พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Château de Saint-Germain-en-Laye)
พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล
Château de Saint-Germain-en-Laye
พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทวัง
เมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล
ประเทศประเทศฝรั่งเศส
พิกัด48°53′53″N 2°5′47″E / 48.89806°N 2.09639°E / 48.89806; 2.09639
เริ่มสร้างค.ศ. 1122
ปรับปรุงคริสต์ทศวรรษ 1230
(ขยายโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9)
คริสต์ทศวรรษ 1360
(สร้างใหม่โดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5)
ค.ศ. 1539
(ขยายต่อเติมโดยพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1)
ผู้สร้างพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส
เว็บไซต์

พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล (ฝรั่งเศส: Château de Saint-Germain-en-Laye) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลในจังหวัดอีฟว์ลีนในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ในประเทศฝรั่งเศส ราว 19 กิโลเมตรทางตะวันตกของปารีส ในปัจจุบันพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติ

ประวัติ[แก้]

คริสต์ศตวรรษที่สิบสองถึงสิบสี่[แก้]

ชาเปลแบบกอธิค

ปราสาทที่ตั้ง ณ พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลชื่อ “Grand Châtelet” สร้างโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 6ในปี ค.ศ. 1122 ต่อมาใน ก็ได้รับการต่อเติมโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ในคริสต์ทศวรรษ 1230

ชาเปลเซนต์หลุยส์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 เป็นงานสำคัญของสมัยสถาปัตยกรรมแรยอน็อง (Rayonnant) ของสถาปัตยกรรมกอธิคฝรั่งเศส พระราชกำหนด ค.ศ. 1238 ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ที่ระบุการทำพิธีศาสนาตามปกติที่ชาเปลทำให้ทราบว่าเป็นชาเปลที่พระองค์ทรงสร้าง ชาเปลนี้คือ “วิหารแซ็งต์-ชาแปล” (Sainte-Chapelle) เดิมที่ใช้เป็นที่เก็บมงคลวัตถุมงกุฎหนาม” และ “สัตยกางเขน” ผังของชาเปลนี้เป็นผังที่เป็นแบบอย่างของวิหารแซ็งต์-ชาแปลที่พระเจ้าหลุยส์มีพระบรมราชโองการให้สร้างภายในพระราชวังแห่งนคร (Conciergerie) ในปารีสระหว่าง ค.ศ. 1240 ถึง ค.ศ. 1248 สิ่งก่อสร้างทั้งสองสร้างโดยสถาปนิกคนโปรดปิแยร์เดอมองทรุยผู้นำลักษณะสถาปัตยกรรมที่คิดขึ้นที่แซ็ง-แฌร์แม็งไปปรับใช้ในปารีส ชาเปลมีช่องทางเดินกลางช่องเดียวที่ไปหยุดลงที่ชาเปลดาวกระจายตอนท้ายสุด ที่ผนังทั้งหมดกรุด้วยหน้าต่างกระจกแคบสูง ระหว่างหน้าต่างด้านนอกเป็นค้ำยันขนาดใหญ่ ซี่โค้งของเพดานโค้งรวบมารวมกันบนเสาระหว่างช่วง และฐานเสาซ่อนอยู่หลังซุ้มเปิด ฉะนั้นโถงกลางของสิ่งก่อสร้างจึงว่างเปล่าปราศจากระบบการค้ำยัน การใช้หน้าต่างจำนวนมากสามารถทำให้ใช้เทคนิค “pierre armée” ซึ่งเป็นวิธีที่ใส่โครงโลหะโดยตรงเข้าไปในโครงสร้างของผนังเพื่อทำให้ผนังหินมีความมั่นคงขึ้น ผนังด้านตะวันตกตกแต่งด้วยหน้าต่างกุหลาบแบบกอธิคแบบสถาปัตยกรรมเรยงนงต์ ในชาเปลเดิมนี้เป็นสถานที่ที่บอลด์วินที่ 2 แห่งคอนสแตนติโนเปิลถวายมงกุฎหนามแก่พระเจ้าหลุยส์ในปี ค.ศ. 1238 แม้ว่ามงคลวัตถุดังกล่าวจะตั้งใจจะนำไปตั้งที่วิหารแซ็งต์-ชาแปลในปารีส แต่เก็บไว้ที่แซ็งต์-ชาแปลที่วังแซ็ง-แฌร์แม็งจนกระทั่งแซ็งต์-ชาแปลในปารีสได้รับการสถาปนาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1248

เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายดำทรงเผาปราสาทในปี ค.ศ. 1346 ส่วนที่เป็นสถาปัตยกรรมกอธิคที่เหลืออยู่ก็มีแต่ชาเปลเท่านั้น “Château Vieux” หรือ “พระราชวังเดิม” ได้รับการสร้างใหม่โดยพระเจ้าชาร์ลที่ 5 ในคริสต์ทศวรรษ 1360 บนฐานเดิม

คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 18[แก้]

หอบันไดตรงมุมลาน
“ภูมิทัศน์ของพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลใหม่” งานพิมพ์กัดกรดโดยอิสราเอล ซิลเวสเทรอ บันทึกลานลดหลั่นก่อนที่เลอโนเทรอจะเปลี่ยนแปลงราวปี ค.ศ. 1660
พระราชวังที่ตั้งอยู่กลางเมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลใกล้สถานีรถไฟ

ส่วนที่เก่าที่สุดของพระราชวังปัจจุบันมาสร้างใหม่โดยพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1539 และหลังจากนั้นก็ได้รับการขยายต่อเติมหลายครั้ง พระเจ้าอองรีที่ 2 ทรงสร้างพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลใหม่ หรือ “พระราชวังใหม่” ไม่ไกลจากพระราชวังเดิมเท่าใดนักที่ออกแบบโดยฟีลีแบร์ต เดอ ลอร์มที่ตั้งอยู่บนยอดเนินที่สร้างภายใต้การอำนวยการของเอเตียง ดู เปแร็คเป็นกลุ่มสิ่งก่อสร้างบนเนินลดหลั่นกันลงมาสามชั้นที่เชื่อมติดต่อกันด้วยบันไดและระเบียงลาดที่วางอย่างสมมาตรลงมาจรดแม่น้ำแซนซึ่งเป็นแบบที่มีรากฐานมาจากคฤหาสต์ลานเทที่บาญญาญา[1]เอเตียง ดู เปแร็คไปอยู่ในอิตาลีเป็นเวลานาน และมีความสนใจในการสร้างสวนประเภทนี้ที่เห็นได้จากงานภาพพิมพ์ลายแกะของคฤหาสต์เอสเตที่ทำในปี ค.ศ. 1573” [2]

สวนของพระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลเป็นหนึ่งในห้าหกสวนแบบอิตาลีในฝรั่งเศส ที่เป็นการวางรากฐานสำหรับสวนภูมิทัศน์แบบฝรั่งเศส สวนลักษณะนี้ต่างจากสวนปาร์แตร์ (Parterre) เดิมตรงที่สวนปาร์แตร์เป็นสวนที่จัดวางให้ผสานกับวังหรือคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่แล้ว ที่มักจะเป็นผืนดินหรือลานที่ยากต่อการจัดสวนเพราะที่ตั้งเดิมของสิ่งก่อสร้างเป็นสถานที่เลือกเพราะความเหมาะสมต่อระบบการป้องกันตัวของปราสาท[3] สวนแบบใหม่แผ่ออกมาจากศูนย์กลางของด้านหน้าของสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะสมมาตรที่ประกอบด้วยสวนปาร์แตร์ที่เป็นลวดลาย, ทางเดินที่ทำด้วยกรวด, น้ำพุและอ่างน้ำพุ และ กลุ่มโบสเคต์ (Bosquet) หรือต้นไม้ที่จงใจปลูกตามแผนที่วางไว้ การทำสวนลักษณะดังกล่าวนี้มารุ่งเรืองที่สุดหลังจากการสร้างสวนโดยอังเดร เลอ โนเทรอ (André Le Nôtre) หลังปี ค.ศ. 1650[4] ตามข้อเขียนของโกลด มอเลใน “Théâtre des plans et jardinage[5] สวนปาร์แตร์เริ่มจัดในปี ค.ศ. 1595 สำหรับพระเจ้าอองรีที่ 4 โดยโมลเลต์ผู้ได้รับการฝึกที่วังอาเนต์ ผู้เป็นต้นตระกูลของนักการสวนหลวงต่อมา สวนปาร์แตร์สวนหนึ่งที่ออกแบบโดยโมลเลต์ที่พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ “Le théâtre d'agriculture et mesnage des champs” โดยโอลิเวียร์ เดอร์ แซร์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลในปี ค.ศ. 1638 กำแพงยันด้านหนึ่งของเพแร็คทลายลงมาในปี ค.ศ. 1660 และพระเจ้าหลุยส์ทรงทำการบูรณปฏิสังขรณ์สวนในปี ค.ศ. 1662 นอกจากนั้นก็ทรงตั้งราชสำนักที่นี่ในปี ค.ศ. 1666 แต่โปรด “พระราชวังเก่า” มากกว่า “พระราชวังใหม่” ที่ถูกทิ้งร้างในคริสต์ทศวรรษ 1660 และต่อมารื้อทิ้ง ระหว่างปี ค.ศ. 1663 จนถึงปี ค.ศ. 1682 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงย้ายไปประทับที่พระราชวังแวร์ซายส์อย่างเป็นการถาวร คณะผู้ดูแลที่ประกอบด้วยหลุยส์ เลอ โว, ฌูลส์ อาร์ดวง-มองซาร์ และอ็องเดร เลอ โนทร์ก็พยายามดำเนินการดูแลเพื่อรักษาสถานภาพเอาไว้

สวนได้รับการสร้างใหม่โดยอ็องเดร เลอ โนทร์ระหว่างปี ค.ศ. 1669 จนถึงปี ค.ศ. 1673 ที่รวมชั้นหินลดหลั่นที่ยาว 2.4 กิโลเมตรที่ทำให้เห็นทิวทัศน์ของแม่น้ำแซน และ ปารีสที่ไกลออกไป

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงยกพระราชวังให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษระหว่างที่ทรงมาลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศสหลังจากการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปี ค.ศ. 1688 พระเจ้าเจมส์ประทับอยู่ที่แซ็ง-แฌร์แม็งอยู่เป็นเวลา 13 ปี พระราชธิดาหลุยซา มาเรีย เทเรซา สจวตประสูติที่แซ็ง-แฌร์แม็งในปี ค.ศ. 1692 พระบรมศพของพระเจ้าเจมส์ได้รับการบรรจุที่วัดแซ็ง-แฌร์แม็ง พระสนมแมรี เบียทริซพำนักต่อมาจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1718 พระราชโอรสเจมส์ย้ายออกจากพระราชวังในปี ค.ศ. 1716 และในที่สุดก็ไปพำนักอยู่ที่โรม ผู้สนับสนุนฝ่ายสจวตที่ลี้ภัยพำนักอยู่ที่พระราชวังจนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสก่อนที่จะย้ายออกไปในปี ค.ศ. 1793

คริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20[แก้]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงก่อตั้งโรงเรียนฝึกนายทหารม้าที่นี่ ต่อมาจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ก็ทรงให้เออแชน มิลเลต์ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1862 และในปี ค.ศ. 1867 พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลก็กลายเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1919 พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลใช้เป็นที่ลงนามสนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลที่เป็นการยุติความขัดแย้งระหว่างฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและออสเตรีย[6]

ระหว่างการยึดครองของกองทหารเยอรมันระหว่าง ปี ค.ศ. 1940 ถึงปี ค.ศ. 1944 พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แลถูกใช้เป็นศูนย์กลางของกองบังคับบัญชาการทหารเยอรมันที่ยึดครองฝรั่งเศส

อ้างอิง[แก้]

  1. F. Hamilton Hazlehurst, Jacques Boyceau, pp20, 77-79, 100, noted by Karling.
  2. Karling 1974, p 11
  3. Even the parterres at Fontainebleau bear no direct relation to the façades of the château.
  4. Sten Karling, in "The importance of André Mollet and his family for the development of the French formal garden," in The French Formal Garden, Elizabeth MacDougall and F. Hamilton Hazlehurst, editors, (Dumbarton Oaks, 1974), in making this point, notes Ancy-le-Franc, Anet, Maune, Charleval, Verneuil and Saint-Germain-en-Laye.
  5. The book was not published until 1652, but it had long been in preparation (Karling 1974).
  6. "Austrian treaty signed in amity," The New York Times, Sept. 11, 1919, p. 12.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระราชวังแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล