ข้ามไปเนื้อหา

กอเทนเบิร์ก

พิกัด: 57°42′32″N 11°58′28″E / 57.708870°N 11.974560°E / 57.708870; 11.974560
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Göteborg)
กอเทนเบิร์ก
เยอเตอบอร์ย

Göteborg
ตามเข็มจากบน: เยอตาแอลว์ และ บาร์เกินไวกิงทางซ้าย, บ้านยุนเนอโบ, โกเตียทาวเวอส์กับสแวนสกาแมสซัน, ปราสาทแอลวสบอร์ย, สนามกีฬาอูลเลอวี, รถรางกอเทนเบิร์ก, รูปปั้นโพไซดอนที่เยอตาพลัตเซิน, โรงอุปรากรเยอเตอบอร์ย
ธงของกอเทนเบิร์ก เยอเตอบอร์ย
ธง
ตราราชการของกอเทนเบิร์ก เยอเตอบอร์ย
ตราอาร์ม
สมญา: 
  • Götet
  • Lilla London
  • Nya Amsterdam
  • Sveriges framsida
กอเทนเบิร์ก เยอเตอบอร์ยตั้งอยู่ในประเทศสวีเดน
กอเทนเบิร์ก เยอเตอบอร์ย
กอเทนเบิร์ก
เยอเตอบอร์ย
ตั้งอยู่ในมณฑลเวสตรา เยอตาลันด์
พื้นที่สวีเดนใต้ (Sydsverige) ประเทศสวีเดน
พิกัด: 57°42′31.9320″N 11°58′28.4160″E / 57.708870000°N 11.974560000°E / 57.708870000; 11.974560000
ประเทศ สวีเดน
จังหวัดเวสตราเยอตลันด์
และ บูฮุสแลน
มณฑล มณฑลเวสตรา เยอตาลันด์
เทศบาลเมืองเยอเตอบอร์ย
ก่อตั้ง (เมือง)ค.ศ. 1621
พื้นที่[1]
 • ตัวเมือง447.76 ตร.กม. (172.88 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ14.5 ตร.กม. (5.6 ตร.ไมล์)  3.2%
 • เขตเมือง203.67 ตร.กม. (78.64 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล3,694.86 ตร.กม. (1,426.59 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ค.ศ. 2016)[1][4]
 • ตัวเมือง572,779 คน
 • ความหนาแน่น1,300 คน/ตร.กม. (3,300 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง581,822[3] คน
 • รวมปริมณฑล1,001,032[2] คน
เดมะนิมGöteborgare/Gothenburger
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์40xxx – 41xxx – 421xx – 427xx
รหัสพื้นที่(+46) 31
เว็บไซต์goteborg.se

57°42′32″N 11°58′28″E / 57.708870°N 11.974560°E / 57.708870; 11.974560 กอเทนเบิร์ก (อังกฤษ: Gothenburg) หรือ เยอเตอบอร์ย (สวีเดน: Göteborg [jœtəˈbɔrj]) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศสวีเดน เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 5 ของกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสวีเดน ในเมืองมีประชากรประมาณ 580,000 คน หากนับในเขตมหานครจะมีทั้งหมดประมาณหนึ่งล้านคน[1]

กอเทนเบิร์กถูกก่อตั้งใน ค.ศ. 1621 โดยได้รับหนังสือแต่งตั้งจากสำนักพระราชวังตามคำสั่งของกษัตริย์กุสตาฟที่ 2 อดอล์ฟ ซึ่งมีความตั้งใจให้เป็นนิคมการค้าซึ่งมีระบบป้องกันที่แข็งแรง กษัตริย์ได้ให้เอกสิทธิ์พิเศษ เช่น การลดหย่อนภาษี กับชาวดัตช์ซึ่งเป็นพันธมิตรจากสงครามสามสิบปี และยังเชิญชวนพันธมิตรทั้งชาวเยอรมันและชาวสกอตให้มาอยู่ในเมืองหนึ่งเดียวของเขาบนชายฝั่งตะวันตก เมืองตั้งอยู่ปากแม่น้ำเยอตาซึ่งเป็นที่ลุ่มน้ำไหลกลับสู่ทะเลที่ใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวีย กอเทนเบิร์กเป็นเมืองท่าทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มนอร์ดิก[5] มีการทำประมง และมีรถยนต์กับผลิตภัณฑ์ไม้เป็นสินค้าส่งออก

กอเทนเบิร์กมีประชากรเป็นนักศึกษาจำนวนมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเยอเตอบอร์ยและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชามเมอร์ส์ บริษัทรถยนต์ วอลโว่ ก่อตั้งในเมืองกอเทนเบิร์กเมื่อปี ค.ศ. 1927[6] บริษัทหลักอื่น ๆ ได้แก่ SKF และ แอสตราเซเนกา ก็ถูกก่อตั้งใจเมืองนี้เช่นกัน

สนามบินที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน คือ ท่าอากาศยานเยอเตอบอร์ย-ลันด์เวตเตร์ ตั้งอยู่ 30 กิโลเมตรจากกลางเมือง ส่วนสนามบินอีกที่ชื่อว่า ท่าอากาศยานเมืองเยอเตอบอร์ย มีขนาดเล็กกว่า และตั้งอยู่ 15 km (9.3 mi) จากใจกลางเมืองถูกเลิกใช้ใน ค.ศ. 2015

เมืองเป็นเจ้าภาพงานหลายงานประจำปีซึ่งใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวีย เทศกาลหนังกอเทนเบิร์กที่จัดในเดือนมกราคมมาตั้งแต่ ค.ศ. 1979 เป็นเทศกาลหนังแนวหน้าของแถบสแกนดิเนเวียที่มีผู้เข้าชมกว่า 155,000 คนต่อปี[7] ในช่วงหน้าร้อน มักมีการจัดเทศกาลดนตรีขึ้นในเมือง เช่น Way Out West และ Metaltown

ที่มาของชื่อ

[แก้]

เมืองถูกตั้งชื่อตามชนเผ่ากีทส์ (อังกฤษ: Geats, สวีเดน: Götar, อังกฤษเก่า: Gēatas, นอร์สเก่า: Gautar, รูปแบบอื่น: Goths, Gotar, Gøtar) ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเยอตาลันด์ (Götaland) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางตอนใต้ของประเทศสวีเดน[8][9][10] เมืองตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเยอตาหรือแม่น้ำกอเทีย เยอตาบอร์ย หรือ "ป้อมปราการกอเทีย" เป็นป้อมปราการบนแม่น้ำเยอตา ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันท่าเรือ

ในภาษาดัตช์ ภาษาสกอต และภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีประวัติร่วมกับเมืองนี้เป็นเวลายาวนาน ล้วนใช้ชื่อกอเทนเบิร์ก

ใน ค.ศ. 2009 สภาเทศบาลนครได้เปิดตัวสัญลักษณ์ใหม่ของกอเทนเบิร์ก ด้วยความที่ชื่อ "เยอเตอบอร์ย (Göteborg)" มีตัวอักษรภาษาสวีเดน "ö" จึงเกิดความคิดที่จะทำให้ชื่อมีความสากลมากขึ้นด้วยการหันตัว "ö" ไปข้าง ๆ ชื่อเมืองจึงมักถูกเขียนว่า "Go:teborg" บนป้ายในเมือง[11]

ประวัติ

[แก้]
แผนที่กอเทนเบิร์ก ค.ศ. 1888

ในช่วงต้นยุคใหม่ รูปทรงของเขตแดนประเทศสวีเดนทำให้กอเทนเบิร์กมีความสำคัญทางชัยภูมิ โดยเป็นประตูสู่ทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติกของประเทศสวีเดนซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก โดยเป็นพื้นที่แคบ ๆ ระหว่างเขตฮาลันด์ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเดนมาร์กทางทิศใต้ และเขต บูฮุสแลน ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของนอร์เวย์ทางทิศเหนือ กอเทนเบิร์กก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1621 โดยกษัตริย์กุสตาฟที่ 2 อดอล์ฟ หลังความพยายามที่ล้มเหลวหลายครั้ง[12] สถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบสถ์แห่งแรกในเมืองกอเทนเบิร์ก ซึ่งต่อมาถูกทำลายโดยผู้บุกรุกชาวเดนมาร์กตอนนี้มีหินเป็นเครื่องหมาย อยู่ใกล้กับปลายฝั่งเหนือของสะพาน Älvsborg ในสวน Färjenäs โบสถ์ถูกสร้างใน ค.ศ. 1603 และถูกทำลายใน ค.ศ. 1611[13] เมืองได้รับอิทธิพลจากชาวดัตช์ ชาวเยอรมัน และชาวสกอต และนักวางแผนกับวิศวกรชาวดัตช์เป็นผู้ถูกรับจ้างให้สร้างเมือง ด้วยความที่พวกเขามีทักษะในการดูดน้ำออก และก่อสร้างบนพื้นที่ซึ่งเป็นแอ่งน้ำ เมืองถูกออกแบบคล้ายกับเมืองของชาวดัตช์ เช่น อัมสเตอร์ดัม, ปัตตาเวีย (จาการ์ตา), และ นิวอัมสเตอร์ดัม (แมนแฮตตัน)[12] รูปแบบของถนนและคลองของกอเทนเบิร์กมีความคล้ายกับของเมืองจาการ์ตาซึ่งถูกสร้างในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน[14] แต่เดิมชาวดัตช์เป็นผู้กุมอำนาจทางการเมืองกระทั่ง ค.ศ. 1652 เมื่อนักการเมืองชาวดัตช์คนสุดท้ายในสภาเมืองได้เสียชีวิตลง ชาวสวีเดนจึงได้รับอำนาจทางการเมืองของกอเทนเบิร์ก[15] ในช่วงที่เมืองถูกปกครองโดยชาวดัตช์ กฎหมายดัตช์ถูกนำมาใช้และภาษาดัตช์ถูกใช้เป็นภาษาทางการของเมือง กำแพงเมืองถูกสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ใน ค.ศ. 1807 ได้มีคำสั่งให้ทำลายกำแพงเมืองส่วนใหญ่ลง งานทำลายเริ่มเมื่อ ค.ศ. 1810 ดำเนินการโดยทหาร 150 นาย[16]

นอกจากชาวดัตช์ เมืองยังได้รับอิทธิพลจากชาวสกอตซึ่งเข้ามาตั้งรกรากในกอเทนเบิร์ก โดยหลายคนได้กลายเป็นผู้มีชื่อเสียง[17] วิลเลียม ชามเมอร์ส์ ผู้เป็นบุตรชายของผู้อพยพชาวสกอต ได้บริจาคทรัพย์สินของเขาเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยซึ่งตอนนี้ใช้ชื่อว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชามเมอร์ส์[18] ใน ค.ศ. 1841 อเล็กซานเดอร์ เคลเลอร์ ได้ก่อตั้ง บริษัทต่อเรือ Götaverken ซึ่งดำเนินกิจการจนถึง ค.ศ. 1989[19] ลูกชายของเขาได้บริจาคสวนเคลเลอร์ให้เมืองในค.ศ. 1906[20]

ตราอาร์มกอเทนเบิร์กมีฐานมาจากเสือของตราแผ่นดินของสวีเดน โดยถือโล่ซึ่งมีสัญลักษณ์ประจำชาติ มงกุฎ 3 อัน เพื่อปกป้องเมืองจากศัตรู[21]

ภายใต้สนธิสัญญาโรสกิลด์ (ค.ศ. 1658) เดนมาร์ก–นอร์เวย์ ได้สละอาณาเขตฮาลันด์ทางใต้ซึ่งในตอนนั้นเป็นของเดนมาร์ก รวมถึงอาณาเขตปูฮุสแลนของนอร์เวย์ซึ่งอยู่ทางเหนือ ให้โอกาสกอเทนเบิร์กได้เติบโตเป็นเมืองท่าและศูนย์การค้าที่สำคัญบนชายฝั่งตะวันตก ด้วยความที่เป็นเมืองบนชายฝั่งตะวันตกร่วมกับมัสตรันด์ (Marstrand) ที่มีสิทธิ์ค้าขายกับพ่อค้าจากประเทศอื่น[15]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 การตกปลาเป็นอุตสาหกรรมซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด อย่างไรก็ตามใน ค.ศ. 1731 Swedish East India Company ถูกก่อตั้งขึ้น เป็นผลให้เมืองเฟื่องฟูจากการค้าขายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการค้าขายกับประเทศจีนซึ่งให้กำไรสูง[22]

ท่าเรือของเมืองได้พัฒนาเป็นท่าเรือหลักของประเทศสวีเดนในการค้าขายกับฝั่งตะวันตก และเมื่ออัตราการอพยพของชาวสวีเดนไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น กอเทนเบิร์กกลายเป็นจุดหลักที่คนเหล่านี้จะออกเดินทาง จนทำให้มีเมืองในรัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา ที่ชื่อว่ากอเทนเบิร์ก เช่นกัน[23]

กอเทนเบิร์กพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 โดยประชากรเมืองได้เพิ่มขึ้นสิบเท่าภายในหนึ่งศตวรรษ จาก 13,000 คนใน ค.ศ. 1800 เป็น 130,000 คนใน ค.ศ. 1900[24][25][26] ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 บริษัทหลักที่ถูกพัฒนาขึ้นได้แก่ SKF (ค.ศ. 1907)[27] และ วอลโว่ (ค.ศ. 1927)[28]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

กอเทนเบิร์กตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน อยู่กึ่งกลางระหว่างโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก และออสโลเมืองหลวงของประเทศนอร์เวย์ การที่เมืองตั้งอยู่บนปากแม่น้ำเยอตาส่งผลให้เมืองเติบโตเป็นเมืองทางการค้าที่มีความสำคัญ หมู่เกาะของกอเทนเบิร์กประกอบไปด้วยหินและหน้าผา[29] กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมทำให้เมืองมีภูมิอากาศค่อนข้างอุ่นและมีฝนตกค่อนข้างบ่อย[30] เป็นเมืองใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศสวีเดนรองจากสต็อกโฮล์ม[31]

เขตมหานครกอเทนเบิร์ก (สตอร์-เยอเตอบอร์ย) ภายในมณฑลเวสตรา เยอตาลันด์ และรวมเทศบาลคุงสบักกะ (Kungsbacka) ในมณฑลฮาลันด์ มีผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 982,360 คน[32]

รูปถ่ายพาโนรามาของเมืองกอเทนเบิร์กถ่ายจากสวนเคลเลอร์ส์ หันหน้าเข้าทางใต้

อากาศ

[แก้]

กอเทนเบิร์กมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร[33] แม้อยู่บนละติจูดเหนือ แต่ก็อุ่นกว่าที่อื่นบนละติจูดคล้ายกัน เช่น สต็อกโฮล์ม หรือ แม้กระทั่งเมืองที่อยู่ใต้กว่า ด้วยผลจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม[30] ในฤดูร้อนกลางวันมีความยาวถึง 18 ชั่วโมง 5 นาที ทว่าในปลายเดือนธันวาคมเหลือเพียง 6 ชั่วโมง 32 นาที เท่านั้น ฝนตกเป็นเรื่องปกติ มักไม่หนักและเกิดขึ้นทั้งปี หิมะมักตกระหว่างธันวาคมและมีนาคม ทว่าอาจพบได้ในเดือนพฤศจิกายนและเมษายน หรือบางทีในเดือนตุลาคมและพฤษภาคม หรือแม้กระทั่งในเดือนกันยายน[34]

ข้อมูลภูมิอากาศของกอเทนเบิร์ก, ค.ศ. 2002–2015; หยาดน้ำฟ้า ค.ศ. 1961–1990; อุณหภมูสูงสุดที่เคยบันทึกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1901
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 10.8
(51.4)
11.2
(52.2)
18.9
(66)
28.5
(83.3)
29.8
(85.6)
32.0
(89.6)
33.8
(92.8)
33.5
(92.3)
28.5
(83.3)
20.7
(69.3)
14.5
(58.1)
12.7
(54.9)
33.8
(92.8)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.2
(34.2)
1.7
(35.1)
5.0
(41)
9.9
(49.8)
16.8
(62.2)
19.9
(67.8)
22.7
(72.9)
21.9
(71.4)
18.0
(64.4)
12.0
(53.6)
7.7
(45.9)
4.2
(39.6)
12.3
(54.1)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) -1.3
(29.7)
-1.5
(29.3)
2.0
(35.6)
8.1
(46.6)
12.6
(54.7)
15.9
(60.6)
18.8
(65.8)
18.5
(65.3)
14.4
(57.9)
9.1
(48.4)
5.5
(41.9)
2.0
(35.6)
9.0
(48.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -3.6
(25.5)
-4.0
(24.8)
-1.0
(30.2)
2.4
(36.3)
7.5
(45.5)
11.8
(53.2)
14.8
(58.6)
14.2
(57.6)
10.7
(51.3)
6.1
(43)
2.1
(35.8)
-1.1
(30)
5.5
(41.9)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -26.6
(-15.9)
-22.8
(-9)
-19.2
(-2.6)
-11.0
(12.2)
-4.3
(24.3)
1.8
(35.2)
5.3
(41.5)
3.5
(38.3)
-2.5
(27.5)
-8.5
(16.7)
-13.5
(7.7)
-21.9
(-7.4)
−26.6
(−15.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 68
(2.68)
41
(1.61)
54
(2.13)
42
(1.65)
48
(1.89)
59
(2.32)
72
(2.83)
74
(2.91)
84
(3.31)
87
(3.43)
87
(3.43)
75
(2.95)
791
(31.14)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 15 12 10 12 10 12 14 14 16 15 16 17 163
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 45 68 163 211 238 253 232 200 167 100 46 33 1,756
แหล่งที่มา 1: National Oceanic and Atmospheric Administration[35]
แหล่งที่มา 2: Sveriges meteorologiska och hydrologiska institut[36]

วัฒนธรรม

[แก้]
รูปปั้นโพไซดอน ณ เยอตาพลัตเซน สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันโดดเด่น

วัฒนธรรมของชาวกอเทนเบิร์กสะท้อนถึงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับทะเล การค้าขาย และอุตสาหกรรม โดยกอเทนเบิร์กยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมบนชายฝั่งตะวันตก

พิพิธภัณฑ์

[แก้]

สถาบันทางวัฒนธรรม รวมถึงโรงพยาบาล และมหาวิทยาลัย หลายแห่งถูกก่อตั้งจากเงินบริจาคจากพ่อค้าผู้มั่งคั่งและนักอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์เรอส์สกา (Röhsska Museum)[37] เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2004 พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโลก (Museum of World Culture) เริ่มเปิดให้เข้าชม[38][39] พิพิธภัณฑ์อื่น ๆ ได้แก่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกอเทนเบิร์ก และหลาย ๆ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางทะเลและการนำทาง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาและ พิพิธภัณฑ์สวีเดนอีสอินเดีย (Svenska Ostindiska Companiet)[40] แอโรเซียม (Aeroseum) เป็นพิพิธภัณฑ์อากาศยานที่เคยเป็นฐานกองทัพอากาศมาก่อน[41] พิพิธภัณฑ์วอลโว (Volvo museum) แสดงประวัติและการพัฒนาของวอลโวตั้งแต่ ค.ศ. 1927 จนถึงปัจจุบัน[42]

ยูนิเวอร์เซียม (Universeum) เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์สาธารณะซึ่งเปิดใน ค.ศ. 2001[43]

สันทนาการ

[แก้]
สวนสนุกลิสแบร์

สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นจุดสนใจมากที่สุดได้แก่ ลิสแบร์ย (Liseberg) ซึ่งตั้งอยู่ส่วนกลางของเมือง และเป็นสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวียนับจากจำนวนเครื่องเล่น[44] ลิสแบร์ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในสิบสวนสนุกที่ดีที่สุดในโลกโดยฟอบส์ ใน ค.ศ. 2005[45] และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งได้รับความนิยมที่สุดในประเทศสวีเดนเมื่อนับจำนวนผู้เข้าชมต่อปี (มากกว่า 3 ล้านคน)[46] ในเมืองมีโรงละครตั้งอยู่หลายแห่งด้วยกัน[47]

ถนนหลักของเมืองชื่อว่า คุงสปอตชาเวนิน (Kungsportsavenyn) หรือเป็นที่รู้จักในนาม อเวนึน (Avenyn) มีความยาวประมาณ 1 km (0.6 mi) เริ่มจากเยอตาพลัตเซน (Götaplatsen) ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะกอเทนเบิร์ก โรงละครเมือง และหอสมุดเมือง รวมไปถึงหอประชุมที่จัดคอนเสิร์ต ยาวไปจนถึง คุงสปอตชปลัตเซน (Kungsportsplatsen) ในเขตเมืองเก่า[48] อเวนิน ถูกสร้างขึ้นช่วงทศวรรษ 1860 ถึง 1870 จากผลการประกวดสถาปัตยกรรมนานาชาติ และเป็นผลผลิตของช่วงวางผังและออกแบบเมืองใหม่[49] อเวนิน ยังเป็นแหล่งรวมบาร์และสถานเริงรมย์ของเมือง ใจกลางเมืองมีห้างสรรพสินค้าซึ่งใหญ่ที่สุดในกอเทนเบิร์กคือ นอร์ดสตาน (Nordstan)[46]

ย่านฮากะ

ย่านฮากะของเมืองกอเทนเบิร์กเป็นที่รู้จักจากม้าไม้อันงดงาม[46] และคาเฟ่ซึ่งขาย ฮากะบูเล่ หรือซินนามอนโรลขนาดใหญ่คล้าย คาเนลบูเล่ (kanelbulle)[50]

ในค.ศ. 2008 มีร้านอาหารห้าแห่งในกอเทนเบิร์กได้รับดาวจาก มิชลินไกด์ ได้แก่ 28 +, Basement, Fond, Kock & Vin, Fiskekrogen และ Sjömagasinet[51]

หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในกอเทนเบิร์กได้แก่หมู่เกาะกอเทนเบิร์กใต้ (södra Göteborgs skärgård) ซึ่งมีเกาะ Älvsborg fortress, Vinga และ Styrsö[46]

เทศกาลและงานแสดง

[แก้]

เทศกาลภาพยนตร์กอเทนเบิร์กเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวีย[52] งานหนังสือกอเทนเบิร์กถูกจัดขึ้นทุกเดือนกันยายนของปี[53]

เทศกาลวิทยาศาสตร์นานาชาติในกอเทนเบิร์กถูกจัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ เมษายน ค.ศ. 1997 โดยมีผู้เข้าชมมากกว่า 100,000 คนในแต่ละปี[54]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Localities 2015; population 2010-2016, area, overlap holiday home areas, coordinates". Statistics Sweden. 28 May 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2012.
  2. https://www.scb.se/hitta-statistik/statistik-efter-amne/befolkning/befolkningens-sammansattning/befolkningsstatistik/pong/tabell-och-diagram/kvartals--och-halvarsstatistik--kommun-lan-och-riket/kvartal-1-2017/
  3. "Population in localities increased by 120 000". Statistiska Centralbyrån (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
  4. "Kvartal 2 2014". Statistiska Centralbyrån. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2014.
  5. "Swedish National Encyclopedia (password needed)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-14. สืบค้นเมื่อ 2012-01-21.
  6. "Volvo's founders – Our founders & presidents : Volvo Group Global". volvogroup.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2010.
  7. Info on the Festival site เก็บถาวร 24 มกราคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. Hellquist, E. Svensk etymologisk ordbok.
  9. Pamp, B. Ortnamnen i Sverige. Svenska ortnamnsarkiv.
  10. AWE/Gebers serie om ortnamnen i våra landskap.
  11. Valkonen, Jorma (12 August 2009). "Göteborg blir go:teborg" [Göteborg becomes go:teborg]. www.aftonbladet.se. Aftonbladet. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.
  12. 12.0 12.1 Twedberg, Johan (9 March 2003). "Här skulle staden ligga" [The city would be]. www.vartgoteborg.se. Gothenburg Municipality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-25. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
  13. Lagerström, Robert (23 November 2008). "Färjenäs – stan under bron" [Färjenäs – the town under the bridge]. www.gp.se. Göteborgs-Posten. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
  14. Kastrup, Allan (1975), The Swedish heritage in America: the Swedish element in America and American–Swedish relations in their historical perspective, Swedish Council of America
  15. 15.0 15.1 Henriksson, Dick; Rustan, Älveby (1994), Vårt Levebröd – Göteborgregionens näringsliv Igår, I dag och I morgon [Our livelihood – Göteborg region Yesterday, Today and Tomorrow], Akademiförlaget, p. 5, ISBN 91-24-16635-9
  16. Svedberg, Viktor (2002). "Förstudier och förundersökningar" [Feasibility studies and preliminary investigations] (PDF). www.raa.se. Swedish National Heritage Board. pp. 28–31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-25. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
  17. Andersson, Dan (4 January 2009). "Varför kom skottarna till Göteborg?" [Why did the Scots go to Gothenburg?]. www.expressen.se. Expressen. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
  18. "Direktören som grundade industriskola" [The director who founded the industrial school]. www.företagsamheten.se. Svenskt Näringsliv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2016. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
  19. "En industriföretagare danas – Alexander Keillers första år i Sverige" [The making of an industrialist – Alexander Keiller's first year in Sweden] (PDF). www.warne.se. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
  20. "Keiller park". www.goteborg.com. Göteborgs Turistbyrå. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
  21. Nevéus, Clara; de Wærn, Bror Jaques; Eriksson, Kurt (1992). Ny svensk vapenbok [The Book of New Swedish Weapons]. Stockholm: Streiffert i samarbete med Riksarkivet. p. 70. ISBN 91-7886-092-X.
  22. Leche, V; Nyström, J.F.; Warburg, K; Westrin, Th, บ.ก. (1914). "Ostindiska kompanier" [East India companies]. Nordisk familjebok–Uggleupplagan (ภาษาสวีเดน). Vol. 20. Stockholm: Nordisk familjeboks förl. pp. 1060–1062.
  23. Gothenburg, Nebraska, LASR, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-09, สืบค้นเมื่อ September 15, 2010
  24. Wieselgren, Sigfrid (1878). Ur Göteborgs Häfder – om de styrande och de styrde 1621–1748 [From Gothenburg's annals – of the rulers and the ruled 1621–1748]. Stockholm: P A Norstedt & Söner. p. 10.
  25. Warburg, Karl (1913). Viktor Rydberg, hans levnad och diktning [Viktor Rydberg, his life and poetry]. Stockholm: ALB. Bonniers Book Publishing. p. 54. ISBN 9781278687216.
  26. Jan Hansson, บ.ก. (1999). Millennium – årtusendets bok [Millennium – the millennium book (the awkward title is because the first word of the original title was literally "Millenium")]. Göteborgs-Posten. p. 104. ISBN 91-973363-2-7. LIBRIS 7799720
  27. A. Holber, บ.ก. (1951). Sfären Nr 5 SKF Göteborg: Sven Wingquist 75 år [Sphere No. 5 SKF Gothenburg Sven Wingquist 75 years]. Göteborg: Wezäta. p. 4.
  28. "Volvo's founders : Volvo Group – Global". Volvo.com. 14 เมษายน 1927. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2015.
  29. Westrin Theodor, บ.ก. (1909). "Göteborg". Nordisk familjebok–Uggleupplagan (ภาษาสวีเดน). Stockholm: Nordisk familjeboks förl. pp. 890–898.
  30. 30.0 30.1 Andersson, Leif. "Vad händer med Golfströmmen?" [What happens to the Gulf Stream?]. www.gu.se. University of Gothenburg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-20. สืบค้นเมื่อ 26 August 2015.
  31. "Lunchdebatt om regional utveckling" [Lunch Debate on Regional Development]. www.svt.se. Sveriges Television. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
  32. "Storstadsområden med ingående kommuner i alfabetisk ordning" [Metropolitan areas with the population of municipalities in alphabetical order] (PDF). www.scb.se. Statistics Sweden. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
  33. "Gothenburg, Sweden Climate Summary". Weatherbase. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
  34. "Säsongens första snöfall" [The season's first snowfall]. SMHI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 27 October 2015.
  35. "Climate Gothenburg". สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.
  36. "Monthly & Yearly Statistics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 9 June 2015.
  37. Caldenby, Claes (1979). Byggnader i Göteborg. Gothenburg: Sektionen för arkitektur, Chalmers tekniska högskola. p. 8.
  38. "Världskulturmuseet – Start". Varldskulturmuseet.se. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-04. สืบค้นเมื่อ 8 July 2009.
  39. "Världskulturmuseet, Göteborg". www.sfv.se. National Property Board of Sweden. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
  40. "Museer". www.goteborg.se. Gothenburg Municipality. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
  41. "Aeroseum". www.goteborg.com. Göteborgs Turistbyrå. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
  42. "Volvo museum". www.volvomuseum.com. Volvo museum. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
  43. "Universeum". www.goteborg.com. Göteborgs Turistbyrå. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-10. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
  44. Best Amusement Parks 2005 – Liseberg, Gothenburg Sweden. Forbes (2005)
  45. "Forbes.com". Forbes.com. 25 May 2005. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
  46. 46.0 46.1 46.2 46.3 Olesen, Elisabet (March 2005). Adventure Guide to Sweden. Hunter Publishing, Inc. ISBN 1588435067.
  47. "Theatre, Meet Gothenburgs rich theatre scene". www.goteborg.com. Gothenburg Tourist Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-10. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  48. "Avenyn". www.goteborg.com. Gothenburg Tourist Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-09. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  49. Guide till Sveriges arkitektur, red. Waern, Caldenby, Arkitektur förlag
  50. Ohlson, Gunnar (4 October 2013). "De serverar världens största kanelbulle" [They serve the world's largest cinnamon rolls]. www.expressen.se. Expressen. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  51. Information from the tourist company Göteborg & Co, website www.goteborg.com
  52. "Göteborg International Film Festival 2008: Göteborg International Film Festival". Web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มกราคม 2008. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009.
  53. "Vad är Bok & Bibliotek?" (ภาษาสวีเดน). Bok & Bibliotek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2011. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
  54. vartgoteborg.se – Världsrekordförsök inleder Göteborgs tolfte vetenskapsfestival เก็บถาวร 2013-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Vårt Göteborg, 11 April 2008

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]