ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Serbo-Croatian)
ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-
มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย
  • srpskohrvatski / hrvatskosrpski
  • српскохрватски / хрватскосрпски
ประเทศที่มีการพูดคอซอวอ,[a] โครเอเชีย, เซอร์เบีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, มอนเตเนโกร
ชาติพันธุ์ชาวโครแอต, ชาวเซิร์บ, ชาวบอสนีแอก, ชาวมอนเตเนโกร
จำนวนผู้พูด21 ล้านคน  (2011)[1]
ตระกูลภาษา
อินโด-ยูโรเปียน
รูปแบบมาตรฐาน
ภาษาถิ่น
ภาษาย่อยชาคาเวียน (อาจเป็นภาษาต่างหาก)
ภาษาย่อยไคคาเวียน (ใกล้เคียงกับภาษาสโลวีเนียมากกว่า)
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
ผู้วางระเบียบ
รหัสภาษา
ISO 639-1sh
ISO 639-2scr, scc
ISO 639-3hbsรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
bos – ภาษาบอสเนีย
cnr – ภาษามอนเตเนโกร
hrv – ภาษาโครเอเชีย
kjv – ภาษาย่อยไคคาเวียน
srp – ภาษาเซอร์เบีย
svm – ภาษาย่อยสลาฟโมลีเซ
Linguasphere53-AAA-g
  พื้นที่ที่มีการพูดภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียเป็นภาษาหลัก (ข้อมูลใน ค.ศ. 2005)[ต้องการการอัปเดต]

หมายเหตุ: aเอกราชของคอซอวอยังเป็นที่โต้แย้ง

ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย (อังกฤษ: Bosnian-Croatian-Montenegrin-Serbian, BCMS),[7] ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-เซอร์เบีย (อังกฤษ: Bosnian-Croatian-Serbian, BCS),[8] ภาษาเซิร์บ-โครแอต-บอสเนีย (อังกฤษ: Serbo-Croat-Bosnian, SCB),[9] ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย (อังกฤษ: Serbo-Croatian),[10] ภาษาโครเอเชีย-เซอร์เบีย (อังกฤษ: Croato-Serbian), ภาษาเซิร์บ-โครแอต (อังกฤษ: Serbo-Croat; บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: srpskohrvatski, српскохрватски) หรือ ภาษาโครแอต-เซิร์บ (อังกฤษ: Croato-Serb; บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: hrvatskosrpski, хрватскoсрпски) เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มสลาฟใต้และภาษาหลักของประเทศเซอร์เบีย, โครเอเชีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และมอนเตเนโกร เป็นภาษาพหุศูนย์ซึ่งมีวิธภาษามาตรฐานที่สามารถเข้าใจกันได้[11] สี่วิธภาษา[12]

บรรดาภาษาย่อยในกลุ่มสลาฟใต้ในอดีตได้ก่อตัวเป็นแนวต่อเนื่องของภาษา ประวัติศาสตร์ที่ปั่นป่วนของภูมิภาคบอลข่าน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากการขยายตัวของจักรวรรดิออตโตมัน) ก่อให้เกิดความแตกต่างทางภาษาและศาสนา เนื่องจากการอพยพของประชากร ชทอคาเวียนจึงกลายเป็นภาษาย่อยที่แพร่หลายมากที่สุดในภาคตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่าน โดยรุกเข้าไปทางทิศตะวันตกในพื้นที่ที่ก่อนหน้านี้ใช้ภาษาย่อยชาคาเวียนและไคคาเวียน (ซึ่งจะผสมกลมกลืนต่อไปเป็นภาษาสโลวีเนียในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) แม้ว่าชาวบอสนีแอก ชาวโครแอต และชาวเซิร์บจะมีความแตกต่างกันในด้านศาสนาและในอดีตมักเป็นส่วนหนึ่งของวงวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ชนชาติเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็อาศัยอยู่เคียงข้างกันภายใต้การปกครองจากมหาอำนาจภายนอก ในช่วงเวลานั้น ภาษาที่พวกเขาพูดได้รับการอ้างถึงด้วยชื่อที่หลากหลาย เช่น "ภาษาสลาฟ" ในภาพรวม หรือ "ภาษาเซอร์เบีย" "ภาษาโครเอเชีย" หรือ "ภาษาบอสเนีย" โดยเฉพาะเจาะจง และบางครั้งก็ถูกเรียกว่า "ภาษาอิลลิเรีย" ในเชิงคลาสสิก

กระบวนการสร้างมาตรฐานทางภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชียเริ่มขึ้นตามข้อตกลงวรรณกรรมเวียนนาช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักเขียนและนักปรัชญาชาวโครเอเชียและชาวเซอร์เบีย นับเป็นเวลาหลายทศวรรษก่อนที่รัฐยูโกสลาเวียจะได้รับการสถาปนา[13] จากจุดเริ่มต้นแรกสุด มาตรฐานวรรณกรรมเซอร์เบียและวรรณกรรมโครเอเชียมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แม้ว่ามาตรฐานทั้งสองจะมีพื้นฐานร่วมกันจากสำเนียงเฮอร์เซโกวีนาตะวันออกซึ่งเป็นสำเนียงย่อยของชทอคาเวียนก็ตาม ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชียเป็นภาษาราชการของราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (ในช่วงนั้นมีชื่อเรียกว่า "ภาษาเซิร์บ-โครแอต-สโลวีน")[14] และต่อมาเป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย การล่มสลายของยูโกสลาเวียส่งผลกระทบไปยังเจตคติต่อภาษา ดังนั้นแนวคิดของสังคมที่มีต่อภาษานี้จึงแบ่งแยกออกตามพรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์และทางการเมือง ในทำนองเดียวกัน นับตั้งแต่การล่มสลายของยูโกสลาเวีย "ภาษาบอสเนีย" ก็ได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐานทางการในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และยังมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างมาตรฐานของ "ภาษามอนเตเนโกร" แยกต่างหาก ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชียหรือภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียจึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตั้งแต่ภาษาเซอร์เบีย ภาษาโครเอเชีย ภาษาบอสเนีย ไปจนถึงภาษามอนเตเนโกรและภาษาบูเญฟซีในบางครั้ง[15]

เช่นเดียวกับภาษาสลาฟใต้อื่น ๆ ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียมีระบบเสียงที่เรียบง่าย โดยมีเสียงสระห้าเสียงและเสียงพยัญชนะยี่สิบห้าเสียง ไวยากรณ์ของภาษามีวิวัฒนาการมาจากภาษาสลาฟร่วม โดยมีระบบการผันคำที่ซับซ้อนซึ่งยังคงรักษาการกทั้งเจ็ดในคำนาม คำสรรพนาม และคำคุณศัพท์ คำกริยาแสดงการณ์ไม่สมบูรณ์ (imperfective aspect) หรือการณ์สมบูรณ์ (perfective aspect) โดยมีระบบกาล (tense) ที่ซับซ้อนปานกลาง ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียยังเป็นภาษาละสรรพนามที่มีลำดับคำยืดหยุ่น แต่ใช้การเรียงลำดับประธาน–กริยา–กรรมเป็นค่าเริ่มต้น ภาษานี้สามารถเขียนด้วยอักษรซีริลลิกเซอร์เบียหรืออักษรละตินของกาย ทั้งสองระบบมีตัวอักษรสามสิบตัวที่เทียบกันได้แบบหนึ่งต่อหนึ่งและยังสอดคล้องกับหน่วยเสียงอย่างมากในทุกมาตรฐาน

หมายเหตุ[แก้]

  1. 1.0 1.1 คอซอวอเป็นดินแดนข้อพิพาทระหว่างสาธารณรัฐคอซอวอกับสาธารณรัฐเซอร์เบีย สาธารณรัฐคอซอวอประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 แต่เซอร์เบียยังคงอ้างว่าคอซอวอเป็นดินแดนอธิปไตยของตน ใน พ.ศ. 2556 ทั้งสองรัฐบาลเริ่มกระชับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติในฐานะส่วนหนึ่งของข้อตกลงบรัสเซลส์ ปัจจุบันคอซอวอได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐเอกราชจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 98 ชาติจาก 193 ชาติ

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Slavic Languages" (PDF). Cambridge Language Surveys. p. 7. สืบค้นเมื่อ 19 June 2017.
  2. "Constitution of the Republic of Kosovo" (PDF). p. 2. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  3. "Minority Rights Group International : Czech Republic : Czech Republic Overview". Minorityrights.org. สืบค้นเมื่อ 2012-10-24.
  4. "Minority Rights Group International : Macedonia : Macedonia Overview". Minorityrights.org. สืบค้นเมื่อ 2012-10-24.
  5. "B92.net". B92.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-10. สืบค้นเมื่อ 2013-09-01.
  6. "Legge Regionale n.15 del 14 maggio 1997 - Tutela e valorizzazione del patrimonio culturale delle minoranze linguistiche nel Molise - Bollettino Ufficiale n. 10 del 16.5.1997" (PDF). Sardegna Cultura. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-15. สืบค้นเมื่อ 2018-07-15.
  7. Thomas, Paul-Louis; Osipov, Vladimir (2012). Grammaire du bosniaque, croate, monténégrin, serbe [Grammar of Bosnian, Croatian, Montenegrin, and Serbian]. Collection de grammaires de l'Institut d'études slaves ; vol. 8 (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Institut d'études slaves. p. 624. ISBN 9782720404900. OCLC 805026664.
  8. Alexander 2006, p. XVII.
  9. Čamdžić, Amela; Hudson, Richard (2007). "Serbo-Croat-Bosnian clitics and Word Grammar" (PDF). Research in Language. UCL Psychology and Language Sciences. doi:10.2478/v10015-007-0001-7. hdl:11089/9540. S2CID 54645947. สืบค้นเมื่อ 11 September 2013.
  10. "Is Serbo-Croatian a language?". The Economist. 10 April 2017.
  11. Šipka, Danko (2019). Lexical layers of identity: words, meaning, and culture in the Slavic languages. New York: Cambridge University Press. pp. 206, 166. doi:10.1017/9781108685795. ISBN 978-953-313-086-6. LCCN 2018048005. OCLC 1061308790. Serbo-Croatian, which features four ethnic variants: Serbian, Croatian, Bosnian, and Montenegrin
  12. Mørk, Henning (2002). Serbokroatisk grammatik: substantivets morfologi [Serbo-Croatian Grammar: Noun Morphology]. Arbejdspapirer ; vol. 1 (ภาษาเดนมาร์ก). Århus: Slavisk Institut, Århus Universitet. p. unpaginated (Preface). OCLC 471591123.
  13. Blum 2002, pp. 130–132.
  14. Busch, Birgitta; Kelly-Holmes, Helen (2004). Language, Discourse and Borders in the Yugoslav Successor States. Multilingual Matters. p. 26. ISBN 978-1-85359-732-9.
  15. "The same language [Croatian] is referred to by different names, Serbian (srpski), Serbo-Croat (in Croatia: hrvatsko-srpski), Bosnian (bosanski), based on political and ethnic grounds. […] the names Serbian, Croatian, and Bosnian are politically determined and refer to the same language with possible slight variations." (Brown & Anderson 2006, p. 294)