ความพยายามในการจัดการสต็อกปลาครีบน้ำเงินอย่างยั่งยืนภายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของชาติที่ปลาครีบน้ำเงินอพยพไปและการล่ากลางมหาสมุทรที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศใด ๆ มีความซับซ้อน ทำให้เสี่ยงต่อการประมงเกินขีดจำกัดจากกองเรือประมงหลายประเทศ ข้อตกลงและอนุสัญญาระหว่างประเทศเป็นข้อตกลงโดยสุจริตและติดตามหรือบังคับใช้ได้ยาก[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Graham, Jeffrey B.; Dickson, Kathryn A. (2004). "Tuna Comparative Physiology". The Journal of Experimental Biology. 207 (23): 4015–4024. doi:10.1242/jeb.01267. PMID 15498947.
  2. Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2008-01-08.
  3. "ราชาแห่งมัจฉา". ไทยโพสต์. 15 March 2014. สืบค้นเมื่อ 10 April 2014.[ลิงก์เสีย]
  4. วรเทพ มุธุวรรณ (กรกฎาคม 2012). เดินเที่ยว Tokyo Sea Life Park. คอลัมน์ "Blue Planet" นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 25 ปีที่ 2: หน้า 125–126. ISSN 1906-9243.
  5. Hogan, C. Michael, Overfishing. Encyclopedia of Earth. eds. Sidney Draggan and Cutler Cleveland. National council for Science and the Environment, Washington DC
  6. θύννοςin Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon, revised and augmented throughout by Jones, Sir Henry Stuart, with the assistance of McKenzie, Roderick; Oxford, Clarendon Press, 1940
  7. θύνω in Liddell and Scott.
  8. Alvarado Bremer, J.R.; Naseri, I.; Ely, B. (2016). "ROrthodox and unorthodox phylogenetic relationships among tunas revealed by the nucleotide sequence analysis of the mitochondrial DNA control region". Journal of Fish Biology. 50 (3): 540–554. doi:10.1111/j.1095-8649.1997.tb01948.x.
  9. 9.0 9.1 9.2 Díaz-Arce, Natalia; Arrizabalaga, Haritz; Murua, Hilario; Irigoien, Xabier; Rodríguez-Ezpelata, Naiara (2016). "RAD-seq derived genome-wide nuclear markers resolve the phylogeny of tunas". Molecular Phylogenetics and Evolution. 102: 202–207. doi:10.1016/j.ympev.2016.06.002. hdl:10754/612968. PMID 27286653.
  10. Ciezarek, Adam G.; Osborne, Owen G.; Shipley, Oliver N.; Brooks, Edward J.; Tracey, Sean R.; McAllister, Jaime D.; Gardner, Luke D.; Sternberg, Michael J. E.; Block, Barbara; Savolainen, Vincent (2019-01-01). "Phylotranscriptomic Insights into the Diversification of Endothermic Thunnus Tunas". Molecular Biology and Evolution (ภาษาอังกฤษ). 36 (1): 84–96. doi:10.1093/molbev/msy198. ISSN 0737-4038. PMC 6340463. PMID 30364966.
  11. Chow, S.; Nakagawa, T.; Suzuki, N.; Takeyama, H.; Matsunaga, T. (2006). "Phylogenetic relationships among Thunnus species inferred from rDNA ITS1 sequence". Journal of Fish Biology. 68 (A): 24–35. doi:10.1111/j.0022-1112.2006.00945.x.
  12. Collette, B.B. (1999). "Mackerels, molecules, and morphology". ใน Séret, B.; Sire, J.Y. (บ.ก.). Proceedings. 5th Indo-Pacific Fish Conference: Nouméa, New Caledonia, 3–8 November 1997. Paris: Société Française d'Ichtyologie [u.a.] pp. 149–164. ISBN 978-2-9507330-5-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-30. สืบค้นเมื่อ 2017-09-16.
  13. Tanaka, Y.; Satoh, K.; Iwahashi, M.; Yamada, H. (2006). "Growth-dependent recruitment of Pacific bluefin tuna Thunnus orientalis in the northwestern Pacific Ocean". Marine Ecology Progress Series. 319: 225–235. Bibcode:2006MEPS..319..225T. doi:10.3354/meps319225.
  14. George Karleskint; Richard Turner; James Small (2009). Introduction to Marine Biology. Cengage Learning. p. 522. ISBN 978-0-495-56197-2.
  15. "Tuna, Bluefin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22.
  16. "Managed to death". The Economist. 2008-10-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-11. สืบค้นเมื่อ 2011-01-08.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]