โรงเรียนนานาชาติแห่งพระหฤทัย

พิกัด: 35°39′7″N 139°43′17″E / 35.65194°N 139.72139°E / 35.65194; 139.72139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนานาชาติแห่งพระหฤทัย
แผนที่

ประเทศญี่ปุ่น
พิกัด35°39′7″N 139°43′17″E / 35.65194°N 139.72139°E / 35.65194; 139.72139
ข้อมูล
ชื่ออื่นISSH
ประเภทโรงเรียนสหศึกษาเอกชน รวมถึงโรงเรียนประถมศึกษาเพศเดียว และโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคกลางวัน
ศาสนาคณะแห่งพระหฤทัย
นิกายโรมันคาทอลิก
สถาปนา1908; 116 ปีที่แล้ว (1908)
หน่วยงานทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น[1]
ผู้บริหารอีวอนน์ เฮส์[2]
เจ้าหน้าที่30 คน (สำนักงานและสนับสนุน)
คณาจารย์80 คน
ระดับชั้นเค-12
เพศ
การลงทะเบียน560 คน
สีสีน้ำเงิน และสีขาว   
กรีฑาวอลเลย์บอล, บาสเกตบอล, ลู่และลาน, ครอสคันทรี, เทนนิส, ฟุตบอล, เนตบอล
สัญลักษณ์ซิมบัส
หนังสือพิมพ์ดิอินเตอร์เนชันแนล
สังกัด
ครูใหญ่โรงเรียนอนุบาล/จูเนียร์สกูลเอลเลน ยาเองาชิ
ครูใหญ่มิดเดิลสกูลมาร์กาเรต กริฟฟิทส์
ครูใหญ่ไฮสกูลชาร์เมน ยัง
เว็บไซต์www.issh.ac.jp
แผนที่

โรงเรียนนานาชาติแห่งพระหฤทัย (ญี่ปุ่น: 聖心インターナショナルスクール; อังกฤษ: International School of the Sacred Heart; อักษรย่อ: ISSH) เป็นโรงเรียนอนุบาล (สหศึกษา) โรงเรียนเกรด 1–12 (หญิงล้วน) ในเขตชิบูยะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1908 ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายโรงเรียนพระหฤทัยซึ่งเป็นองค์การของโรงเรียนและสถาบันใน 44 ประเทศ[3] โรงเรียนนานาชาติแห่งพระหฤทัย (ISSH) เป็นโรงเรียนคาทอลิกที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีชั้นเรียนอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3, 4 และ 5 ปี สำหรับเด็กชายและเด็กหญิง ในขณะที่เกรด 1–12 สำหรับเด็กผู้หญิงเท่านั้น โรงเรียนนานาชาติแห่งพระหฤทัยตั้งอยู่ในย่านฮิโรโอะ และก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1908 ซึ่งอยู่ในสังกัดเครือข่ายของโรงเรียนพระหฤทัยทั่วโลก[4]

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนนานาชาติแห่งพระหฤทัยในโตเกียวเป็นหนึ่งในกลุ่มโรงเรียนและวิทยาลัยนานาชาติภายใต้การดูแลของคณะแห่งพระหฤทัย

คณะแห่งพระหฤทัยได้รับการสถาปนาขึ้นในอาเมียง ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1800 โดยนักบุญมาดแลน โซฟี บารัต เพื่อตอบสนองความต้องการของรูปแบบการศึกษาเฉพาะสำหรับเด็กผู้หญิงในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

ส่วนการเริ่มต้นใน ค.ศ. 2017 ทางโรงเรียนได้เริ่มสอบสวนข้อกล่าวหาเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศโดยอดีตครูคนหนึ่ง ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 และคริสต์ทศวรรษ 2000[2]

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรนี้มาจากหลักสูตรนานาชาติ รวมถึงมีโปรแกรมต่าง ๆ เช่น หลักสูตรเรียนล่วงหน้า และภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง (ESL)

การเรียนการสอนที่โรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีการเสนอภาษาต่าง ๆ รวมทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาญี่ปุ่น ส่วนโปรแกรมการทดสอบประกอบด้วยสอบคัดเลือกพีแซต/ทุนกิตติคุณแห่งชาติ, เอสเอที และการประเมินโรงเรียนนานาชาติ

ด้านโปรแกรมกิจกรรมประกอบด้วยกรีฑา, ละคร, ดนตรี ตลอดจนการชิงชัยในด้านกีฬา, ปัญญา และศิลปะ โดยส่วนใหญ่อยู่ในสมาคมโรงเรียนที่ราบคันโต

อนุบาลและจูเนียร์สกูล (อนุบาล – เกรด 4)[แก้]

หลักสูตรในโรงเรียนอนุบาลและจูเนียร์สกูล (KG/JS) ประกอบด้วยโปรแกรมศิลป์ภาษาที่สมดุล (การอ่าน, การเขียน, การพูด และการฟัง), คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาที่บูรณาการผ่านหลักสูตรประถมนานาชาติ

มิดเดิลสกูล (เกรด 5–8)[แก้]

นักเรียนมิดเดิลสกูลทุกคนเรียนภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษา, ศิลปะ, ละคร, ภาษาต่างประเทศ, ดนตรี, การศึกษาส่วนบุคคลและสังคม, พลศึกษา, ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา/3 มิติ และค่านิยม

ไฮสกูล (เกรด 9–12)[แก้]

โรงเรียนนานาชาติแห่งพระหฤทัยมีภาควิชาศิลปะสร้างสรรค์และศิลปะการแสดง ตลอดจนโปรแกรมนอกหลักสูตรที่นักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมในกีฬา, ดนตรี และละคร ส่วนประกาศนียบัตรของโรงเรียนนานาชาติแห่งพระหฤทัยมอบให้แก่นักเรียนที่ได้รับคะแนนขั้นต่ำ 22 หน่วยกิต และได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • จีเซล – แร็ปเปอร์และนักร้อง (เอสปา)
  • ริมะ นากาบายาชิ – แร็ปเปอร์และนักร้อง (นิจยู)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Sacred Heart Schools". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2007-12-11.
  2. 2.0 2.1 "Tokyo girls' school Sacred Heart reveals 'historic sexual abuse case'". Tokyo Reporter. July 21, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2017.
  3. "Network of Sacred Heart International Schools". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-04. สืบค้นเมื่อ 2007-11-27.
  4. "International School of the Sacred Heart: Celebrating a Century of Learning", page 2. School Brochure, 2008

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]