ข้ามไปเนื้อหา

ทางหลวงแผ่นดินญี่ปุ่นหมายเลข 279

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 shield
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279
แผนที่
ทางหลวงแผ่นดินญี่ปุ่นหมายเลข 279 เน้นด้วยสีแดง
Route279 Mutsu.JPG
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ในนครมุตสึ
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว134.0 กิโลเมตร[1] (83.3 ไมล์)
ประวัติ
มีขึ้นเมื่อค.ศ. 1970–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศเหนือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 278
ในฮาโกดาเตะ จ.ฮกไกโด
 
ปลายทางทิศใต้ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4
ในโนเฮจิ จ.อาโอโมริ
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศญี่ปุ่น
ระบบทางหลวง
ทางด่วนในประเทศญี่ปุ่น
ทางหลวงแผ่นดินในประเทศญี่ปุ่น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 278 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 280

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 (ญี่ปุ่น: 国道279号โรมาจิKokudō Nihyaku nana-jukyūgō) เป็นทางหลวงแผ่นดินของประเทศญี่ปุ่นที่ตัดผ่านจังหวัดอาโอโมริและจังหวัดฮกไกโด โดยมีช่องแคบสึงารุคั่นกลาง มีระยะทางรวม 134.0 กิโลเมตร (83.3 ไมล์) เริ่มต้นที่ทางแยกบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 ในนครฮาโกดาเตะ จากนั้นข้ามช่องแคบสึงารุโดยใช้เส้นทางเรือข้ามฟากจากฮาโกดาเตะไปยังเมืองโอมะ จากนั้นเส้นทางจะวิ่งลงใต้ผ่านพื้นที่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดอาโอโมริ ผ่านนครมุตสึ ก่อนที่จะสิ้นสุดที่ทางแยกบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ในเมืองโนเฮจิ

เส้นทางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ที่ผ่านจังหวัดอาโอโมริเป็นแนวถนนที่เก่าแก่ที่สุดสายหนึ่งทางตอนเหนือของญี่ปุ่น เส้นทางแสวงบุญที่เรียกว่าทานาบุไคโด (田名部街道) ไปยังเขาโอโซเระ ซึ่งเป็นแอ่งยุบปากปล่องภูเขาไฟที่ในตำนานเทพนิยายของญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นประตูสู่ยมโลก

รายละเอียดของเส้นทาง

[แก้]

ฮาโกดาเตะ

[แก้]
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ใกล้กับท่าเรือข้ามฟากเก่าในนครฮาโกดาเตะ

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 เริ่มต้นที่ทางแยกบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 ในใจกลางนครฮาโกดาเตะ ทางทิศตะวันออกของสถานีรถไฟฮาโกดาเตะ เส้นทางจะวิ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านตัวเมือง จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และเลี้ยวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังที่ซึ่งเดิมเป็นท่าเรือข้ามฟากประจำเมือง แต่ปัจจุบันย้ายไปตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสถานีฮาโกดาเตะ เส้นทางสั้น ๆ ของทางหลวงสายนี้ในฮกไกโดมีระยะทาง 1.8 กิโลเมตร (1.1 ไมล์) สิ้นสุดที่อาคารผู้โดยสารเดิม ซึ่งต่อมาได้ถูกดัดแปลงเป็นพื้นที่ค้าปลีก[2] เส้นทางในช่วงนี้ยังมีแนวรถรางสายหลักของนครฮาโกดาเตะตั้งอยู่บนเกาะกลาง ยกเว้นในช่วง 100 เมตร (330 ฟุต) สุดท้ายใกล้กับท่าเรือข้ามฟากที่ไม่มีแนวรถราง[3]

จังหวัดอาโอโมริ

[แก้]
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 เลียบชายฝั่งช่องแคบสึงารุ

เส้นทางจะมุ่งหน้าไปทางใต้โดยข้ามช่องแคบสึงารุผ่านทางเรือข้ามฟากสึงารุไคเกียว ไปขึ้นฝั่งที่เมืองโอมะที่อยู่ทางเหนือสุดของคาบสมุทรชิโมกิตะของจังหวัดอาโอโมริ โดยจากปลายทางด้านทิศเหนือของเส้นทางในฮาโกดาเตะจนถึงโอมะ จะมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 ที่ใช้เส้นทางร่วมกันกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 อย่างไรก็ตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 จะแยกออกไปทางทิศใต้ที่ทางแยกในเมืองโอมะ ในขณะที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 จะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่นครมุตสึ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ในจังหวัดอาโอโมริจะรู้จักกันในชื่อ สายมุตสึฮามานาซุ ซึ่งตั้งชื่อตามฮามานาซุ หรือกุหลาบญี่ปุ่น (Rosa rugosa) ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่มีลักษณะคล้ายไม้พุ่มที่เติบโตบนชายหาดของญี่ปุ่น[4][5]

เมื่อใกล้ถึงตัวเมืองมุตสึ จะมีทางเลี่ยงเมืองมุตสึ ซึ่งเป็นเส้นทางเสริมของทางหลวงสายนี้ แยกออกไปทางทิศตะวันออกของทางหลวงสายหลัก และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 และ 338 จะมาบรรจบกันอีกครั้งและใช้แนวเส้นทางร่วมกันในช่วงที่ผ่านย่านใจกลางเมืองเป็นระยะทางสั้น ๆ จากนั้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 จะแยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ตรงจุดที่ทางเลี่ยงเมืองมุตสึกลับมาบรรจบ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 จะวิ่งต่อไปบนคาบสมุทรชิโมกิตะโดยมุ่งหน้าไปทางทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 จะมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ไปยังเมืองโยโกฮามะ และสิ้นสุดที่เมืองโนเฮจิในบริเวณฐานของคาบสมุทรทางทิศใต้ ที่เมืองโยโกฮามะจะมีที่พักริมทางตั้งอยู่ริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำมิโฮะ[6]

ระหว่างเมืองโยโกฮามะกับเมืองโนเฮจิ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 จะมีแนวเส้นทางตีคู่ไปกับทางด่วนชิโมกิตะ ซึ่งกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ในฐานะเส้นทางเสริม ใช้เพื่อเลี่ยงเส้นทางเดิมที่ผ่านเขตชุมชนระหว่างโยโกฮามะและโนเฮจิ ปลายทางทิศเหนือของทางด่วนดังกล่าวเริ่มต้นบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ที่ทางแยกทางตอนใต้ของโยโกฮามะ ซึ่งเส้นทางเดิมจะวิ่งต่อไปทางทิศใต้เลียบไปตามอ่าวมุตสึ ในขณะที่ทางด่วนจะอยู่ถัดเข้ามาข้างในห่างจากชายฝั่งและผ่านเขตหมู่บ้านรกกาโชะ เมื่อเข้าสู่เมืองโนเฮจิ เส้นทางจะมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านป่าชายฝั่งที่มีประชากรเบาบาง ก่อนที่จะเข้าสู่ใจกลางเมืองและโค้งไปทางทิศใต้ และหลังจากผ่านศาลาว่าการเมืองโนเฮจิ เส้นทางก็จะสิ้นสุดที่ทางแยกบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4[7]

การจราจรเฉลี่ยต่อวัน

[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ดูแลโดยกรมทางหลวง กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว (MLIT) ซึ่งดำเนินการสำรวจเส้นทางของทางหลวงแผ่นดินและทางด่วนของญี่ปุ่นทุก ๆ ห้าปี เพื่อวัดปริมาณการจราจรเฉลี่ยต่อวัน ใน ค.ศ. 2015 จุดที่มีการใช้งานมากที่สุดตามเส้นทางคือทางแยกระหว่างทางหลวงสายนี้กับทางหลวงจังหวัดอาโอโมริหมายเลข 7 ในนครมุตสึ ซึ่งมียานพาหนะสัญจรเฉลี่ย 9,440 คันต่อวันบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ส่วนจุดที่มีปริมาณการจราจรน้อยที่สุดของทางหลวงสายนี้อยู่ระหว่างท่าเรือข้ามฟากที่เมืองโอมะกับทางแยกที่ทางหลวงสายนี้มาบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 โดยมียานพาหนะสัญจรเฉลี่ยเพียง 1,337 คัน[8]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 เดิมเคยเป็นทานาบุไคโด (田名部街道) ซึ่งเป็นถนนที่ตั้งโดยตระกูลนัมบุในสมัยเอโดะ โดยเป็นเส้นทางสาขาเส้นทางหนึ่งของโอชูไคโด (ปัจจุบันเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ทานาบุไคโดมีเส้นทางจากโนเฮจิชูกูบะไปยังวัดพุทธและสถานที่แสวงบุญของศาสนาพื้นบ้านที่เขาโอโซเระ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นประตูลึกลับสู่ยมโลกทั้งในตำนานไอนุและศาสนาพุทธแบบญี่ปุ่น[9] ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองทานาบุเดิม (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของนครมุตสึ) ถนนสายนี้ปรากฏบนแผนที่ตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1647 และใน ค.ศ. 1699 มีชื่อถนนเขียนกำกับว่าทานาบุไคโดบนแผนที่ที่ผลิตโดยนัมบุ การแสวงบุญตามเส้นทางทานาบุไคโดไปยังเขาโอโซเระมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 862 แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีการบำรุงทางก่อนที่ตระกูลนัมบุจะสร้างหรือไม่[10]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ได้รับการกำหนดโดยคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1970 โดยใช้แนวเส้นทางทานาบุไคโดระหว่างโนเฮจิกับโอมะ, เรือข้ามฟากที่เชื่อมโอมะกับฮาโกดาเตะ, และเส้นทางช่วงสั้น ๆ ในฮาโกดาเตะ[11][12] นับตั้งแต่กำหนดหมายเลขทางหลวงสายนี้ ก็ได้มีการสร้างทางเลี่ยงเส้นทางเดิม ได้แก่ ทางด่วนชิโมกิตะ ซึ่งเป็นถนนประเภทจำกัดการเข้าถึงและยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ตลอดสาย (มีเฉพาะช่วงโนเฮจิถึงโยโกฮามะ) และทางเลี่ยงนิมาอิบาชิในนครมุตสึ[13]

ภัยพิบัติและความเสียหาย

[แก้]

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ได้เกิดพายุหิมะซึ่งคร่าชีวิตผู้คน 329 คนบนทางหลวงสายนี้ในจังหวัดอาโอโมริ[14] เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2021 สะพานข้ามแม่น้ำโคอากะ ซึ่งตั้งอยู่ทางชายขอบด้านเหนือของนครมุตสึ ถูกพายุโซนร้อนลูปิตพัดถล่มเสียหายเป็นส่วนใหญ่[15] แต่ก็ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการพังทลายของสะพาน อย่างไรก็ตาม ความเสียหายนี้ทำให้เส้นทางสัญจรที่เชื่อมไปยังมุตสึโดยตรงของชาวเมืองโอมะและหมู่บ้านคาซามาอูระถูกตัดขาด จนกระทั่งมีการสร้างสะพานใหม่ช่องจราจรเดียวพร้อมสัญญานไฟในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2022 ตรงตำแหน่งทางทิศใต้ของสะพานเดิมเพื่อให้กลับมาเชื่อมต่อได้[16][17]

ทางแยกที่สำคัญ

[แก้]
จังหวัดตำแหน่งที่ตั้งกิโลเมตร[18][19]ไมล์จุดหมายปลายทางหมายเหตุ
ฮกไกโดฮาโกดาเตะ0.00.0 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 278 เหนือ – ไป ซัปโปโระ, โอชามาเบะ, เขาเอะจุดสิ้นสุดด้านทิศเหนือ; จุดสิ้นสุดด้านทิศเหนือของการใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338
1.20.75ทางหลวงจังหวัดฮกไกโดสาย 675 (สายทาจิมาจิ มิซากิ ฮาโกดาเตะ เทชาโจ)
1.71.1ทางหลวงจังหวัดฮกไกโดสาย 457 (สายฮาโกดาเตะเกียวโก)
ช่องแคบสึงารุ1.8–
28.8
1.1–
17.9
เรือข้ามฟากสึงารุไคเกียว
อาโอโมริโอมะ30.018.6 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 ใต้ – ไป โฮโตเกะงะอูระ, ซาอิจุดสิ้นสุดด้านทิศใต้ของการใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338
มุตสึ60.337.5ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 4 – ไป เขาโอโซเระ
69.743.3ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 266 ตะวันออก – ไป แหลมชิริยะ
74.546.3 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ใต้ (ทางเลี่ยงเมืองมุตสึ)
75.346.8 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 (ทางเลี่ยงโอมินาโตะ)
76.047.2ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 6
76.547.5 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 เหนือจุดสิ้นสุดด้านทิศเหนือของการใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338
76.947.8ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 6 เหนือ – ไป ชิริยาซากิ
77.248.0 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 เหนือ (ทางเลี่ยงเมืองมุตสึ) / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 ใต้ – ไป ฮาจิโนเฮะ, มิซาวะจุดสิ้นสุดด้านทิศใต้ของการใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338
78.648.8ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 4 เหนือ – ไป เขาโอโซเระ, กลางเมืองมุตสึ
91.156.6ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 7 ตะวันออก – ไป โอดาโนซาวะ
โยโกฮามะ103.564.3ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 179 – ไป ศาลาว่าการเมืองโยโกฮามะ, สถานีรถไฟมุตสึ-โยโกฮามะ, รกกาโชะ
105.865.7ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 179 เหนือ – ไป ศาลาว่าการเมืองโยโกฮามะ, สถานีรถไฟมุตสึโยโกฮามะ
111.469.2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ใต้ (ทางด่วนชิโมกิตะ) – ไป อาโอโมริ, โทวาดะทางแยกต่างระดับโยโกฮามะ-ฟุกโกชิ
โนเฮจิ121.975.7ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 180 ตะวันออก – ไป รกกาโชะ, ทางแยกต่างระดับโนเฮจิ-คิตะ
128.279.7ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 5 ตะวันออก – ไป รกกาโชะ, ทางแยกต่างระดับโนเฮจิ-คิเมียว
131.781.8ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 243 ตะวันตก – ไป อาโอโมริ
132.482.3ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 246 ตะวันออก – ไป มิซูฮามิ
133.082.6ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 178
134.083.3 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 45 – ไป โทวาดะ, ชิจิโนเฮะ, อาโอโมริ, สถานีรถไฟชิจิโนเฮะ-โทวาดะจุดสิ้นสุดด้านทิศใต้; ไม่มีป้ายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 45
1.000 mi = 1.609 km; 1.000 km = 0.621 mi

เส้นทางเสริม

[แก้]

ทางด่วนชิโมกิตะ

[แก้]

ทางด่วนชิโมกิตะเป็นทางด่วนขนาดสองช่องจราจรที่ยังไม่สมบูรณ์ในจังหวัดอาโอโมริ ซึ่งได้รับการกำหนดให้เป็นเส้นทางเสริมของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ทางด่วนจะมีเส้นทางจากโยโกฮามะมุ่งหน้าลงทิศใต้ผ่านรกกาโชะและโนเฮจิ ซึ่งปัจจุบันส่วนที่เป็นทางหลักของทางด่วนสายนี้สิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4[20] ทางด่วนในช่วงสั้น ๆ นี้เปิดให้บริการในมุตสึเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ถ้าสร้างแล้วเสร็จ ทางด่วนสายนี้จะมีระยะทาง 68 กิโลเมตร (42 ไมล์) จากมุตสึมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ไปยังนครชิจิโนเฮะ[21]

ทางเลี่ยงเมืองมุตสึ

[แก้]

ทางเลี่ยงเมืองมุตสึมีระยะทาง 2.2 กิโลเมตร (1.4 ไมล์) เป็นเส้นทางเสริมของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 อยู่ในย่านใจกลางเมืองของมุตสึ ปลายทางด้านทิศเหนืออยู่บนเส้นทางสายหลัก จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำโจตาจิ ตัดกับทางเลี่ยงโอมินาโตะ ซึ่งเป็นเส้นทางเสริมของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 หลังจากทางแยกนี้ ทางเลี่ยงเมืองมุตสึจะมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ ขนานกับเส้นทางหลักของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 จนกระทั่งถึงปลายทางด้านทิศใต้ที่ทางแยกบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 และ 338[22][23]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "一般国道の路線別、都道府県別道路現況" [Road statistics by General National Highway route and prefecture] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.
  2. Google (11 October 2019). "Route 279 in Hakodate" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
  3. "ICASMAP2" (PDF). City of Hakodate (Map) (ภาษาญี่ปุ่น). 21 January 2014. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
  4. "「はまなすライン」の改良について" [Improvement of the Hamanasu Line]. Aomori Prefecture Government. 3 January 2006. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  5. "Flower Calendar". Imperial Household Agency. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  6. "michinoeki-Yokohama". Michi-no-Eki Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  7. Google (10 October 2019). "Route 279" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.
  8. 平成27年度全国道路・街路交通情勢調査 一般交通量調査 箇所別基本表 [2015 Traffic Report by intersection] (PDF) (Report). Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. 2015. p. 7. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  9. Chris Bamforth (22 December 2006). "Mountain of dread". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  10. Aomori Prefecture Folklore Museum (29 March 1986). 青森県「歴史の道」調査報告書 [Aomori Prefecture Historic Roads Survey Report] (ภาษาญี่ปุ่น). Aomori Prefecture Board of Education. p. 1. 全国書誌番号:000001805973. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2024-04-21.
  11. 一般国道の路線を指定する政令, 1965 (in Japanese)
  12. "ノスタルジック航路(函館〜大間航路)" [Nostalgic Route (Hakodate-Ōma)]. Tsugaru Kaikyō Ferry (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  13. "道路施設・高規格道路建設課(道路整備)" [Road Facilities and Expressway Construction Section (Road Improvement)]. Aomori Prefecture Government (ภาษาญี่ปุ่น). 1 July 2008. สืบค้นเมื่อ 18 October 2019.
  14. "「いつになったら動く」鳥取の大雪、立ち往生15時間超" ["When will it move?" Heavy Snow in Tottori causes 15-hour Traffic Jam]. The Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 24 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-11. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
  15. "【動画】青森 むつ 国道279号線の橋の一部崩れる 大雨影響" [[Video] Mutsu, Aomori Part of the bridge on National Route 279 collapsed due to heavy rain]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 10 August 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2022. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.
  16. "青森で大雨、むつで橋の一部崩落 自衛隊に派遣要請" [Heavy rain in Aomori, partial collapse of bridge at Mutsu Request for dispatch to the Self-Defense Forces]. Kahoku Shimpō (ภาษาญี่ปุ่น). 10 August 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2021. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.
  17. "国道279号「小赤川橋」の進捗状況について" [About the progress of National Route 279 "Koakagawa Bridge"] (ภาษาญี่ปุ่น). City of Mutsu. 3 June 2022. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.
  18. Google (11 October 2019). "Route 279 in Hakodate" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
  19. Google (10 October 2019). "Route 279" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.
  20. "下北半島縦貫道路|青森県庁ウェブサイト Aomori Prefectural Government" [Shimokita Expressway: Aomori Prefectural Government website]. www.pref.aomori.lg.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
  21. "下北道むつ南バイパスが一部開通" [Partial opening of the Shimokita Mutsu South Bypass] (ภาษาญี่ปุ่น). 23 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-11. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
  22. "一般国道279号 下北半島縦貫道路「むつ南バイパス」 交通開放(開通)のお知らせ" [National Highway 279 Shimokita Peninsula Expressway "Mutsu-minami Bypass" (opening)] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). 29 November 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-31. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.
  23. Google (17 February 2020). "Mutsu Bypass" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]