ซุคฮอย ซู-30

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Su-30)
ซุคฮอย ซู-30
Су-30
บทบาทเครื่องบินขับไล่โจมตีหลากบทบาท
ชาติกำเนิด รัสเซีย
บริษัทผู้ผลิตซุคฮอย
บินครั้งแรกพ.ศ 2532
เริ่มใช้พ.ศ. 2539
สถานะปฏิบัติการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศรัสเซีย
กองทัพอากาศอินเดีย
กองทัพอากาศแอลจีเรีย
กองทัพอากาศจีน
จำนวนที่ผลิต612+
มูลค่า37.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2555)
พัฒนามาจากซุคฮอย ซู-27
แบบอื่นซุคฮอย ซู-30เอ็มเคไอ
ซุคฮอย ซู-30เอ็มเคเค

ซุคฮอย ซู-30 (อังกฤษ: Sukhoi Su-30, Flanker-C) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าแฟลงเกอร์-ซี) เป็นเครื่องบินทางทหารสองเครื่องยนต์ที่สร้างโดยบริษัทการบินซุคฮอยของรัสเซียและเริ่มนำเข้ามาใช้ปฏิบัติการในปีพ.ศ. 2539 มันเป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีสองที่นั่งสำหรับภารกิจขัดขวางทางอากาศและพื้นดินในทุกสภาพอากาศ มันเทียบได้กับเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล

เครื่องบินเป็นรุ่นที่ถูกทำให้ทันสมัยของซู-27ยูบีและมีแบบที่หลากหลาย ซู-30เคและซู-30เอ็มเคเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จทางการค้า แบบอื่น ๆ นั้นถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทที่เข้าแข่งขันกันคือเคเอ็นเอเอพีโอ (Komsomolsk-on-Amur Aircraft Production Association, KnAAPO) และอิร์คุต (IRKUT Corporation) ทั้งสองอยูภายใต้ข้อกำหนดของซุคฮอย บริษัทแรกทำการผลิตซู-30เอ็มเคเคและซู-30เอ็มเค2 ซึ่งออกแบบและขายให้กับจีนและอินโดนีเซีย ไอร์คัทสร้างซู-30เอ็มเคที่มีพิสัยไกลและหลากบทบาท ซึ่งรวมทั้งซู-30เอ็มเคไอที่สร้างมาเพื่อกองทัพอากาศอินเดียและแบบอื่น ๆ ที่พัฒนามาจากมันอย่าง เอ็มเคเอ็ม เอ็มเคเอ และเอ็มเควี ถูกสร้างให้กับมาเลเซีย แอลจีเรีย และเวเนซุเอลาตามลำดับ

การพัฒนา[แก้]

เครื่องบินสกัดกั้นพิสัยไกลซู-27พียู[แก้]

ในขณะที่ซู-27 มีพิสัยที่ยอดเยี่ยม มันก็ยังขาดความสามารถในการป้องกันที่เพียงพอตามความต้องการของกองกำลังป้องกันทางอากาศของโซเวียต ซึ่งต้องการให้มันทำการปกคลุมทั่วแผนดินอันกว้างใหญ่ของสหภาพโซเวียต ดังนั้นการพัฒนาจึงเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2529 โดยเรียกว่าซู-27พียู ด้วยความสามารถที่แตกต่างจากซู-27 ที่สามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องบินสกัดกั้นพิสัยไกลหรือกองบัญชาการทางอากาศได้ ซู-27ยูบีแบบสองที่นั่งถูกเลือกเข้าพัฒนาเป็นซู-27พียู เพราะว่ามันมีการทำงานที่เหมือนกับซู-27 ที่นั่งเดียว และยังมีจุดสำคัญที่นักบินสองนายเพื่อทำภารกิจระยะไกล การบินทดสอบเริ่มขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2530 และนำไปสู่การยกเลิกต้นแบบก่อนหน้า ซู-27พียูทำการบินครั้งแรกที่ไอร์คุทสค์ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2532 และสามลำแรกของซีรีส์สทำการบินในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2535

เพื่อใช้งานซู-27ยูบีในบทบาทใหม่ เครื่องบินจึงมีระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศเพื่อเพิ่มพิสัย ส่วนนี้ถูกติดตั้งที่ด้านซ้ายของจมูก และเพื่อให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมจึงมีการติดตั้งระบบไออาร์เอสทีเข้าไปที่ด้านขวา ระบบอิเลคทรอนิกอากาศของมันถูกเปลี่ยนใหม่ ด้วยการติดตั้งระบบการสื่อสารพิเศษและอุปกรณ์นำวิถีเพื่อควบคุมรูปขบวนของซู-27 แบบที่นั่งเดียว ห้องนักบินหลังได้รับการติดตั้งจอแสดงผล[ซีอาร์ที]ซึ่งให้ข้อมูลทางยุทธวิธี ระบบนำร่องและระบบควบคุมการบินที่บังคับด้วยข้อมูลฟลาย-บาย-ไวร์ยังถูกพัฒนาอีกเช่นกัน มันมีเรดาร์เอ็น001 ที่ให้ความสามารถในการโจมตีทางอากาศสู่พื้นและเพื่อติดตามและเข้าปะทะหลายเป้าหมายได้ในเวลาเดียวกัน

ซุคฮอยได้เสนอให้ซู-27พียูเป็นอากาศยานที่เป็นผู้สั่งการและควบคุมเครื่องบินขับไล่ในกลุ่มอื่น ๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของการแจ้งเตือนทางอากาศโดยมีผู้นั่งข้างหลังที่ทำหน้าที่ใช้เรดาร์และการแบ่งข้อมูลเพื่อสั่งการเครื่องบินลำอื่น อย่างไรก็ตามโซเวียตไม่สนใจในการซื้อซู-27พียู ซู-27พียูทั้ง 5 ลำพร้อมชื่อใหม่คือซู-30 เป็นแค่เพียงเครื่องบินฝึกในโซเวียต

ซู-30เอ็มสองที่นั่งถูกเสนอให้กับรัสเซียและสร้างออกมาในจำนวนที่น้อยมากในปีทศวรรษที่ 1990

ซูคอยได้เสนอรุ่นสำหรับส่งออก คือ ซู-30เอ็มเค โดยได้ทำการแสดงในงานที่ปารีสเมื่อปีพ.ศ. 2536

การออกแบบ[แก้]

ซู-30 เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาท มันมีสองที่นั่งพร้อมระบบเบรกอากาศที่อยู่ถัดห้องนักบินไปทางด้านหลัง

เครื่องบินขับไล่ความยืดหยุ่นสูง[แก้]

ซู-30เอ็มเคสามารถทำภารกิจได้อย่างหลากหลายในระยะไกลจากฐานบิน ได้ในทุกสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม ทั้งกลางวันและกลางคืน

เครื่องบินนี้มีความพอดีในด้านยุทธวิธีและการใช้งาน มันทำงานได้ตั้งแต่การตอบโต้ทางอากาศไปจนถึงการโจมตีภาคพื้นดิน การกดดันการป้องกันทางอากาศของศัตรู การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด และการโจมตีทางทะเล นอกจากนี้ซู-30เอ็มเคยังสามารถทำหน้าที่แจ้งเตือนทางอากาศเช่นเดียวกับควบคุมบัญชาการการโจมตีทางอากาศที่เข้าร่วมภารกิจ

มุมปะทะ[แก้]

โครงสร้างอากาศพลศาสตร์ของซู-30เอ็มเคเป็นแบบเครื่องบินปีกสามชุดที่มีเส้นแวงที่ไม่เสถียร เพื่อเพิ่มแรงยกที่มีประสิทธิภาพและเพิ่มความคล่องแคล่วของเครื่องบินจึงมีการติดตั้งปีกปลอมเข้าไป พวกมันจะสะท้อนอัตโนมัติเพื่อทำให้การควบคุมยังอยู่ในมือของนักบินในตอนที่ทำมุมปะทะระดับสูง อย่างไรก็ตามมีเพียงซู-30 บางรุ่นอย่างเอ็มเคไดเท่านั้นที่มีปีกปลอม

กระบวนท่าพูกาเชฟส์คอบรา[แก้]

กระบวนท่าพูกาเชฟคอบร้าของ ซู-27 และ ซู-30

ด้วยโครงสร้างทางอากาศพลศาสตร์ที่ผสมเข้ากับความสามารถในการควบคุมแรงขับ บวกกับความสามารถในการทรงตัวเป็นเลิศในทุกย่านความเร็ว มันส่งผลให้เกิดกระบวนท่าที่ไม่เคยมีมาก่อนและการบินขึ้น-ลงที่ไม่เหมือนใคร มันมีระบบฟลาย-บาย-ไวร์แบบดิจิตอลที่ทำให้มันสามารถทำกระบวนท่ายาก ๆ ได้ นั่นรวมทั้งพูกาเชฟส์คอบราและเบลล์ นั่นทำให้เครื่องบินสามารถลดความเร็วได้อย่างรวดเร็วจนทำให้เครื่องบินที่ตามหลังมานั้นหลุดจากการล็อกเป้า[1] เครื่องบินยังสามารถทำการเลี้ยว 360 องศาได้โดยที่ไม่สูญเสียระดับ

เครื่องยนต์หลัก[แก้]

เครื่องบินมีเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแซทเทิร์น เอแอล-31เอฟพร้อมสันดาปท้ายสองเครื่องยนต์ แต่ละเครื่องให้กำลังเครื่องละ 27,550 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปโดยทำความเร็วได้ถึง 2 มัค ทำความเร็วในระดับความสูงต่ำได้ 1,350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอัตราการไต่ระดับที่ 230 เมตรต่อวินาที

ด้วยเชื้อเพลิงปกติขนาด 5,270 กิโลกรัม ซู-30เอ็มเคจะสามารถทำการบินได้ 4.5 ชั่วโมงในระยะ 3,000 กิโลเมตร ในกรณีที่เติมเชื้อเพลิงทางอากาศจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ชั่วโมงในระยะ 5,200 กิโลเมตร

ด้วยทางเลือกในการเพิ่มระยะอย่างมีประสิทธิภาพทำให้มันมักทำภารกิจตั้งแต่ลาดตระเวนระยะยาวและคุ้มกันการสกัดกั้นระยะไกลไปจนถึงการโจมตีภาคพื้นดิน

นักบินสองนาย[แก้]

ด้วยนักบินสองนายใช้แนวคิดในการเพิ่มขีดสมรรถนะในการสู้รบเพราะว่าเป็นการลดภาระหลายหน้าที่ ที่นักบินหนึ่งคนจะต้องปฏิบัติ ในขณะที่นักบินคนแรกทำหน้าทีควบคุมเครื่องบิน ตัดสินใจใช้อาวุธ และหลบหนีหลีกเลี่ยง นักบินคนที่สองมีหน้าที่ควบคุมอาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นเพื่อโจมตีจากระยะไกล ทำการเฝ้าดูสภาพแวดล้อมทางยุทธวิธีเพื่อระวังภัย และทำการควบคุม-บัญชาการงานในกลุ่มที่ทำภารกิจร่วม

ระบบอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการบิน[แก้]

  • มันมีทั้งเรดาร์เอ็น001วีอีและเอ็น010 ซูค หรือเอ็น011เอ็ม บาร์ส สามารถจับเป้าหมายได้ 15 เป้าหมายในอากาศในขณะที่ทำการโจมตี 4 ในนั้นได้ทันที เรดาร์เอ็น011เอ็ม บาร์สจะตรวจจับข้าศึกขนาดใหญ่ที่อยู่บนผิวน้ำจากระยะ 400 กิโลเมตร และสำหรับเป้าขนาดเล็ก
  • ระบบอื่น ระบบอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการบินยังรวมทั้งระบบนำร่องและแสดงภาพภูมิประเทศพร้อมระบบไจโร หมวกติดจอแสดงผล แสดงภาพสถานการณ์ตรงหน้า/เฮด-อัพดิสเพลย์ จอแอวซีดี และระบบจีพีเอส
  • กระเปาะเล็งเป้าอินฟราเรดและเลเซอร์มีไว้เพื่อจับเป้าหมายและเข้าปะทะกับเป้าหมายขนาดเล็กบนพื้นดิน เครื่องบินยังทำหน้าที่รบกวนเรดาร์ของศัตรูได้เช่นกัน
  • เครื่องบินมีจุดเด่นที่นักบินอัตโนมัติที่ทำการบินได้ทั้งในระดับต่ำตามภูมิประเทศ และการบินเป็นกลุ่มเพื่อเข้าปะทะเป้าหมายบนพื้นและอากาศ ระบบควบคุมอัตโนมัติจะทำการบินตามเส้นทาง ที่หมาย และทำการลงจอดเอง

ประวัติการใช้งาน[แก้]

ในปีพศ. 2547 กองทัพอากาศสหรัฐได้ส่ง เอฟ-15ซี/ดี เข้าร่วมซ้อมรบกับกองทัพอากาศอินเดีย ในปฏิบัติการ Cope-India 04 ซึ่งทางอินเดียได้ใช้ Sukhoi Su-30MKI เป็นเครื่องครองสภาพอากาศ ผลปรากฏว่าชัยชนะเป็นของฝ่ายอินเดียในการประลอง [2]

มูลค่า[แก้]

  • ซู-30เคมีมูลค่าประมาณ 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
  • ซู-30เอ็มเคเคมีมูลค่าประมาณ 53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รุ่นต่าง ๆ[แก้]

ซู-27พียู
เป็นเครื่องบินสกัดกั้นพิสัยไกลที่มีพื้นฐานมาจากซู-27ยูบีสองที่นั่ง ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็นซู-30
ซู-30
รุ่นทดสอบสำหรับระบบปีกปลอม
ซู-30เค
รุ่นสำหรับการตลาดของซู-30
ซู-30เคไอ
เป็นรุ่นที่ซุคฮอยเสนอให้กับกองทัพอากาศรัสเซียเพื่อพัฒนาซู-27เอสหนึ่งที่นั่ง นอกจากนี้มันยังถูกเสนอให้กับอินโดนีเซีย ซึ่งสั่งซื้อไว้ 24 ลำแต่ต่อมาต้องยกเลิกเพราะวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540[4] มันเป็นเครื่องบินในตระกูลซู-30 แบบเดียวที่มีหนึ่งที่นั่ง
ซู-30เคเอ็น
เป็นการพัฒนาของซู-27ยูบี ซู-30 และซู-30เค
ซู-30เอ็ม
เป็นการพัฒนาซู-27พียู มันเป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทลำแรกในตระกูลซู-27
ซู-30เอ็มเค
รุ่นทางการตลาดของซู-30เอ็ม ปรากฏตัวครั้งแรกในปีพ.ศ. 2536
ซู-30เอ็ม2
ซู-30เอ็มเคที่ได้รับการพัฒนาด้วยปีกปลอมและทีวีซี
ซู-30เอ็มเคไอ
เอ็มเคไอย่อมาจาก "Modernizirovannyi Kommercheskiy Indiski" ที่แปลว่า "Modernized Commercial India" หรือ แบบทางตลาดที่พัฒนาแล้วสำหรับอินเดีย มันเป็นการพัฒนาร่วมกับบริษัทของอินเดีย การควบคุมแรงขับหรือทีวีซีและปีกปลอม มันมีระบบอิเลคทรอนิกสากลที่มีพื้นฐานมาจากทั้งของ อิสราเอล อินเดีย รัสเซีย และฝรั่งเศส[5]
ซุคฮอย ซู-30เอ็มเคเค
เป็นรุ่นส่งออกให้กับจีน
ซู-30เอ็มเคเอ็ม
มีพื้นฐานมาจากรุ่นเอ็มเคไอ มันได้รับการพัฒานอย่างมากให้กับกองทัพอากาศมาเลเซียโดยมีระบบอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการบินที่ผสมมาจากของฝรั่งเศส แอฟริกาใต้ และรัสเซีย มันมีจุดเด่นที่จอแสดงภาพสถานการณ์ตรงหน้าเฮด-อัพดิสเพลย์ ระบบอืนฟราเรดนำร่องด้านหน้า และกระเปาะเลเซอร์จากฝรั่งเศส เซ็นเซอร์เตือนขีปนาวุธ เอ็มเอดับบลิว-300 อาร์ดับบลิวเอส-50 และเซ็นเซอร์เตือนเลเซอร์จากซ้าบ[6] เช่นเดียวกับเรดาร์เอ็น001เอ็ม บาร์สจากรัสเซีย ระบบสงครามอิเลคทรอนิก ระบบระบุตำแหน่ง และห้องนักบินที่พัฒนาจอแสดงภาพดิจิตอล[7] อื่น ๆ ก็มีระบบสัญญาณให้ข้อมูล ตอบสนองการสั่งการและการคำนวณควบคุมการบินหลักจากกู้ดริชและระบบสื่อสารจากเยอรมนี
ซู-30เอ็มเควี
รุ่นส่งออกให้กับเวเนซูเอล่าที่เหมือนกับซู-30เอ็มเค2 อย่างมาก
ซู-30เอ็มเค2
เป็นซู-30เอ็มเคเคที่พัฒนาในเรื่องระบบอิเลคทรอนิกอากาศซึ่งสนับสนุนการใช้ขีปนาวุธต่อต้านเรือ
ซู-30เอ็มเค2วี
เป็นซู-30เอ็มเค2 ที่ส่งออกให้กับเวียดนามพร้อมกับการดัดแปลงอีกเล็กน้อย
ซู-30เอ็มเค3
ซู-30เอ็มเคเคที่มีเรดาร์ของซูคและมีขีปนาวุธต่อต้านเรือเคเอช-59เอ็มเค
ซู-30เอ็มเคเอ
เป็นรุ่นพิเศษของแอลจีเรียที่คล้ายกับรุ่นเอ็มเคไอ แต่ใช้ระบบอิเลคทรอนิกอากาศของรัสเซียและฝรั่งเศสแทน มันมีหน้าจอเฮด-อัพและหน้าจอหลายทางเลือกที่ทำโดยฝรั่งเศส

ประเทศผู้ใช้งาน[แก้]

ประเทศผู้ใช้งานซู-30
ธงของประเทศแอลจีเรีย แอลจีเรีย
 สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • กองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชนมีซู-30เอ็มเคเค 76 ลำ (ย่อมาจาก "Modernizirovannyi Kommercheskiy Kitaya" แปลว่า "Modernized Commercial China" หรือ "แบบการตลาดที่พัฒนาแล้วสำหรับจีน") กองทัพอากาศจีนใช้งานซู-27 อยู่แล้ว 38 ลำแรกถูกส่งมอบในระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และสิ้นปีพ.ศ. 2544 อีก 38 ลำถูกสั่งซื้อในปีพ.ศ. 2544 และคาดว่าส่งมอบในปีพ.ศ. 2546
  • กองทัพเรือจีนมีซู-30เอ็มเค2 พวกมันถูกสั่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2546 และส่งมอบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547
ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
  • กองทัพอากาศอินเดียหลังจากที่ทำการเจรจามาสี่ปีก็ได้ตัดสินใจซื้อซู-30 50 ลำและต้องการใบอนุญาตเพื่อทำการผลิตซู-30เอ็มเคไออีก 140 ลำ อินเดียมีซู-30เอ็มเคไอประมาณ 42 ลำในประจำการเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552[4]
ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
  • กองทัพอากาศอินโอนีเซียได้รับซู-30เอ็มเค2 สองลำจากทั้งหมดหกลำเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ 2551 และที่เหลือจะส่งมอบในปีพ.ศ. 2552[10] กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีซู-30เอ็มเค 2 ลำและซู-30เอ็มเค2 สามลำในประจำการเมื่อต้นปีพ.ศ. 2552[4]
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
  • กองทัพอากาศมาเลเซียหลังจากที่ได้เฝ้าดูซู-30เอ็มเคไอ ได้ทำสัญญาซื้อซู-30เอ็มเอเอ็ม 18 ลำในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 ฝูงบินจะสมบูรณ์เมื่อสิ้นพ.ศ. 2551 โดยมีทั้งหมด 18 ลำ ส่วนหนึ่งในข้อตกลงคือรัสเซียรัสเซียจะส่งนักบินอวกาศของมาเลเซียขึ้นไปที่สถานีอวกาศนานาชาติ
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย
ธงของประเทศเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา
  • เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ 2549 รัฐบาลและกองทัพอากาศเวเนซุเอลาได้ประกาศการซื้อซู-30เอ็มเค2 24 ลำ ซู-30เอ็มเค2 สองลำแรกจะมาถึงในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ในขณะที่อีก 8 ลำจะมาในพ.ศ. 2550 อีกสิบสี่ลำจะมาถึงในปีพ.ศ. 2550 พร้อมกับอีกสี่ลำสุดท้ายที่จะส่งมอบในเดือนสิงหาคม[11][12]
ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม

รายละเอียดของซู-27พียู/ซู-30[แก้]

ซู-30

ข้อมูลจำเพาะ[14][15][16]

  • นักบิน 2 นาย
  • ความยาว:เครื่องบินขับใล่ครองอากาศ สองที่นั่ง
  • ระยะระหว่างปลายปีทั้งสอง 17.4 เมตร
  • ความสูง 6.36 เมตร
  • พื้นที่ปีก 62 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 17,700 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 24,900 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 34,500 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเอแอล-31เอฟแอล 2 เครื่องยนต์
    • กำลังสูงสุดเครื่องละ 16,754 ปอนด์
    • เมื่อใช้สันดาปท้ายให้กำลังเครื่องละ 12,500 ปอนด์
  • ความเร็วสูงสุด 2 มัค (2,120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พิสัย 3,000 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 56,800 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 45,575 ฟุตต่อนาที
  • นำหนักบรรทุกที่ปีก่ 401 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 1.0
  • อาวุธ
    • ปืนใหญ่อากาศจีเอสเอช-30-1 ขนาด 30 ม.ม. 1 กระบอกพร้อมกระสุน 150 นัด
    • ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ
      • อาร์-27อีอาร์1 6 ลูก
      • อาร์-27อีที1 สองลูก
      • อาร์-73อี 6 ลูก
      • อาร์-77 อาร์วีวี-เออี 6 ลูก
    • ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น
      • ขีปนาวุธต่อต้านเรดาร์เคเอช-31พี/เคเอช-31เอ 6 ลูก
      • ขีปนาวุธนำวิถีด้วยเลเซอร์เคเอช-29ที/แอล 6 ลูก
      • เคเอช-59เอ็มอี 2 ลูก
    • ระเบิด
      • เคเอบี 500เคอาร์ 6 ลูก
      • เคเอบี-1500เคอาร์ 3 ลูก
      • เอฟเอบี-500ที 8 ลูก
      • โอเอฟเอบี-250-270 28 ลูก

เหตุการณ์สำคัญและอุบัติเหตุ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Discovering Novel Fighter Combat Maneuvers.
  2. "Russian fighters superior, says Pentagon". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-13. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15.
  3. Su-30, FAS.org
  4. 4.0 4.1 4.2 Sukhoi Su-27 - Operator List. MilAvia.net, 14 March 2009.
  5. SU30MKI
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 2009-07-04.
  8. Russia delivers two Su-30 fighters to Algeria. GlobalSecurity.org. Retrieved 25 February 2009.
  9. "Directory: World Air Forces". Flight International, 11–17 November 2008.
  10. "Three Su-27SKM fighter jets are due to be delivered by 2010" เก็บถาวร 2011-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. armybase.us, 27 December 2008.
  11. Air Forces Monthly, August issue.
  12. RIA Novosti - World - Chavez warns U.S. after getting Russian warplanes
  13. Franz-Stefan Gady (31 March 2016). "Will Vietnam Buy a Squadron of Russian Su-35 Fighter Jets?". The Diplomat.
  14. Sukhoi Su-30MK เก็บถาวร 2008-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KNAAPO.
  15. Su-30MK Aircraft performance page เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sukhoi.
  16. Gordon and Davison 2006, pp. 92, 95–96.
  17. Vincent Lamigeon (18 June 2013). "Les crashes qui ont marqué l'histoire du salon du Bourget". Challenges. สืบค้นเมื่อ 23 January 2015.
  18. "Pilot killed in SU-30 MKI crash in Jaisalmer". Rediff.com India. April 30, 2009.
  19. "Un avion militaire russe Su-30SM s'écrase en Syrie, selon le ministère russe de la Défense". Sputnik news (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
  20. "Russian warplane crashed in Jableh coast this morning. South Latakia countryside - Map of Syrian Civil War". Syria news today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]