โรคไตเรื้อรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Chronic renal failure)
โรคไตเรื้อรัง
(Chronic kidney disease)
ชื่ออื่นChronic renal disease, kidney failure, impaired kidney function[1]
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรับการรักษาด้วยการชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง
สาขาวิชาวักกวิทยา
อาการระยะแรก: ไม่มีอาการ[2]
ระยะหลัง: ขาบวม, อ่อนเพลีย, อาเจียน, เบื่ออาหาร, สับสน[2]
ภาวะแทรกซ้อนโรคระบบหัวใจหลอดเลือด, ความดันเลือดสูง, โลหิตจาง[3][4]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[5]
สาเหตุเบาหวาน, ความดันเลือดสูง, ไตอักเสบ, โรคไตมีถุงน้ำจำนวนมาก[5][6]
วิธีวินิจฉัยการตรวจเลือด, การตรวจปัสสาวะ[7]
การรักษาการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต, ใช้ยาปรับความดันเลือด, น้ำตาล, คอเลสเตอรอล, การบำบัดทดแทนไต, การปลูกถ่ายไต[8][9]
ความชุก753 ล้านคน (ค.ศ. 2016)[1]
การเสียชีวิต1.2 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[6]

โรคไตเรื้อรังคือภาวะซึ่งค่อย ๆ มีการเสื่อมของการทำงานของไตเป็นเวลานาน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี[2][5] ในช่วงแรกมักไม่มีอาการ หรือมีอาการซึ่งไม่มีความจำเพาะ อาจมีอาการเพียงความรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่รู้สึกอยากอาหารได้[2] ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ความดันเลือดสูง โรคกระดูก และโลหิตจาง[3][4][10]

สาเหตุของโรคมีหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่ เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไตอักเสบ และโรคไตมีถุงน้ำจำนวนมาก เป็นต้น[5][6] ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการมีคนในครอบครัวป่วยโรคไตเรื้อรัง[2] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อคำนวณหาค่าอัตราการกรองของไตโดยประมาณ และการตรวจหาโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ[7] ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องตรวจอัลตราซาวด์หรือตรวจชิ้นเนื้อไตเพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง[5] โรคนี้มีความรุนแรงได้หลากหลาย โดยมีระบบจัดระดับความรุนแรงของโรคที่ใช้กันแพร่หลายอยู่หลายระบบ[11][12]

ทางการแพทย์แนะนำให้ผู้มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตโดยไม่ต้องรอให้มีอาการ[9] การรักษาในระยะแรกเริ่มอาจเป็นการใช้ยาลดความดัน ยาเบาหวาน และยาลดไขมันในเลือดหากมีข้อบ่งชี้ โดยส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้ยาลดความดันในกลุ่มสารยับยั้งเอซีอีและแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์เป็นกลุ่มแรก เนื่องจากมีผลช่วยชะลอการเสื่อมของไตและลดโอกาสเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดได้[13] อาจต้องใช้ยาขับปัสสาวะชนิดออกฤทธิ์ที่ลูปหากมีอาการบวมน้ำหรือยังควบคุมความดันเลือดไม่ได้[9][14][15] ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์[9] คำแนะนำอื่น ๆ เช่น มีกิจกรรมทางกายที่กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ ปรับเปลี่ยนอาหาร เช่น ลดอาหารที่มีโซเดียม กินโปรตีนให้เหมาะสมไม่มากไม่น้อยเกินไป[9][16] หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น โลหิตจาง หรือโรคกระดูก อาจต้องได้รับการรักษาตามอาการ[17][18] กรณีเป็นรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้การบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดทางเส้นเลือด การฟอกเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง หรือการปลูกถ่ายไต[8]

ข้อมูล ค.ศ. 2016 ระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังราว 753 ล้านคน เป็นผู้ชาย 336 ล้านคน และเป็นผู้หญิง 417 ล้านคน[1] ข้อมูล ค.ศ. 2015 ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไตเรื้อรัง 1.2 ล้านคน เพิ่มจากข้อมูล ค.ศ. 1990 ที่พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไตเรื้อรัง 409,000 คน[6][19] โรคที่พบร่วมกันเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตที่พบมากที่สุดคือความดันเลือดสูง 550,000 คน ตามมาด้วยเบาหวาน 418,000 คน และไตอักเสบ 238,000 คน[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Bikbov B, Perico N, Remuzzi G (23 พฤษภาคม 2018). "Disparities in Chronic Kidney Disease Prevalence among Males and Females in 195 Countries: Analysis of the Global Burden of Disease 2016 Study". Nephron. 139 (4): 313–318. doi:10.1159/000489897. PMID 29791905.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "What Is Chronic Kidney Disease?". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2017.
  3. 3.0 3.1 Liao MT, Sung CC, Hung KC, Wu CC, Lo L, Lu KC (2012). "Insulin resistance in patients with chronic kidney disease". Journal of Biomedicine & Biotechnology. 2012: 691369. doi:10.1155/2012/691369. PMC 3420350. PMID 22919275.
  4. 4.0 4.1 "Kidney Failure". MedlinePlus (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "What is renal failure?". Johns Hopkins Medicine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2017.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 GBD 2015 Mortality Causes of Death Collaborators (ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/s0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281. {{cite journal}}: |author1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  7. 7.0 7.1 "Chronic Kidney Disease Tests & Diagnosis". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2017.
  8. 8.0 8.1 "Kidney Failure". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "Managing Chronic Kidney Disease". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. ตุลาคม 2016.
  10. KDIGO: Kidney Disease Improving Global Outcomes (สิงหาคม 2009). "KDIGO Clinical Practice Guideline for the Diagnosis, Evaluation, Prevention, and Treatment of Chronic Kidney Disease-Mineral and Bone Disorder (CKD-MBD)" (PDF). Kidney Int. 76 (Suppl 113). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 ธันวาคม 2016.
  11. "Summary of Recommendation Statements". Kidney International Supplements. 3 (1): 5–14. มกราคม 2013. doi:10.1038/kisup.2012.77. PMC 4284512. PMID 25598998.
  12. Ferri FF (2017). Ferri's Clinical Advisor 2018 E-Book: 5 Books in 1 (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. pp. 294–295. ISBN 9780323529570.
  13. Xie X, Liu Y, Perkovic V, Li X, Ninomiya T, Hou W, และคณะ (พฤษภาคม 2016). "Renin-Angiotensin System Inhibitors and Kidney and Cardiovascular Outcomes in Patients With CKD: A Bayesian Network Meta-analysis of Randomized Clinical Trials". American Journal of Kidney Diseases (Systematic Review & Meta-Analysis). 67 (5): 728–41. doi:10.1053/j.ajkd.2015.10.011. PMID 26597926.
  14. Wile D (กันยายน 2012). "Diuretics: a review". Annals of Clinical Biochemistry. 49 (Pt 5): 419–31. doi:10.1258/acb.2011.011281. PMID 22783025.
  15. James PA, Oparil S, Carter BL, Cushman WC, Dennison-Himmelfarb C, Handler J, และคณะ (กุมภาพันธ์ 2014). "2014 evidence-based guideline for the management of high blood pressure in adults: report from the panel members appointed to the Eighth Joint National Committee (JNC 8)". JAMA. 311 (5): 507–20. doi:10.1002/14651858.CD011339.pub2. PMC 6485696. PMID 24352797.
  16. "Eating Right for Chronic Kidney Disease | NIDDK". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2019.
  17. "Anemia in Chronic Kidney Disease". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2017.
  18. "Mineral & Bone Disorder in Chronic Kidney Disease". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2017.
  19. GBD 2013 Mortality Causes of Death Collaborators (มกราคม 2015). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385 (9963): 117–71. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMC 4340604. PMID 25530442. {{cite journal}}: |author1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help) Table 2, p. 137 สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก