ไมโครซอฟท์ เอดจ์
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ผู้ออกแบบ | ไมโครซอฟท์ |
---|---|
นักพัฒนา | ไมโครซอฟท์ |
วันที่เปิดตัว | 29 กรกฎาคม 2015 |
รุ่นเสถียร | |
ภาษาที่เขียน | C++ |
เอนจินs | |
ระบบปฏิบัติการ | แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ) iOS macOS 10.13 or later Windows 10, Windows Server 2012 หรือรุ่นใหม่กว่านั้น Linux |
แพลตฟอร์ม | IA-32 x86-64 ARM32 ARM64 |
รวมถึง | Windows 10 Windows 10 Mobile Windows 11 Xbox One and Xbox Series X/S system software |
ก่อนหน้า | Internet Explorer |
สัญญาอนุญาต | Proprietary software, based on an open source project[6][note 1] |
เว็บไซต์ | www |
ไมโครซอฟท์ เอดจ์ (อังกฤษ: Microsoft Edge) ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้โค้ดเนม Project Spartan เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ โดยไมโครซอฟท์ได้เปิดเผยมันอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 และเปิดให้คนทั่วไปทดสอบในวันที่ 30 มีนาคม 2558 ซึ่งมันจะมาแทนที่ตัว Internet Explorer ในฐานะเบราว์เซอร์หลักบน Windows 10 ทั้งบนพีซี, สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต
ไมโครซอฟท์ เอดจ์ถูกดีไซน์ให้เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่เบาพร้อมกับเลย์เอาต์เอนจินที่สร้างขึ้นมารอบ ๆ มาตรฐานเว็บที่ "ออกแบบมาเพื่อการทำงานร่วมกันกับเว็บสมัยใหม่" เบราว์เซอร์ตัวนี้ได้ถอดความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีเก่า ๆ อย่างเช่น ActiveX และ BHO และเลือกแทนที่ด้วยการรองรับส่วนขยายและการผนวกรวมของบริการอื่น ๆ ของไมโครซอฟท์ เช่น ผู้ช่วยส่วนบุคคล Cortana, OneDrive รวมถึงระบบการจดบันทึกบนหน้าเว็บ และโหมดที่ทำมาเพื่อการอ่านโดยเฉพาะ
ปัจจุบันไมโครซอฟท์กำลังทำเอดจ์ตัวใหม่ที่ใช้เอนจินโครเมียมของกูเกิล[7][8] ซึ่งเอดจ์ตัวใหม่นี้จะรองรับวินโดวส์เวอร์ชันย้อนหลังคือ วินโดวส์ 7 และ 8, วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 R2, 2012 และ 2012 R2 รวมถึงระบบปฏิบัติการตัวอื่น คือ แมคโอเอส และ ลินุกซ์ โดยมีกำหนดปล่อยเวอร์ชันเต็มในวันที่ 15 มกราคม 2563
การพัฒนา
[แก้]ในเดือนธันวาคมปี 2557 ที่ผ่านมา นักเขียนข่าวเทคโนโลยีสายไมโครซอฟท์จากเว็บไซต์ ZDNet อย่าง Mary Jo Foley รายงานว่า ไมโครซอฟท์กำลังพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ตัวใหม่ภายใต้โค้ดเนม "Spartan" สำหรับ Windows 10 เธอยืนยันว่า "Spartan" อาจได้รับเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แยกจาก Internet Explorer พร้อมกับยังปล่อยให้ Internet Explorer 11 คงอยู่ในระบบ ด้วยเหตุผลที่ว่าด้วยเรื่องของปัญหาความเข้ากันได้[9]
ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2558 เว็บไซต์ The Verge ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "Spartan" จากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดของไมโครซอฟท์ ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลที่บอกว่ามันจะมาแทนที่ Internet Explorer ทั้งบนเดสก์ท็อปและบนอุปกรณ์พกพาของ Windows 10[10] หลังจากนั้นไม่นาน วันที่ 21 มกราคม 2558 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว "Spartan" ระหว่างงานเปิดแถลงข่าวที่เน้นไปที่ Windows 10[11] โดย "Spartan" จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่แยกจาก Internet Explorer และจะใช้แบรนด์ใหม่ ขณะที่ช่วงเวลานั้น ยังไม่มีการเปิดเผยว่าจะใช้แบรนด์อะไรในการทำการตลาด อย่างไรก็ดีเว็บเบราว์เซอร์ตัวนี้มีการเปิดเผยข้อมูลมาว่าอาจจะมีคำว่า "ไมโครซอฟท์" อยู่ในชื่อของเว็บเบราว์เซอร์ตัวนี้[12]
"Spartan" นั้นเปิดให้คนทั่วไปทดสอบในฐานะเว็บเบราว์เซอร์หลักของ Windows 10 Technical Preview รหัส 10049 ซึ่งออกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558[13] โดยเอนจินใหม่ที่ถูกใช้ใน "Spartan" เคยถูกผนวกรวมใน Internet Explorer 11 บน Windows 10 รุ่นก่อนหน้านี้ และเอนจินดังกล่าวจะถูกใช้ใน Internet Explorer 11 รุ่นเต็มบน Windows 10 แต่ต่อมาไมโครซอฟท์ได้ประกาศว่า Internet Explorer จะไม่ใช้เอนจินเดียวกันกับ "Spartan" และตัว "Spartan" จะแยกเอนจินกันใน Windows 10[14][15]
จนถึงเมื่อวันที่ 29 เมษายน ระหว่างคีย์โน้ตงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนาของไมโครซอฟท์อย่าง Build Conference ไมโครซอฟท์ประกาศว่าเบราว์เซอร์ "Spartan" จะใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Microsoft Edge[16] และใช้โลโก้ที่ดัดแปลงมาจาก Internet Explorer เล็กน้อย ไมโครซอฟท์ "ยังคงยืนหยัดที่จะใช้ชื่อที่มีอักษร E นำหน้า ทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปที่ยังคงสามารถคลิกที่ตัวอักษร "e" สีฟ้า สามารถรับรู้วิธีการเปิดเบราว์เซอร์ตัวใหม่"[17]
คุณสมบัติเด่น
[แก้]Microsoft Edge จะเป็นเบราว์เซอร์หลักทั้งบนพีซีและบนอุปกรณ์พกพาของ Windows 10 โดยจะแทนที่ Internet Explorer 11 และ Internet Explorer Mobile.[14] Edge ใช้เลย์เอาต์เอนจินตัวใหม่ที่ใช้ชื่อว่า EdgeHTML ซึ่งพัฒนาต่อมาจากเอนจินเก่าอย่าง Trident[18] ซึ่ง "ออกแบบมาเพื่อการทำงานร่วมกันกับเว็บสมัยใหม่" โดยเอนจินใหม่ของ "Edge" จะถูกใช้เป็นค่าเริ่มต้นของ Windows 10 ในทุกอุปกรณ์ ไมโครซอฟท์เคยประกาศในช่วงแรกว่า Edge จะรองรับเอนจิน MSHTML สำหรับการรองรับการเข้ากันได้ในเว็บรูปแบบเก่า ทว่าภายหลังจากที่มีเสียงตอบรับที่ไม่ค่อยดีนัก ทำให้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจกลับคำ และปล่อยให้เอนจินตัวเก่ายังอยู่เฉพาะใน Internet Explorer ขณะที่ Edge จะใช้แค่เอนจินใหม่เท่านั้น[19]
Edge นั้นไม่รองรับเทคโนโลยีเก่าแก่ อย่างเช่น ActiveX หรือแม้แต่ Browser Helper Objects และเลือกที่จะแทนที่ด้วยระบบส่วนขยาย[5][20][21] Internet Explorer 11 จะยังคงเปิดให้ผู้ใช้งานได้ใช้อยู่ควบคู่กับ Edge บน Windows 10 ด้วยสาเหตุที่ว่าด้วยเรื่องของความเข้ากันได้ พูดอีกนัยหนึ่งว่า มันจะยังคงรูปแบบที่ใกล้เคียงกับบน Windows 8.1 และไม่ใช้เอนจิน Edge เหมือนกับที่เคยประกาศไปก่อนหน้านี้[5][14][20]
Edge รวบรวมแพลตฟอร์มบริการของไมโครซอฟท์ โดยเบราว์เซอร์ตัวนี้ได้ผนวก Cortana เลขาส่วนบุคคลที่สามารถสั่งงานด้วยเสียง, ระบบค้นหาเว็บต่าง ๆ และระบบค้นหาที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการค้นหา พร้อมแสดงผลลัพธ์ทันที่ที่แถบที่อยู่ของเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยผู้ใช้สามารถวาดและจดโน้ตลงไปในหน้าเว็บ และสามารถบันทึกและแบ่งปันผ่าน OneDrive.[11] นอกจากนี้มันยังได้ผนวกคุณสมบัติที่มีชื่อว่า "รายการที่จะอ่าน" ที่สามารถซิงก์คอนเทนต์ระหว่างอุปกรณ์ และรองรับ "โหมดมุมมองการอ่าน" ที่จะตัดในส่วนที่ไม่จำเป็นในหน้าเว็บต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้อ่านหน้าเว็บได้ง่ายขึ้น[11]
ประสิทธิภาพ
[แก้]ในระยะแรกที่มีการทดสอบประสิทธิภาพของเอนจิน EdgeHTML (ที่ได้รวมระยะแรกของการเปิดให้ทดสอบในรุ่นทดสอบรุ่นแรกของ Edge ใน Windows 10 รหัส 10049) เปิดเผยว่าได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพในการประมวลผล JavaScript เมื่อเปรียบเทียบกับเอนจิน Trident 7 บน Internet Explorer 11 นอกจากนี้ Microsoft Edge ยังมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับ Google Chrome 41 and Mozilla Firefox 37. ในแง่คะแนนด้านประสิทธิภาพผ่านระบบของ SunSpider พบว่า Edge ประมวลผลหน้าเว็บเร็วกว่าเบราว์เซอร์ตัวอื่น ๆ [22] ขณะที่ระบบการทดสอบประสิทธิภาพอื่น ๆ ระบุว่าช้ากว่า Google Chrome, Mozilla Firefox และ Opera[23]
หลังจากที่ผลของการทดสอบประสิทธิภาพจากแหล่งทดสอบต่าง ๆ ได้เผยแพร่ออกมา ใน Windows 10 รหัส 10122 ได้พบความเปลี่ยนแปลงด้านประสิทธิภาพอย่างเด่นชัดเมื่อเทียบกับ Internet Explorer 11 และ Microsoft Edge รุ่นที่อยู่ใน Windows 10 รหัส 10049 เมื่ออ้างอิงจากระบบการทดสอบประสิทธิภาพของไมโครซอฟท์เอง ซึ่งผลที่ได้ก็ออกมาใกล้เคียงกันกับระบบการทดสอบประสิทธิภาพของกูเกิลอย่าง Octane 2.0 และของแอปเปิลอย่าง Jetstream ที่ระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า Edge ทำงานได้ดีกว่า Chrome และ Firefox [24]
การตอบรับ
[แก้]แผนงานเปลี่ยนไปใช้โครเมียมได้รับผลตอบรับแตกต่างกัน ถึงแม้จะทำให้การเข้ากันได้ของเว็บสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ตัวหลัก ๆ ดีขึ้น แต่ก็จะทำให้ความหลากหลายในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ลดลง และจะทำให้อิทธิพลของกูเกิ้ลเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ไมโครซอฟท์ได้เลิกพัฒนาเอนจินของตัวเอง[25][26]
ส่วนแบ่งการตลาด
[แก้]ลิงก์เพิ่มเติม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Release notes for Microsoft Edge Mobile Stable Channel". 23 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.
- ↑ "Release notes for Microsoft Edge Mobile Stable Channel". 24 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Release notes for Microsoft Edge Stable Channel". 25 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2024.
- ↑ 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อMJ, Spider-Man ported to iOS+Android
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Weber, Jason (January 21, 2015). "Spartan and the Windows 10 January Preview Build". IEBlog. Microsoft.
- ↑ Novet, Jordan (พฤษภาคม 5, 2015). "Microsoft says it has no plans to open-source its new Edge browser … yet". VentureBeat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 22, 2017.
- ↑ Belfiore, Joe (2018-12-06), Microsoft Edge: Making the web better through more open source collaboration, Microsoft
- ↑ "Microsoft Edge and Chromium Open Source: Our Intent". Microsoft Edge Team. 6 December 2018. Retrieved 8 December 2018.
- ↑ Foley, Mary Jo (December 29, 2014). "Microsoft is building a new browser as part of its Windows 10 push". ZDNet. CBS Interactive.
- ↑ Warren, Tom (January 8, 2015). "Windows 10s new browser will have the most advanced features ever". The Verge. Vox Media.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Ingraham, Nathan (January 21, 2015). "Microsoft officially announces Spartan, its new web browser for Windows 10". The Verge. Vox Media.
- ↑ Warren, Tom (March 17, 2015). "Microsoft is killing off the Internet Explorer brand". The Verge. Vox Media.
- ↑ "Project Spartan gets its first public outing in new Windows 10 build". Ars Technica. Condé Nast Digital. March 30, 2015. สืบค้นเมื่อ March 30, 2015.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Warren, Tom (March 24, 2015). "Microsoft relegates Internet Explorer to a 'legacy engine' to make way for new browser". The Verge. Vox Media.
- ↑ Jacobsson Purewal, Sarah (February 19, 2015). "How to enable Spartan's Edge Rendering Engine in Windows 10". CNET. CBS Interactive.
- ↑ "The successor to Internet Explorer will be named Microsoft Edge". The Verge. April 29, 2015. สืบค้นเมื่อ April 29, 2015.
- ↑ Sams, Brad (April 29, 2015). "Microsoft reveals Edge's new logo". สืบค้นเมื่อ May 1, 2015.
- ↑ Foley, Mary Jo (January 22, 2015). "Microsoft's Spartan browser: What's under the hood". ZDNet. CBS Interactive.
- ↑ Sams, Brad (March 24, 2015). "Microsoft says IE 11 will remain unchanged from Windows 8.1, Spartan is the future". Neowin.
- ↑ 20.0 20.1 Rossi, Jacob (November 11, 2014). "Living on the Edge – our next step in helping the web just work". IEBlog. Microsoft.
- ↑ Warren, Tom (January 27, 2015). "Microsoft reveals its Internet Explorer successor will support extensions". The Verge. Vox Media.
- ↑ Howse, Brett (January 25, 2015). "Internet Explorer Project Spartan Shows Large Performance Gains". AnandTech. Purch.
- ↑ "Windows 10 Browser Benchmarks: Spartan vs. IE, Chrome, Firefox, and Opera". April 1, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-25.
- ↑ "Delivering fast JavaScript performance in Microsoft Edge". May 20, 2015.
- ↑ Shankland, Stephen. "Three years in, Microsoft gives up on independent Edge browser and embraces Google's Chromium instead". CNET (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-12-29.
- ↑ Warren, Tom (2018-01-04). "Chrome is turning into the new Internet Explorer 6". The Verge. สืบค้นเมื่อ 2018-12-29.
- ↑ "Desktop Browser Market Share Worldwide". StatCounter Global Stats (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2022. สืบค้นเมื่อ August 24, 2022.
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/>
ที่สอดคล้องกัน