ไฟร์เอมเบลม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ไฟร์เอมเบลม
| |
---|---|
ประเภท | เกมสวมบทบาท |
ผู้พัฒนา | Intelligent Systems |
ผู้จัดจำหน่าย | นินเท็นโด |
ผู้สร้าง | Shouzou Kaga |
เวปอย่างเป็นทางการ | Fire Emblem.com |
ไฟร์เอมเบลม (อังกฤษ: Fire Emblem; ญี่ปุ่น: ファイアーエムブレム; โรมาจิ: Faiā Emuburemu) เป็นวิดีโอเกมแนวแท็กติกสวมบทบาท ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาของ Intelligent Systems
(โดยเฉพาะ Shouzou Kaga)[1]
ผู้สร้างเกม Advance Wars (ซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับ ไฟร์เอมเบลมในส่วนของการวางแผน), และจัดจำหน่ายโดย Nintendo เกมในชุดของ ไฟร์เอมเบลม เป็นที่รู้จักดีในในแง่ความคิดสร้างสรรค์ และ ในแง่ที่เป็นเกมในแนวแท็กติกสวมบทบาทเกมแรกๆที่เน้นเนื้อหาอิงไปทางยุคกลางของทางตะวันตก นอกจากน้นเกมในชุดนี้ยังเป็นที่รู้จัก ในแง่ของความลึกของมิติในการพัฒนาตัวละคร รวมทั้งในแง่ที่การตายของตัวละครส่วนใหญ่ การตายในการต่อสู้ นั้นหมายถึงการตายอย่างถาวรตลอดทั้งการเล่นในครั้งนั้น[2] ปัจจุบันในชุดประกอบด้วยเกมทั้งหมด 11 ภาค ซึ่งมีทั้งในเครื่องแฟมิคอม,ซูเปอร์แฟมิคอม,เกมบอยแอ็ดวานซ์,นินเทนโดเกมคิวบ์,นินเทนโดดีเอส,และ วี[3] ในเดือนสิงหาคม 2551, นินเทนโดจัดจำหน่ายไฟร์เอมเบลม: Shadow Dragon สำหรับเครื่องนินเทนโดดีเอส ซึ่งเป็นภาคที่นำกลับมาสร้างใหม่ของเกมภาคแรกในชุดคือ ไฟร์เอมเบลม: Ankoku Ryū to Hikari no Ken และเกมภาคใหม่นี้ยังเป็นภาคแรกในชุด "ไฟร์เอมเบลม" ที่มีระบบออนไลน์[4]
เกมในชุดส่วนใหญ่จัดจำหน่ายเฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น จนมาถึง Fire Emblem ซึ่งเป็นภาคที่เจ็ดในชุดที่ได้จัดจำหน่ายทั่วโลกในปีพ.ศ. 2546,[5] ทั้งนี้เนื่องจากความนิยมในตัวละครของ ไฟร์เอมเบลม Marth and Royที่ปรากฏตัวใน Super Smash Bros. Melee.[6] Fire Emblemที่วางจำหน่ายนอกญี่ปุ่นนั้น การออกแบบตัวเกมได้คำนึงถึงผู้เล่นใหม่เป็นหลัก ในช่วงสิบฉากแรกนั้นจะเป็นการสอนการเล่นเพื่อช่วยให้ผู้เล่นใหม่เข้าใจระบบการเล่นได้ง่ายขึ้น[7] ตั้งแต่นั้นมาเกมภาคนั้นเป็นต้นมาเกมในชุด ไฟร์เอมเบลม ก็ได้วางจำหน่ายทั่วโลก[3]
ระบบการเล่น(Gameplay)
[แก้]พื้นฐาน(Basic)
[แก้]เกมในชุดไฟร์เอมเบลมเป็นเกมแนวผลัดกันเดินกลยุทธ(turn-based tactics) ที่มีจุดมุ่งหมายในการเคลื่อนตัวละครไปในแผนที่ตามตาราง เพื่อเอาชนะฝั่งตรงข้าม ผู้เล่นใช้การเคลื่อนที่เชิงยุทธศาสตร์ และการวางตำแหน่งเพื่อบรรลุเป้าหมายในแต่ละฉาก ได้แก่ ยึดฐาน(seizing a base)[7], อยู่รอดตามจำนวนรอบที่กำหนด(surviving for a number of turns), หรือเอาชนะหัวหน้าฉาก(defeating a boss) ส่วนประกอบพื้นฐานหลายส่วนของแนวเกมสวมบทบาท(role-playing game) สามารถพบได้ในเกม ยกตัวอย่างเช่น การขั้นระหว่างฉากด้วย ฉากขั้น(cut scene) เพื่อใช้ในการดำเนินเรื่อง ตัวละครมีการเก็บเกี่ยวค่าประสบการณ์และแข็งแกร่งขึ้นตามการเล่น ผู้เล่นสามารถเข้าไปยังร้านเพื่อซื้ออาวุธ และเครื่องมือต่างๆให้ตัวละคร[8] ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละภาคว่า จะสามารถซื้อได้ในระหว่างฉาก หรือว่าซื้อได้ในฉากต่อสู้
รูปแบบระบบการต่อสู้ของเกมนั้นมีพื้นฐานจากหลักการ ค้อน-กรรไกร-กระดาษ โดยที่อาวุธแต่ละชนิดจะมีความได้เปรียบ และเสียเปรียบอาวุธชนิดอื่น ตั้งแต่ในภาคที่สี่ ไฟร์เอมเบลม:Seisen no Keifu, ความสัมพันธ์สามเส้าของอาวุธ(weapon triangle) อยู่ในรูปแบบของ ทวน(lance)ชนะดาบ(sword), ดาบชนะขวาน(axe), และ ขวานชนะทวน[9] ส่วนธนูนั้นไม่อยู่ในความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยสามารถโจมตีจากระยะไกล และสร้างความเสียหายอย่างมากเมื่อใช้โจมตีตัวละครที่บินได้ เช่น เปกาซัส(Pegasus) แต่ธนูก็มีจุดด้อยที่ไม่สามารถตอบโต้การโจมตีระยะประชิดได้ สำหรับในเวทมนตร์นั้นก็มีความสัมพันธ์สามเส้าเช่นเดียวกับอาวุธ ซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละภาค โดยในไฟร์เอมเบลมทุกภาคที่ลงในเกมบอยแอดวานซ์ เวทย์แสงสว่าง(light)ชนะเวทย์ความมืด(dark), เวทย์ความมืด(dark)ชนะเวทย์ธรรมชาติ(anima), และ เวทย์ธรรมชาติชนะเวทย์แสงสว่าง[10] ในภาคอื่น เวทย์ไฟ(fire)ชนะเวทย์ลม(wind), เวทย์ลมชนะเวทย์สายฟ้า(thunder), และเวทย์สายฟ้าชนะเวทย์ไฟ ความพิเศษของเวทมนตร์ก็คือนอกจากใช้โจมตีจากระยะไกลได้แล้ว ยังสามารถใช้โจมตีระยะประชิดได้อีกด้วย
ข้อแตกต่างที่พบได้จากเกมชุดนี้ ที่แตกต่างจากเกมอื่นๆในแนวเดียวกันก็คือ อาวุธโดยส่วนใหญ่ในเกมชุดไฟร์เอมเบลมมีจำนวนครั้งในการใช้งานจำกัด และสามารถพังได้ ดังนั้นบ่อยครั้งที่ผู้เล่นต้องซื้ออาวุธเพื่อผัดเปลี่ยน หรือเสียเงินซ่อมอาวุธที่เสียหาย[7] ปกติมักพบว่าอาวุธที่มีอานุภาพด้อยกว่า จะสามารถใช้งานได้มากครั้งกว่าอาวุธที่มีอานุภาพมากกว่า
ตัวละคร(Unit)
[แก้]แตกต่างจากเกม Advance Wars และเกมแท็กติกสวมบทบาทเกมอื่นเช่น Final Fantasy tactics ที่เกมในชุดนี้ไม่มีอนุญาตให้ผู้เล่นสร้างตัวละครของตนเอง แต่ไฟร์เอมเบลมอาศัยการจัดวางตัวละครที่มีความแตกต่างหลากหลาย แต่ละตัวละครอาจมีอาชีพหนึ่งอาชีพใดจากหลากหลายอาชีพในเกม มีบุคลิก และอดีตเฉพาะตัวของแต่ละตัวละคร[2] สำหรับขนาดกลุ่มของตัวละครนั้น ผู้เล่นจะเริ่มจากกลุ่มตัวละครที่มีขนาดเล็กในช่วงเริ่มเกม และจะค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้น จากตัวละครที่เข้าร่วมกลุ่มเพิ่มเติม ไม่ว่าจากเหตุการณ์ในเนื้อเรื่อง หรือผลสืบเนื่องจากการกระทำบางอย่างของกลุ่ม ในเกมภาคหลังๆนั้น อาจมีตัวละครที่เล่นได้ตั้งแต่ระดับสามสิบตัวละคร ไปจนถึงเจ็ดสิบตัวละครได้เลยทีเดียว[11]
การใช้ตัวละครในการต่อสู้ทำให้ตัวละครได้รับค่าประสบการณ์ เลเวล(level)ของตัวละครจะเพิ่มขึ้นหลังจากมีค่าประสบการณ์ครบ 100% การเพิ่มเลเวลของตัวละครในกลุ่มถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เนื่องจากตัวละครที่เพิ่มเข้ามาใหม่นั้น หลายตัวมีเลเวลตัวละคร และค่าสถานะ(statistics)ที่ดีกว่า[12] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากค่าประสบการณ์ที่ได้จากการชนะศัตรูนั้น คิดจากความแตกต่างระหว่างเลเวลของตัวละคร กับ เลเวลของศัตรู ส่งผลให้ตัวละครที่มีระดับเลเวลต่ำกว่าจะได้รับค่าประสบการณ์ มากกว่าตัวละครที่เลเวลสูงกว่า เมื่อเทียบโดยการโจมตีศัตรูตัวเดียวกัน นอกจากเลเวล และค่าสถานะแล้ว ตัวละครยังมีค่าระดับอาวุธ(weapon level)สำหรับอาวุธแต่ละประเภทที่ใช้ได้ ซึ่งค่านี้จะไล่ตั้งแต่ระดับ E(ระดับต่ำสุด) ไปจนถึง S(ระดับสูงสุด) แต่ในภาค Radiant Dawn นั้นสามารถเพิ่มระดับอาวุธได้ถึงระดับ SS ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่า S หนึ่งระดับ[13] ค่าระดับอาวุธนี้จะเป็นตัวกำหนดระดับอาวุธที่ตัวละครนั้นนั้นใช้ได้ เนื่องจากตัวละครจะใช้อาวุธระดับที่เทียบเท่า หรือต่ำกว่าระดับอาวุธของตัวละครเท่านั้น สำหรับการเลื่อนระดับอาวุธของตัวละครนั้น ทำได้โดยการใช้อาวุธประเภทนั้นซ้ำๆ
เมื่อตัวละครมีเลเวลสูงถึงระดับหนึ่ง ตัวละครนั้นอาจสามารถเปลี่ยนเป็นอาชีพที่แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้เรียกว่า การเปลี่ยนอาชีพ(promotion) ซึ่งรายละเอียดนั้นขึ้นกับระบบของแต่ละภาค บางภาคตัวละครจะเลื่อนขั้นเมื่อมีเลเวลถึงระดับหนึ่ง[2] บางภาคอาจต้องอาศัยไอเทมพิเศษในการเปลี่ยนอาชีพ สำหรับตัวละครหลักนั้นจะเปลี่ยนอาชีพ เมื่อถึงเหตุการณ์พิเศษที่กำหนดในเนื้อเรื่อง เมื่อเปลี่ยนอาชีพแล้ว ตัวละครจะได้รับค่าสถานะพิเศษเพิ่ม ซึ่งมากกว่าที่ได้จากการเพิ่มเลเวลตัวละคร และ ได้รับความสามารถเพิ่มเติม ที่เป็นความสามารถของแต่ละอาชีพที่เปลี่ยนไปเป็นด้วย
ความสัมพันธ์(Supports)
[แก้]ความรัก และ มิตรภาพ เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในเนื้อเรื่องหลักของเกมชุดไฟร์เอมเบลม ตั้งแต่ภาคที่หก, Fūin no Tsurugi, ได้มีการเพิ่มความสำคัญของเนื้อหาของบทสนทนา(support conversation) ในเกมภาคที่ลงในเกมบอยแอดวานซ์ บทสนทนาเหล่านี้จะปรากฏเฉพาะกับคู่ตัวละคร ที่จบรอบการเดินโดยการยืนอยู่ข้างๆกันตามจำนวนรอบที่กำหนด หลังจากนั้นผู้เล่นจะมีตัวเลือก เพื่อดูบทสนทนาระหว่างตัวละครทั้งสองตัว ซึ่งบทสนทนาเหล่านี้ในแต่ละคู่จะมีทั้งหมดเพียงสามชุดเท่านั้น สำหรับในภาค Patch of Radiance มีการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ โดยตัวละครไม่จำเป็นต้องยืนติดกันหลังจบรอบการเดินอีกต่อไป เพียงแค่ร่วมต่อสู้ในฉากเดียวกันตามจำนวนฉากที่กำหนดเท่านั้น และในภาค Radiant Dawn ได้เปลี่ยนระบบอีกครั้ง ด้วยการเพิ่มโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร ทำให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครคู่ไหนก็ได้ รวมทั้งสามารถล้างความสัมพันธ์ที่ไม่ต้องการแล้วได้อีกด้วย
ตัวละครที่มีความสัมพันธ์กับตัวละครอีกตัว จะได้รับค่าสถานะพิเศษเพิ่มต่างหาก ซึ่งค่าที่ได้จะขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ และ ธาตุของตัวละคร(character's element affinity)ทั้งคู่ โดยตัวละครทั้งคู่ จะได้รับค่าสถานะพิเศษนี้ ทุกครั้งที่ตัวละครทั้งคู่ยืนอยู่ห่างกันไม่เกินสามช่อง ตัวละครสามารถมีความสัมพันธ์กับอีกตัวละครได้หลายรูปแบบ ทั้งเป็นคนรัก, เพื่อน, หรือความเกี่ยวพันอย่างอื่น ซึ่งถ้าตัวละครทั้งคู่ได้ผ่านบทสนทนาครบสามครั้งแล้ว ผลลัพธ์ของความสัมพันธ์อาจส่งผลต่อตอบจบของเกมได้ เช่น อาจมีการแต่งงานระหว่างตัวละครทั้งสองในตอนจบ หรือการเป็นเพื่อนกันไปตลอด เป็นความสัมพันธ์ที่มีการพัฒนาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หรือในบางครั้งก็นำไปสู่การจากกันอย่างแสนซาบซึ่ง
การตาย(Death)
[แก้]ตัวละครไฟร์เอมเบลมที่พลังชีวิตหมดลง และตาย จะไม่สามารถนำกลับมาเล่นได้อีก ส่วนนี้ส่งผลต่อการดึงตัวละครอื่นๆ(NPC) และ ตัวละครศัตรู ในอนาคต ดังนั้นถ้าผู้เล่นต้องการใช้ตัวละครดังกล่าว หรือต้องการดึงตัวละครอื่นด้วยตัวละครที่ตายไปแล้ว ผู้เล่นต้องเริ่มเล่นฉากนั้นใหม่ตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ เกมจะยุติลง(Game Over) เมื่อตัวละครหลักตาย หรือ จากการที่ไม่สามารถทำตามเงื่อนไขของที่แต่ละฉากกำหนดได้ จะมีแต่ในกรณีที่พิเศษเช่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง ที่ตัวละครที่ตายในการต่อสู้ไม่ได้ตายจริง อย่างไรก็ตามผู้เล่น ก็ไม่สามารถใช้ตัวละครดังกล่าวได้อีกต่อไปจนจบเกม มีเพียงโอกาสที่หาได้ยากจริงๆเท่านั้นที่ตัวละครที่ตายไปแล้ว สามารถนำกลับมาเล่นใหม่ได้อีก ตัวอย่างเช่นใน Fire Emblem ภาคนี้แบ่งเนื้อเรื่องออกเป็นสองส่วน คือ Lyn's tale และ Eliwood's tale(หรือ Hector's tale) ตัวละครจากส่วนของ Lyn's tale ทั้งหมดจะถูกดึงมาในส่วนที่สองทั้งหมด ไม่ว่าตัวละครนั้นจะรอดตายมาจากส่วนแรกหรือไม่ก็ตาม
บรรยากาศ(Setting)
[แก้]บรรยากาศ และฉากหลังของเกมชุดไฟร์เอมเบลม มักขึ้นอยู่กบทวีปที่เกมเริ่มเรื่องขึ้น ซึ่งนอกจากทวีป Archanea และ Barensia ที่อยู่ในโลกเดียวกัน แต่เนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกันแล้ว เกมภาคอื่นที่มีเนื้อหาอยู่ในทวีปเดียวกัน จะมีเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกัน ไม่ว่าจะเป็นโดยโครงเรื่อง หรือความสัมพันธ์ของตัวละคร ยกตัวอย่างเช่น Fire Emblem ที่เป็นภาคที่มีเนื้อหาก่อนหน้า Fūin no Tsurugi จะเห็นว่ามีบางตัวละครในเกมทั้งสองภาคมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกัน ปัจจุบันเราสามารถระบุ รายชื่อทวีปที่มีอยู่ในเกมชุดไฟร์เอมเบลมได้ทั้งสิ้นหกทวีป:
- Archanea : Ankoku Ryū to Hikari no Ken – Monshou no Nazo – Akaneia Senki – Shadow Dragon
- Barensia : Gaiden
- Judgral : Seisen no Keifu – Thracia 776
- Elibe : Fūin no Tsurugi – Rekka no Ken
- Magvel : Sacred Stones
- Tellius : Path of Radiance - Radiant Dawn
ไอเทมที่ตั้งชื่อตามชื่อเกมชุดนี้ ถือเป็นแกนหลักของเรื่อง โดยพบอยู่ในหลากหลายรูปแบบตามแต่ละภาค แรกสุดไอเทม Fire Emblem เป็นโล่ห์ ในภาคที่นำกลับมาทำใหม่ของเกม Monshō no Nazo ในช่วงแรกของเกมไอเทม Fire Emblem สามารถใข้เปิดหีบ หลังจากนั้นเมื่อนำมาอัพเกรดด้วย orb จำนวนห้าลูกเพื่อเปลี่ยนเป็น Shield of Seals ได้ในช่วงครึ่งหลังของเกม ในภาค Seisen no Keifu กลับไม่พบการปรากฏของไอเทม แต่มีการอ้างถึงในฐานะของตราประจำราชวงศ์ ที่ครอบครองโดยผู้ที่จะขึ้นครองบัลลังก์ ในภาค Fūin no Tsurugi และ Fire Emblem ไอเทม Fire Emblem เป็นอัญมณีที่ใช้ในพิธีแต่งตั้งรัชทายาทของราชอาณาจักร และใช้ในการปิดกั้นเหล่ามังกร ในภาค Sacred Stones ไอเทม Fire Emblem เป็นหนึ่งในศิลาศักดิ์สิทธิ์ โดยเป็นศิลาก้อนที่ขุมขังดวงวิญญาณของจอมปีศาจ สำหรับใน Path of Radiance และ Radiant Dawn มันเป็นเหรียญที่กักขังดวงจิตของเทพเจ้า
เกม (Games)
[แก้]ด้านล่างเป็นรายชื่อเกมทั้งหมดของชุดเกมไฟร์เอมเบลม
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | ชื่อภาษาอังกฤษ | ปีที่วางจำหน่าย | เครื่องที่ลง | เพิ่มเติม |
---|---|---|---|---|
Fire Emblem: Ankoku Ryū to Hikari no Ken | Fire Emblem: Shadow Dragons and the Blade of Light |
2533 | แฟมิคอม | เป็นภาคแรกของชุดวิดีโอเกมไฟร์เอมเบลม |
Fire Emblem Gaiden | Fire Emblem Gaiden | 2535 | แฟมิคอม | เป็นเกมภาคคู่ขนานกับเกมภาคแรก |
Fire Emblem: Monshō no Nazo |
Fire Emblem: Mystery of the Emblem |
2537 | ซูเปอร์แฟมิคอม | เป็นการนำภาคแรกกลับมาทำใหม่ และต่อยอดเนื้อหาต่อจากของเดิม |
Fire Emblem: Seisen no Keifu |
Fire Emblem: Genealogy of the Holy War |
2539 | ซูเปอร์แฟมิคอม | เป็นภาคแรกที่เนื้อเรื่องของเกมแบ่งออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน |
Fire Emblem: Torakia 776 | Fire Emblem: Thracia 776 | 2542 | ซูเปอร์แฟมิคอม | เป็นภาคคู่ขนานของเกมภาค Seisen no Keifu จำหน่ายครั้งแรกผ่านบริการดาวน์โหลดเกมลงตลับเปล่า จากนั้นได้จำหน่ายรูปแบบตลับเกมทั่วไปในปี 2543 |
Fire Emblem: Fūin no Tsurugi | Fire Emblem: The Binding Blade |
2545 | เกมบอยแอ็ดวานซ์ | เป็นเกมภาคแรกที่ลงในเครื่องเล่นแบบพกพา |
Fire Emblem: Rekka no Ken | Fire Emblem: The Blazing Blade |
2546 | เกมบอยแอ็ดวานซ์ | เกมภาคแรกที่วางจำหน่ายนอกญี่ปุ่น เนื้อเรื่องก่อนภาค Fūin no Tsurugi |
Fire Emblem: Seima no Kōseki |
Fire Emblem: The Sacred Stones |
2547 | เกมบอยแอ็ดวานซ์ | เป็นภาคเดียวที่เนื้อหาและบรรยากาศ ของเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับภาคไหนเลย |
Fire Emblem: Sōen no Kiseki | Fire Emblem: Path of Radiance | 2548 | นินเทนโดเกมคิวบ์ | เป็นภาคแรกที่ใช้ภาพเป็นสามมิติ มีภาพวิดีโอประกอบ รวมทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนสกิลได้เป็นภาคที่สองต่อจากภาค Thracia 776 |
Fire Emblem: Akatsuki no Megami |
Fire Emblem: Radiant Dawn |
2550 | วี | ภาคต่อจาก Path of Radiance เป็นภาคแรกตั้งแต่ Gaiden ที่มีการเปลี่ยนอาชีพหลายขั้น |
Fire Emblem: Shin Ankoku Ryū to Hikari no Ken |
Fire Emblem: Shadow Dragon |
2551 | นินเทนโดดีเอส | นำภาคแรกมาทำใหม่เป็นครั้งที่สอง เป็นภาคแรกที่มีระบบออนไลน์ |
Fire Emblem: Shin Monshō no Nazo ~Hikari to Kage no Eiyū~ |
Fire Emblem: New Mystery of the Emblem |
2553 | นินเทนโดดีเอส | เป็นการนำภาคที่ Monshō no Nazo กลับมาทำใหม่ และเพิ่มเนื้อหาจากภาค BS Fire Emblem เข้าไปด้วย |
Fire Emblem Kakusei | Fire Emblem Awakening | 2555 | นินเทนโดทรีดีเอส | เป็นภาคแรกที่มีระบบ DLC เพิ่มมาในเกม |
Fire Emblem if | Fire Emblem Fates | 2555 | นินเทนโดทรีดีเอส | เป็นภาคแรกที่แบ่งขายออกเป็นสามเกม ซึ่งผู้เล่นจะเล่นตามเนื้อเรื่องของแต่ละฝั่งตามเวอร์ชันเกมนั้น |
Genei Ibunroku ♯FE | Tokyo Mirage Sessions ♯FE | 2558 | วียู นินเท็นโด สวิตช์ |
เป็นภาคแยกที่มีฉากหลักเป็นโลกยุคปัจจุบัน โดยเป็นการจับคู่กับชุดเกม Shin Megami Tensei อีกด้วย |
Fire Emblem Heroes | Fire Emblem Heroes | 2560 | ไอโอเอส แอนดรอยด์ |
เป็นการนำตัวละครจากเกมภาคก่อนทั้งหมดมาไว้เข้าด้วยกัน |
Fire Emblem Echoes: Mō Hitori no Eiyū-ō |
Fire Emblem Echoes: Shadows of Valentia | 2560 | นินเทนโดทรีดีเอส | นำภาค Gaiden กลับมาทำใหม่ |
Fire Emblem Musou | Fire Emblem Warriors | 2560 | นินเทนโดทรีดีเอส นินเท็นโด สวิตช์ |
เป็นภาคแยกที่ใช้ระบบเกมแนวมุโซ ใช้ตัวละครจากภาคก่อน ๆ เป็นหลัก |
Fire Emblem Fūkasetsugetsu | Fire Emblem: Three Houses | 2562 | นินเท็นโด สวิตช์ | เป็นภาคหลักภาคแรกที่ทำในรูปแบบ HD |
Fire Emblem Musou: Fūkasetsugetsu |
Fire Emblem Warriors: Three Hopes |
2565 | นินเท็นโด สวิตช์ | ภาคแยกภาคที่สองที่ใช้ระบบเกมแนวมุโซ และเป็นภาคเสริมของภาค Fūkasetsugetsu |
Fire Emblem Engage | Fire Emblem Engage | 2566 | นินเท็นโด สวิตช์ | มีการนำตัวละครจากภาคก่อน ๆ มาเป็นจิตวิญญาณร่วมต่อสู้ด้วย |
นอกจากนี้ ไฟร์เอมเบลมนั้นเคยวางแผนสร้างเกมลงบนเครื่อง นินเทนโด 64 ด้วย แต่ว่าได้ถูกยกเลิกการสร้างไป[14]
ข้อขัดแย้ง(Controversy)
[แก้]ข้อขัดแย้งนี้มีขึ้นในปี 2544 เมื่อ Shouzou Kaga หนึ่งในผู้พัฒนาหลักของเกม ได้ออกจากนินเทนโด ไปตั้งบริษัทของตนเองที่ชื่อ Tirnanog หนึ่งในเกมแรกๆของบริษัทคือ Tear Ring Saga ที่ลงในเครื่องเพลย์สเตชัน เกมนี้มีระบบที่คล้ายคลึงกับเกมในชุดของไฟร์เอมเบลมอย่างมาก ในแง่ของภาพ และระบบการเล่น[15] ในช่วงแรกนั้นชื่อของเกมก็คล้ายคลึงกับเกมไฟร์เอมเบลม โดยใช้ชื่อในการพัฒนาว่า Emblem Saga นินเทนโดยื่นฟ้องบริษัท Tirnanog และ บริษัท Enterbrain ผู้จัดจำหน่าย ในข้อหาละเมิดลิขสิทธ์ของนินเทนโด เป็นเงินทั้งสิ้น 2ล้านดอลลาร์สหรัฐ[16] แต่นินเทนโดแพ้คดี[15] หลังจากนั้น Tirnanog ได้พัฒนาเกมภาคต่อออกมาในชื่อ Tear Ring Saga: Berwick Saga
เพลงประกอบ(Music)
[แก้]เพลงประกอบของเกมชุดไฟร์เอมเบลมนั้นประพันธ์โดย Yuka Tsujiyoko เป็นส่วนใหญ่[17] เพลงประกอบโดยส่วนใหญ่นั้นจะเป็นเพลงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีล้วน แต่ใน BS Fire Emblem: Akaneia Senki นั้นได้มีการแหวกแนวออกไปโดยมีเพลง "Wind" ซึ่งเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องภาษาญี่ปุ่น (เพลงนี้ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยน และใช้เป็นเพลงประกอบในภาค Fire Emblem: Thracia 776) แนวทางนี้ปรากฏในภาค Fire Emblem: Path of Radiance และ Fire Emblem: Radiant Dawn เช่นกัน โดยทั้งสองภาคมีเพลงประกอบที่มีเนื้อร้อง คือ "Life Returns" และ "Dawn Awakens" ตามลำดับ ทั้งสองเพลงนี้ร้องในภาษาของเผ่า heron laguz (เผ่าพันธุ์ครึ่งมนุษย์ครึ่งสัตว์) เพลงประกอบหลักประกอบคำร้องของเกมไฟร์เอมเบลมนั้น เคยใช้ในการโฆษณาก่อนหน้านั้น ได้ใช้ในเกม Super Smash Bros. Brawl เนื่องจากเกมนี้มีการจัดจำหน่ายไปทั่วโลก เพลงในฉบับนี้จึงร้องเป็นภาษาละติน[18]
นอกจากนี้ยังมีเพลงที่นำกลับมาใช้ซ้ำในเกมชุดไฟร์เอมเบลม เพลงที่ใช้บ่อยที่สุด คือ เพลงหลักของเกมไฟร์เอมเบลม ที่ปรากฏในส่วนใดส่วนหนึ่งของเกม โดยเปลี่ยนไปตามแต่ละภาค ในบางภาคจะใช้ประกอบในหน้าที่แสดงชื่อของเกม ในขณะที่ภาค Path of Radiance จะนำเพลงนี้ไปใส่ในช่วงใกล้จบเกม ในส่วนที่แสดงผลงานของตัวละคร ตั้งแต่ในภาค Fire Emblem: Seisen no Keifu เพลงประกอบในช่วงการต่อสู้ของเกมในภาคก่อนๆได้นำมาเรียบเรียงใหม่ เพื่อใช้ประกอบในฉากสนามประลอง การใช้ซ้ำในลักษณะที่คล้ายคลึงกันนี้ เกิดขึ้นในลักษณะอื่นๆด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เพลงในฉากแสดงโชว์ของภาค Path of Radiance เป็นเพลงที่ใช้ในฉากที่ 10 ของภาค Seisen no Keifu เพลงประกอบของเกมในชุดมีการจัดจำหน่ายในรูปแบบเพลงประกอบในญี่ปุ่น[19]
อิทธิพลต่อสื่ออื่นๆ
[แก้]อนิเมะ(Anime)
[แก้]Fire Emblem: Mystery of the Emblem (ญี่ปุ่น: ファイアーエムブレム 紋章の謎; โรมาจิ: Faiā Emburemu Monshō no Nazo) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นสองตอน กำกับโดย Shin Misawa สร้างโดย KSS และ Studio Fantasia[20] การ์ตูนเรื่องนี้ออกฉายในปี พ.ศ. 2539 ที่นำเนื้อเรื่องมาจาก Fire Emblem: Monshō no Nazo เกมภาคสามในชุด ซึ่งเป็นเกมที่นำเกมภาคแรก Fire Emblem: Ankoku Ryū to Hikari no Ken กลับมาสร้างใหม่ การ์ตูน ไฟร์เอมเบลม ในภาคภาษาอังกฤษนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของ ADV Films[20]
มังงะ(Manga)
[แก้]มีมังงะหลายตอนที่นำเนื้อเรื่องมาจากหลายๆภาคของเกมในชุด หนึ่งในนั้นรวมถึงมังงะที่นำเนื้อหาจาก Ankoku Ryū to Hikari no Ken โดย Maki Hakoda มังงะอีกสามเรื่องที่นำเนื้อเรื่องจาก Seisen no Keifu โดย Fujimori Nattsu, Mitsuki Ōsawa, และ Nea Fuyuki [21]มังงะเรื่องล่าสุดคือ Fire Emblem: Hasha no Tsurugi (ญี่ปุ่น: ファイアーエムブレム 覇者の剣; โรมาจิ: Faiyā Emburemu Hasha no Tsurugi; แปล ไฟร์เอมเบลม: ดาบแห่งผู้กล้า) ซึ่งเป็นการนำเนื้อเรื่องของภาค Fūin no Tsurugi มาเรียบเรียงใหม่ โดยมีตัวละครนำหลักที่ต่างออกไป คือ Al, Gant และ Tiena [22]ทั้งสามตัวละครนั้นอ้างอิงถึงในเกมภาค Fūin no Tsurugi ในรูปของอาวุธสุดยอดสามชิ้น คือ Al's Sword, Gant's Lance และ Tiena's Staff
เกมไพ่(Card game)
[แก้]เกมไพ่ของไฟร์เอมเบลมนั้นจัดจำหน่ายโดย NTT Publishing Co., Ltd ในเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2544 ประกอบด้วยไพ่ทั้งสิ้นหกชุด ก่อนจะมีการยุติการผลิตในปีพ.ศ. 2549 ในสามชุดแรกนั้นนำตัวละครจากเกมภาค Seisen no Keifu ในชุดที่สี่นั้นนำตัวละครมาจากภาค Thracia 776 และมีภาคเสริมที่รวมเอาตัวละครของทั้งสองภาค แต่ภาพประกอบนั้นเป็นผลงานของศิลปินคนละคน ไพ่ในสองชุดสุดท้ายนั้นนำตัวละครจาก Monshō no Nazo รูปแบบการเล่นในเกมไพ่ชุดนี้นั้นคล้ายคลึงกับระบบในเกมไฟร์เอมเบลม เพียงแต่ผู้เล่นต่อสู้ด้วยไพ่หลายชนิดเช่น ตัวละคร(characters) ภูมิประเทศ(terrains) อาวุธ(weapons) และ เหตุการณ์สุ่ม(surprise cards) นอกจากนี้ NTT Publishing ยังเป็นผู้ผลิตเพลงประกอบ(soundtracks)ของไฟร์เอมเบลม และ หนังสือ [23]
การปรากฏตัวในเกมอื่น
[แก้]ตั้งแต่เริ่มมีชุดนี้ครั้งแรกในปีพ.ศ. 2533 เกมในชุดไฟร์เอมเบลม ยังจำกัดวงอยู่เพียงในญี่ปุ่น จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2544 ที่ทางนินเทนโดได้ปล่อยเกม Super Smash Bros. Melee เกมแนวต่อสู้ที่รวบรวมตัวละครจากเกมทั้งหมดของบริษัท เกมในฉบับดั้งเดิมที่วางจำหน่ายในญี่ปุ่นมีตัวละครสองตัวจากเกมชุด ไฟร์เอมเบลม คือ Marth ตัวเอกจากภาคแรก Fire Emblem: Ankoku no Ryū to Hikari no Ken และภาคสาม Fire Emblem: Monshō no Nazo กับ Roy [24] ซึ่งเป็นตัวเอกจากเกมภาคหก Fire Emblem: Fūin no Tsurugi ซึ่งยังไม่ได้วางจำหน่าย ตามที่แจ้งในหน้าเวปทางการของนินเทนโดภาษาญี่ปุ่น มีการนำ Marth ใส่ลงในเกม Super Smash Bros. Melee ตามคำขอของบรรดาผู้เล่นเกมญี่ปุ่น ซึ่งในเกมถ้าสามารถปลดล็อกตัวละคร Marth ได้ ผู้เล่นสามารถเลือกเพลงในฉากวัดเป็นเพลงฉบับเรียบเรียงใหม่ของ "เพลงประกอบหลักของไฟร์เอมเบลม" และ "เพลงในขณะต่อสู้" ของเกมภาค Ankoku Ryū to Hikari no Ken [25]
ด้วยการออกแบบของ Marth และการที่ตัวละครเล่นได้ ทำให้ตัวละครนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก ในขณะที่เกมอยู่ในระหว่างการทดสอบในอเมริกาเหนือ และ เป็นการตัดสินใจของนินเทนโดอเมริกา ที่จะใส่ตัวละครนี้ลงในฉบับอเมริกาเหนือ ส่วน Roy นั้นใส่ในฉบับญี่ปุ่นเพื่อประชาสัมพันธ์เกมภาค Fūin no Tsurugi และเช่นกันก็มีการใส่ในฉบับอเมริกาเหนือด้วย ซึ่งจากความนิยมในตัวละครทั้ง Marth และ Roy ที่อยู่ในเกม Super Smash Bros. Melee ทำให้นินเทนโดตัดสินใจจะแปล และ ทำตลาดเกมในชุดไฟร์เอมเบลม สำหรับอเมริกาเหนือ และ ยุโรป [6]
ใน Super Smash Bros. Brawl ตัวละคร Marth กลับมาเป็นตัวละครที่เล่นได้อีกครั้ง [26]พร้อมทั้งมีตัวละคร Ike จากภาค Path of Radiance และ Radiant Dawn [27]ตัวละคร Lyn หนึ่งในตัวละครหลักของภาค Fire Emblem ปรากฏตัวเช่นกันในรูปแบบของถ้วยรางวัลช่วยเหลือพิเศษสำหรับเรียก ในขณะที่ตัวละครสำคัญอื่นๆก็มีปรากฏทั้งในรูปของถ้วยรางวัล หรือ สติ๊กเกอร์ หรือ ทั้งสองแบบ [28]ในฉากหนึ่งในเกม ฉากโจมตีปราสาท(Castle Siege) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเกมในชุดไฟร์เอมเบลม เพลงประกอบหลักของไฟร์เอมเบลมมีการปรับเปลี่ยนให้คล้ายคลึงกับเพลงประกอบหลักของ Super Smash Bros. Brawl รวมถึงในส่วนของวงออเคสตร้า และ เนื้อร้องภาษาละติน [29]ถึงแม้ว่าเพลงของไฟร์เอมเบลมจาก Super Smash Bros. Melee จะมีการนำมาใช้ในส่วนต่างๆของเพลง ตัวเกมฉบับทดลองของภาค Fire Emblem: Monshou no Nazo นั้นใส่ลงเฉพาะในเกม Super Smash Bros. Brawl ฉบับญี่ปุ่นเท่านั้น [30]
ใน Paper Mario: The Thousand-Year Door เกมอีกเกมของ Intelligent Systems ตัวละครตัวหนึ่งในเกมคอยบอกเกี่ยวกับเกมที่ชอบ เกมแรกที่ตัวละครตัวนี้พูดถึงคือ Fire Emblem [31]เช่นเดียวกับในเกม Daigasso! Band-Brothers ของเครื่องนินเทนโดดีเอสก็มีการนำเพลงของไฟร์เอมเบลมไปใช้ด้วย
ดูเพิ่ม
[แก้]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Derek Miller (January 2004). "'A History of Fire Emblem: Dark Dragon and Sword of Light'". A History of Fire Emblem. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2007-07-14.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Bethany Massimilla (2003-11-11). "'Fire Emblem for Game Boy Advance Review'". Gamespot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-09.
- ↑ 3.0 3.1 "'Fire Emblem Database list'". Nintendo Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-09. สืบค้นเมื่อ 2007-07-09.
- ↑ "'Fire Emblem DS (Temporary title)'". Serenes Forest. 2007-10-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-31. สืบค้นเมื่อ 2007-10-10.
- ↑ "'IGN: Fire Emblem'". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-09.
- ↑ 6.0 6.1 "'Fire Emblem Database'". Nintendo Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-25. สืบค้นเมื่อ 2007-07-07.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Tom Bramwell (2004-07-07). "'Fire Emblem for Game Boy Advance Review — Eurogamer'". Eurogamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
- ↑ Craig Harris (2003-11-05). "'Fire Emblem for Game Boy Advance Review — IGN'". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-06. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
- ↑ "'Fire Emblem: Seisen no Keifu'". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-03. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
- ↑ "'Fire Emblem — Weapons'". RPG Classics. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10.
- ↑ "'Fire Emblem — Support Conversation'". The Great games Experiment. สืบค้นเมื่อ 2007-07-13.
- ↑ "Scott" at The Game Chair. "'Fire Emblem: Path of Radiance — Chapter 19'". The Game Chair. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-07-13.
- ↑ "'Fire Emblem: Radiant Dawn on Great Games Experiment'". The Great Games Experiment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2007-12-31.
- ↑ "Miyamoto Reveals Secrets: Fire Emblem and Mario Paint 64". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-21. สืบค้นเมื่อ 2007-05-28.
- ↑ 15.0 15.1 "Hardcore gaming 101: Fire Emblem". Hardcore Gaming 101. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
- ↑ "Nintendo sues over Emblem copyright". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14.
- ↑ "'Artist: Yuki Tsujiyoko'". MusicBrainz. สืบค้นเมื่อ 2007-07-14.
- ↑ "'Smash Bros. DOJO!!'". The Official Super Smash Bros. Brawl Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2007-11-05.
- ↑ "'Fire Emblem: The Sealed Sword Original Soundtrack'". Chuda's Corner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.
- ↑ 20.0 20.1 "Fire Emblem (OAV)". Encyclopedia. Anime News Network. สืบค้นเมื่อ 2008-05-09.
- ↑ "'Fire Emblem manga'". Serenes Forest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-15. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ "'Fire Emblem: Hasha no Tsurugi'". Shueisha. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-12. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ "'The Fire Emblem : TCG'". Serenes Forest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-01. สืบค้นเมื่อ 2007-07-17.
- ↑ "'Roy'". Smash World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-11. สืบค้นเมื่อ 2007-07-14.
- ↑ "'Hardcore Gaming 101: Fire Emblem'". Hardcore Gaming 101. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-14. สืบค้นเมื่อ 2007-12-16.
- ↑ Kyle Orland (2008-01-29). "Super spoiler Bros. Brawl". Joystiq. สืบค้นเมื่อ 2008-01-29.
- ↑ "Ike". Smash Bros. Dojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-20. สืบค้นเมื่อ 2007-08-01.
- ↑ "Lyn". Smash Bros. Dojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-02. สืบค้นเมื่อ 2007-09-11.
- ↑ "Castle Siege". Smash Bros. Dojo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-09-11.
- ↑ "Masterpieces". Smash Bros. Dojo. 2008-01-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-23. สืบค้นเมื่อ 2008-01-25.
- ↑ "'Paper Mario: The Thousand-Year Door Walkthrough '". RPG Classics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-06. สืบค้นเมื่อ 2007-07-14.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เวปอย่างเป็นทางการ(ญี่ปุ่น)
- Classic Gaming 101 — Fire Emblem เก็บถาวร 2009-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Serenes Forest