ไตเสียหายเฉียบพลัน
ไตเสียหายเฉียบพลัน (Acute kidney injury) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Acute renal failure (ARF) |
ภาพไตที่ถูกตัดส่งตรวจทางพยาธิวิทยา แสดงให้เห็นบริเวณเปลือกไต (cortex) มีสีซีด แตกต่างจากบริเวณเนื้อไต (medulla) ซึ่งยังมีสีเข้ม ผู้ป่วยรายนี้เสียชีวิตจากภาวะไตเสียหายเฉียบพลัน | |
สาขาวิชา | Nephrology, Urology |
ภาวะไตเสียหายเฉียบพลัน (อังกฤษ: acute kidney injury, AKI) หรือเดิมใช้ชื่อว่าภาวะไตวายเฉียบพลัน (อังกฤษ: acute renal failure, ARF) คือภาวะซึ่งร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของไตอย่างเฉียบพลัน มีสาเหตุหลากหลายตั้งแต่ภาวะปริมาตรเลือดต่ำทุกแบบ การได้รับสารซึ่งเป็นอันตรายต่อไต การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ และสาเหตุอื่น ๆ การวินิจฉัยภาวะไตเสียหายเฉียบพลันอาศัยลักษณะเฉพาะของผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การมีระดับของยูเรียไนโตรเจนในเลือดและครีแอทินีนขึ้นสูง หรือการตรวจพบว่าไตผลิตปัสสาวะออกมาได้น้อยกว่าปกติ ภาวะไตเสียหายเฉียบพลันสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น ภาวะเลือดเป็นกรดเหตุเมตะบอลิก ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ยูเรียคั่งในเลือด เสียสมดุลของปริมาณสารน้ำในร่างกาย และส่งผลต่อระบบอวัยวะอื่น ๆ การให้การรักษาทำได้โดยให้การรักษาประคับประคอง เช่น การบำบัดทดแทนไต และการรักษาภาวะซึ่งเป็นสาเหตุ
อาการและอาการแสดง
[แก้]อาการของภาวะไตเสียหายเฉียบพลันเป็นผลมาจากความผิดปกติของการทำงานของไตที่เกิดจากโรคซึ่งเป็นสาเหตุ การมียูเรียและสารซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ คั่งในเลือด ทำให้เกิดอาการได้หลายอย่าง เช่น อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน[1] การมีโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้นมากอาจทำให้มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจเป็นมากจนเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้[2] สมดุลสารน้ำในร่างกายมักเสียไป แต่ไม่ค่อยพบเกิดเป็นความดันเลือดสูง[3]
อาการปวดชายโครงอาจพบได้ในบางภาวะ เช่น การมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดไต หรือไตอักเสบ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดโดยผ่านการยืดของเยื่อหุ้มไต[4] หากไตเสียหายเฉียบพลันนั้นมีสาเหตุมาจากภาวะขาดน้ำ อาจมีอาการและอาการแสดงของภาวะขาดน้ำให้ตรวจพบได้ เช่น อาการกระหายน้ำ และอาการแสดงอื่น ๆ เป็นต้น[4] การตรวจร่างกายอาจช่วยให้พบภาวะซึ่งอาจเป็นสาเหตุของไตเสียหายได้ เช่น ผื่นซึ่งอาจพบในเนื้อไตอักเสบบางชนิด หรือคลำได้กระเพาะปัสสาวะซึ่งอาจเป็นจากการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น[4]
นอกจากนี้การที่ไตไม่สามารถขับน้ำออกจากร่างกายได้ทำให้มีสารน้ำคั่งในร่างกาย คั่งในแขนขาทำให้แขนขาบวม คั่งในปอดทำให้น้ำท่วมปอด[1] หรืออาจคั่งในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ อาจเป็นมากจนเกิดภาวะหัวใจถูกบีบรัดได้[3]
สาเหตุ
[แก้]การจำแนกประเภท
[แก้]ภาวะไตเสียหายเฉียบพลัน ได้รับการวินิจฉัยจากประวัติทางคลินิกและข้อมูลจากห้องปฏิบัติการ การวินิจฉัยจะเกิดขึ้นเมื่อมีการลดลงอย่างรวดเร็วในการทำงานของไต โดยวัดจากระดับครีแอทินินในซีรัม หรือจากการลดลงอย่างรวดเร็วของปัสสาวะที่เรียกว่าภาวะปัสสาวะน้อย (oliguria) (ในเวลา 24 ชั่วโมง ปัสสาวะน้อยกว่า 400 มล.)
ชนิด | UOsm | UNa | FeNa | BUN/Cr |
---|---|---|---|---|
ก่อนถึงไต | >500 | <10 | <1% | >20[5] |
ภายในไต | <350 | >20 | >2% | <10-15[5] |
พ้นจากไต | <350 | >40 | >4% | >20[5] |
ไตเสียหายเฉียบพลัน อาจเกิดจากโรคทางระบบ (เช่น อาการของโรคแพ้ภูมิตัวเอง อย่างเช่น โรคไตอักเสบลูปัส) การบาดเจ็บจากการกดทับ, สารทึบรังสี, ยาปฏิชีวนะบางชนิด และอื่น ๆ ภาวะไตเสียหายเฉียบพลัน มักเกิดขึ้นเนื่องจากหลายกระบวนการ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดน้ำ และภาวะติดเชื้อร่วมกับยาที่เป็นพิษต่อไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการผ่าตัด หรือจากสารทึบรังสี
สาเหตุของไตเสียหายเฉียบพลันโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น ตำแหน่งก่อนถึงไต, ภายในไต และทางเดินปัสสาวะที่พ้นจากไต
ไตเสียหายเฉียบพลันเกิดขึ้นได้ถึง 30% ของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจ[6] มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 60–80% ในผู้ป่วยที่ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต ระดับครีแอทินินก่อนการผ่าตัดที่มากกว่า 1.2 มก./ดล., หัตถการที่ทำกับลิ้นหัวใจและทำทางเบี่ยงหลอดเลือด, การผ่าตัดฉุกเฉิน และการใช้บอลลูนในหลอดเลือดแดงก่อนการผ่าตัด เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์อย่างมากกับภาวะไตเสียหายเฉียบพลันหลังการใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม ปัจจัยเสี่ยงเล็กน้อยอื่น ๆ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ ผู้ป่วยเพศหญิง, ภาวะหัวใจล้มเหลว, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคเบาหวานที่ต้องใช้อินซูลิน และประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายที่ลดลง[6]
ประวัติ
[แก้]ก่อนความก้าวหน้าของการแพทย์แผนปัจจุบัน ภาวะไตเสียหายเฉียบพลันถูกเรียกว่าเป็นภาวะของเสียคั่งในกระแสเลือด หรือ ยูรีเมีย (uremia) ซึ่งมีการปนเปื้อนของเลือดโดยปัสสาวะ ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1847 คำว่ายูรีเมีย ถูกใช้เพื่อหมายถึงภาวะปริมาณปัสสาวะออกลดลง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า oliguria โดยมาจากการสันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ปัสสาวะผสมกับเลือดแทนที่จะถูกขับถ่ายออกทางท่อปัสสาวะ[7]
ภาวะไตเสียหายเฉียบพลันเนื่องจากการตายของท่อไตเฉียบพลัน ได้ถูกวินิจฉัยในสหราชอาณาจักรในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 จากผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์เดอะบลิตซ์ในลอนดอน ได้เกิดเนื้อร้ายของท่อไตเป็นบางส่วนขึ้น ซึ่งนำไปสู่การทำงานของไตที่ลดลงอย่างกะทันหัน[8] ในช่วงสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนามอุบัติการณ์ของภาวะไตเสียหายเฉียบพลันลดลง เนื่องจากการให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำและการจัดการภาวะเฉียบพลันที่ดีขึ้น[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Skorecki K, Green J, Brenner BM (2005). "Chronic renal failure". ใน Kasper DL, Braunwald E, Fauci AS, และคณะ (บ.ก.). Harrison's Principles of Internal Medicine (16th ed.). New York, NY: McGraw-Hill. pp. 1653–63. ISBN 0-071-39140-1.
- ↑ Weisberg LS (December 2008). "Management of severe hyperkalemia". Crit. Care Med. 36 (12): 3246–51. doi:10.1097/CCM.0b013e31818f222b. PMID 18936701.
- ↑ 3.0 3.1 Tierney, Lawrence M.; Stephen J. McPhee; Maxine A. Papadakis (2004). "22". CURRENT Medical Diagnosis and Treatment 2005 (44 ed.). McGraw-Hill. p. 871. ISBN 0071436928. สืบค้นเมื่อ 2011-08-05.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Brady HR, Brenner BM (2005). "Chronic renal failure". ใน Kasper DL, Braunwald E, Fauci AS, และคณะ (บ.ก.). Harrison's Principles of Internal Medicine (16th ed.). New York, NY: McGraw-Hill. pp. 1644–53. ISBN 0-071-39140-1.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Goldman, Lee; Schafer, Andrew I., บ.ก. (15 April 2015). Goldman-Cecil medicine (25th ed.). Philadelphia, PA: Elsevier/Saunders. p. 781. ISBN 978-1455750177. OCLC 899727756.
- ↑ 6.0 6.1 Thiele, R.; James M. Isbell; Mitchell H. Rosner (2015-03-06). "AKI Associated with Cardiac Surgery". Clinical Journal of the American Society of Nephrology. 10 (3): 500–514. doi:10.2215/CJN.07830814. PMID 25376763.
- ↑ "oliguria | Origin and meaning of oliguria by Online Etymology Dictionary". www.etymonline.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-29.
- ↑ Bywaters EG, Beall D (1941). "Crush injuries with impairment of renal function". Br Med J. 1 (4185): 427–32. doi:10.1136/bmj.1.4185.427. PMC 2161734. PMID 20783577.
- ↑ Schrier RW, Wang W, Poole B, Mitra A (2004). "Acute renal failure: definitions, diagnosis, pathogenesis, and therapy". J. Clin. Invest. 114 (1): 5–14. doi:10.1172/JCI22353. PMC 437979. PMID 15232604.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |