พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก DBT)

พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (อังกฤษ: Dialectical behavior therapy ตัวย่อ DBT) เป็นจิตบำบัดที่ออกแบบเพื่อช่วยให้เปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ เช่น การทำร้ายตัวเอง การคิดถึงการฆ่าตัวตาย และการติดสารเสพติด[1] วิธีนี้ช่วยให้ควบคุมอารมณ์และความคิดของตนได้มากขึ้นโดยเรียนรู้เกี่ยวกับชนวนที่จุดปฏิกิริยา และช่วยประเมินว่า จะใช้ทักษะเช่นไรในการรับมือกับลำดับเหตุการณ์ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ DBT สมมุติว่าทุกคนพยายามทำดีที่สุด แต่ว่าไม่ขาดทักษะก็ได้การเสริมแรง (reinforcement) ไม่ทางลบก็ทางบวก ที่รบกวนการดำเนินชีวิตที่ดี

DBT เป็นรูปแบบดัดแปลงของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ที่นักจิตวิทยา ศ.ดร.มาชา ไลน์แฮน ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันได้พัฒนาขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970[2] เพื่อรักษาความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) และความคิดฆ่าตัวตายเรื้อรัง แม้ว่าผลงานวิจัยที่แสดงประสิทธิผลในการรักษาโรคอื่น ๆ จะจำกัดมาก แต่ DBT ปัจจุบันใช้รักษาโรคจิตต่าง ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะ (TBI) ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder) และความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder)[3][4] มีผลงานวิจัยเล็กน้อยที่แสดงว่า DBT อาจมีผลต่อคนไข้ที่มีอาการและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับความผิดปกติทางอารมณ์เป็นสเปกตรัม (spectrum mood disorders) รวมทั้งการทำร้ายตัวเอง[5] ส่วนงานศึกษาปี 2551 แสดงว่ามีประสิทธิผลต่อเหยื่อทารุณกรรมทางเพศ (sexual abuse)[6] และงานปี 2542 พบผลต่อการติดสารเสพติด[7]

DBT รวมเทคนิคของ CBT ในการควบคุมอารมณ์และการตรวจสอบความจริง บวกกับการอดทนต่อความทุกข์ การยอมรับ การสำนึกรู้อย่างมีสติ โดยสืบมาจากการเจริญสติในพุทธศาสนา DBT เป็นการบำบัดแรกที่มีหลักฐานการทดลองที่แสดงว่ามีผลในการบำบัด BPD[8][9] การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มแรกของ DBT พบผลคือ ทีท่าจะฆ่าตัวตาย (suicidal gesture) การเข้าโรงพยาบาลเหตุจิตเวช และการเลิกการรักษาเอง (drop-out) ในอัตราที่ลดลง[4] งานวิเคราะห์อภิมานงานหนึ่งพบว่า DBT มีผลปานกลาง (moderate) ในคนไข้ BPD[10]

ภาพรวม[แก้]

ผู้พัฒนา DBT ดร. ไลน์แฮนได้สังเกตเห็นความหมดไฟของนักบำบัด หลังจากช่วยคนไข้ที่ไม่ต้องการรักษาผู้ไม่ให้ความร่วมมือแม้ในโปรแกรมการรักษาที่มีผล ความเข้าใจหลักแรกของเธอก็คือ คนไข้ที่คิดฆ่าตัวตายอย่างเรื้อรังที่เธอศึกษาโตขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ทำให้รู้สึกว่าตนมีค่า และดังนั้น จำต้องได้ความเมตตาและการยอมรับแบบไม่มีเงื่อนไขบ้าง เพื่อจะมีความสัมพันธ์กับผู้บำบัดเพื่อรักษาให้สำเร็จผล[a] ความเข้าใจอย่างที่สองก็คือ การต้องได้รับความร่วมมืออย่างแข็งขันจากคนไข้ ผู้ที่ต้องยอมรับได้ว่า ตนมีปัญหาทางอารมณ์ที่แย่มาก

DBT พยายามจัดให้คนไข้มองผู้บำบัดว่าเป็นมิตรแทนที่จะเป็นศัตรูในการบำบัดปัญหาทางใจ เพราะฉะนั้น ผู้บำบัดจึงพยายามยอมรับและให้ความสำคัญต่อความรู้สึกคนไข้ โดยยังต้องให้ข้อมูลได้ว่า ความรู้สึกหรือพฤติกรรมเช่นไรเป็นการปรับตัวผิด (maladaptive) และแสดงทางเลือกที่ดีกว่า[4]

ดร. ไลน์แฮนและนักจิตวิทยาท่านอื่น ๆ รวมการให้ความร่วมมือจากคนไข้กับหลักของวิธีการบำบัดแบบยอมรับแล้วเปลี่ยน (Acceptance and commitment therapy) โดยวิภาษวิธี (ซึ่ง บทตั้ง + บทแย้ง → บทสังเคราะห์ [thesis + antithesis → synthesis]) และสร้างทักษะต่าง ๆ เพื่อควบคุมอารมณ์ของตนด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามหลักจิตวิทยาชาวตะวันตก รวมทั้งการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และ assertiveness training (การฝึกยืนหยัดที่จุดยืนของตน) และหลักเจริญกรรมฐานของชาวตะวันออก เช่น การเจริญสติของศาสนาพุทธ สิ่งที่เธอเพิ่มให้กับสาขาก็คือการเปลี่ยนความสัมพันธ์แบบเผชิญหน้ากันของผู้บำบัด-คนไข้ โดยให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ฉันมิตรที่ตั้งอยู่ในฐานของหลักความรักความเมตตาประกอบกับความเข้มงวด (tough love) DBT ทุกแบบประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ

  • การรักษาส่วนบุคคล - ผู้บำบัดและคนไข้จะสนทนากันเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นในอาทิตย์ที่ผ่านมา (ที่บันทึกลงในบัตรประจำวัน) โดยกล่าวไปตามลำดับความสำคัญในการบำบัด พฤติกรรมทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่อันตรายต่อชีวิต สำคัญสูงสุด อย่างที่สองก็คือพฤติกรรมที่แม้ไม่มีผลลบโดยตรงต่อตนเองหรือผู้อื่น แต่ขัดขวางกระบวนการรักษา ซึ่งเรียกว่าพฤติกรรมรบกวนการรักษา (Therapy interfering behavior) อย่างที่สามก็คือปัญหาคุณภาพชีวิต โดยทำการเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตทั่วไป ในระหว่างการรักษาส่วนบุคคล ผู้บำบัดและคนไข้จะทำการเพื่อเพิ่มการใช้ทักษะ บ่อยครั้ง จะสนทนาเรื่องทักษะและอุปสรรคในการใช้ทักษะเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • การรักษาเป็นกลุ่ม - กลุ่มปกติจะพบกันครั้งหนึ่งต่ออาทิตย์เป็นเวลา 2-2 1/2 ชม. แล้วเรียนรู้การใช้ทักษะโดยเฉพาะต่าง ๆ ที่แบ่งออกเป็น 4 หน่วย คือ (1) สติ (2) ความสัมพันธ์กับผู้อื่น (3) การควบคุมอารมณ์ และ (4) การอดทนต่อความทุกข์
  • กลุ่มผู้บำบัด - รวมผู้บำบัดทุกคนที่ให้ DBT ผู้ประชุมกันทุกอาทิตย์เพื่อให้ความสนับสนุนการบำบัด
  • การฝึกสอนทางโทรศัพท์ - ออกแบบเพื่อช่วยให้คนไข้ใช้ทักษะในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะคุยสั้น ๆ และจำกัดในเรื่องทักษะ

ไม่มีองค์ประกอบใดที่ใช้ต่างหาก เพราะว่าทุกองค์ประกอบสำคัญในการควบคุมไม่ให้แรงกระตุ้นในการฆ่าตัวตายหรือปัญหาทางอารมณ์ต่าง ๆ ขัดขวางวิถีการดำเนินของกลุ่ม ในช่วงที่การรักษาโดยกลุ่มสอนทักษะต่าง ๆ ที่เฉพาะต่อ DBT และช่วยฝึกหัดควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมในสถานการณ์ทางสังคม

หน่วย 4 หน่วย[แก้]

สติ[แก้]

สติเป็นแนวคิดหลักอย่างหนึ่งของ DBT ซึ่งมองว่าเป็นฐานของทักษะอื่น ๆ ที่สอนใน DBT เพราะช่วยบุคคลให้ยอมรับและอดทนต่ออารมณ์แรงที่อาจรู้สึกเมื่อมีการขัดนิสัย/ขัดใจหรืออยู่ในเหตุการณ์ที่ทำให้อารมณ์เสีย แนวคิดเกี่ยวกับสติและการฝึกสติได้มาจากการปฏิบัติในพุทธศาสนา แม้ว่าที่ใช้ใน DBT จะไม่รวมแนวคิดทางอภิปรัชญา สำหรับ DBT สติเป็นสมรรถภาพในการให้ความใส่ใจ โดยไม่ตัดสินดีชั่ว ต่อขณะปัจจุบัน เป็นเรื่องใช้ชีวิตในปัจจุบัน โดยประสบกับสัมผัสความรู้สึกและอารมณ์ของตนเองเต็ม ๆ แต่พร้อมกับความเข้าใจ

ทักษะ "อะไรเป็นอะไร"[แก้]

สังเกต
ใช้ในการสังเกตภายในภายนอกของตนอย่างไม่ตัดสินดีชั่ว ช่วยให้เข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในสถานการณ์หนึ่ง ๆ
DBT แนะนำการฝึกจิตให้เหมือนกระทะเทฟลอน (teflon mind) คือสามารถให้อารมณ์ความรู้สึกและประสบการณ์ผ่านไปโดยไม่ติดใจ[11]
อธิบาย
ใช้อธิบายต่อคนอื่นว่าได้สังเกตเห็นอะไร โดยกล่าวอย่างไม่ตัดสินดีชั่ว
มีส่วนร่วม
ใช้เพื่อที่จะให้มีสมาธิ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ตนกำลังทำ

ทักษะ "ทำอย่างไร"[แก้]

อย่างไม่ตัดสินดีชั่ว
เป็นการอธิบายความจริง โดยไม่คิดถึงว่าอะไร ดี ชั่ว ยุติธรรม ไม่ยุติธรรม ซึ่งเป็นการตัดสินและไม่ใช่เป็นการกล่าวถึงความจริง การไม่ตัดสินดีชั่วช่วยให้สื่อประเด็นต่อคนอื่นอย่างมีประสิทธิผล โดยไม่เพิ่มการตัดสินที่คนอื่นอาจไม่เห็นด้วย
อย่างมีสมาธิ
ใช้ให้มีสมาธิในสิ่ง ๆ เดียว ช่วยรักษาใจไว้ไม่ให้กลายเป็น "ใจเจ้าอารมณ์" โดยไม่มีเป้า
อย่างมีประสิทธิผล
นี่ก็คือการทำอะไรก็ได้ที่ให้ผล เป็นทักษะแบบกว้าง ๆ ที่สามารถใช้ได้กับทักษะอย่างอื่น ๆ เพื่อช่วยให้สำเร็จในการใช้ทักษะนั้น ๆ[12]

การอดทนต่อความทุกข์[แก้]

วิธีการบำบัดสุขภาพจิตหลายวิธีในปัจจุบันมุ่งเปลี่ยนเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ก่อความทุกข์ เช่นความตายของคนรัก การเสียงาน ความเจ็บป่วยหนัก การก่อการร้าย และเหตุการณ์สะเทือนใจอื่น ๆ[13] โดยไม่สนใจเรื่องการยอมรับ การหาความหมาย หรือการอดทนต่อความทุกข์ DBT เน้นการเรียนรู้อดทนต่อความทุกข์อย่างชาญฉลาด

ทักษะการอดทนต่อความทุกข์เป็นพัฒนาการตามธรรมชาติจากการฝึกสติ เป็นความสามารถในการยอมรับ โดยวิธีที่ไม่ประเมินหรือตัดสินทั้งตัวเองทั้งสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากไม่ตัดสิน จึงไม่ได้เห็นชอบหรือยอมแพ้ เป้าหมายก็คือเพื่อที่จะสามารถเข้าใจสถานการณ์ที่ไม่ดีและผลของมัน แทนที่จะถูกครอบงำรุมเร้า หรือต้องซ่อนตัวจากมัน ซึ่งช่วยให้บุคคลตัดสินใจได้ดีว่าจะทำอะไรหรือไม่ แล้วจะทำอย่างไร แทนที่จะตกอยู่ในปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรง สิ้นหวัง และบ่อยครั้งเป็นภัย ที่เป็นส่วนของ BPD[12]

ใส่ใจเรื่องอื่นตามแนว ACCEPTS[แก้]

เป็นทักษะที่หันไปสนใจอย่างอื่นชั่วคราวจากอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ดี
  • Activities (กิจกรรม) - ทำกิจกรรมดี ๆ ที่ชอบ
  • Contribute (ช่วยส่งเสริม) - ช่วยคนอื่นหรือชุมชนของตน
  • Comparisons (เปรียบเทียบ) - เทียบตัวเองกับคนที่โชคดีน้อยกว่าหรือกับตนเองในสภาพที่แย่กว่า
  • Emotions (อารมณ์อื่น) - ก่อความรู้สึกอย่างอื่นให้ตัวเองโดยใช้อารมณ์ขัน หรือก่อความสุขด้วยกิจกรรมที่ชอบ
  • Push away (ดันออก) - เก็บสถานการณ์นี้ไว้ก่อนสักพักหนึ่ง คิดถึงเรื่องอย่างอื่นก่อนชั่วคราว
  • Thoughts (คิดถึงอย่างอื่น) - บังคับตัวเองให้คิดถึงอย่างอื่น
  • Sensations (รู้สึกอย่างอื่น) - ทำอะไรที่ให้สัมผัสความรู้สึกที่มีกำลังอื่น ๆ เช่น อาบน้ำเย็น ๆ หรือทานขนมที่เผ็ด ๆ[12]

ปลอบตัวเอง[แก้]

เป็นทักษะที่ประพฤติต่อตัวเองอย่างปลอบใจ อย่างรักษาใจ อย่างมีเมตตา และอย่างนุ่มนวล คือทำอะไรที่ทำให้รู้สึกสบายใจ โดยใช้ในขณะที่ทุกข์หรือวุ่นวายใจ[12] นักเล่นอเมริกันฟุตบอลชื่อดังคนหนึ่ง (Brandon Marshall) ที่ได้วินิจฉัยว่าเป็น BPD ในปี 2554 เป็นแฟนของ DBT โดยอ้างกิจกรรมเช่น การสวดมนต์และการฟังดนตรีแจ๊สว่ามีส่วนช่วยในการรักษาเขา

ปรับปรุงขณะปัจจุบันด้วย IMPROVE[แก้]

เป็นทักษะที่ใช้ในขณะที่ทุกข์เพื่อให้ผ่อนคลาย
  • Imagery (จินตนาการ) - ให้จินตนาการถึงสถานการณ์ที่สบาย ๆ ว่าทุกอย่างกำลังเป็นไปด้วยดี หรือถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ชอบ
  • Meaning (หาความหมาย) - หาเป้าหมายหรือความหมายในสิ่งที่กำลังรู้สึกอยู่
  • Prayer (สวดมนต์) - สวดถึงสิ่งที่บูชา หรือถ้าไม่เชื่อในศาสนา ให้ท่องมนต์อะไรส่วนตัว
  • Relaxation (ผ่อนคลาย) - ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หายใจลึก ๆ ทำให้ตนรู้สึกสบาย
  • One thing in the moment (อย่างเดียวในขณะนี้) - เพ่งความใส่ใจทั้งหมดในสิ่งที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ รักษาตนอยู่ในปัจจุบัน
  • Vacation (พักร้อนย่อย ๆ) - พักร้อนจากสิ่งที่ทำอยู่เป็นระยะสั้น ๆ
  • Encouragement (ให้กำลังใจ) - บอกตนว่าสามารถผ่านและรับมือเหตุการณ์นี้ได้ และมันจะช่วยให้เข้มแข็งและลดความอ่อนแอ[12]

ข้อดีและข้อเสีย[แก้]

คิดถึงข้อดีข้อเสียในการไม่อดทนต่อความทุกข์[12]

ยอมรับแต่โดยดี[แก้]

อย่าไปสู้ความจริง ยอมรับสถานการณ์ตามที่เป็น[12]

เปลี่ยนใจ[แก้]

เปลี่ยนใจไปเป็นแบบยอมรับ ใช้กับการยอมรับแต่โดยดี[12]

เต็มใจหรือดื้อ[แก้]

เต็มใจและเปิดใจทำสิ่งที่มีประสิทธิผล ปล่อยความดื้อดึงที่ขัดขวางการยอมรับสิ่งที่ควรยอมรับ โดยให้มองที่เป้าหมายของตน[12]

การควบคุมอารมณ์[แก้]

บุคคลที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) หรือคนที่คิดฆ่าตัวตายบ่อยครั้งเป็นคนมีอารมณ์รุนแรงและเปลี่ยนง่าย โดยเป็นความโกรธ ความผิดหวังรุนแรง ความซึมเศร้า หรือความวิตกกังวล ซึ่งแสดงว่าคนไข้อาจได้ประโยชน์ในการเรียนรู้ควบคุมอารมณ์ตนเอง ทักษะควบคุมอารมณ์ที่สอนโดย DBT รวมทั้ง[14][15]

  • กำหนดและให้ชื่ออารมณ์ความรู้สึก
  • กำหนดอุปสรรคที่จะเปลี่ยนอารมณ์
  • ลดความอ่อนแอต่อ "ใจเจ้าอารมณ์"
  • เพิ่มอารมณ์เชิงบวก
  • รักษาสติใส่ใจที่อารมณ์ปัจจุบัน
  • ทำสิ่งตรงกันข้าม
  • ใช้เทคนิคอดทนต่อความทุกข์[12]

กำหนดอารมณ์[แก้]

ทักษะนี้ใช้เพื่อเข้าใจว่าตนกำลังมีอารมณ์ความรู้สึกอะไรอยู่
  1. เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์
  2. การตีความเหตุการณ์
  3. ความรู้สึกทางกาย
  4. อากัปกิริยาทางกายที่แสดงความ
  5. ความรู้สึกว่าอยากจะทำอะไร
  6. สิ่งที่ทำ
  7. กำหนดว่าเป็นอารมณ์อะไร อาศัยรายการก่อน ๆ[12]

รักษาสุขภาพด้วย PLEASE[แก้]

ทักษะนี้เพื่อแก้นิสัยไม่ดีทางสุขภาพที่ทำให้อ่อนแอต่อการมีใจเจ้าอารมณ์ เป็นทักษะที่ช่วยให้มีสุขภาพทางกายดี ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสมีสุขภาพจิตดีมากขึ้น
  • PhysicaL illness (รักษาความป่วยทางกาย) ถ้าป่วยหรือบาดเจ็บ ให้รักษาให้ถูกต้อง
  • Eating (ทานอาหารให้สมดุล) ให้ทานอาหารที่ถูกสุขภาพ และทานแต่พอประมาณ
  • Avoid mood-altering drugs (เลี่ยงยาที่เปลี่ยนอารมณ์) อย่าทานยาที่หมอไม่ได้สั่งหรือยาที่ผิดกฎหมาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายอย่างยิ่ง และทำให้อารมณ์ไม่แน่นอน
  • Sleep (นอนให้พอดี) อย่านอนน้อยหรือมากเกินไป แนะนำให้นอน 8 ชม. ต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ปกติ
  • Exercise (ออกกำลังกาย) ให้ออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกดีต่อรูปร่างของตน และช่วยปล่อยสารเอ็นดอร์ฟินในร่างกาย ทำให้รู้สึกสุข[12]

ฝึกความชำนาญ[แก้]

พยายามทำสิ่งเหล่านี้อย่างละวันเพื่อช่วยสร้างความสามารถและเพิ่มการควบคุม[12]

การกระทำตรงกันข้าม[แก้]

ทักษะนี้ใช้เมื่อมีอารมณ์ที่ไม่สมเหตุผล ที่ไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญหน้า โดยทำสิ่งตรงกันข้ามกับความรู้สึกในขณะนี้ เป็นเครื่องมือช่วยออกจากอารมณ์ที่ไม่ต้องการหรือไม่สมเหตุผลโดยแทนที่ด้วยอารมณ์ตรงกันข้าม[12]

การแก้ปัญหา[แก้]

ทักษะนี้ใช้แก้ปัญหาเมื่ออารมณ์ที่เกิดสมเหตุผล โดยใช้กับเทคนิคและทักษะอื่น ๆ[12]

ปล่อยความทุกข์ไป[แก้]

สังเกตและรู้สึกถึงอารมณ์ ยอมรับมัน แล้วปล่อยไป[12]

ประสิทธิภาพทางสังคม[แก้]

รูปแบบการตอบสนองต่อบุคคลอื่น ๆ เป็นทักษะที่สอนใน DBT เหมือนกับในวิชาแก้ปัญหาเรื่องการยืนหยัดในจุดยืนของตน (assertiveness) และปัญหาในระหว่างบุคคล ซึ่งรวมกลยุทธ์การขอ/ถามถึงสิ่งที่ตนต้องการ การปฏิเสธ และการรับมือกับความขัดแย้งกับคนอื่น

บุคคลที่เป็นโรค BPD บ่อยครั้งมีทักษะทางสังคมที่ดีโดยทั่วไป แต่มีปัญหาในการประยุกต์ใช้ทักษะเหล่านั้นในสถานการณ์โดยเฉพาะ ๆ คือ บุคคลนั้นอาจจะสามารถบอกลำดับพฤติกรรมที่ได้ผลดีเมื่อเป็นปัญหาของบุคคลอื่น แต่กลับไม่สามารถคิดถึงหรือทำตามลำดับพฤติกรรมที่ว่า เมื่อเป็นเรื่องของตนเอง

หน่วยประสิทธิผลระหว่างบุคคลนี้มุ่งสถานการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง (เช่น ขอให้คนอื่นทำอะไรบางอย่าง) หรือต้องการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงที่คนอื่นต้องการ (เช่น การปฏิเสธ) ทักษะที่สอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะถึงเป้าหมายให้มากที่สุด โดยในขณะเดียวกัน ไม่ทำลายความสัมพันธ์กับหรือความภูมิใจของคนอื่น

ขอ/ถามด้วย DEARMAN[แก้]

นี่เป็นตัวย่อที่ใช้เพื่อได้สิ่งที่ต้องการเมื่อขอ/ถามคนอื่น
  • Describe (อธิบาย) อธิบายสถานการณ์ของตน
  • Express (บอกความรู้สึก) แสดงว่าทำไมนี่จึงเป็นปัญหาและตัวเองรู้สึกอย่างไร
  • Assert (ยืนยัน) ยืนยันโดยขอ/ถามสิ่งที่ต้องการอย่างชัดเจน
  • Reinforce (เสริม) เสริมจุดยืนของตนโดยแสดงผลที่ดีถ้าได้สิ่งที่ต้องการ
  • Mindful (มีสติ) มีสติในสถานการณ์และให้ตั้งสมาธิจดจ่อในสิ่งที่ต้องการโดยอย่าสนใจเรื่องกวนสมาธิอื่น ๆ
  • Appear (ดูมั่นใจ) ให้ดูมั่นใจแม้ว่าจะไม่รู้สึกมั่นใจ
  • Negotiate (ต่อรอง) ต่อรองกับคนที่ลังเลเพื่อให้ถึงจุดประนีประนอมที่ดีในทางที่ต้องการ

ให้ด้วย GIVE[แก้]

ทักษะนี้ช่วยรักษาความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะกับคนร่วมงาน ครอบครัว คู่รัก เป็นต้น ใช้ในการสนทนา
  • Gentle (นิ่มนวล) ใช้ภาษาที่สมควร ไม่ประทุษร้ายทางกายทางวาจา ไม่ดูถูก ไม่พูดประชดนอกจากมั่นใจว่าบุคคลนั้นไม่เป็นไร พูดอย่างสุภาพและไม่ตัดสินดีชั่ว
  • Interested (สนใจ) เมื่อคนที่พูดด้วยกำลังกล่าว ให้แสดงความสนใจต่อสิ่งที่เขาพูด ให้มองตา ถามคำถาม เป็นต้น อย่าใช้มือถือในขณะที่กำลังคุยกับคนอื่น
  • Validate (ให้ความเห็นใจ) แสดงว่าตนเข้าใจสถานการณ์ของคนอื่นและเห็นใจ ซึ่งสามารถแสดงทางกายวาจา เช่นทางสีหน้า
  • Easy Manner (สบาย ๆ) ให้ใจเย็นทำตัวสบาย ๆ ระหว่างคุยกัน ใช้มุกตลก ยิ้ม

รักษาความนับถือ/ความภูมิใจในตนเองด้วย FAST[แก้]

เป็นทักษะที่ช่วยรักษาความนับถือ/ความภูมิใจในตนเอง ใช้กับทักษะระหว่างบุคคลอื่น ๆ
  • Fair (ยุติธรรม) ยุติธรรมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
  • Apologies (ขอโทษแต่น้อย) อย่าขอโทษเกินกว่าครั้งหนึ่งสำหรับสิ่งที่ตนทำแล้วไม่ได้ผลดี อย่าขอโทษสำหรับสิ่งที่ทำแล้วได้ผลดี
  • Stick to Your Values (รักษาค่านิยมของตน) ตั้งอยู่ในจุดยืนที่ตนเชื่อ อย่างให้บุคคลอื่นโน้มน้าวให้ทำสิ่งตรงข้ามกับค่านิยมของตน
  • Truthful (ซื่อสัตย์) อย่าโกหก ซึ่งจะกองใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และอย่าทำความสัมพันธ์กับคนอื่นหรือความภูมิใจในตนเองให้เสียหาย[12]

บทความนี้ไม่ได้รวมหน่วย "แก้ปัญหา" ซึ่งมีจุดหมายให้ฝึกเป็นผู้บำบัดตนเอง

อุปกรณ์[แก้]

บัตรประจำวัน[แก้]

มีบัตรที่ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อบันทึกพฤติกรรมรบกวนการรักษา (Therapy interfering behavior) ที่ขัดขวางความก้าวหน้าของคนไข้ ซึ่งสามารถเขียนทุกวัน หรือ 2-3 ครั้งต่อวัน หรือครั้งหนึ่งต่ออาทิตย์

การวิเคราะห์ลูกโซ่[แก้]

การวิเคราะห์ลูกโซ่ (Chain analysis) เป็นรูปแบบการวิเคราะห์พฤติกรรมแบบ functional analysis (การประยุกต์ใช้กฎของเงื่อนไขจากตัวดำเนินการ [Operant conditioning] เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและปฏิกิริยา) แต่สนใจเพิ่มในลำดับเหตุการณ์ที่นำไปสู่ลูกโซ่พฤติกรรม เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานในจิตวิทยาพฤติกรรม โดยเฉพาะคือแนวคิดเกี่ยวกับลูกโซ่ใน applied behavior analysis[16] และมีหลักฐานที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สนับสนุนการวิเคราะห์พฤติกรรมแบบลูกโซ่ในกลุ่มประชากรหลายกลุ่ม

สังคม[แก้]

สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือวัฒนธรรมของกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นกุญแจสำคัญของประสิทธิผลที่ได้จาก DBT

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Described by Thich Nhat Hanh in his second moral precept of Zen Buddhism as loving kindness.

อ้างอิง[แก้]

  1. "An Overview of Dialectical Behavior Therapy". Psych Central. สืบค้นเมื่อ 2015-01-19.
  2. "What is DBT?". The Linehan Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-07. สืบค้นเมื่อ 2015-08-29.
  3. Janowsky, David S. (1999). Psychotherapy indications and outcomes. Washington, DC: American Psychiatric Press. p. 100. ISBN 0-88048-761-5.
  4. 4.0 4.1 4.2 Linehan, MM; Dimeff, L (2001). "Dialectical Behavior Therapy in a nutshell" (PDF). pp. 10–13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-13. สืบค้นเมื่อ 2016-08-16.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) (The California Psychologist, 34)
  5. Brody, JE (2008-05-06). "The growing wave of teenage self-harm". New York Times.{{cite news}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Decker, S.E.; Naugle, A.E. (2008). "DBT for Sexual Abuse Survivors: Current Status and Future Directions" (PDF). Journal of behavior Analysis of Offender and Victim: Treatment and Prevention. 1 (4): 52–69.
  7. Linehan, Marsha M.; Schmidt, Henry III; Dimeff, Linda A.; Craft, J. Christopher; Kanter, Jonathan; Comtois, Katherine A. (1999). "Dialectical Behavior Therapy for Patients with Borderline Personality Disorder and Drug-Dependence" (PDF). The American Journal on Addictions. pp. 279–292. สืบค้นเมื่อ 2014-03-31.
  8. Linehan, M. M.; Armstrong, H. E.; Suarez, A.; Allmon, D.; Heard, H. L. (1991). "Cognitive-behavioral treatment of chronically parasuicidal borderline patients". Archives of General Psychiatry. 48: 1060–64. doi:10.1001/archpsyc.1991.01810360024003.
  9. Linehan, M. M.; Heard, H. L.; Armstrong, H. E. (1993). "Naturalistic follow-up of a behavioural treatment of chronically parasuicidal borderline patients". Archives of General Psychiatry. 50 (12): 971–974. doi:10.1001/archpsyc.1993.01820240055007. PMID 8250683.
  10. Kliem, S; Kröger, C; Kossfelder, J (2010). "Dialectical behavior therapy for borderline personality disorder: A meta-analysis using mixed-effects modeling". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 78 (6): 936–951. doi:10.1037/a0021015. PMID 21114345.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Young, Kathleen (2010-03-11), "Mindfulness and DBT: "What skills"", Dr. Kathleen Young: Treating Trauma in Tucson
  12. 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 12.10 12.11 12.12 12.13 12.14 12.15 12.16 Dietz, Lisa (2003). "DBT Skills List". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-14. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
  13. ""Road To Resiliance" Article: What is resilience?". American Psychological Association.
  14. Stone, MH (1987). American Psychiatric Press review of psychiatry. Vol. 8. Washington DC: American Psychiatric Press. pp. 103–122. {{cite book}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  15. Holmes, P; Georgescu, S; Liles, W (2005). "Further delineating the applicability of acceptance and change to private responses: The example of dialectical behavior therapy" (PDF). The Behavior Analyst Today. 7 (3): 301–311.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Sampl, S; Wakai, S; Trestman, R; Keeney, EM (2008). "Functional Analysis of Behavior in Corrections: Empowering Inmates in Skills Training Groups" (PDF). Journal of Behavior Analysis of Offender and Victim: Treatment and Prevention. 1 (4): 42–51.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ[แก้]

  • Linehan,M.M., Comtois K.A., Murray A.M., Brown M.Z., Gallop R.J., Heard H.L., Korslund K.E., Tutek D.A., Reynolds S.K., Lindenboim N. (2006). Two-year randomized controlled trial and follow-up of dialectical behavior therapy vs therapy by experts for suicidal behaviors and borderline personality disorder. Arch Gen Psychiatry, 63(7), 757-66.
  • Linehan,M.M., Heard,H.L. (1993) "Impact of treatment accessibility on clinical course of parasuicidal patients": Reply. Archives of General-Psychiatry, 50(2) : 157-158.
  • Linehan,M.M., Tutek,D.A., Heard,H.L., Armstrong,H.E. (1994). Interpersonal outcome of cognitive behavioral treatment for chronically suicidal borderline patients. American Journal of Psychiatry, 151, 1771-1776.
  • Linehan,M.M., Schmidt,H., Dimeff,L.A., Craft,J.C., Kanter,J., Comtois,K.A. (1999). Dialectical behavior therapy for patients with borderline personality disorder and drug-dependence. American Journal on Addiction, 8(4), 279-292.
  • Linehan, M.M., Dimeff, L.A., Reynolds, S.K., Comtois, K.A., Welch, S.S., Heagerty, P., Kivlahan, D.R. (2002). Dialectical behavior therapy versus comprehensive validation plus 12-step for the treatment of opioid dependent women meeting criteria for borderline personality disorder. Drug and Alcohol Dependence, 67(1), 13-26.
  • Koons, C.R., Robins, C.J., Tweed, J.L., Lynch, T.R., Gonzalez, A.M., Morse, J.Q., Bishop, G.K., Butterfield, M.I., Bastian, L.A. (2001). Efficacy of dialectical behavior therapy in women veterans with borderline personality disorder. Behavior Therapy, 32(2), 371-390.
  • van den Bosch, L.M.C., Verheul, R., Schippers, G.M., van den Brink, W. (2002). Dialectical Behavior Therapy of borderline patients with and without substance use problems: Implementation and long-term effects. Addictive Behaviors, 27(6), 911-923.
  • Verheul, R., van den Bosch, L.M.C., Koeter, M.W.J., de Ridder, M.A.J., Stijnen, T., van den Brink, W. (2003). Dialectical behaviour therapy for women with borderline personality disorder: 12-month, randomised clinical trial in the Netherlands. British Journal of Psychiatry, 182, 135-140.
  • Linehan et al. (2006) NIMH 3 Two-Year Randomized Control Trial and Follow up of DBT
  • The Miracle of Mindfulness by Thich Nhat Hanh. ISBN 0-8070-1239-4.
  • Skills Training Manual for Treating Borderline Personality Disorder by Marsha M. Linehan. 1993. ISBN 0-89862-034-1.
  • Cognitive Behavioral Treatment of Borderline Personality Disorder by Marsha M. Linehan. 1993. ISBN 0-89862-183-6.
  • Fatal Flaws: Navigating Destructive Relationships with People with Disorders of Personality and Character by Stuart C. Yudovsky. ISBN 1-58562-214-1.
  • The High Conflict Couple: A Dialectical Behavior Therapy Guide to Finding Peace, Intimacy, & Validation by Alan E. Fruzzetti. ISBN 1-57224-450-X.
  • Dialectical Behavior Therapy with Suicidal Adolescents by Alec L. Miller, Jill H. Rathus, and Marsha M. Linehan. Foreword by Charles R. Swenson. ISBN 978-1-59385-383-9.
  • Dialectical Behavior Therapy Workbook: Practical DBT Exercises for Learning Mindfulness, Interpersonal Effectiveness, Emotion Regulation, & Distress Tolerance (New Harbinger Self-Help Workbook) by Matthew McKay, Jeffrey C. Wood, and Jeffrey Brantley. ISBN 978-1-57224-513-6.
  • Don't Let Your Emotions Run Your Life: How Dialectical Behavior Therapy Can Put You in Control (New Harbinger Self-Help Workbook) by Scott E. Spradlin. ISBN 978-1-57224-309-5.
  • Depressed and Anxious: The Dialectical Behavior Therapy Workbook for Overcoming Depression & Anxiety by Thomas Marra. ISBN 978-1-57224-363-7.
  • Priory's An Overview of Dialectical Behaviour Therapy
  • Overview of Borderline Personality Disorder and DBT treatment
  • Marsha Linehan's description of DBT เก็บถาวร 2017-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • DBT and Relationships