ไมยราบยักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไมยราบยักษ์
ไมยราบยักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
สกุล: Mimosa
สปีชีส์: M.  pigra
ชื่อทวินาม
Mimosa pigra
L.

ไมยราบยักษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimosa pigra, อังกฤษ: pricky wood weed, mimosa, giant sensitive plant, catclaw mimosa, black mimosa) เป็นพืชดอกมีลักษณะเป็นไม้พุ่มในวงศ์ถั่ว เป็นวัชพืชต่างถิ่นประเภทรุกรานที่มีความรุนแรง เนื่องจากสามารถเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีความทนต่อสภาพน้ำท่วมและแห้งแล้งได้ดี[1]


ข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์[แก้]

ลำต้น ไมยราบยักษ์ เป็นพืชตระกูลถั่ว และเป็นไม้ยืนต้น มีลำต้นสูงได้มากกว่า 3 เมตรมีหนามออกจากผิว ลำต้นมีกิ่ง กิ่งยาวประมาณ 2-6 เมตร มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและหนาแน่น[2][3]

ใบ ใบไมยราบยักษ์เป็นใบประกอบแบบขนนก มีทั้งใบหลัก และ ใบย่อย ใบหลักมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ใบย่อยช่วงแรก มี 7-16 คู่ ใบย่อยช่วงสองมี 25-40 คู่ ก้านใบมีลักษณะเป็นหนามและมีขนสาก ใบของไมยราบยักษ์เมื่อถูกกระตุ้นจะไม่มีการหุบ เหมือนไมยราบทั่วไป[2][3]

ดอก ดอกไมยราบยักษ์จะออกเป็นช่อหรือที่มักเรียกว่า ช่อดอก ซึ่งมักจะเกิดที่ส่วนปลายสุดของกิ่งและจากซอกของใบ ในดอกย่อยเกสรตัวผู้จะมีสีแดงและสีม่วงซีดเห็นเด่นชัด[3]

ผลและเมล็ด ฝักมีลักษณะแบนยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และมีขนสากปกคลุมคลุมอย่างหนาแน่น เมล็ดมีลักษณะกลม สีน้ำตาล ขนาดยาว 0.4 x 0.6 ซม. และกว้าง 0.2 x 0.3 ซม. มีปลายเมล็ดด้านหนึ่งแหลมสำหรับงอกออกของต้นอ่อน[2][3]

ข้อมูลด้านชีววิทยา[แก้]

ไมยราบยักษ์ มีการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศแต่รายละเอียดเรื่องการผสมพันธุ์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ไมยราบยักษ์จะมีดอกทุกเดือนแต่ดอกและเมล็ดที่สมบูรณ์จะขึ้นอยู่กับหน้าฝนเป็นหลัก ระยะเวลาจากการเปลี่ยนช่อดอกไปสู่ระยะออกดอก ใช้เวลา 7-9 วันและเป็นฝักที่สมบูรณ์ใช้เวลา 28-30 วัน บนฝักของไมยราบยักษ์มีลักษณะเป็นขนหยาบแข็ง และการแตกออกของฝัก จะแตกเป็นบางส่วนเท่านั้น แต่ละส่วนมีเมล็ด เมล็ดเหล่านี้จะกระจายไปตกหล่นตามแม่น้ำ ลำธารต่างๆ หรือมีสัตว์เป็นตัวนำพาไป[3]

ข้อมูลด้านนิเวศวิทยา[แก้]

เราสามารถพบไมยราบยักษ์ได้รอบๆบริเวณแหล่งน้ำ หรือที่น้ำท่วมถึง ในปีค.ศ. 1970 ไมราบยักษ์ก็กลายเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงที่ส่งผลต่อทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และในอุทยานแห่งชาติทางตอนเหนือของออสเตรเลีย พวกมันโตไวและทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งหรือน้ำท่วมได้ อีกทั้งเมล็ดของมันสามารถลอยน้ำได้[3]

พื้นที่ที่มีการถูกคุกคาม[แก้]

ต้นกำเนิด[แก้]

ประเทศอาร์เจนตินา , ประเทศโบลิเวีย , ประเทศบราซิล , ประเทศชิลี , ประเทศโคลอมเบีย , ประเทศเอกวาดอร์ , ประเทศฝรั่งเศส , กลุ่มเกาะกัวเดอลุป , ประเทศกายอานา , ประเทศฮอนดูรัส , ประเทศเม็กซิโก , ประเทศนิการากัว, ประเทศปานามา , ประเทศปารากวัย , ประเทศเปรู , ประเทศซูรินาม , ประเทศอุรุกวัย และ ประเทศเวเนซุเอลา[3]

ต่างประเทศ[แก้]

ประเทศออสเตรเลีย , สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก , ประเทศอียิปต์ , ประเทศอินโดนีเซีย , ประเทศญี่ปุ่น , สาธารณรัฐเคนยา , ประเทศมาเลเซีย , ประเทศมอริเตเนีย , แอฟริกาใต้ , ประเทศแซมเบีย , ประเทศไทย , ประเทศเวียดนาม[3]

ผลกระทบจากไมยราบยักษ์[แก้]

ไมยราบยักษ์ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพโดยการเข้าไปแทนที่ที่พื้นที่ชุ่มน้ำ และรุกล้ำพื้นที่ปศุสัตว์และพื้นที่ของชนพื้นเมือง อีกทั้งยังบดบังทัศนียภาพของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆและเป็นวัชพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแต่กำจัดได้ยาก จึงแย่งที่อยู่และอาหารของพืชพื้นเมือง ทำให้พืชพื้นเมืองมีจำนวนลดน้อยลง[3]

ประโยชน์[แก้]

ด้านการเลี้ยงผึ้ง เป็นแหล่งพืชอาหารสำคัญที่ให้เกสรในการผลิตรอลยัลเยลลีทางภาคเหนือของประเทศไทย[4]


ด้านเชื้อเพลิง เมื่อถึงฤดูแล้งสามารถนำกิ่งที่แห้งมาทำเป็นฟืนได้[3]


ด้านยารักษา ในแอฟริกา ไมยราบยักษ์ถูกใช้เป็นยาชูกำลัง และเป็นยาสำหรับโรคท้องร่วง , โรคหนองในและเลือดเป็นพิษ ในแทนซาเนีย ใบที่ถูกบดเป็นผงจะนำไปรวมกับน้ำเพื่อบรรเทาอาการบวม ในแซมเบีย นำรากมาใช้โรยบนผิวหนังที่เป็นโรคเรื้อน ส่วนเมล็ดนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับฟัน[3]


การควบคุมการกัดเซาะ สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาการกัดเซาะของน้ำในที่สูงชันได้[3]


ปรับปรุงดิน นำมาใช้เป็นพืชคลุมดินได้[3]


ควบคุมมลพิษ ไมยราบที่เติบโตในบริเวณปากทางเข้าของอ่างเก็บน้ำจะช่วยกำจัดเศษต่างๆที่มากับน้ำก่อนเข้าอ่างเก็บน้ำ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ไมยราบยักษ์=". puechkaset.com. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 "ไมยราบยักษ์". puechkaset.com. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 "Mimosa pigra L". worldagroforestry.org. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. "การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคโนโลยีการผลิต และปริมาณของเกสรกับปริมาณรอยัลเยลลี". kukr.lib.ku.ac.th. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mimosa pigra ที่วิกิสปีชีส์