ทีเกอร์ 2
ยานรบหุ้มเกราะที่ 6 แบบ B Panzerkampfwagen VI Ausf. B | |
---|---|
![]() | |
ชนิด | รถถังหนัก |
สัญชาติ | ![]() |
บทบาท | |
ประจำการ | 1944–45 |
สงคราม | สงครามโลกครั้งที่สอง |
ประวัติการผลิต | |
บริษัทผู้ผลิต | Henschel & Son Krupp (เฉพาะป้อมปืน) |
มูลค่า | 800,000 ไรชส์มาร์ค[2] |
ช่วงการผลิต | 1943–45 |
จำนวนที่ผลิต | 492 คัน[1] |
ข้อมูลจำเพาะ | |
น้ำหนัก | 69.8 ตัน[3] |
ความยาว | 7.38 เมตร (ตัวถัง) 10.286 เมตร (รวมปืนใหญ่)[3] |
ความกว้าง | 3.755 เมตร[3] |
ความสูง | 3.09 เมตร[3] |
ลูกเรือ | 5 นาย 5 นาย (ผู้บังคับ, พลปืน, พลบรรจุ, พลขับ, พลวิทยุ) |
เกราะ | 25–185 mm (1–7 in)[3] |
อาวุธหลัก | ปืนใหญ่ 8.8 ซม.[5] |
อาวุธรอง | ปืนกล 7.92 มม. สองกระบอก ที่ 5,850 รอบ[3] |
เครื่องยนต์ | ไมบัค HL 230 P30 เบนซิน V-12 700 PS (690 hp, 515 kW)[4] |
กำลัง/น้ำหนัก | 8.97 แรงม้า/ตัน |
เครื่องถ่ายกำลัง | Maybach OLVAR EG 40 12 16 B (8 เกียร์เดินหน้า, 4 เกียร์ถอย)[4] |
กันสะเทือน | เหล็กบิด (Torsion bar) |
ความจุเชื้อเพลิง | 860 ลิตร[3] |
พิสัยปฏิบัติการ | 170 กิโลเมตร (วิ่งถนน)[6] 120 กิโลเมตร (ข้ามภูมิประเทศ)[6] |
ความเร็ว | 41.5 กม/ชั่วโมง[6] 15-20 กม/ชั่วโมง (ข้ามภูมิประเทศ)[6] |
ทีเกอร์ 2 เป็นรถถังหนักสัญชาติเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง ชื่อที่ถูกตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการคือ พันท์เซอร์คัมพฟ์วาเกิน ทีเกอร์ เอาสฟ์ เบ[notes 1] มักจะเรียกคำย่อว่า ทีเกอร์ เบ[7] ชื่อที่ถูกตั้งขึ้นในคลังอาวุธยุโธปกรณ์คือ เอ็สเด.เคเอฟเซท. 182[8] (เอ็สเด.เคเอฟเซท. 267 และ 268 สำหรับยานพาหนะกองบัญชาการ) เป็นที่รู้จักกันภายใต้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า เคอนิจส์ทีเกอร์[9] (หมายความว่าพญาเสือ) ทหารสัมพันธมิตรเรียกว่า คิงไทเกอร์[10][11]
ทีเกอร์ 2 ได้เข้ามาแทนที่ต่อจาก ทีเกอร์ 1 เป็นการผสมผสานระหว่างเกราะหนาของรถถังรุ่นก่อนเข้ากับเกราะลาดเอียดที่ใช้กับรถถังขนาดกลาง พันเธอร์ รถถังคันนี้มีน้ำหนักเกือบ 70 ตัน และป้องกันด้วยความหนา 100 ถึง 185 มม. (3.9 ถึง 7.3 นิ้ว) ของเกราะด้านหน้า[12] มันถูกติดตั้งด้วยปืนใหญ่ต่อต้านรถถังลำกล้องยาว ขนาด 8.8 ซม. เคเวเค 43 เอ๊ล/71[notes 2] ฐานลำตัวรถถังยังเป็นพื้นฐานสำหรับยาคท์ทีเกอร์ ยานพาหนะต่อต้านรถถังที่ถูกสร้างขึ้นจากยาคท์พันท์เซอร์ที่ไร้ป้อมปืน[13]
ทีเกอร์ 2 ได้ถูกส่งไปยังกองพันยานเกราะหนักของกองทัพบกและวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส มันถูกใช้งานเป็นครั้งแรกในการสู้รบโดยกองพันยานเกราะหนักที่ 503 ในช่วงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองนอร์ม็องดี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1944[14] บนแนวรบด้านตะวันออก หน่วยแรกที่ถูกติดตั้งด้วยรถถังทีเกอร์ 2 คือ กองพันยานเกราะหนักที่ 501 ซึ่งเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1944 ได้ระบุว่า ทีเกอร์ 2 มีจำนวน 25 คันอยู่ในปฏิบัติการ[15]
ประวัติ[แก้]
ทีเกอร์ 2 เป็นรุ่นต่อจากทีเกอร์ 1 เนื่องจากการคาดการณ์ของคณะเสนาธิการเยอรมันว่า โซเวียตกำลังผลิตรถถังที่ทรงอานุภาพมากยิ่งขึ้น รถถังรุ่นนี้ก็ถูกผลิตโดยสองบริษัทเฮนเซิลและพอร์เชอ แต่สองบริษัทนั้นได้ออกแบบรถถังที่มีความแตกต่างกันโดยเฉพาะป้อมปืน ป้อมปืนของพอร์เชอมีข้อด้อยกว่าของเฮนเซิลเพราะส่วนโค้งด้านหน้าป้อมของปอร์เช่นั้นมีความหนา 110 มิลลิเมตร บางกว่าป้อมของเฮนเซิลถึง 70 มิลลิเมตร และป้อมผบ.รถของพอร์เชอที่ยื่นออกมานั้นมีเกราะที่บางมากซึ่งอันตรายมากหากถูกยิง กองทัพเยอรมันเลิกใช้ป้อมปืนของปอร์เช่และหันมาใช้ป้อนปืนของเฮนเซิลแทน (ในตอนแรกป้อมปืนของพอร์เชอถูกผลิตออกมาเพียง 50 ป้อมเท่านั้น) นอกจากเกราะที่หนาแล้ว ทีเกอร์ 2 ยังติดปืน 105 มม. L68 ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าปืนต่อสู้รถถังทุกชนิดในยุคนั้น แต่จุดอ่อนก็คือ เครื่องยนต์ที่คิงทีเกอร์ใช้เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกันกับทีเกอร์ 1 เครื่องรุ่นเดียวกัน แต่รับน้ำหนักมากกว่า จึงมีปัญหากินน้ำมันอย่างมากและปัญหาขัดข้องด้วย อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์รุ่นนี้ก็ถือว่าทรงอานุภาพที่สุด
แฟร์ดีนันท์ พอร์เชอ ตั้งชื่อเล่นพร้อมกับทีเกอร์ 1 หลังจากทีเกอร์ 2 ถูกผลิตขึ้น โดยแท้จริงแล้ว ยานเกราะชนิดนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการ คือ Panzerkampfwagen VI Ausführung B Tiger 2 แต่อย่างไรก็ตามเหล่าทหารเยอรมันได้ตั้งชื่อเล่นอีกชื่อว่า เคอนิจส์ทีเกอร์ (พญาเสือ)
ข้อมูลการรบเท่าที่มีการบันทึกไว้ คือข้อมูลของทหารสหรัฐในยุทธการที่ป่าอาร์แดน ประเทศเบลเยียม หรือที่เรียกว่า ยุทธการตอกลิ่ม โดยเคอนิจส์ทีเกอร์ได้สร้างความตกตะลึงให้แก่ฝ่ายพันธมิตรอย่างมาก เพราะพวกเขาพบว่า ปืนใหญ่แทบทุกชนิดของฝ่ายพันธมิตร ไม่สามารถสร้างความเสียหายใด ๆ ให้เคอนิจส์ทีเกอร์ได้เลย อีกทั้งยังสามารถทำลายรถถังกลางเชอร์แมนไปถึง 47 คัน แต่อย่างไรก็ตามยานเกราะเคอนิจส์ทีเกอร์เป็นรถถังที่รับน้ำหนักมากทำให้เกิดปัญหากินน้ำมันจนทำให้น้ำมันในตัวหมดซึ่งทางกองทัพเยอรมันไม่มีน้ำมันมากพอที่จะเติมมันได้ ทำให้พลขับรถถังต้องสละทิ้งรถถังไปทำให้การรุกของกองทัพเยอรมันต้องหยุดชะงักลงและพ่ายแพ้ในที่สุด
แต่ข้อมูลการรบของฝ่ายเยอรมันนั้นแทบไม่มีเลย เพราะมีข้อมูลที่เปิดเผยในช่วงหลังสงครามว่า ในช่วงปลายสงครามและเยอรมนีใกล้แพ้ ศูนย์ยุทธการทหารบกเยอรมันที่เมืองพ็อทซ์ดัมได้เผาทำลายเอกสารข้อมูลและรูปถ่ายที่ได้มาระหว่างสงครามไปเกือบหมด รวมทั้งข้อมูลของเคอนิจส์ทีเกอร์ด้วย ซึ่งถ้าพิจารณาทฤษฏีนี้ ก็มีความเป็นไปได้สูงว่า ข้อมูลของเคอนิจส์ทีเกอร์นั้นได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว
หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงและนาซีเยอรมันพ่ายแพ้ให้กับสัมพันธมิตร รถถังรุ่นนี้ได้ถูกยกเลิกผลิตและปลดประจำการในกองทัพเยอรมัน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ทีเกอร์ II ไม่กี่คันเท่านั้นที่ยังคงเหลืออยู่ให้โดยถูกนำมาแสดงในพิพิธภัณฑ์และงานแสดงทั่วโลก ตัวอย่างของยานเกราะที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด คือ ยานเกราะที่ Musée de Blindés ในซามัวร์ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นยานเกราะเพียงคันเดียวที่ยังคงสามารถใช้งานได้
ทีเกอร์ 2 คาดว่าผลิตมา เพียง 492 คัน และได้มีโอกาสได้ร่วมสงครามแค่ 1 ปีเท่านั้นก่อนที่เยอรมันจะได้แพ้สงครามไป
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Jentz 1996, p. 288.
- ↑ "Panzer VI Ausf.B Königstiger (1944)". www.tanks-encyclopedia.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-12.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Jentz and Doyle 1997, pp. 162–165.
- ↑ 4.0 4.1 Jentz and Doyle 1993, p. 28 (figure D)
- ↑ Jentz, Thomas; Doyle, Hilary (1993). Kingtiger Heavy Tank 1942–45. Osprey Publishing. p. 23. ISBN 185532282X.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Jentz and Doyle 1993, p. 33.
- ↑ Jentz and Doyle 1993, p. 16.
- ↑ Jentz and Doyle 1993, p. 16.
- ↑ Jentz and Doyle 1993, p. 16.
- ↑ Buckley 2004, p. 119.
- ↑ Tank Spotter's Guide, Bovington 2011 p. 63
- ↑ Jentz and Doyle 1993, pp. 12, 15.
- ↑ Schneider 1990, p. 18.
- ↑ Jentz and Doyle 1993, p. 37.
- ↑ Jentz and Doyle 1993, p. 40.
- George Forty & Jack Livesey,the World Encyclopedia of Tanks,Anness,2006
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ทีเกอร์ 2 |
![]() |
บทความเกี่ยวกับทหาร การทหาร หรืออาวุธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การทหาร |
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "notes" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="notes"/>
ที่สอดคล้องกัน หรือไม่มีการปิด </ref>