ข้ามไปเนื้อหา

โทรศัพท์ฉุกเฉิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตู้โทรศัพท์บนทางหลวงระหว่างรัฐของสหรัฐ
โทรศัพท์ฉุกเฉินถึงตำรวจตั้งอยู่ข้างถนนในโอเดสซา
โทรศัพท์ฉุกเฉินบนชายหาดที่เทรฟอร์ ทางตอนเหนือของเวลส์

โทรศัพท์ฉุกเฉิน (อังกฤษ: Emergency telephone) คือโทรศัพท์ที่มีไว้สำหรับการโทรไปยังบริการฉุกเฉินโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่มักจะพบในสถานที่อันตรายเป็นพิเศษหรือในบริเวณที่จำเป็นจะต้องใช้การโทรฉุกเฉิน

บางครั้งโทรศัพท์ฉุกเฉินในต่างประเทศถูกเรียกว่า บลูไลท์ (Blue light)[1] เนื่องจากใช้สีน้ำเงินเป็นสีของตู้ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดในเวลากลางคืน[2]

โทรศัพท์ฉุกเฉินริมถนน

[แก้]

แม้ว่าจะระบุได้ยากว่าโทรศัพท์บนทางหลวงรุ่นแรกนั้นได้รับการพัฒนาเมื่อไหร่และที่ไหน แต่ตัวอย่างแรก ๆ ที่เห็นได้ชัดคือโทรศัพท์บนทางด่วนที่พัฒนาขึ้นในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2509 ระบบนี้พัฒนาขึ้นโดย อลัน ฮาร์แมน พนักงานของบริษัทรักษาความปลอดภัยแห่งหนึ่งในออสเตรเลียตะวันตก คือบริษัทสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signals Pty Ltd) เกิดขึ้นหลังจากที่เขาได้อ่านข่าวการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ครั้งใหญ่บนทางด่วนควินาน่า ซึ่งบทความในหนังสือพิมพ์กล่าวว่าการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและเกี่ยวข้องในอุบัติเหตุรถยนต์ครั้งนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยระบบที่ฮาร์แมนคิดเอาไว้นั้นคือการติดตั้งชุดโทรศัพท์ในกล่องบนเสาสั้น ติดตั้งเว้นระยะห่างทุก ๆ 160 เมตร (0.1 ไมล์) บนทางด่วนของเมืองเพิร์ท โดยสายโทรศัพท์จะถูกส่งสัญญาณต่อไปยังสัญญาณเตือนภัยในศูนย์ควบคุมถนนสายหลัก และผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับบริการฉุกเฉินคือตำรวจ หน่วยดับเพลิง หรือรถพยาบาลได้ ฮาร์แมนได้พัฒนาระบบดังกล่าวโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการทางหลวงสายหลักและหัวหน้าวิศวกร โดยพัฒนาจากสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารที่มีใช้งานอยู่ในบริษัทรักษาความปลอดภัยที่เขาทำงานอยู่[3]

โทรศัพท์ฉุกเฉินมักจะถูกพบได้ตามถนนสายหลักทั่วโลก ในสหราชอาณาจักร ตู้โทรศัพท์ฉุกเฉิน "SOS" สีส้มจะมีการติดตั้งโดยเว้นระยะห่างทุก 1.6 กิโลเมตร (1 ไมล์) บนมอเตอร์เวย์ทุกสายและถนนสายหลักซีรีย์ "A" บางสาย โดยมีการติดตั้งเครื่องหมายระบุที่ตั้งของโทรศัพท์ที่ใกล้ที่สุดในทุกช่วงของเส้นทาง ในเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 โทรศัพท์ฉุกเฉินได้รับการติดตั้งในทุก ๆ 0.25 ไมล์ (400 เมตร) บนทางหลวงแบบปิด (ทางด่วน) ในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โทรศัพท์ฉุกเฉินถูกนำมาใช้ในทางด่วนในเขตเมืองในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งแต่เดิมมีใช้งานเพียงบนทางด่วนทัลลามารีน ตะวันออกเฉียงใต้ และทางด่วนโลเวอร์ยาร์รา (เวส์เกท)[4] ในอิตาลี มอเตอร์เวย์ออโตสเทรด (Autostrade) จะมีการติดตั้งโทรศัพท์ฉุกเฉิน "SOS" ในทุกระยะห่าง 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) ในประเทศไทยโทรศัพท์ฉุกเฉินจะมีการติดตั้งอยู่บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)[5] และทางด่วนเส้นต่าง ๆ[6] ในระยะห่างทุก ๆ 500 เมตรถึง 1 กิโลเมตร[7]

เนื่องจากการเติบโตของการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ความต้องการใช้งานโทรศัพท์ฉุกเฉินลดลง จึงมีแผนที่จะยุติการให้บริการในหลายเมือง[8] ในแคลิฟอร์เนีย ตู้โทรศัพท์บนทางด่วนมีการใช้งานลดลงจาก 98,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2544 เหลือเพียง 21,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2553 หรือประมาณ 1 ครั้งต่อกล่องต่อเดือน โดยการดูแลรักษาตู้โทรศัพท์บนทางด่วนโดยหน่วยบริการทางด่วนและทางด่วนพิเศษ (Service Authority for Freeways and Expressways: SAFE) ในบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก ปี พ.ศ. 2554 มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี[9] ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2553 แคลิฟอร์เนียได้ถอดตู้โทรศัพท์ส่วนใหญ่ในเขตเมืองและชานเมืองออก เหลือติดตั้งเพียงในพื้นที่ที่มีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่น้อยหรือสัญญาณโทรศัพท์น้อยเท่านั้น[10][11]

โทรศัพท์เหล่านี้มักมีการทำเครื่องหมายด้วยสติ๊กเกอร์หรือป้ายที่ระบุหมายเลขประจำตัวเครื่องหรือสัญลักษณ์เฉพาะประจำตู้ที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบได้ว่าผู้โทรโทรมาจากที่ใด แม้ว่าตัวผู้โทรจะไม่ทราบก็ตามที โดยให้ผู้โทรอ่านหมายเลขประจำเครื่องหรือเครื่องหมายเฉพาะบนโทรศัพท์ โทรศัพท์บางรุ่นมีการติดตั้งระบบระบุตัวตนของเครื่องแบบอัตโนมัติ ทำให้เจ้าหน้าที่ที่รับสายสามารถระบุตำแหน่งของผู้โทรได้เลย แม้ว่าผู้โทรจะไม่สามารถระบุที่อยู่ของตัวเองได้ก็ตามเช่นกัน ซึ่งในมลรัฐส่วนใหญ่ของสหรัฐที่มีตู้โทรศัพท์ริมถนน ป้ายบนตู้โทรศัพท์จะมีการระบุหลักกิโลเมตรของเส้นทางนั้น ในขณะที่รัฐแคลิฟอร์เนียนั้นตู้โทรศัพท์จะระบุตามระยะทางที่ผ่านในแต่ละพื้นที่โดยใช้หมายเลขเฉพาะของรัฐคือเลขโพสต์ไมล์เป็นตัวอ้างอิง โดยในแต่ละตู้จะมีตัวอักษรระบุสำหรับเขต ตามด้วยหมายเลขเส้นทาง จากนั้นหมายเลขหลักที่สามและสี่จะเป็นระยะทางที่อิงตามหลักกิโลเมตร โดยคำนวนเป็นระยะในทุก 10 ไมล์

โทรศัพท์เหล่านี้มักถูกทำเครื่องหมายด้วยป้ายหรือป้ายที่ระบุหมายเลขประจำเครื่องหรือตัวระบุที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบได้อย่างแน่ชัดว่าผู้โทรอยู่ที่ไหน - แม้ว่าผู้โทรจะไม่ทราบ - โดยให้ผู้โทรอ่านหมายเลขระบุแบบสั้นจากป้ายด้านบน โทรศัพท์. โทรศัพท์บางรุ่นมีการติดตั้งหมายเลขผู้โทรเทียบเท่า และตัวแทนที่รับสายสามารถระบุตำแหน่งได้ แม้ว่าผู้โทรจะไม่สามารถทำได้ก็ตาม ในรัฐส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาที่มีตู้โทรศัพท์ริมถนน ป้ายตู้โทรศัพท์จะมีการอ่านหลักไมล์ของเส้นทาง ในแคลิฟอร์เนีย ตู้โทรศัพท์จะระบุตามระยะทางผ่านแต่ละเขตโดยใช้ไปรษณีย์เป็นข้อมูลอ้างอิง แต่ละกล่องจะมีตัวระบุ 2 ตัวอักษรสำหรับเขต ตามด้วยหมายเลขเส้นทาง จากนั้นตัวเลข 3 หรือ 4 หลักที่สอดคล้องกับระยะทางหลังการเดินทางของเส้นทางโดยคำนวณเป็นสิบไมล์

สถานที่ทั่วไปอื่น ๆ สำหรับโทรศัพท์ฉุกเฉิน

[แก้]

โทรศัพท์ฉุกเฉินมักจะพบได้ตามปลายสะพายของสะพาน หรือบริเวณใกล้กับหน้าผาซึ่งมีประวัติการใช้ในการฆ่าตัวตาย โดยการโทรจะถูกเชื่อมต่อสายไปยังหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น สมาคมสะมาริตันส์ในสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังมีการพบเห็นบางครั้งตามแนวชายฝั่งทะเลซึ่งประชาชนอาจจะต้องการรายงานเกี่ยวกับเหตุจมน้ำหรือเหตุฉุกเฉินทางเรือในทะเล โดยในสหราชอาณาจักรโทรศัพท์ดังกล่าวจะเชื่อมต่อสายไปยังหน่วยยามฝั่ง โทรศัพท์ฉุกเฉินยังพบได้ในลิฟต์ซึ่งมักจะเกิดเหตุลิฟต์ค้างโดยไม่คาดคิดได้ตลอด ซึ่งปลายสายจะเชื่อมต่อไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการที่มีหน้าที่ในการแก้ไขและช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ในลิฟต์ที่หยุดอยู่ได้[12]

ในรถบางรุ่นมีปุ่ม SOS ที่เชื่อมต่อไปยังศูนย์ฉุกเฉินของบริษัทรถยนต์หรือหน่วยบริการฉุกเฉิน (112) พร้อมกับให้ตำแหน่งจีพีเอส หากเกิดการชนและถุงลมนิรภัยทำงาน โทรศัพท์ฉุกเฉินภายในรถจะเปิดใช้งาน แม้ว่าผู้โดยสารจะไม่สามารถกดเรียกเองได้ก็ตาม ซึ่งในรถยนต์ในยุโรป ได้มีโครงการระบบการโทรฉุกเฉินอัจฉริยะ (eCall) ซึ่งเป็นระบบที่บังคับใช้กับรถยนต์ทุกคันที่ผลิตและจำหน่ายในยุโรปตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2561[13]

บางประเทศยังพบโทรศัพท์ฉุกเฉินในสถานที่ที่ทำให้คนรู้สึกอันตรายหรือไม่ปลอดภัยในเวลากลางคืน ซึ่งพบได้ทั่วไปในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย สวนสาธารณะในเขตเมือง และบ้านจัดสรร โดยโทรศัพท์จะเชื่อมโยงไปยังบริษัทรักษาความปลอดภัยในบริเวณที่มีตู้โทรศัพท์เหล่านี้ตั้งอยู่ ส่วนในพื้นที่วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมักจะเชื่อมต่อกับระบบรักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่

โทรศัพท์ฉุกเฉินแบบมีฐานในตัว ในวิทยาเขตของวิทยาลัย

ในบางประเทศยังพบในสถานที่ที่ผู้คนอาจรู้สึกอ่อนแอหรือไม่ปลอดภัยในเวลากลางคืน พบได้ทั่วไปในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย[2] สวนสาธารณะในเมือง และบ้านจัดสรร โดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับบริษัทรักษาความปลอดภัยที่ลาดตระเวนตามถนนที่มีโทรศัพท์อยู่ และในวิทยาเขต มักจะเชื่อมต่อกับระบบรักษาความปลอดภัยของวิทยาเขตหรือตำรวจ[14]

การเสื่อมความนิยม

[แก้]

จากความครอบคลุมของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับค่าบำรุงรักษาและดูแลที่สูง ส่งผลให้มีการติดตั้งและใช้งานโทรศัพท์ฉุกเฉินบนทางหลวงลดลง โดยในเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ โทรศัพท์ฉุกเฉินยุติการให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 หากเกิดเขตฉุกเฉินผู้ขับขี่จะต้องใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนเองเพื่อแจ้งเหตุไปยังหน่วยบริการฉุกเฉิน ซึ่งบางพื้นที่ที่มีประชากรเบาบางในแคว้นวอลลูน ประมาณการว่าโทรศัพท์ฉุกเฉินริมทางหลวงจะมีใช้งานจนถึงปี พ.ศ. 2563

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Blue Light Emergency Phones". oes.ucsc.edu.
  2. 2.0 2.1 "Code Blue Phones". www.cpp.edu.
  3. Humble beginnings for freeway phones (July 1998). Western Roads: official journal of Main Roads Western Australia, 21 (2), p.18. Perth: Main Roads Western Australia, 1998.
  4. Country Roads Board Victoria, Sixty-Third Annual Report: for the year ended 30th June, 1976, Burwood, Victoria: Brown, Prior, Anderson, 1976
  5. "โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "สาวรีวิว รถน้ำมันหมดบนทางด่วน คุยผ่านโทรศัพท์ฉุกเฉิน จนท.เอารถสไลด์มารับ ที่สำคัญฟรี". www.khaosod.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. ขวัญ _วันเฉลิม (2018-09-04). "ข้อควรปฏิบัติเมื่อรถเสียบนทางด่วน". kapook.com.
  8. "Orange County Register, "500 freeway call boxes set to make an exit" May 17, 2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2023-09-22.
  9. Cabanatuan, Michael (May 1, 2011). "Highway call boxes becoming obsolete". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ March 19, 2013.
  10. Nguyen, Alexander (Mar 17, 2018). "Freeway Call Boxes Going the Way of Pay Phones — Extinct". 7 San Diego (NBC). สืบค้นเมื่อ 2019-10-24.
  11. Downey, David (Mar 13, 2019). "Riverside County to remove 225 highway call boxes, some are never used". The Press-Enterprise. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-24. In Los Angeles County, for example, more than 1 million calls for aid were placed from call boxes in 1988, when the L.A.-area had 4,500 highway phones, Jager said. Fast forward to today and the number of call boxes stands at 576.
  12. admin (2019-05-13). "การใช้งาน Emergency Telephone โทรศัพท์ฉุกเฉิน KNZD-36-BS4 | NEC SL1000 and SL2100".
  13. "eCall in all new cars from April 2018 | Shaping Europe's digital future". wayback.archive-it.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-08.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  14. Meyerhofer, Kelley. "Are blue light phones obsolete?". Madison.com. Wisconsin State Journal. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.