ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์คางคก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bufonidae)

วงศ์คางคก
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 57–0Ma พาลีโอซีนตอนปลาย – ปัจจุบัน[1]
คางคกบ้าน (Duttaphrynus melanostictus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
Amphibia
อันดับ: อันดับกบ
Anura
เคลด: Hyloidea
Hyloidea
วงศ์: วงศ์คางคก
Bufonidae
Gray, 1825
สกุล
ดูในเนื้อหา
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก (สีดำ)

วงศ์คางคก (อังกฤษ: Toads, True toads; อีสาน: คันคาก) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bufonidae (/บู-โฟ-นิ-ดี/)

ลักษณะทั่วไปของคางคก คือ ลูกอ๊อดทั้งตัวผู้และตัวเมียตัวเต็มวัยมีอวัยวะบิดเดอร์อยู่ด้านหน้าของอัณฑะ ซึ่งเป็นรังไข่ขนาดเล็กที่เจริญมาจากระยะเอมบริโอและยังคงรูปร่างอยู่ แฟทบอดีส์อยู่ในช่องท้องบริเวณขาหนีบ กระดูกของกะโหลกเชื่อมต่อกันแข็งแรง รวมทั้งเชื่อมกับกระดูกในชั้นหนังที่ปกคลุมหัว ไม่มีฟันทั้งในขากรรไกรบนและล่าง และถือเป็นเพียงวงศ์เดียวเท่านั้นในอันดับกบที่ไม่มีฟัน

มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 5-8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของไพรซีลัส

คางคก เป็นสัตว์ที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีพิษ ที่ผิวหนังเป็นปุ่มตะปุ่มตะป่ำตลอดทั้งตัว โดยมีต่อมพิษอยู่ที่เหนือตา เรียกว่า ต่อมพาโรติค เป็นที่เก็บและขับพิษออกมา เรียกว่า ยางคางคก มีลักษณะเป็นเมือกสีขาวคล้ายน้ำนม โดยส่วนประกอบของสารพิษ คือ สารบูโฟท็อกซิน มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจบีบตัว และในส่วนอื่น ๆ ของคางคกยังมีพิษอีกทั้งผิวหนัง, เลือด, เครื่องใน และไข่ หากนำไปกินแล้วกรรมวิธีการปรุงไม่ดี จะทำให้ ผู้กินได้รับพิษได้ ทั้งนี้ผู้รับประทานเนื้อคางคกที่มีพิษจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หายใจหอบ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหากยางคางคกถูกตาจะทำให้เยื่อบุตาและแก้วตาอักเสบได้ ตาพร่ามัว จนถึงขั้นตาบอดได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินคางคกมักเชื่อว่ากินแล้วมีกำลังวังชาและรักษาโรคได้ แต่ความจริงแล้วคางคกไม่มีตัวยาแก้หรือรักษาโรคอะไรเลย [2] เมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารจะอันตรายเพราะสารพิษจะกระตุ้นการทำงานของหัวใจ โดยเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบของหัวใจ [3]

คางคก แบ่งออกเป็น 37 สกุล พบประมาณ 500 ชนิด พบกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด เช่น จงโคร่ง (Phrynoidis aspera), คางคกบ้าน (Duttaphrynus melanostictus), คางคกห้วยไทย (Ansonia siamensis), คางคกไฟ (Ingerophrynus parvus) เป็นต้น

สกุล

[แก้]
ชื่อสกุลและผู้อนุกรมวิธาน ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ จำนวนชนิดที่พบ
Adenomus Cope, 1861
3
Altiphrynoides Dubois, 1987 Ethiopian Toads
2
Amietophrynus Frost et al., 2006
38
Andinophryne Hoogmoed, 1985 Andes Toads
3
Ansonia Stoliczka, 1870 Stream Toads
25
Atelopus Duméril & Bibron, 1841 Stubfoot Toads
82
Bufo Laurenti, 1768 Toads
150
Bufoides Pillai & Yazdani, 1973 Mawblang Toads
1
Capensibufo Grandison, 1980 Cape Toads
2
Churamiti Channing & Stanley, 2002
1
Crepidophryne Cope, 1889 Cerro Utyum Toads
3
Dendrophryniscus Jiménez de la Espada, 1871 Tree Toads
7
Didynamipus Andersson, 1903 Four-digit Toads
1
Duttaphrynus Frost et al., 2006
6
Epidalea Cope, 1864 Natterjack Toads
1
Frostius Cannatella, 1986 Frost's Toads
2
Ingerophrynus Frost et al., 2006
11
Laurentophryne Tihen, 1960 Parkers Tree Toads
1
Leptophryne Fitzinger, 1843 Indonesia Tree Toads
2
Melanophryniscus Gallardo, 1961 South American Redbelly Toads
20
Mertensophryne Tihen, 1960 Snouted Frogs
20
Metaphryniscus Señaris, Ayarzagüena & Gorzula, 1994
1
Nectophryne Buchholz & Peters, 1875 African Tree Toads
2
Nectophrynoides Noble, 1926 African Live-bearing Toads
13
Nimbaphrynoides Dubois, 1987 Nimba Toads
2
Oreophrynella Boulenger, 1895 Bush Toads
8
Osornophryne Ruiz-Carranza & Hernández-Camacho, 1976 Plump Toads
6
Parapelophryne Fei, Ye & Jiang, 2003
1
Pedostibes Günther, 1876 Asian Tree Toads
6
Pelophryne Barbour, 1938 Flathead Toads
9
Pseudepidalea Frost, et. al. 2006
16
Pseudobufo Tschudi, 1838 False Toads
1
Rhinella Fitzinger, 1826 Beaked Toads
72
Schismaderma Smith, 1849 African Split-skin Toads
1
Truebella Graybeal & Cannatella, 1995
2
Werneria Poche, 1903 Smalltongue Toads
6
Wolterstorffina Mertens, 1939 Wolterstorff Toads
3

[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Zweifel, Richard G. (1998). Cogger, H.G. & Zweifel, R.G.. ed. Encyclopedia of Reptiles and Amphibians. San Diego: Academic Press. pp. 91–92. ISBN 0-12-178560-2.
  2. "หนุ่มเปิบพิสดารต้มคางคกแกล้มเหล้าดับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-30.
  3. http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000013[ลิงก์เสีย]
  4. หน้า 325-326, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]