ทีเกอร์ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไทเกอร์ II)
ยานรบหุ้มเกราะที่ 6 แบบ B
Panzerkampfwagen VI Ausf. B
ชนิดรถถังหนัก
แหล่งกำเนิด ไรช์เยอรมัน
บทบาท
ประจำการค.ศ. 1944–1945
สงครามสงครามโลกครั้งที่สอง
ประวัติการผลิต
บริษัทผู้ผลิตHenschel & Son
Krupp (เฉพาะป้อมปืน)
มูลค่า800,000 ไรชส์มาร์ค[1]
ช่วงการผลิตค.ศ. 1943–1945
จำนวนที่ผลิต492 คัน[2]
ข้อมูลจำเพาะ
มวล69.8 ตัน[3]
ความยาว7.38 เมตร (ตัวถัง)
10.286 เมตร (รวมปืนใหญ่)[3]
ความกว้าง3.755 เมตร[3]
ความสูง3.09 เมตร[3]
ลูกเรือ5 นาย 5 นาย (ผู้บังคับ, พลปืน, พลบรรจุ, พลขับ, พลวิทยุ)

เกราะ25–185 mm (1–7 in)[3]
อาวุธหลัก
ปืนใหญ่ 8.8 ซม.[4]
อาวุธรอง
ปืนกล 7.92 มม. สองกระบอก
ที่ 5,850 รอบ[3]
เครื่องยนต์ไมบัค HL 230 P30 เบนซิน V-12
700 PS (690 hp, 515 kW)[5]
กำลัง/น้ำหนัก8.97 แรงม้า/ตัน
เครื่องถ่ายกำลังMaybach OLVAR EG 40 12 16 B (8 เกียร์เดินหน้า, 4 เกียร์ถอย)[5]
กันสะเทือนเหล็กบิด (Torsion bar)
ความจุเชื้อเพลิง860 ลิตร[3]
พิสัยปฏิบัติการ
170 กิโลเมตร (วิ่งถนน)[6]
120 กิโลเมตร (ข้ามภูมิประเทศ)[6]
ความเร็ว41.5 กม/ชั่วโมง[6]
15-20 กม/ชั่วโมง (ข้ามภูมิประเทศ)[6]

ทีเกอร์ 2 เป็นรถถังหนักของกองทัพเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่ออย่างเป็นทางการคือ พันท์เซอร์คัมพฟ์วาเกิน ทีเกอร์ เอาสฟ์ เบ (Panzerkampfwagen Tiger Ausf. B)[notes 1] มักจะเรียกคำย่อว่า ทีเกอร์ เบ[7] ชื่อที่ถูกตั้งขึ้นในคลังอาวุธยุโธปกรณ์คือ Sd.Kfz. 182[8] (Sd.Kfz. 267 และ 268 สำหรับยานพาหนะกองบัญชาการ) เป็นที่รู้จักกันภายใต้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า เคอนิจส์ทีเกอร์[9] (หมายความว่าพญาเสือ) ทหารสัมพันธมิตรเรียกว่า คิงไทเกอร์[10][11]

ทีเกอร์ 2 ได้เข้ามาแทนที่ต่อจาก ทีเกอร์ 1 เป็นการผสมผสานระหว่างเกราะหนาของรถถังรุ่นก่อนเข้ากับเกราะลาดเอียดที่ใช้กับรถถังขนาดกลาง พันเธอร์ รถถังคันนี้มีน้ำหนักเกือบ 70 ตัน และป้องกันด้วยความหนา 100 ถึง 185 มม. (3.9 ถึง 7.3 นิ้ว) ของเกราะด้านหน้า[12] มันถูกติดตั้งด้วยปืนใหญ่ต่อต้านรถถังลำกล้องยาว ขนาด 8.8 ซม. เคเวเค 43 เอ๊ล/71[notes 2] ฐานลำตัวรถถังยังเป็นพื้นฐานสำหรับยาคท์ทีเกอร์ ยานพาหนะต่อต้านรถถังที่ถูกสร้างขึ้นจากยาคท์พันท์เซอร์ที่ไร้ป้อมปืน[13]

ทีเกอร์ 2 ได้ถูกส่งไปยังกองพันยานเกราะหนักของกองทัพบกและวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส มันถูกใช้งานเป็นครั้งแรกในการสู้รบโดยกองพันยานเกราะหนักที่ 503 ในช่วงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองนอร์ม็องดี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1944[14] บนแนวรบด้านตะวันออก หน่วยแรกที่ถูกติดตั้งด้วยรถถังทีเกอร์ 2 คือ กองพันยานเกราะหนักที่ 501 ซึ่งเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1944 ได้ระบุว่า ทีเกอร์ 2 มีจำนวน 25 คันอยู่ในปฏิบัติการ[15]

ประวัติ[แก้]

ทีเกอร์ 2 เป็นรุ่นต่อจากทีเกอร์ 1 เนื่องจากการคาดการณ์ของคณะเสนาธิการเยอรมันว่า โซเวียตกำลังผลิตรถถังที่ทรงอานุภาพมากยิ่งขึ้น รถถังรุ่นนี้ก็ถูกผลิตโดยสองบริษัทเฮนเซิลและพอร์เชอ แต่สองบริษัทนั้นได้ออกแบบรถถังที่มีความแตกต่างกันโดยเฉพาะป้อมปืน ป้อมปืนของพอร์เชอมีข้อด้อยกว่าของเฮนเซิลเพราะส่วนโค้งด้านหน้าป้อมของปอร์เช่นั้นมีความหนา 110 มิลลิเมตร บางกว่าป้อมของเฮนเซิลถึง 70 มิลลิเมตร และป้อมผบ.รถของพอร์เชอที่ยื่นออกมานั้นมีเกราะที่บางมากซึ่งอันตรายมากหากถูกยิง กองทัพเยอรมันเลิกใช้ป้อมปืนของปอร์เช่และหันมาใช้ป้อนปืนของเฮนเซิลแทน (ในตอนแรกป้อมปืนของพอร์เชอถูกผลิตออกมาเพียง 50 ป้อมเท่านั้น) นอกจากเกราะที่หนาแล้ว ทีเกอร์ 2 ยังติดปืน 105 มม. L68 ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าปืนต่อสู้รถถังทุกชนิดในยุคนั้น แต่จุดอ่อนก็คือ เครื่องยนต์ที่คิงทีเกอร์ใช้เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกันกับทีเกอร์ 1 เครื่องรุ่นเดียวกัน แต่รับน้ำหนักมากกว่า จึงมีปัญหากินน้ำมันอย่างมากและปัญหาขัดข้องด้วย อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์รุ่นนี้ก็ถือว่าทรงอานุภาพที่สุด

แฟร์ดีนันท์ พอร์เชอ ตั้งชื่อเล่นพร้อมกับทีเกอร์ 1 หลังจากทีเกอร์ 2 ถูกผลิตขึ้น โดยแท้จริงแล้ว ยานเกราะชนิดนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการ คือ Panzerkampfwagen VI Ausführung B Tiger 2 แต่อย่างไรก็ตามเหล่าทหารเยอรมันได้ตั้งชื่อเล่นอีกชื่อว่า เคอนิจส์ทีเกอร์ (พญาเสือ)

ข้อมูลการรบเท่าที่มีการบันทึกไว้ คือข้อมูลของทหารสหรัฐในยุทธการที่ป่าอาร์แดน ประเทศเบลเยียม หรือที่เรียกว่า ยุทธการตอกลิ่ม โดยเคอนิจส์ทีเกอร์ได้สร้างความตกตะลึงให้แก่ฝ่ายพันธมิตรอย่างมาก เพราะพวกเขาพบว่า ปืนใหญ่แทบทุกชนิดของฝ่ายพันธมิตร ไม่สามารถสร้างความเสียหายใด ๆ ให้เคอนิจส์ทีเกอร์ได้เลย อีกทั้งยังสามารถทำลายรถถังกลางเชอร์แมนไปถึง 47 คัน แต่อย่างไรก็ตามยานเกราะเคอนิจส์ทีเกอร์เป็นรถถังที่รับน้ำหนักมากทำให้เกิดปัญหากินน้ำมันจนทำให้น้ำมันในตัวหมดซึ่งทางกองทัพเยอรมันไม่มีน้ำมันมากพอที่จะเติมมันได้ ทำให้พลขับรถถังต้องสละทิ้งรถถังไปทำให้การรุกของกองทัพเยอรมันต้องหยุดชะงักลงและพ่ายแพ้ในที่สุด

แต่ข้อมูลการรบของฝ่ายเยอรมันนั้นแทบไม่มีเลย เพราะมีข้อมูลที่เปิดเผยในช่วงหลังสงครามว่า ในช่วงปลายสงครามและเยอรมนีใกล้แพ้ ศูนย์ยุทธการทหารบกเยอรมันที่เมืองพ็อทซ์ดัมได้เผาทำลายเอกสารข้อมูลและรูปถ่ายที่ได้มาระหว่างสงครามไปเกือบหมด รวมทั้งข้อมูลของเคอนิจส์ทีเกอร์ด้วย ซึ่งถ้าพิจารณาทฤษฏีนี้ ก็มีความเป็นไปได้สูงว่า ข้อมูลของเคอนิจส์ทีเกอร์นั้นได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว

หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงและนาซีเยอรมันพ่ายแพ้ให้กับสัมพันธมิตร รถถังรุ่นนี้ได้ถูกยกเลิกผลิตและปลดประจำการในกองทัพเยอรมัน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ทีเกอร์ II ไม่กี่คันเท่านั้นที่ยังคงเหลืออยู่ให้โดยถูกนำมาแสดงในพิพิธภัณฑ์และงานแสดงทั่วโลก ตัวอย่างของยานเกราะที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด คือ ยานเกราะที่ Musée de Blindés ในซามัวร์ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นยานเกราะเพียงคันเดียวที่ยังคงสามารถใช้งานได้

ทีเกอร์ 2 คาดว่าผลิตมา เพียง 492 คัน และได้มีโอกาสได้ร่วมสงครามแค่ 1 ปีเท่านั้นก่อนที่เยอรมันจะได้แพ้สงครามไป

หมายเหตุ[แก้]

  1. Panzerkampfwagen – abbr: Pz. or Pz.Kfw. (English: "armoured fighting vehicle") Ausführung – abbr: Ausf. (English: variant). The full titles Panzerkampfwagen Tiger Ausf. B and Panzerbefehlswagen Tiger Ausf. B (for the command version) were used in training and maintenance manuals and in organisation and equipment tables. (Jentz and Doyle 1997) Also sometimes referred to as "Pz. VI Ausf B", not to be confused with "Pz. VI Ausf E”, which was the Tiger I.
  2. Kampfwagenkanone – abbr: KwK (English: "fighting vehicle cannon")

อ้างอิง[แก้]

  1. "Panzer VI Ausf.B Königstiger (1944)". www.tanks-encyclopedia.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-11-12.
  2. Jentz 1996, p. 288.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Jentz and Doyle 1997, pp. 162–165.
  4. Jentz, Thomas; Doyle, Hilary (1993). Kingtiger Heavy Tank 1942–45. Osprey Publishing. p. 23. ISBN 185532282X.
  5. 5.0 5.1 Jentz and Doyle 1993, p. 28 (figure D)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Jentz and Doyle 1993, p. 33.
  7. Jentz and Doyle 1993, p. 16.
  8. Jentz and Doyle 1993, p. 16.
  9. Jentz and Doyle 1993, p. 16.
  10. Buckley 2004, p. 119.
  11. Tank Spotter's Guide, Bovington 2011 p. 63
  12. Jentz and Doyle 1993, pp. 12, 15.
  13. Schneider 1990, p. 18.
  14. Jentz and Doyle 1993, p. 37.
  15. Jentz and Doyle 1993, p. 40.
  • George Forty & Jack Livesey,the World Encyclopedia of Tanks,Anness,2006