พื้นที่เชงเกน
แผนที่ทวีปยุโรป รัฐสมาชิก รัฐสมาชิก (เฉพาะทางอากาศและทางทะเล) รัฐที่เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่โดยพฤตินัย รัฐที่มีสิทธิเข้าร่วมพื้นที่นี้ในอนาคต | |
มาตรการของ | สหภาพยุโรป |
---|---|
ประเภท | Open borders area |
ก่อตั้ง | 26 มีนาคม 1995 |
สมาชิก | |
พื้นที่ | 4,595,131 km2 |
ประชากร | 453,324,255 |
ความหนาแน่น | 98.7/km2 |
GDP (ราคาตลาด) | US$19 ล้านล้าน[1] |
เขตเชงเกน หรือ พื้นที่เชงเกน (อังกฤษ: Schengen Area) เป็นพื้นที่ที่ประกอบด้วย 29 รัฐในทวีปยุโรปซึ่งตกลงร่วมกันอย่างเป็นทางการเพื่อยกเลิกการใช้หนังสือเดินทางและการควบคุมบริเวณพรมแดนทุกประเภท โดยมีนโยบายการตรวจลงตรา (วีซ่า) ร่วมกันสำหรับการเดินทางระหว่างรัฐภาคี ตั้งชื่อตามความตกลงเชงเกนเมื่อปี 1985 ที่ลงนามที่เมืองเชงเกน ประเทศลักเซมเบิร์ก
จากรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 29 รัฐ ยี่สิบเจ็ดรัฐเข้าร่วมเป็นภาคีของเขตเชงเกน โดยบัลแกเรียและโรมาเนียเข้าร่วมเฉพาะทางอากาศและทางทะเล ในส่วนของ 2 รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปที่ยังไม่ได้เข้าร่วม ไซปรัสมีสิทธิและประสงค์ที่จะเข้าร่วมพื้นที่นี้ในอนาคต แต่อีกหนึ่งรัฐที่เหลือ คือ ไอร์แลนด์ เลือกที่จะไม่เข้าร่วมเขตเชงเกน (opt-outs)
ในขณะเดียวกัน สี่ประเทศสมาชิกสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) (ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์) ที่แม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แต่ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อเป็นภาคีสมาชิกเขตฯ นอกจากนี้ รัฐขนาดเล็กในยุโรปอีกสามรัฐที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (โมนาโก ซานมาริโน และนครวาติกัน) แต่ถูกล้อมรอบหรือกึ่งล้อมรอบโดยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปก็จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เชงเกนโดยพฤตินัย
เขตเชงเกนมีประชากรราว 450 ล้านคน ครบคลุมพื้นที่ 4,595,131 ตารางกิโลเมตร (1,774,190 ตารางไมล์)[2] ประชาชนประมาณ 1.7 ล้านคน เดินทางข้ามพรมแดนภายในของยุโรปในแต่ละวันเพื่อไปทำงาน บางแห่งนับเป็นหนึ่งในสามของจำนวนแรงงานทั้งหมดในพื้นที่นั้น ๆ ในแต่ละปีมีการข้ามพรมแดนเชงเกนทั้งหมด 1.3 พันล้านครั้ง โดยการข้ามพรมแดน 57 ล้านครั้งเกิดจากการขนส่งสินค้าทางถนน ที่มีมูลค่าปีละกว่า 2.8 ล้านล้านยูโร[3][4][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "IMF World Economic Outlook (WEO), April 2016 - knoema.com". Knoema.
- ↑ The Schengen Area (PDF). European Commission. 12 December 2008. doi:10.2758/45874. ISBN 978-92-79-15835-3. สืบค้นเมื่อ 13 April 2013.
- ↑ European Parliamentary Research Service (March 2016). "The economic impact of suspending Schengen" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2017-06-15.
- ↑ European Council on Foreign Relations (2016). "The Future of Schengen". สืบค้นเมื่อ 2017-06-15.
- ↑ "Schengen's economic impact: Putting up barriers". The Economist. 2016-02-06. สืบค้นเมื่อ 2017-06-15.