ข้ามไปเนื้อหา

เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ

7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก (อังกฤษ: Seven Wonders of the World) คือ สิ่งก่อสร้างที่มีความยิ่งใหญ่และโดดเด่น ทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกในงานของเฮโรโดตุส (Herodotos หรือ Herodotus) เมื่อราว 5 ศตวรรษก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นก็การอ้างถึงจากกวีชาวกรีก เช่น คัลลิมาฆุส แห่งคีเรนี, อันทิพาเตอร์ แห่งซีดอน และฟิโล แห่งไบเซนไทน์ เมื่อราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ หรือสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดของโลก ในบัญชีแรก เรียกกันว่า 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ และหลังจากนั้น ยังมีบัญชีเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางและยุคปัจจุบัน โดยไม่ปรากฏผู้จัดทำรายการอย่างชัดเจน

7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ

[แก้]
  1. มหาพีระมิดแห่งกีซา ของกษัตริย์คูฟู ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ มีอายุราว 2,690 ปีก่อนคริสตกาล หรือเก่าแก่กว่านั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงปรากฏอยู่จนปัจจุบัน และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
  2. สวนลอยแห่งบาบิโลน สร้างโดยพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 เมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 6 ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานหรือซาก แต่คาดว่าน่าจะอยู่บริเวณเดียวกับกรุงบาบิโลนในประเทศอิรัก
  3. เทวรูปซูสที่โอลิมเปีย ที่เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีก สร้างเมื่อประมาณ 462 ปีก่อนคริสตกาล สร้างและตกแต่งด้วยทองคำ งาช้าง และอัญมณีต่าง ๆ มีความสูง 12 เมตร ภายหลังถูกไฟไหม้เสียหายจนหมดสิ้น
  4. วิหารอาร์ทิมิส (หรือ วิหารไดอานา) ที่เอเฟซุสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 4 ภายหลังถูกทำลายโดยพวกโกธส์จากเยอรมันที่บุกเข้ามาโจมตี เมื่อปี พ.ศ. 805 ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
  5. สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส ที่ฮาลิคาร์นัสซัสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างโดยพระราชินีอาร์เทมิเซีย เป็นอนุสรณ์สถานแก่กษัตริย์มอโซลุสแห่งคาเรียที่สวรรคตเมื่อ 353 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวและต่อมานำไปใช้ในการก่อสร้างโดยอัศวินแห่งโรดส์ ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
  6. มหารูปแห่งโรดส์ ในทะเลเอเจียน ประเทศกรีก เป็นรูปสำริด (สัมฤทธิ์) ขนาดใหญ่ของสุริยเทพ หรือเฮลิเอิส สูงประมาณ 32 เมตร ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวหลังการสร้างเพียง 60 ปี ปัจจุบันไม่ปรากฏซาก
  7. ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สมัยพระเจ้าปโตเลมี ประมาณ 271 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยสิ้นเชิงเมื่อแผ่นดินไหวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ปัจจุบันอิฐที่เหลือถูกนำไปก่อสร้างป้อมบริเวณใกล้เคียง

7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง

[แก้]

สิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของโลกสมัยกลาง ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครได้กำหนดไว้ และรายการในยุคกลางก็ระบุไว้ไม่ตรงกัน แต่โดยมากจะยอมรับกับรายการต่อไปนี้[1][2][3][4]

  1. โคลอสเซียม สนามกีฬาแห่งกรุงโรม ประเทศอิตาลี
  2. สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย สุสานใต้ดินเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
  3. กำแพงเมืองจีน ประเทศจีน
  4. สโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ
  5. เจดีย์กระเบื้องเคลือบ เมืองหนานจิง ประเทศจีน
  6. หอเอนเมืองปิซา ประเทศอิตาลี
  7. ฮายาโซฟีอา แห่งคอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันคือ นครอิสตันบูล) ประเทศตุรกี

ในบางครั้งยังรวมในรายชื่อต่อไปนี้

  1. ป้อมซิทาเดลเมืองไคโร ประเทศอียิปต์
  2. อารามกลูว์นี ประเทศฝรั่งเศส
  3. อาสนวิหารอีลี ประเทศอังกฤษ
  4. ทัชมาฮาล ประเทศอินเดีย

7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน

[แก้]

มีการจัดทำรายการเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกปัจจุบันไว้หลายรายการ เช่น

กลุ่มวิศวกรโยธาแห่งสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมรายชื่อของเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ในโลกยุคปัจจุบันไว้ดังนี้

  1. อุโมงค์รถไฟใต้ทะเล ประเทศอังกฤษ-ฝรั่งเศส
  2. ซีเอ็น ทาวเวอร์ ประเทศแคนาดา
  3. เขื่อนอิไตปู ประเทศบราซิล-ปารากวัย
  4. ตึกเอ็มไพร์สเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา
  5. เดลต้า เวิร์ค ประเทศเนเธอร์แลนด์
  6. สะพานโกลเดนเกต ประเทศสหรัฐอเมริกา
  7. คลองปานามา ประเทศปานามา

ด้านมูลนิธิ New7Wonders จัดระเบียบการริเริ่มนิว7วันเดอส์ออฟเดอะเวิลด์ ซึ่งได้เปิดเผยรายการเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่มาจากการสอบถามความเห็นดังนี้

  1. ชีเชนอิตซา
  2. กริชตูเรเดงโตร์
  3. กำแพงเมืองจีน
  4. มาชูปิกชู
  5. เปตรา
  6. โคลอสเซียม
  7. ทัชมาฮาล




อ้างอิง

[แก้]
  1. I H Evans (reviser), Brewer's Dictionary of Phrase and Fable (Centenary edition Fourth impression (corrected); London: Cassell, 1975), page 1163
  2. Hereward Carrington (1880–1958), "The Seven Wonders of the World: ancient, medieval and modern", reprinted in the Carington Collection (2003) ISBN 0-7661-4378-3, C&pg=PP15&dq=Carrington+Collection+Seven+Wonders+of+the+Middle+Ages&hl=en&sa=X&ei=cgY-T-3JGsqMiAK21_mgAQ&ved=0CDwQ6AEwAA#v=onepage&q&f=false page 14[ลิงก์เสีย].
  3. Edward Latham. A Dictionary of Names, Nicknames and Surnames, of Persons, Places and Things (1904), dm2PkC&pg=PA280&lpg=PA280&dq=%22seven+wonders+of+the+middle+ages%22 page 280.
  4. Francis Trevelyan Miller, Woodrow Wilson, William Howard Taft, Theodore Roosevelt. America, the Land We Love (1915), page 201.