ข้ามไปเนื้อหา

ปวดคอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Neck pain)
ปวดคอ
ภาพประกอบแสดงอาการปวดคอ
สาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์, อื่น ๆ
ความชุก2/3 ของประชากร[1]

ปวดคอ (อังกฤษ: Neck pain หรือ cervicalgia) เป็นปัญหาที่พบบ่อยในทางการแพทย์ ประชากรราวสองในสามมีอาการปวดคอในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต[1] การศึกษาในปี 2010 พบว่าประชากรของโลกราว 5% มีอาการปวดคอ[2]

การวินิจฉัยแยกโรค

[แก้]

อาการปวดคอสามารถเกิดได้จากโครงสร้างใด ๆ ของคอ ซึ่งได้แก่ หลอดเลือด, เส้นประสาท, ทางเดินหายใจ, ทางเดินอาหาร และระบบกล้ามเนื้อและกระดูก หรืออาจเป็นการปวดนอกบริเวณจากพยาธิสภาพในส่วนอื่นนอกเหนือจากคอ[3]

สาเหตุสำคัญและมีความอันตรายที่ทำให้เกิดการปวดคอซึ่งมีอาการปวดอย่างรุนแรง เช่น:

สำหรับสาเหตุในการปวดคอที่น้อยกว่าและพบได้บ่อย มักเกิดจากการอักเสบของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณคอหรือหลังส่วนบน ซึ่งสามารถเกิดได้จากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน การอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ความเครียด เป็นต้น

การรักษา

[แก้]

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุในการปวดคอ ในกรณีส่วนใหญ่สามารถรักษาแบบอนุรักษนิยมได้ ข้อแนะนำซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดคอได้ เช่น การประคบร้อนหรือเย็น[4] การให้ยาแก้ปวด, การฝึกกล้ามเนื้อคอ, การปรับท่าทางให้เหมาะสม และการทำกายภาพบำบัด นอกจากนี้ในการรักษาอาจรวมถึงการให้คสามรู้แก้ผู้ป่วย กระนั้นหลักฐานที่มีอยู่ไม่แสดงให้เห็นว่าเป็นแนวทางที่ได้ผลนัก[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Binder AI (March 2007). "Cervical spondylosis and neck pain". BMJ. 334 (7592): 527–31. doi:10.1136/bmj.39127.608299.80. PMC 1819511. PMID 17347239.
  2. March L, Smith EU, Hoy DG, Cross MJ, Sanchez-Riera L, Blyth F, และคณะ (June 2014). "Burden of disability due to musculoskeletal (MSK) disorders". Best Practice & Research. Clinical Rheumatology. 28 (3): 353–66. doi:10.1016/j.berh.2014.08.002. PMID 25481420.
  3. 3.0 3.1 Mattu A, Goyal D, Barrett JW, Broder J, DeAngelis M, Deblieux P, และคณะ (2007). Emergency medicine: avoiding the pitfalls and improving the outcomes. Malden, Mass: Blackwell Pub./BMJ Books. pp. 46–7. ISBN 978-1-4051-4166-6.
  4. Garra G, Singer AJ, Leno R, Taira BR, Gupta N, Mathaikutty B, Thode HJ (May 2010). "Heat or cold packs for neck and back strain: a randomized controlled trial of efficacy". Academic Emergency Medicine. 17 (5): 484–9. doi:10.1111/j.1553-2712.2010.00735.x. PMID 20536800.
  5. Gross A, Forget M, St George K, Fraser MM, Graham N, Perry L, และคณะ (March 2012). "Patient education for neck pain". The Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD005106. doi:10.1002/14651858.cd005106.pub4. PMID 22419306.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก