โรคหลอดเลือดสมอง
![]() | |
---|---|
ชื่ออื่น | โรคลมปัจจุบัน, โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง |
![]() | |
CT scan of the brain showing a prior right-sided ischemic stroke from blockage of an artery. Changes on a CT may not be visible early on.[1] | |
สาขาวิชา | Neurology |
อาการ | Inability to move or feel on one side of the body, problems understanding or speaking, dizziness, loss of vision to one side[2][3] |
ภาวะแทรกซ้อน | Persistent vegetative state[4] |
สาเหตุ | Ischemic (blockage) and hemorrhagic (bleeding)[5] |
ปัจจัยเสี่ยง | High blood pressure, tobacco smoking, obesity, high blood cholesterol, diabetes mellitus, previous TIA, atrial fibrillation[2][6] |
วิธีวินิจฉัย | Based on symptoms with medical imaging typically used to rule out bleeding[7][8] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Low blood sugar[7] |
การรักษา | Based on the type[2] |
พยากรณ์โรค | Average life expectancy 1 year[2] |
ความชุก | 42.4 million (2015)[9] |
การเสียชีวิต | 6.3 million (2015)[10] |
โรคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (อังกฤษ: stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา)[11] ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้
โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้า[12]
ปัจจัยเสี่ยง[แก้]
ปัจจัยเสี่ยงของโรคลมปัจจุบันได้แก่ ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ การใช้ยาเสพติดและยารักษาโรคบางประเภท ความชรา น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ประวัติการเป็นโรคลมปัจจุบันในอดีต หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (transient ischemic attack, TIA) เบาหวาน ภาวะเลือดมีคอเลสเทอรอลสูง การรับประทานอาหารที่มีเกลือสูงเสมอๆ และอาการหัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (atrial fibrillation)[13] ซึ่งความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคนี้[11]
สัญญาณบอกโรค[แก้]
ในสหรัฐอเมริกา มีสัญญาณบอกโรคที่สำคัญอยู่ 5 อย่าง คือ
- การชาและอ่อนแรงตามใบหน้า แขน-ขา อย่างฉับพลัน
- สับสนหรือมีปัญหาในการพูดหรือเข้าใจภาษาอย่างฉับพลัน
- สายตามีปัญหาอย่างฉับพลัน
- การทรงตัว การเดินมีปัญหา หรือรู้สึกมึนงงอย่างฉับพลัน
- ปวดหัวอย่างรุนแรงและฉับพลัน
ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการดังกล่าว มิควรมองข้ามอาการเหล่านี้ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการรุนแรงหรือมีอาการหลายๆอย่างประกอบกันในคราวเดียว ทั้งเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงด้วยแล้ว ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือให้ผู้ที่ใกล้ชิดพาส่งโรงพยาบาลทันที เพราะหากปล่อยไว้นานเท่าไร โอกาสที่จะเกิดความเจ็บป่วย พิการและตาย ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น[14]
การวินิจฉัย[แก้]
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันประกอบด้วยการเก็บข้อมูลหลายส่วน ทั้งจากการตรวจร่างกายทางระบบประสาท (เช่นการตรวจด้วย NIHSS) การตรวจด้วยซีทีสแกน หรือเอ็มอาร์ไอ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Gaillard, Frank. "Ischaemic stroke". radiopaedia.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 June 2018.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อDonnan2008
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHLB2014S
- ↑ PhD, Gary Martin (2009). Palliative Care Nursing: Quality Care to the End of Life, Third Edition (ภาษาอังกฤษ). Springer Publishing Company. p. 290. ISBN 978-0-8261-5792-8. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2017-08-03. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHLB2014W
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHLB2014C
- ↑ 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อHLB2014D
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAFP2009
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBD2015Pre
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGBD2015De
- ↑ 11.0 11.1 Donnan GA, Fisher M, Macleod M, Davis SM (2008). "Stroke". Lancet. 371 (9624): 1612–23. doi:10.1016/S0140-6736 (08) 60694-7 Check
|doi=
value (help). PMID 18468545. Unknown parameter|month=
ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link) - ↑ Feigin VL (2005). "Stroke epidemiology in the developing world". Lancet. 365 (9478): 2160–1. doi:10.1016/S0140-6736 (05) 66755-4 Check
|doi=
value (help). PMID 15978910. - ↑ Stroke Mount Sinai Hospital, New York
- ↑ http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/tutorials/strokes/htm/lesson.htm
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
- J. P. Mohr, Dennis Choi, James Grotta, Philip Wolf (2004). Stroke: Pathophysiology, Diagnosis, and Management. New York: Churchill Livingstone. ISBN 0-443-06600-0. OCLC 50477349 52990861 Check
|oclc=
value (help).CS1 maint: multiple names: authors list (link) - Charles P. Warlow, Jan van Gijn, Martin S. Dennis, Joanna M. Wardlaw, John M. Bamford, Graeme J. Hankey, Peter A. G. Sandercock, Gabriel Rinkel, Peter Langhorne, Cathie Sudlow, Peter Rothwell (2008). Stroke: Practical Management (3rd edition ed.). Wiley-Blackwell. ISBN 1-4051-2766-X.CS1 maint: multiple names: authors list (link) CS1 maint: extra text (link)
- National Institute of Neurological Disorders and Stroke - National Institutes of Health
- American Stroke Association (USA)
- National Stroke Association (USA)
- Stroke Association (UK)
- Canadian Stroke Network
- Stroke Alliance For Europe (SAFE)
- Preventive