โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Stamford Raffles)
โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 กรกฎาคม พ.ศ. 2324
นอกฝั่งพอร์ตมอแรนต์ จาเมกา
เสียชีวิต5 กรกฎาคม พ.ศ. 2369 (อายุ 44 ปี)
ลอนดอน, อังกฤษ
ศาสนาแองกลิคัน
คู่สมรสโอลิเวีย มาเรียมน์ ดีเวนนิช
(พ.ศ. 2348 – พ.ศ. 2357)
โซเฟีย ฮัลล์ (พ.ศ. 2360 – พ.ศ. 2401)
อาชีพเจ้าหน้าที่อาณานิคมอังกฤษ
เป็นที่รู้จักจากผู้ก่อตั้งสิงคโปร์

เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (อังกฤษ: Sir Thomas Stamford Bingley Raffles); (6 กรกฎาคม พ.ศ. 23245 กรกฎาคม พ.ศ. 2369) ผู้บริหารอาณานิคม ผู้ก่อตั้งเมืองสิงคโปร์ เกิดบนเรือที่ลอยทะเลนอกฝั่งพอร์ตมอแรนต์ จาเมกา แรฟเฟิลส์ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการน้อยมากแต่ก็ได้เข้าทำงานเป็นสมียนของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ หลังจากการศึกษาด้วยตนเอง แรฟเฟิลส์ ก็ได้รับตำแหน่งก้าวหน้าเป็นผู้ช่วยเลขานุการเมืองปีนังได้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วจนถึงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการเขตอาณานิคมชวา (พ.ศ. 2354 - พ.ศ. 2359) และ ได้ปฏิรูประบบการบริหารใหม่โดยสิ้นเชิง

เมื่อปี พ.ศ. 2359 แรฟเฟิลส์ต้องกลับบ้านที่อังกฤษเนื่องจากการป่วยไข้ และได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินชั้นเซอร์

เมื่อแรฟเฟิลส์หายป่วยและกลับมาดำรงตำแหน่งรองผู่ว่าราชการเขตอาณานิคม "เบิงกูลู" (พ.ศ. 2361 - พ.ศ. 2366) ก็ได้จัดตั้งนิคมขึ้นที่เกาะสิงคโปร์อีก แรฟเฟิลส์จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดผู้หนึ่งในการพัฒนาจักรวรรดิอังกฤษในตะวันออกไกล

การก่อตั้งนิคมสิงคโปร์[แก้]

รูปปั้น Sir Stamford Raffles ใน สิงคโปร์

แต่เดิมเกาะสิงคโปร์เคยเป็นที่ตั้งหน่วยทหารของอาณาจักรศรีวิชัยในย่านสุมาตรา มีชื่อเป็นภาษาชวาว่า "เทมาเสก" (แปลว่าเมืองทะเล) ซึ่งต่อมาได้กลายเมืองค้าขายที่เพิ่มความสำคัญมากขึ้น แต่หลังจากประมาณ พ.ศ. 1850 เป็นต้นมา ความเจริญทางการค้าเสื่อมถอยลงจนเกือบหาร่องรอยของเมืองเทมาเสกไม่พบ ระหว่าง ประมาณ พ.ศ. 2050 - พ.ศ. 2350 เกาะสิงคโปร์ได้กลายเป็นส่วนของอาณาเขตของสุลต่านยะโฮร์ โดยในช่วงนี้ก็ได้เกิดสงครามระหว่างชาวมลายูกับชาวโปรตุเกส อาคารบ้านเรือนถูกเผาจนราบเรียบและตกอยู่ในการครอบครองของโปรตุเกสอยู่ประมาณ 100 ปี และเปลี่ยนมือมาเป็นของฮอลันดาอีกประมาณ 100 ปี พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นป่าดงกลายเป็นที่อยู่ของชาวประมงและโจรสลัด

ใน ปี พ.ศ. 2362 แรฟเฟิลส์ได้แล่นเรือมาขึ้นเกาะ และได้มองเห็นศักยภาพและโอกาสเป็นอย่างมากที่จะใช้เป็นฐานที่ตั้งทางการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ แรฟเฟิลส์ได้ทำความตกลงและเซ็นสัญญากับสุลต่านฮุสเซน ชาร์ ในนามของบริษัทอีสต์อินเดียเพื่อสร้างเป็นฐานที่ทำการค้าและการตั้งถิ่นฐาน แรฟเฟิลส์ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. 2366 เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างศีลธรรม ห้ามการพนัน และการค้าทาส ซึ่งต่อมามีผู้คนหลายเชื้อชาติค่อย ๆ อพยพเข้ามาทำงานในสิงคโปร์และเริ่มทะลักมากขึ้น สิงคโปร์กลายเป็นส่วนในอาณัติของอาณานิคมอังกฤษโดยการบริหารจัดการโดยบริษัทอีสต์อินเดียเมื่อ พ.ศ. 2401 และกลายเป็นอาณานิคมของจักวรรดิอังกฤษอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2410 เมื่อถึง พ.ศ. 2412 ปรากฏว่าสิงคโปร์มีประชากรมากถึง 100,000 คน

บั้นปลายชีวิต[แก้]

ในระยะหลังๆ เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์เริ่มเบื่อหน่ายการงานเนื่องจากมีศัตรูทางการเมืองมากจึงหันความสนใจไปในด้านธรรมชาติวิทยา เขาอยู่ดูแลการก่อตั้งสิงคโปร์จริงๆ เพียง 8 เดือน เมือเห็นว่าเรียบร้อยดีก็ออกเดินทางกลับประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2367 แต่แม้จะเป็นช่วงเวลาที่สั้น แรฟเฟิลส์ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ก่อตั้งสิงคโปร์

ในปี พ.ศ. 2368 เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ได้ร่วมก่อตั้งสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอนและสวนสัตว์ลอนดอนและได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมคนแรก แต่ในปีต่อมาแรฟเฟิลส์ก็ได้เสียชีวิตจากการตกเลือดในสมองก่อนที่จะมีอายุครบ 45 ปี เพียง 1 วัน แรฟเฟิลส์นับได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความโศกเศร้าในชีวิตในโลกตะวันออกไม่น้อย เขาเสียภริยาในชวาและลูกอีก 3 คนในเบงคูเลน และเนื่องจากการเป็นนักต่อต้านการค้าทาส ศพแรฟเฟิลส์ถูกห้ามมิให้ฝังในบริเวณโบสถ์ที่บ้านเกิด (โบสถ์เซนต์แมรี่ เมืองเฮนดอน) โดยพระราชาคณะของเขตปกครองนั้นซึ่งมีครอบครัวที่เคยมีรายได้จากการค้าทาส แต่ในภายหลังเมื่อมีการขยายตัวโบสถ์เมื่อประมาณ พ.ศ. 2465 หลุมฝังศพของแรฟเฟิลส์จึงได้เข้ามาอยู่ในตัวอาคาร

มรดกของ "แรฟเฟิลส์"[แก้]

ทั้งในประเทศสิงคโปร์และในที่อื่นๆ ชื่อของเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ได้ปรากฏในรูปแบบต่างๆ มากมาย

ชีววิทยา[แก้]

สัญลักษณ์หรือที่หมายตา[แก้]

ธุรกิจ[แก้]

การศึกษา[แก้]

การกีฬาและนันทนาการ[แก้]

การขนส่ง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • Wurtzburg, Charles Edward (1953). Raffles of the Eastern Isles. Oxford University Press. ISBN 978-0195826050
  • Chandler, David P., et al (1988). In Search of Southeast Asia. University of Hawaii Press. ISBN 978-0824811105
  • David Crystal, Biographical Encyclopedia, The Cambridge, Second edition, 2000

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]