ข้ามไปเนื้อหา

กาตารีนาแห่งบรากังซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Catherine of Braganza)
กาตารีนาแห่งบรากังซา
Portrait of Catherine in her twenty-seventh year
พระสาทิสลักษณ์โดยปีเตอร์ เลลี ป. 1663–65
สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์
ดำรงพระยศ21 พฤษภาคม 1662 – 6 กุมภาพันธ์ 1685
ประสูติ25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1638(1638-11-25)
พระราชวังวีลาวีซอซา วีลาวีซอซา โปรตุเกส
สวรรคต31 ธันวาคม ค.ศ. 1705(1705-12-31) (67 ปี)
พระราชวังเบมโพสตา ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
ฝังพระศพวิหารแพนธีอันแห่งราชวงศ์บราแกนซา ลิสบอน
คู่อภิเษกพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (สมรส 1662; เสียชีวิต 1685)
ราชวงศ์บรากังซา
พระราชบิดาพระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส
พระราชมารดาลุยซาแห่งเมดินา-ซิโดเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

กาตารีนาแห่งบรากังซา (โปรตุเกส: Catarina de Bragança; 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1638 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1705) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งโปรตุเกสและสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์

ช่วงต้นของพระชนม์ชีพ

[แก้]

เจ้าหญิงกาตารีนาแห่งบรากังซา-โปรตุเกสประสูติที่วีลาวีซอซา เป็นพระราชธิดาองค์ที่ 2 ใน พระเจ้าฌูเอาที่ 4 แห่งโปรตุเกส เมื่อครั้งทรงเป็นดยุคแห่งบรากังซากับเจ้าหญิงลุยซาแห่งเมดินา-ซิโดเนีย ธิดาในดยุคแห่งเมดินา-ซิโดเนีย ทางพระราชมารดา พระองค์เป็นพระราชปนัดดารุ่นที่ 3 ใน นักบุญฟรานซิส บอร์เจีย พระองค์ทรงศึกษาในคอนแวนต์ เจ้าหญิงแคทเทอรีนทรงได้รับการควบคุมศึกษาจากพระมารดา ทำให้ทรงสนิทสนมกับพระราชมารดามาก

เนื่องจากการฟื้นฟูพระราชวงศ์โปรตุเกส ซึ่งก็คือ ราชวงศ์บรากังซา ทำให้พระราชบิดาของพระองค์ได้ครองราชสมบัติในวันที่ 1 ธันวาคม 1640 พระองค์ได้ถูกเสนอให้เป็นพระคู่ครองในเจ้าชายจอห์นแห่งออสเตรีย ผู้เยาว์, ฟรังซัวส์ เดอ เวนโดเม ดยุคแห่งโบฟอร์ต, พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ พระองค์ถูกมองว่าเป็นช่องทางแห่งความสัมพันธ์และผลประโยชน์สำหรับการทำสัญญาเป็นพันธมิตรระหว่างอังกฤษกับโปรตุเกส หลังจากสนธิสัญญาพีเรนิสในปี 1659 แล้วโปรตุเกสก็ละทิ้งฝรั่งเศส และเมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ได้รับราชบัลลังก์อังกฤษคืนเมื่อปี 1660 พระมารดาของกาตารีนาก็เริ่มเปิดการเจรจาเรื่องการแต่งงานของกาตารีนากับที่ปรึกษาของพระเจ้าชาลส์ ในที่สุดสนธิสัญญาการแต่งงานระหว่างทั้งสองพระองค์ก็ได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 1661

ชีวิตของราชินี

[แก้]
พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

พระองค์ได้อภิเษกสมรสโดยฉันทะที่ลิสบอนในวันที่ 23 เมษายน 1662 ต่อมาในเช้าอันอ่อนโยนของวันที่ 14 พฤษภาคม 1662 เรือพระที่นั่งได้เสด็จเทียบท่าที่พอร์ตสมัท เจ้าหญิงแคทเทอรีนวัย 23 พรรษา ผู้ทรงร่างเล็กและพระเกษาสีน้ำตาล แม้จะทรงไม่สะสวยเป็นพิเศษแต่ก็ทรงหวังว่าจะเป็นราชินีที่ดี เป็นภรรยาที่น่ารัก และเป็นแม่ที่มีความสุข ทรงหวังจะได้พบพระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระสวามี ที่ไม่เคยแม้จะได้พบหน้า ทรงมาถึงพร้อมด้วยความมุ่งมั่นอันแรงกล้า พระองค์ทรงได้สัญญากับพระนางลุยซาแห่งโปรตุเกส พระราชมารดาว่า"พระองค์จะไม่มีวันอดทนยอมลงให้กับนางในผู้เสื่อมเสียของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ที่มีนามว่า บาร์บารา เลดี้แห่งแคสเซิลเมนเป็นเด็ดขาด" เนื่องจากพระมารดาทรงอบรมพระองค์ไว้ว่าด้วยเรื่องหญิงแพศยาผมน้ำตาลอมแดง ผู้ทรยศพระสวามีแสนดี รังแครังคัดราชบัลลังก์ พร้อมตั้งครรภ์ทายาทกษัตริย์ หลังจากคลอดก็ตั้งครรภ์ใหม่ทันควัน[1]

เซอร์จอห์น เรเรสบี (Sir John Reresby) ผู้มารับเจ้าหญิงอย่างเป็นทางการที่พอร์ตสมัท ประกาศด้วยท่าทีหวาดหวั่นอยู่บ้างว่าเจ้าหญิงแคทเทอรีนนั้น "มิมีใดแลเห็นถึงความสามารถของพระนางในการทำให้กษัตริย์ถ่ายถอนพระราชหฤทัยจากเคานท์เตสแห่งแคสเซิลเมน ผู้เป็นหญิงงามที่สุดแห่งยุคสมัย" แม้ชาวอังกฤษจะต้อนรับการมาถึงของเจ้าหญิงแต่พระเจ้าชาลส์ทรงใช้เวลากับเลดี้แห่งแคสเซิลเมนถึง 6 วันเต็ม ในที่สุดพระองค์ก็เสด็จมายังพอร์ตสมัท เจ้าหญิงแคทเทอรีนผู้น่าสงสารซึ่งรอคอยอย่างอับอายก็ทรงพระประชวร พระเจ้าชาลส์ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับเจ้าสาวของพระองค์ ทว่าพระองค์ทรงตกพระทัยกับพระทนต์ที่ยื่นออกมาของเจ้าหญิงน้อยยิ่งกว่าพระเกศาสไตล์ไอบีเรียนของเจ้าหญิงที่ม้วนเกลียวฉีกแหวกออกมาทั้งสองข้างของพระเศียรแล้วห้อยลงมายังหัวไหล่ เห็นครั้งแรก พระเจ้าชาลส์ทรงบอกกับพระสหายว่า "ข้านึกว่าพวกนั้นพาค้างคาวเข้ามา ไม่ใช้ผู้หญิง" กษัตริย์รีบจุมพิตพระองค์แล้วกลับเข้าห้องส่วนพระองค์ ทรงพยายามมองพระนางในแง่บวก วันรุ่งขึ้นตรัสกับเสนาบดีว่า "ใบหน้านางไม่เชิงเรียกได้ว่างามเสียที่เดียว แต่ดวงตานางสวยยิ่ง ไม่มีสิ่งใดในใบหน้านั้นแม้แต่น้อยที่อาจทำให้ถึงขั้นหมดสติได้"[1]

ในวันที่ 21 พฤษภาคม 1662 ทั้งสองพระองค์ทรงอภิเษกสมรสสองพิธีคือ แบบคาทอลิก กระทำเป็นการลับ และแบบแองกลิคัน กระทำในที่สาธารณะ เจ้าหญิงแคทเทอรีนจึงได้สวมมงกุฎสมเด็จราชินีแห่งอังกฤษ,สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์ พร้อมด้วยสินสอดจากทางราชสำนักโปรตุเกส อันประกอบด้วยเมืองทานเจียร์และบอมเบย์ ซึ่งจะเป็นประโยช์แก่อังกฤษสำหรับกิจการในอินเดีย ในวันอภิเษกสมรสบาร์บารา เลดี้แห่งแคสเซิลเมนได้ประท้วงโดยซักชุดชั้นในของนางซักตากไว้กลางลานพระราชวัง[1]

พระนางทรงตกหลุมรักพระสวามีทันทีเมื่อแรกพบ พระเจ้าชาลส์ทรงเห็นว่าอาจทำให้พระมเหสีคลุ้มคลั่งได้เพราะทรงเคยสัญญากับบาร์บารา เลดี้แห่งแคสเซิลเมนว่าจะให้นางเป็นนางในของพระราชินี แต่ในที่สุดพระองค์ก็แนะนำให้รู้จักกัน พระราชินีแคทเทอรีนทรงประทับใจในความงามของผู้มาเยือนแต่เมื่อทรงรู้ว่าคือ บาร์บารา เลดี้แห่งแคสเซิลเมน พระนางพระพักตร์เผือด ทรุดนั้งเศร้าโศกหลั่งพระอัสสุชลและพระโลหิตไหลออกจากพระนาสิก แล้วสลบลง พระเจ้าชาลส์ทรงตีความการกระทำของราชินีว่าเป็นการท้าทายและหยาบคายจึงส่งตัวข้าราชบริพารชาวโปรตุเกสกลับทั้งหมด เหลือเพียงพระราชินีชาวโปรตุเกสเท่านั้น[1]

พระราชินีแคทเทอรีนแห่งอังกฤษ

พระราชินีแคทเทอรีนทรงไม่เป็นที่นิยมในหมู่ชาวอังกฤษมากนัก เพราะ ทรงเป็นเจ้าหญิงคาทอลิกที่เคร่งครัด ซึ่งตอนนั้นชาวอังกฤษนับถือนิกายแองกลิคัน และทรงถูกพระสวามีทอดทิ้ง เอ็ดเวิร์ด คลาเรนดอน พระสหายของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ได้แนะนำให้กษัตริย์ทอดทิ้งบาร์บารา เลดี้แห่งแคสเซิลเมน แต่พระองค์ไม่ยอม และตรัสว่า "ข้าจะไม่ปลดหญิงผู้นี้" และบังคับให้พระนางแต่งตั้งบาร์บาราเป็นนางในประจำพระที่

พระนางตรัสตอบว่า"คำยืนกรานที่มีต่อกษัตริย์ที่มีต่อเรื่องนี้ ดำเนินไปโดยไม่มีสาเหตุใดนอกจากความเกลียดชังที่พระองค์มีต่อตัวข้าเอง พระองค์ปรารถนาจะให้ตัวข้าเป็นที่ดูหมิ่นถิ่นแคลนของโลก โลกจะคิดว่าตัวข้าควรแล้วที่จะได้รับการปรามาสเยี่ยงนั้นหากยอมรับมัน ก่อนทำเช่นนั้นข้าเห็นทีต้องขึ้นเรือเล็กๆสักลำแล้วเนรเทศตนเองสู่กรุงลิสบอนเสียก่อน"[1] ทำให้พระเจ้าชาลส์เห็นว่าพระนางทรงท้าทายพระองค์จึงทอดทิ้งพระนางให้โดดเดี่ยว ไม่มีใครอยากสนทนากับพระราชินีเพราะอาจถูกพระเจ้าชาลส์ลงโทษได้ ต่อมาทรงกล่าวขออภัยพระสวามีและรับบาร์บารา เลดี้แห่งแคสเซิลเมนมาเป็นนางในเยี่ยงพระสหาย พระเจ้าชาลส์ได้สำนึกคุณและพยายามเอาพระทัยใส่พระนาง และได้พัฒนาจากมิตรภาพเป็นความรักแบบหนึ่ง พระนางแคทเทอรีนเสด็จร่วมกับพระสวามีบ่อยขึ้น ส่วนบาร์บารา เลดี้แห่งแคสเซิลเมน ถูกโดดเดี่ยวบ้าง[1]

พระนางทรงพระสูติกาลถึง 2 ครั้งแต่พระบุตรสิ้นพระชนม์ทั้งหมดในพระครรภ์ เมื่อครั้งทรงพระประชวร และพระนางก็ทรงเป็นหมัน ทำให้พระเจ้าชาลส์ผิดหวังเป็นอันมาก เนื่องจากพระองค์ทรงมีแต่บุตรนอกสมรส และเมื่อพระนางทรงพระประชวรอย่างหนัก บาร์บารา เลดี้แห่งแคสเซิลเมนพยายามภาวนาให้พระองค์ทรงฟื้นพระอาการประชวรเพราะนางไม่อยากถูกแทนที่ด้วยนางในคนใหม่นามว่า ฟรานเซส สจวร์ต จากนั้นนางก็ให้ความเคารพต่อสมเด็จพระราชินีตลอดมา

ในปี 1670 เหล่านางในของพระเจ้าชาลส์ได้เดินขบวนปกป้องพระนางแคทเทอรีน เมื่อลอร์ดบักกิงแฮม เสนอกฎหมายต่อสภาว่ากษัตริย์สามารถหย่าขาดจากพระชายาซึ่งเป็นหมันได้และสมรสใหม่ได้ เหล่านางในส่งเสียงยืนกรานว่า พระราชินีซึ่งทรงไร้อำนาจและไร้บุตรจะต้องดำรงอยู่เช่นเดิม เพราะราชินีองค์ใหม่อาจให้กำเนิดบุตรและพระองค์อาจทอดทิ้งบุตรนอกสมรสของพระองค์ก็เป็นได้

พระเจ้าชาลส์ทรงได้สติและสั่งห้ามกฎหมายนี้เสีย ทรงกล่าวว่า"ถือเป็นสิ่งร้ายกาจหากจะสร้างทุกข์ให้หญิงที่น่าสงสารเพียงเพราะนางเป็นภรรยาของเขาและมิมีบุตรเพราะเขา นั่นไม่ใช่ความผิดของนางเลย" ซึ่งทรงพูดในเชิงว่า ที่พระราชินีทรงไร้บุตรนั้นไม่ใช่เพราะพระนางแต่เป็นเพราะพระองค์เอง[1]

บาร์บารา เลดี้แห่งแคสเซิลเมน นางในในพระเจ้าชาลส์ที่ 2

พระราโชบายของพระองค์ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1670 ก็ทำให้ทรงมีความขัดแย้งกับรัฐสภาในปี 1672 พระเจ้าชาลส์ทรงออกพระราชประกาศผ่อนปรนสิทธิของผู้เป็นโรมันคาทอลิกที่หยุดยั้งการลงโทษทางกฎหมายอาญาต่อผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและผู้เป็นปฏิปักษ์ทางศาสนาทั้งหมด เนื่องจากพระนางทรงเป็นคาทอลิกซึ่งในตอนนั้นอังกฤษมีการต่อต้านพวกคาทอลิก พระนางทรงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการสังหารเซอร์ เอ็ดมันด์ ก็อดฟรีย์ ในปีพ.ศ. 1678 ซึ่งคนรับใช้ของพระนางตกเผป็นผู้ต้องสงสัย ในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน ไททัส โอตส์ ได้กล่าวหาว่า พระราชินีแคทเทอรีนนั้นทรงเป็นพวกการคบคิดโพพพิช โอตส์และอิสราเอล ทังก์เขียนเอกสารที่กล่าวโทษสถาบันโรมันคาธอลิกว่าสนับสนุนการปลงพระชนม์พระเจ้าชาลส์ที่ 2 โดยใช้มือของนักบวชเยซูอิดในอังกฤษ แม้พระเจ้าชาลส์ทรงปฏิเสธแผนการนี้ แต่ทำให้เกิดความขัดแย้งในสภา ในที่สุดปี 1679 พระนางก็สามารถพ้นข้อกล่าวหาได้

บั้นปลายพระชนม์ชีพ

[แก้]

ในพระอาการประชวรระยะสุดท้ายของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จากการถูกลอบปลงพระชนม์ ในปี 1685 พระนางทรงวิตกกังวลกับการประนีประนอมของพระองค์กับฝ่ายคาทอลิก พระนางทรงเศร้าสลดอย่างยิ่งต่อการสวรรคตของพระสวามี ต่อมาในปีเดียวกันพระนางทรงขอพระราชทานอภัยโทษแก่เจมส์ สกอตต์ ดยุคแห่งมอนม็อธที่ 1จากข้อหากบฏแผ่นดินจากเหตุการณ์กบฏมอนม็อธ ซึ่งเป็นพระบุตรนอกสมรสของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และเป็นโปรเตสแตนต์เพื่อสร้างความนิยมต่อประชาชนในอังกฤษในการเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าเจมส์ผู้เป็นโรมันคาทอลิก แต่พระนางทรงขอพระราชทานอภัยโทษไม่สำเร็จ พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษได้สั่งปลงพระชนม์เจมส์ สกอตต์ ผู้เป็นพระนัดดาเสีย

พระพันปีหลวงกาตารีนาแห่งบรากังซา ในบั้นปลายพระชนม์ชีพ

อดีตพระราชินีแคทเธอรีนยังคงประทับอยู่ในอังกฤษที่พระตำหนักซัมเมอร์เซต จนกระทั่งรัชกาลของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษจบลงจากการการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ โดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ

เริ่มแรกทรงทำตามเงื่อนไขที่ดีกับพระเจ้าวิลเลียมและพระนางแมรี พระอิสริยยศของพระนางหมดอำนาจตามการปฏิบัติของศาสนา ซึ่งการเป็นคาทอลิกของพระนางนำไปสู่ความเข้าใจผิดและการแตกแยก พระนางทรงถูกริบทรัพย์สินและลดจำนวนคนรับใช้ พระนางทรงถูกเตือนและต่อต้านจากรั้ฐบาลว่าทรงเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดความไม่สงบระหว่างคาทอลิกและอังกลิตัน อดีตพระราชินีแคทเทอรีนทรงต้องเสด็จกลับโปรตุเกสในเดือนมีนาคม 1692

พระนางทรงสนับสนุนการทำสนธิสัญญาเมทูเอนในปี 1703 กับอังกฤษ และทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระอนุชา ในปี 1701 และ 1704 ถึง 1705 พระนางสวรรคตที่ พระราชวังเบมปอสตา กรุงลิสบอน ในวันที่ 31 ธันวาคม 1705 และพระบรมศพทรงถูกฝังที่ พระอารามเจโรมนิโมส ในซานตา มาเรีย เดอ เบเรม กรุงลิสบอน

ผลกระทบที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

[แก้]

มีทฤษฎีเสนอกันว่าพระนางกาตารีนาทรงกำหนดวิธีการดื่มชาด้วยพระองค์เอง เวลาดื่มชาของอังกฤษในปัจจุบันเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมมากอยู่แล้วในหมู่หมู่ชั้นสูงชาวโปรตุเกสสมัยนั้น ชาได้ถูกนำเข้าสู่โปรตุเกสจากเมืองท่าของโปรตุเกสในเอเชียรวมทั้งผ่านสถานีการค้าโปรตุเกสในมาเก็และญี่ปุ่น การดื่มชา"High Tea"ใน เวลา 16:00 น. (บางคนก็นิยมดื่มเวลา 17:00 น.) เดิมเป็นประเพณีโปรตุเกส พระนางกาตารีนายังทรงแนะนำวิธีการดื่มแบบดั้งเดิมบนโต๊ะรับประทานอาหารของอังกฤษ แม้ว่าบางคนได้อ้างว่าเขต ควีนส์ในนครนิวยอร์กตั้งตามพระของพระนางกาตารีนาแห่งบรากังซา แต่ก็ไม่มีการกล่าวถึงพระนามของพระนางในเอกสารทางราชการของเขตในช่วง 200 ปีแรกเลย แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่าเขต Queens County ตั้งชื่อตามพระนาง ส่วน Kings County (บรู๊คลินน์) ซึ่งก่อตั้งในปี 1683 ตั้งชื่อตามพระราชสวามีของพระองค์

อนุสาวรีย์กาตารีนาแห่งบรากังซา สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษหันพระพักตร์ไปทางควีนส์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ที่ลิสบอน โปรตุเกส

เนื่องจากข้อกล่าวหาที่สมเด็จพระราชินีและพระราชวงศ์ของเพระนางได้แสวงหากำไรจาก การค้าทาส ได้มีความพยายามล่าสุดในการสร้างอนุสาวรีย์สูง 10 เมตร (33 ฟุต) เพื่อเป็นเกียรติแก่พระนางในควีนส์ได้ถูกทำลายโดยชาวพื้นเมืองและชาวแอฟริกันอเมริกัน,ไอริชอเมริกัน และกลุ่มชาติพันธ์อื่นๆ แต่อนุสาวรีย์ยังคงอยู่ใน Parque das Nações, กรุงลิสบอน, ประเทศโปรตุเกส หันพระพักตร์ไปทางควีนส์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2181 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2183: ดอนนา คาทาลีนา เดอ บรากังซา(Dona Catarina de Bragança)
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2183 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2196: เจ้าหญิงดอนนา คาทาลีนา(Her Highness The Infanta Dona Catarina)
  • 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2196 - 23 เมษายน พ.ศ. 2206: เจ้าหญิงแห่งเบย์รา(Her Royal Highness The Princess of Beira )
  • 23 เมษายน พ.ศ. 2206 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2228: สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ,สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์(Her Majesty The Queen of England, Scotland and Ireland )
  • 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2228 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2248: สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งอังกฤษ,สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์(Her Majesty The Queen Dowager of England, Scotland and Ireland)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Elenor Herman.นางในกษัตริย์. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "test" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน

ดูเพิ่ม

[แก้]