เอไคโนเดอร์มาตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Echinodermata)

เอไคโนเดอร์มาตา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Cambrian–recent
เอไคโนเดอร์มาตาเพิ่มเติม 5 ชั้น: ดาวทะเลปุ่มแดง (Asteroidea), Ophiocoma scolopendrina (Ophiuroidea), Stomopneustes variolaris (Echinoidea), Oxycomanthus bennetti (Crinoidea), Actinopyga echinites (Holothuroidea)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
อาณาจักรย่อย: ยูเมทาซัว
เคลด: ParaHoxozoa
เคลด: ไบลาทีเรีย
เคลด: เนโฟรซัว
ไฟลัมใหญ่: ดิวเทอโรสโทเมีย
เคลด: Ambulacraria
ไฟลัม: เอไคโนเดอร์มาตา
Bruguière, 1791 [ex Klein, 1734]
สกุลต้นแบบ
Echinus
Linnaeus, 1758
ไฟลัมย่อยและชั้น[1]

HomalozoaGill & Caster, 1960

Cincta
Soluta
Stylophora
CtenocystoideaRobison & Sprinkle, 1969

Crinozoa

Crinoidea
Edrioasteroidea
Cystoidea
Rhombifera

Asterozoa

Ophiuroidea
Asteroidea

Echinozoa

Echinoidea
Holothuroidea
Ophiocistioidea
Helicoplacoidea

Blastozoa

Blastoidea
Cystoideavon Buch, 1846
EocrinoideaJaekel, 1899
ParacrinoideaRegnéll, 1945

†=สูญพันธุ์

เอไคโนเดอร์มาตา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Echinodermata; เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /i-ˌkī-nə-ˈdər-mət-ə/) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีสมาชิกได้แก่ ดาวทะเล ดาวเปราะ ปลิงทะเล เม่นทะเล พลับพลึงทะเลและเหรียญทะเล เป็นไฟลัมที่พบเฉพาะในทะเล ชื่อของไฟลัมหมายถึง "สัตว์ที่มีผิวหนังเป็นหนาม" (Echinos = ขรุขระ, Derma = ผิวหนัง) แต่ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่มีโครงร่างภายนอก ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นหินปูน ทำให้ผิวลำตัวมักมีหนามรูปร่างต่างๆกัน เคลื่อนที่โดยใช้เท้าท่อ หายใจโดยใช้ปุ่มตามผิวหนัง หรือใช้ช่องเหงือก ทุกชนิดอาศัยอยู่ในทะเล ดำรงชีวิตเป็นสัตว์หน้าดิน

ลักษณะสำคัญ[แก้]

สัตว์ในไฟลัมนี้เป็นพวก Deuterostome มีช่องลำตัวแท้จริงซึ่งเกิดจากการแบ่งตัวมาจาก mesoderm สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถเคลื่อนที่ได้ดี แต่ช้าๆ โดยการใช้เครือข่ายแรงดันภายในระบบท่อน้ำ สามารถสืบพันธุ์จากการแยกส่วนได้ ซึ่งระบบท่อน้ำนี้พัฒนามาจาก coelom และยังทำหน้าที่หายใจ กินอาหาร สืบพันธุ์และหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนในร่างกาย

ตัวอ่อนของสัตว์ไฟลัมนี้มีสมมาตรแบบ 2 ส่วนเท่ากัน แต่เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีสมมาตรแบบทรงรัศมี 5 แฉก การขับถ่าย และหัวใจไม่ชัดเจน เศษอาหารปล่อยออกทางปาก ระบบประสาทเป็น เส้นประสาทแบบวงแหวน อย่างง่ายๆ

การจำแนก[แก้]

ในอดีต นักอนุกรมวิธานเชื่อว่า Ophiuroidea เป็นญาติกับ Asteroidea หรือเคยเป็นญาติกัน (Holothuroidea + Echinoidea)[2] อย่างไรก็ตาม มีปรับปรุงแผนภูมิวิวัฒนาการชาติพันธุ์จากการวิเคราะห์ในยีน 219 อันจากเอไคโนเดอร์มาตาทุกชั้นใน ค.ศ. 2014[3] จากนั้น ฝ่ายวิเคราะห์อิสระใน ค.ศ 2015 ถอดรหัสอาร์เอ็นเอ 23 ชนิดจากเอไคโนเดอร์มาตาทุกชั้นจัดให้อยู่ในแผนภูมิด้วยกัน[2]

วิวัฒนาการชาติพันธุ์ภายนอก

ข้อมูลเอไคโนเดอร์มาตาในไบลาทีเรียมีดังนี้:[4]

Bilateria

Xenacoelomorpha


Nephrozoa
Deuterostomia

Chordata


Ambulacraria

Echinodermata



Hemichordata




Protostomia

Ecdysozoa



Spiralia






วิวัฒนาการชาติพันธุ์ภายใน
Echino-

Crinoidea (ดาวขนนก)



Echinozoa
Holothuroidea


Echinoidea



Asterozoa
Ophiuroidea


Asteroidea






ความหลากหลาย[แก้]

มีชนิดขยายของเอไคโนเดอร์มาตาประมาณ 7,000 ชนิดและมีชนิดที่สูญพันธุ์ประมาณ 13,000 ชนิด[5][6] เอไคโนเดอร์มาตาทั้งหมดเป็นสัตว์ทะเล แต่มักพบในหลายบริเวณตั้งแต่พื้นที่น้ำขึ้นน้ำลงถึงระดับห้วงน้ำลึกสุด มีหมวดย่อยที่เป็นที่ยอมรับ 2 หมวด: Eleutherozoaที่เคลื่อนไหวเอง ประกอบด้วย Asteroidea (ดาวทะเล มีประมาณ 1,745 ชนิด), Ophiuroidea (ดาวเปราะ มีประมาณ 2,300 ชนิด), Echinoidea (เม่นทะเลและอีแปะทะเล มีประมาณ 900 ชนิด) และ Holothuroidea (ปลิงทะเล มีประมาณ 1,430 ชนิด); และPelmatozoa ซึ่งบางส่วนเกาะกับที่และบางส่วนเคลื่อนไหวเอง ประกอบด้วย Crinoidea (ดาวขนนกและไครนอยด์ มีประมาณ 580 ชนิด) และblastoids กับ Paracrinoid ที่สูญพันธุ์แล้ว[7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Stöhr, Sabine (2014). "Echinodermata". WoRMS. World Register of Marine Species. สืบค้นเมื่อ 2014-02-23.
  2. 2.0 2.1 Escriva, Hector; Reich, Adrian; Dunn, Casey; Akasaka, Koji; Wessel, Gary (2015). "Phylogenomic Analyses of Echinodermata Support the Sister Groups of Asterozoa and Echinozoa". PLOS ONE. 10 (3): e0119627. Bibcode:2015PLoSO..1019627R. doi:10.1371/journal.pone.0119627. PMC 4368666. PMID 25794146.
  3. Telford, M. J.; Lowe, C. J.; Cameron, C. B.; Ortega-Martinez, O.; Aronowicz, J.; Oliveri, P.; Copley, R. R. (2014). "Phylogenomic analysis of echinoderm class relationships supports Asterozoa". Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences. 281 (1786): 20140479. doi:10.1098/rspb.2014.0479. PMC 4046411. PMID 24850925.
  4. Edgecombe, Gregory D.; Giribet, Gonzalo; Dunn, Casey W.; Hejnol, Andreas; Kristensen, Reinhardt M.; Neves, Ricardo C.; Rouse, Greg W.; Worsaae, Katrine; Sørensen, Martin V. (June 2011). "Higher-level metazoan relationships: recent progress and remaining questions". Organisms, Diversity & Evolution. 11 (2): 151–172. doi:10.1007/s13127-011-0044-4. S2CID 32169826.
  5. Wray, Gregory A. (1999). "Echinodermata: Spiny-skinned animals: sea urchins, starfish, and their allies". Tree of Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2015. สืบค้นเมื่อ 19 October 2012.
  6. "Animal Diversity Web - Echinodermata". University of Michigan Museum of Zoology. สืบค้นเมื่อ 26 August 2012.
  7. Uthicke, Sven; Schaffelke, Britta; Byrne, Maria (1 January 2009). "A boom–bust phylum? Ecological and evolutionary consequences of density variations in echinoderms". Ecological Monographs. 79: 3–24. doi:10.1890/07-2136.1.
  8. Arnone, Maria Ina; Byrne, Maria; Martinez, Pedro (2015). "Echinodermata". Evolutionary Developmental Biology of Invertebrates 6. Vienna: Springer Vienna. pp. 1–58. doi:10.1007/978-3-7091-1856-6_1. ISBN 978-3-7091-1855-9.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]