โอมะ
โอมะ 大間町 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ดวงอาทิตย์ขึ้นที่โอมะ | |||||||||||||
ที่ตั้งของโอมะ (เน้นสีเหลือง) ในจังหวัดอาโอโมริ | |||||||||||||
พิกัด: 41°31′36.3″N 140°54′26.4″E / 41.526750°N 140.907333°E | |||||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||
ภูมิภาค | โทโฮกุ | ||||||||||||
จังหวัด | อาโอโมริ | ||||||||||||
อำเภอ | ชิโมกิตะ | ||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 52.09 ตร.กม. (20.11 ตร.ไมล์) | ||||||||||||
ประชากร (1 เมษายน ค.ศ. 2024)[1] | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 4,258 คน | ||||||||||||
• ความหนาแน่น | 82 คน/ตร.กม. (210 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||||
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) | ||||||||||||
โทรศัพท์ | 0175-37-2111 | ||||||||||||
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 104 Ōma, Ōma-machi, Shimokita-gun, Aomori-ken 039-4692 | ||||||||||||
รหัสท้องถิ่น | 02423-6 | ||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||
|
โอมะ (ญี่ปุ่น: 大間町; โรมาจิ: Ōma-machi) เป็นเมืองในอำเภอชิโมกิตะ จังหวัดอาโอโมริ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของเกาะฮนชู เมืองนี้มีจำนวนประชากรเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2024 ประมาณ 4,258 คน[1] ความหนาแน่นของประชากร 81.7 ต่อตารางกิโลเมตร (212 ต่อตารางไมล์)[2] มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 52.09 ตารางกิโลเมตร (20.11 ตารางไมล์)[3]
ภูมิศาสตร์
[แก้]โอมะครอบคลุมพื้นที่แนวชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรชิโมกิตะ ติดกับช่องแคบสึงารุ แหลมโอมะหรือโอมาซากิ (ญี่ปุ่น: 大間崎; โรมาจิ: Ōmazaki) เป็นจุดเหนือสุดบนเกาะฮนชู พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองอยู่ภายในอาณาเขตของกึ่งอุทยานแห่งชาติชิโมกิตะฮันโต ใน ค.ศ. 2002 กระทรวงสิ่งแวดล้อมได้จัดให้พื้นที่ราบลุ่มที่น้ำขึ้นถึงบางแห่งตามแนวชายฝั่งโอมะเป็นหนึ่งใน 500 พื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญในญี่ปุ่น ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพืชทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาหร่ายทะเลหลากหลายสายพันธุ์[4]
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]- จังหวัดอาโอโมริ
- นครมุตสึ
- หมู่บ้านซาอิ
- หมู่บ้านคาซามาอูระ
ภูมิอากาศ
[แก้]เมืองนี้มีสภาพภูมิอากาศที่มีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่เย็นสบายเป็นระยะเวลาสั้น และฤดูหนาวที่หนาวเย็นยาวนานและมีลมแรง (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfb) อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในโอมะอยู่ที่ 10.2 °C (50.4 °F) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,158.2 มิลลิเมตร (45.60 นิ้ว) โดยเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 21.7 °C (71.1 °F) และต่ำสุดในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 0.0 °C (32.0 °F)[5]
ข้อมูลภูมิอากาศของโอมะ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะสุดขั้ว 1976−ปัจจุบัน) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 12.0 (53.6) |
14.9 (58.8) |
17.3 (63.1) |
21.1 (70) |
25.8 (78.4) |
26.8 (80.2) |
32.5 (90.5) |
32.9 (91.2) |
32.6 (90.7) |
25.2 (77.4) |
22.0 (71.6) |
15.6 (60.1) |
32.6 (90.7) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 2.2 (36) |
2.7 (36.9) |
6.2 (43.2) |
11.0 (51.8) |
15.0 (59) |
18.4 (65.1) |
22.3 (72.1) |
24.8 (76.6) |
22.8 (73) |
17.4 (63.3) |
11.0 (51.8) |
4.8 (40.6) |
13.22 (55.79) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 0.0 (32) |
0.2 (32.4) |
3.1 (37.6) |
7.6 (45.7) |
11.5 (52.7) |
15.1 (59.2) |
19.3 (66.7) |
21.7 (71.1) |
19.5 (67.1) |
14.0 (57.2) |
8.0 (46.4) |
2.2 (36) |
10.18 (50.33) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -2.4 (27.7) |
-2.3 (27.9) |
0.0 (32) |
4.1 (39.4) |
8.5 (47.3) |
12.4 (54.3) |
16.9 (62.4) |
19.1 (66.4) |
16.0 (60.8) |
10.3 (50.5) |
4.8 (40.6) |
-0.3 (31.5) |
7.26 (45.07) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -10.2 (13.6) |
-10.7 (12.7) |
-8.2 (17.2) |
-5.3 (22.5) |
0.0 (32) |
3.6 (38.5) |
8.5 (47.3) |
10.0 (50) |
6.7 (44.1) |
0.4 (32.7) |
-5.4 (22.3) |
-10.0 (14) |
−10.7 (12.7) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 60.1 (2.366) |
52.6 (2.071) |
62.3 (2.453) |
74.1 (2.917) |
89.3 (3.516) |
80.6 (3.173) |
128.7 (5.067) |
173.8 (6.843) |
149.0 (5.866) |
111.2 (4.378) |
96.7 (3.807) |
79.8 (3.142) |
1,158.2 (45.598) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 65 (25.6) |
76 (29.9) |
36 (14.2) |
1 (0.4) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
1 (0.4) |
29 (11.4) |
208 (81.9) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 11.1 | 9.8 | 10.6 | 10.0 | 10.1 | 8.6 | 10.1 | 9.9 | 11.0 | 11.8 | 13.2 | 12.6 | 128.8 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 3 cm) | 9.2 | 10.1 | 4.8 | 0.1 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0.1 | 4.2 | 28.5 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 71.7 | 100.2 | 165.6 | 203.8 | 202.5 | 175.9 | 155.0 | 168.8 | 179.2 | 166.1 | 100.2 | 69.9 | 1,758.8 |
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[5][6] |
สถิติประชากร
[แก้]จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[7] ประชากรของโอมะลดลงมาตั้งแต่ ค.ศ. 1960
|
|
ประวัติศาสตร์
[แก้]พื้นที่บริเวณเมืองโอมะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเอมิชิมาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ ต่อมาในยุคเอโดะ พื้นที่แห่งนี้ควบคุมโดยตระกูลนัมบุในแคว้นศักดินาโมริโอกะ
ในช่วงที่ประกาศใช้ระบบเทศบาลหลังการฟื้นฟูเมจิเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้ง "หมู่บ้านโอโอกุ" (ญี่ปุ่น: 大奥村; โรมาจิ: Ōoku-mura) จากการควบรวมหมู่บ้านโอมะกับหมู่บ้านโอกูโดะที่อยู่ใกล้เคียง ต่อมาได้รับยกฐานะเป็นเมือง และเปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอมะ" เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]โอมะเป็นสถานที่ยอดนิยมในการถ่ายทำภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ โดยเป็นสถานที่ถ่ายทำในภาพยนตร์เรื่อง เกียวเอโนะมูเระ (ญี่ปุ่น: 魚影の群れ; โรมาจิ: Gyōei no mure) ที่ออกฉายเมื่อ ค.ศ. 1983 ที่นำแสดงโดยเค็ง โองาตะ ใน ค.ศ. 2000 โอมะเป็นสถานที่ถ่ายทำในซีรีส์ทางโทรทัศน์ของเอ็นเอชเคเรื่อง วาตาชิโนะอาโออิซาระ (ญี่ปุ่น: 私の青空; โรมาจิ: Watashi no Aoi Sora) ที่นำแสดงโดยทาบาตะ โทโมโกะ ตามมาด้วยซีรีส์เรื่อง มางูโระ (ญี่ปุ่น: マグロ; โรมาจิ: Maguro) ทางทีวีอาซาฮิ นำแสดงโดยเท็ตสึยะ วาตาริ ใน ค.ศ. 2007
การเมืองการปกครอง
[แก้]โอมะมีการปกครองรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภาเมืองที่เป็นสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 10 คน เมืองโอมะเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอชิโมกิตะ ซึ่งเมื่อรวมนครมุตสึจะเป็นพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดอาโอโมริจำนวน 3 ที่นั่ง ในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองโอมะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งจังหวัดอาโอโมริที่ 1 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]เศรษฐกิจของโอมะอาศัยการประมงเชิงพาณิชย์เป็นหลัก เมืองนี้มีชื่อเสียงในด้านปลาทูน่า ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ "เพชรสีดำ" วิธีการตกปลาทูน่าโอมะจะใช้วิธีดั้งเดิมคือการตกปลาด้วยมือโดยใช้เบ็ดเส้นเดียว และจำหน่ายภายใต้แบรนด์จดทะเบียน "โอมะ" ปลาทูน่าโอมะหนึ่งตัวขายได้ราคาสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 333.6 ล้านเยนในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019[8] ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลอื่น ๆ ได้แก่ ไข่หอยเม่น สาหร่ายคมบุ และปลาหมึก[9]
เมืองนี้เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชื่อว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โอมะ ซึ่งจะมีความพิเศษคือจะใช้เชื้อเพลิงออกไซด์ผสม หรือ MOX[10]
การศึกษา
[แก้]โอมะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลเมือง ได้แก่ โรงเรียนประถม 2 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 1 แห่ง โรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดอาโอโมริ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมปลาย 1 แห่ง
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]เมืองนี้ไม่มีรถไฟโดยสารให้บริการ สถานีที่ใกล้ที่สุดคือ สถานีรถไฟโอมินาโตะ บนสายโอมินาโตะของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกในนครมุตสึ
ทางหลวง
[แก้]สถานที่ที่น่าสนใจในท้องถิ่น
[แก้]- แหลมโอมะ หรือโอมาซากิ (ญี่ปุ่น: 大間崎; โรมาจิ: Ōmazaki) - จุดเหนือสุดบนเกาะฮนชู
- ประภาคารโอมาซากิ (ญี่ปุ่น: 大間埼灯台; โรมาจิ: Ōmazaki tōdai) - หนึ่งใน “50 ประภาคารของญี่ปุ่น”
- โอมะอนเซ็ง - รีสอร์ตน้ำพุร้อน
- ชายทะเลอากาอิชิ (ญี่ปุ่น: 赤石海岸)
เมืองพี่น้อง
[แก้]ในประเทศญี่ปุ่น
[แก้]ต่างประเทศ
[แก้]บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ฮิโรชิ อิซูมิ (ญี่ปุ่น: 泉浩; โรมาจิ: Izumi Hiroshi) - นักกีฬายูโดเหรียญเงินโอลิมปิกฤดูร้อน 2004
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "統計一覧" [ตารางสถิติ]. จังหวัดอาโอโมริ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2024.
- ↑ "Ōma Town official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2024-05-08.
- ↑ 詳細データ 青森県大間町. 市町村の姿 グラフと統計でみる農林水産業 (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries. 2016. สืบค้นเมื่อ 13 July 2017.
- ↑ "500 Important Wetlands in Japan". No. 62 Nearshore Waters of Oma-zaki in Shimokita-hanto. The Ministry of the Environment, Japan. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-06. สืบค้นเมื่อ 4 March 2017.
- ↑ 5.0 5.1 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ February 19, 2022.
- ↑ 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ February 19, 2022.
- ↑ สถิติประชากรโอมะ
- ↑ "Bluefin tuna sells for record $3.1 million at Tokyo fish market, but scarcity clouds celebration". Washington Post. 5 January 2019. สืบค้นเมื่อ 7 February 2019.
- ↑ Fackler, Martin (September 19, 2009). "Tuna Town in Japan Sees Falloff of Its Fish". New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 November 2015.
- ↑ Watanabe, Chisaki, and Stuart Biggs, Bloomberg L.P., "Rejecting ¥160 million, nuke holdout left with reactor view", Japan Times, 15 July 2011, p. 3.
- ↑ "International Exchange". List of Affiliation Partners within Prefectures. Council of Local Authorities for International Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2017. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)