พืชดัดแปรพันธุกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พืชดัดแปรพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปรพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง เช่น

สตอเบอรี่ เมื่อนำสตอเบอรี่มาตัดต่อพันธุกรรมแล้ว จะส่งผลให้สตอเบอรี่ มีผลดังนี้ 1. ทำให้สตอเบอรี่เน่าช้า สะดวกในการขนส่ง 2. ทำให้สตอเบอรี่มีสารอาหารเพิ่มมากขึ้น 3. สตอเบอรี่มีความต้านทานต่อโรคมากขึ้น เป็นต้น

มันฝรั่ง เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย ที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรมเช่นเดียวกันกับข้าวโพด โดยใช้การตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่าBacillus thuringiensis เข้าไปในยีนของมันฝรั่ง ทำให้มันฝรั่งที่ได้รับการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้วมีคุณค่าทางสารอาหารเพิ่มขึ้น และในบางชนิดยังสามารถผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์อีกด้วย ทำให้มีแมลงมากินน้อย ทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพ และสามารถนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้

ฝ้าย GMOs เมื่อนำฝ้ายมาทำ GMOs แล้วทำให้ได้ฝ้ายที่สามารถฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูของฝ้ายได้ โดยได้ใส่ยีนของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis var. kurataki (B.t.k) แทรกเข้าไปในโครโมโซมของต้นฝ้าย ทำให้ฝ้ายสามารถที่จะสร้างโปรตีน Cry 1A ที่สามารถฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูของฝ้ายได้ ทำให้ได้ฝ้ายที่สมบูรณ์และทนต่อศัตรูพืช เช่น หนอน แมลง ด้วง เป็นต้น

ดูเพิ่ม[แก้]