ข้ามไปเนื้อหา

โรคกระดูกพรุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคกระดูกพรุน
วงกลมภาพบนเป็นมวลกระดูกปกติ
วงกลมภาพล่างเป็นมวลกระดูกที่มีภาวะพรุน
สาขาวิชาวิทยารูมาติก
อาการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหัก[1]
ภาวะแทรกซ้อนปวดเรื้อรัง[1]
การตั้งต้นผู้สูงวัย[1]
ปัจจัยเสี่ยงการติดสุรา, ภาวะเบื่ออาหาร, ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน, โรคกระเพาะอาหารและลำไส้, ศัลยกรรมผ่าตัดเอารังไข่ออก, โรคไต, การสูบบุหรี่[1]
วิธีวินิจฉัยการเอ็กซเรย์[2]
การรักษารับประทานอาหารเหมาะสม, ออกกำลังกาย, ป้องกันการหกล้ม[1]
ยาBisphosphonate[3][4]
ความชุก15% (คนวัย50), 70% (คนวัย80ขึ้น)[5]

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่ลดความแข็งแรงของกระดูกและเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดกระดูกหัก[1] โรคนี้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ[1] ซึ่งมักเกิดกับกระดูกไขสันหลัง, กระดูกแขนท่อนปลายและกระดูกสะโพก[6] โรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยต้องอาศัยการตรวจกระดูกเท่านั้นจึงจะทราบ ผู้ที่มีภาวะกระดูกหักจะมีอาการปวดเรื้อรังและสมรรถภาพการเคลื่อนไหวลดลง เพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้สูงกว่าเพศชาย

มนุษย์เราจะมีมวลกระดูกมากที่สุดในวัยราว 35 ปี มวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆเมื่อพ้นวัยนี้ไป โรคกระดูกพรุนมีสาเหตุมาจากการมีมวลกระดูกที่ต่ำกว่าคนทั่วไป หรือการมีอัตราการเสื่อมของกระดูกที่เร็วกว่าคนทั่วไป อัตราการเสื่อมของกระดูกจะเพิ่มขึ้นในวัยหมดประจำเดือนของสตรี (ราว 40-50 ปี) จากการที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง โรคกระดูกพรุนอาจเกิดขึ้นจากเหตุหรือพฤติกรรมอื่นๆ อาทิ การติดสุรา, ภาวะเบื่ออาหาร, ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน, โรคกระเพาะอาหารและลำไส้, การรับศัลยกรรมผ่าตัดเอารังไข่ออก, โรคไต รวมถึงการสูบบุหรี่

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 "Handout on Health: Osteoporosis". August 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2015. สืบค้นเมื่อ 16 May 2015.
  2. WHO Scientific Group on the Prevention and Management of Osteoporosis (2000 : Geneva, Switzerland) (2003). "Prevention and management of osteoporosis : report of a WHO scientific group" (PDF). pp. 7, 31. ISBN 9241209216. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-16.
  3. Wells, GA; Cranney, A; Peterson, J; Boucher, M; Shea, B; Robinson, V; Coyle, D; Tugwell, P (23 January 2008). "Alendronate for the primary and secondary prevention of osteoporotic fractures in postmenopausal women". The Cochrane database of systematic reviews (1): CD001155. doi:10.1002/14651858.CD001155.pub2. PMID 18253985.
  4. Wells, G; Cranney, A; Peterson, J; Boucher, M; Shea, B; Robinson, V; Coyle, D; Tugwell, P (23 January 2008). "Risedronate for the primary and secondary prevention of osteoporotic fractures in postmenopausal women". The Cochrane database of systematic reviews (1): CD004523. doi:10.1002/14651858.CD004523.pub3. PMID 18254053.
  5. "Chronic rheumatic conditions". World Health Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2015. สืบค้นเมื่อ 18 May 2015.
  6. Golob, AL; Laya, MB (May 2015). "Osteoporosis: Screening, Prevention, and Management". The Medical clinics of North America. 99 (3): 587–606. doi:10.1016/j.mcna.2015.01.010. PMID 25841602.