นยาซาแลนด์
รัฐในอารักขานยาซาแลนด์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2450–2507 | |||||||||||||
สถานะ | รัฐในอารักขาของจักรวรรดิบริติช | ||||||||||||
เมืองหลวง | ซอมบา | ||||||||||||
ภาษา | |||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | ||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||
• พ.ศ. 2450–2453 | พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 | ||||||||||||
• พ.ศ. 2453–2479 | พระเจ้าจอร์จที่ 5 | ||||||||||||
• พ.ศ. 2479 | พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 | ||||||||||||
• พ.ศ. 2479–2495 | พระเจ้าจอร์จที่ 6 | ||||||||||||
• พ.ศ. 2495–2507 | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 | ||||||||||||
ขัหลวง | |||||||||||||
• พ.ศ. 2450–2451 | วิลเลี่ยม แมนนิง | ||||||||||||
• พ.ศ. 2504–2507 | กลิน สมอลวู้ด โจนส์ | ||||||||||||
ก่อตั้ง | |||||||||||||
• ก่อตั้ง | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 | ||||||||||||
• สหพันธ์ | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2496 | ||||||||||||
• สหพันธ์ล่มสลาย | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2506 | ||||||||||||
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 | |||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
• รวม | 102,564 ตารางกิโลเมตร (39,600 ตารางไมล์) | ||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||
• สำมะโนประชากร พ.ศ. 2467 | 6,930,000 คน[1] | ||||||||||||
สกุลเงิน | |||||||||||||
เขตเวลา | UTC+2 (เขตเวลาแอฟริกากลาง) | ||||||||||||
| |||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | มาลาวี |
นยาซาแลนด์ (อังกฤษ: Nyasaland; ออกเสียง: /ˈnjɑːsɑːlænd, naɪˈæsə-/) เป็นรัฐในอารักขาของจักรวรรดิบริติชที่ตั้งอยู่บนทวีปแอฟริกา ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2450 เมื่ออดีตรัฐในอารักขาแอฟริกากลางของอังกฤษเปลี่ยนชื่อไปเป็นนยาซาแลนด์ ระหว่าง พ.ศ. 2496 ถึง พ.ศ. 2506 นยาซาแลนด์กลายเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐโรดีเชียและนยาซาแลนด์ หลังจากที่สหพันธ์ล่มสลาย นยาซาแลนด์แยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 และเปลี่ยนชื่อเป็นมาลาวี
ประวัติศาสตร์ของนยาซาแลนด์เป็นที่เด่นชัดขึ้นจากการสูญเสียที่ดินรวมครั้งใหญ่ของชุมชนชาวแอฟริกันในช่วงต้นของยุคล่าอาณานิคม ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2458 บาทหลวงจอห์น ชิลีเลเบได้ก่อกบฏขึ้นเพื่อต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อชาวแอฟริกันของคนขาว ทว่าไม่สำเร็จ กระนั้นผู้ปกครองอาณานิคมก็ทำการทบทวนนโยบายบางอย่างของตนเองใหม่ จากนั้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1930 กลุ่มชนชั้นสูงของชาวแอฟริกันที่ได้รับการศึกษาจำนวนมาก ซึ่งหลายคนเคยศึกษาในสหราชอาณาจักร เริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นและขึ้นมาเป็นแกนนำในการเรียกร้องอิสรภาพ พวกเขาได้ก่อตั้งสมาคมขึ้นหลายแห่ง และถัดมาใน พ.ศ. 2487 จึงได้รวมตัวกันเป็นรัฐสภาแอฟริกันแห่งนยาซาแลนด์ (NAC) [ต้องการอ้างอิง]
เมื่อนยาซาแลนด์ถูกบังคับให้ร่วมสหพันธรัฐกับโรดีเซียตอนใต้และโรดีเซียตอนเหนือใน พ.ศ. 2496 เหตุการณ์ความไม่สงบในเมืองจึงปะทุขึ้น เนื่องจากประชาชนในดินแดนนยาซาแลนด์ไม่ประสงค์เข้าร่วมสหพันธ์ดังกล่าว ความล้มเหลวของรัฐสภาฯ ในการป้องกันปัญหานี้ทำให้นยาซาแลนด์ล่มสลาย แต่หลังจากนั้นไม่นานคนรุ่นใหม่ที่อายุน้อยกว่าและมีความเข้มแข็งมากขึ้นก็ได้ฟื้น NAC ขึ้นมา ในที่สุดพวกเขาเชิญฮาสต์ติง บานดา กลับมา และนำประเทศไปสู่การประกาศเอกราชในฐานะประเทศมาลาวีใน พ.ศ. 2507
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The British Empire in 1924". The British Empire. สืบค้นเมื่อ 7 November 2017.