ข้ามไปเนื้อหา

เดร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Derg)
รัฐบาลทหารชั่วคราวแห่งรัฐสังคมนิยมเอธิโอเปีย

የኅብረተሰብአዊት ኢትዮጵያ ጊዜያዊ ወታደራዊ መንግሥት (อามารา)
ye-Hebratasabʼāwit Ītyōṗṗyā Gizéyāwi Watādarāwi Mangeśt
1974–1987
ตราของเอธิโอเปีย
ตรา
เพลงชาติĪtyoṗya, Ītyoṗya, Ītyoṗya, qidä mī [1]
ኢትዮጵያ, ኢትዮጵያ, ኢትዮጵያ ቅደሚ
เอธิโอเปีย, เอธิโอเปีย, เอธิโอเปีย จงเป็นหนึ่ง
ที่ตั้งของเอธิโอเปีย
เมืองหลวงอาดดิสอาบาบา
ภาษาทั่วไปภาษาอามารา
การปกครองรัฐเดี่ยว มากซิสต์-เลนนินนิสต์ พรรคเดียว รัฐบาลชั่วคราว ภายใต้กองทัพ
ประธานประเทศ 
• 1974
อามาน อันโดม
• 1974–1977
ทาฟารี เบนที
• 1977–1987
เมินกึสทู ฮัยเลอ มารียัม
สภานิติบัญญัติเชนโก
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
12 กันยายน 1974
21 มีนาคม 1975[2]
22 กุมภาพันธ์ 1987
พื้นที่
1987[3]1,221,900 ตารางกิโลเมตร (471,800 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1987[3]
46,706,229
สกุลเงินบือร์เอธิโอเปีย (ETB)
รหัสโทรศัพท์251
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิเอธิโอเปีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเอธิโอเปีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เอริเทรีย
 เอธิโอเปีย

เดร์ก (Derg หรือ Dergue; จากอามารา: ደርግ, "คณะกรรมการ" หรือ "สภา"; โอโรโม: Dergii) หรือชื่อทางการ รัฐบาลทหารชั่วคราวแห่งเอธิโอเปีย (อังกฤษ: Provisional Military Government of Ethiopia) เป็นคณะรัฐประหารและรัฐบาลทหารผู้ปกครองประเทศเอธิโอเปียจากปี ค.ศ. 1974 ถึง 1987 ที่ซึ่งเริ่มมีการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลพลเมือง แต่กองทัพยังคงมีตำแหน่งอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1991

เดร์กจัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 1974 ภายใต้ชื่อ คณะกรรมการร่วมกองทัพ, ตำรวจ และกองกำลังรักษาดินแดน (อังกฤษ: Coordinating Committee of the Armed Forces, Police and Territorial Army) โดยประกอบขึ้นด้วยเจ้าหน้าที่จากกองทัพเอธิโอเปียและตำรวจภายใต้การนำในระยะแรกของ อามาน อันโดม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อคณะใหม่เป็นทางการว่า คณะกรรมการบริหารโดยกองทัพชั่วคราว (Provisional Military Administrative Council) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1974 และล้มล้างการปกครองของจักรวรรดิเอธิโอเปียรวมถึงจักรพรรดิฮายิเล เซลาสซีขณะเกิดการประท้วงใหญ่ เดร์กได้ทำการยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ในเอธิโอเปียและก่อตั้งรัฐมากซิสต์-เลนนินนิสต์แบบหนึ่งพรรคการเมือง โดยมีคณะล้มล้างการปกครองเป็นพรรคแนวหน้าภายใต้รัฐบาลชั่วคราว การล้มล้างระบอบฟิวดัล, เพิ่มอัตราการรู้หนังสือ, โอนย้ายกิจการต่าง ๆ มาเป็นของรัฐ และการปฏิรูปที่ดินครั้งใหญ่ ซึ่งรวมถึงการจัดสรรนิคมใหม่และการทำเป็นหมู่บ้านจากที่สูงเอธิโอเปียเป็นประเด็นสำคัญของรัฐบาล ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 เมินกึสทู ฮัยเลอ มารียัม ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานและเริ่มแคมเปญการกดขี่ทางการเมือง เรดแทเรอร์ (Qey Shibir) เพื่อกำจัดคู่ตรงข้ามทางการเมือง ส่งผลให้มีผู้ถูกจองจำและประหารชีวิตโดยไม่ผ่านการตัดสินคดีทางกฎหมายหลายหมื่นราย[4]

กระทั่งช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งเอธิโอเปียเผชิญปัญหาหลายประการ ทั้งการฟื้นตัวจากความพยายามบุกรุกดินแดนจากโซมาเลีย, ฤดูแล้ง, การเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ และ ทุพิกขภัยใหญ่ปี 1983–1985 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่าหลายล้านคน[5] นำไปสู่การพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติอย่างหนักและการปะทุขึ้นใหม่ของความขัดแย้งในประเทศ โดยเฉพาะการต่อสู้เรียกร้องเอกราชของเอริเทรีย และสงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพซึ่งเป็นรัฐบาลเอง กลุ่มกบฏ และกองกำลังตามชายแดน ในปี ค.ศ. 1987 เมนกิสทูยุบเลิกเดร์กและก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเอธิโอเปีย ภายใต้การนำของพรรคแรงงาน และรัฐบาลพลเรือนใหม่แต่ยังคงเต็มไปด้วยสมาชิกจากเดร์ก[6] ทั้งฮายิเล เซลาสซี และเดร์ก ได้ย้ายชาวอามาราไปทางใต้ของประเทศเพื่อจัดการและตั้งศูนย์กลางที่นั่น ในระหว่างนั้นก็ได้ทำการกำจัดวัฒนธรรมและภาษาโอโรโมในท้องถิ่น และแทนที่ด้วยอามารา[7][8][9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. www.nationalanthems.info
  2. "Ethiopia Ends 3,000 Year Monarchy", Milwaukee Sentinel, March 22, 1975, p. 3.; "Ethiopia ends old monarchy", The Day, March 22, 1975, p. 7.; Henc Van Maarseveen and Ger van der Tang, Written Constitutions: A Computerized Comparative Study (BRILL, 1978) p. 47.; The World Factbook 1987; Worldstatesmen.org – Ethiopia
  3. The World Factbook 1987
  4. de Waal 1991.
  5. Gill, Peter (2010). Famine and Foreigners: Ethiopia Since Live Aid (PDF). Oxford University Press. pp. 43–44. ISBN 978-0-19-956984-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 16 May 2018. สืบค้นเมื่อ 30 April 2019 – โดยทาง South African History Online. The most eloquent summary of the famine’s impact endorsed de Waal’s conclusion. It came from the very top of Ethiopia’s official relief commission. Dawit Wolde-Giorgis, the commissioner, was an army officer and a member of the politburo. Within two years of witnessing these events he resigned from his post during an official visit to the United States, and wrote an account of his experiences from exile. He revealed that at the end of 1985 the commission had secretly compiled its own famine figures—1.2 million dead, 400,000 refugees outside the country, 2.5 million people internally displaced, and almost 200,000 orphans. ‘But the biggest toll of the famine was psychological,’ Dawit wrote. ‘None of the survivors would ever be the same. The famine left behind a population terrorized by the uncertainties of nature and the ruthlessness of their government.’
  6. David A. Korn, Ethiopia, the United States and the Soviet Union, Routledge, 1986, page 179.
  7. OROMO CONTINUE TO FLEE VIOLENCE, September 1981
  8. Country Information Report ethiopia, August 12, 2020, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-11, สืบค้นเมื่อ 2021-05-13 {{citation}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  9. Ethiopia. Status of Amharas, March 1, 1993

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]