ข้ามไปเนื้อหา

โมฮามาดู ซูมาเรห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โมฮามาดู ซูมาเรห์
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม โมฮามาดู ซูมาเรห์
วันเกิด (1994-09-20) 20 กันยายน ค.ศ. 1994 (30 ปี)
สถานที่เกิด ฟาจารา แกมเบีย
ส่วนสูง 1.79 m (5 ft 10 12 in)
ตำแหน่ง ปีก
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
โจโฮร์ดารุลตักซิม
หมายเลข 13
สโมสรเยาวชน
2011 สตีฟบีโก
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2013–2015 พีดีอาร์เอ็ม 34 (5)
2016 ปะลิส 22 (5)
2017–2020 ปะหัง 61 (12)
2020–2021 โปลิศ เทโร 4 (0)
2021– โจโฮร์ดารุลตักซิม 13 (4)
ทีมชาติ
2018– มาเลเซีย 28 (7)
เกียรติประวัติ
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2022
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2022

โมฮามาดู ซูมาเรห์ (เกิดวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1994) เป็นนักฟุตบอลชาวมาเลเซีย-แกมเบีย ปัจจุบันเล่นให้กับโจโฮร์ดารุลตักซิม และทีมชาติมาเลเซีย โดยเคยเล่นให้กับโปลิศ เทโรในไทยลีก[1] เขามีฉายาที่ตั้งโดยแฟนปะหังว่า "เคลิบอย" เพราะเขามีรูปร่างผอมบางและสามารถเลี้ยงลูกบอลได้อย่างลื่นไหล เช่นเดียวกันกับการสับขาหลอก[2]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

ซูมาเรห์เกิดที่ฟาจาราในประเทศแกมเบีย ครอบครัวของเขาย้ายไปบันจูลหลังเขาเกิด เขาย้ายไปมาเลเซียเมื่ออายุได้ 12 ปี โดยติดตามบิดาของเขาที่ทำงานเป็นนักธุรกิจและอาศัยที่นั่นในอีกสามปีถัดมา นับตั้งแต่ที่อายุได้ 15 ปี ซูมาเรห์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่นและในฟุตบอล[3] เขาได้ฝึกซ้อมกับอะคาเดมีฟุตบอลเยาวชนกัวลาลัมเปอร์[4]

สโมสรอาชีพ

[แก้]

สตีฟบีโก

[แก้]

ซูมาเรห์ได้รับข้อเสนอให้เข้าร่วมทีมเยาวชนของสตีฟบีโกในปลายปี 2010 อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้รับสัญญาอาชีพ

รอยัลมาเลเซียโปลิศ

[แก้]

ปีถัดมา ซูมาเรห์เดินทางไปมาเลเซียและเซ็นสัญญากับรอยัลมาเลเซียโปลิศ (PDRM) ในมาเลเซียพรีเมียร์ลีก ด้วยสัญญาสองปี เขาลงเล่นนัดแรกให้กับทีมชุดใหญ่เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2013 ในนัดที่เปิดบ้านเอาชนะ 5–0 เบตาเรีย ต่อมาใน ค.ศ. 2014 เขาพาทีมชนะเลิศมาเลเซียพรีเมียร์ลีก ทำให้ได้เลื่อนชั้นสู่ซูเปอร์ลีก

ปะลิส

[แก้]

ซูมาเรห์เซ็นสัญญาหนึ่งปีกับปะลิสหลังหมดสัญญากับรอยัลมาเลเซียโปลิศ[5] เขาลงเล่นนัดแรกให้กับปะลิสเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ในนัดที่เปิดบ้านแพ้ UiTM ในมาเลเซียพรีเมียร์ลีก เขาพาทีมจบอันดับที่ 6 ในพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2016

ปะหัง

[แก้]

ซูมาเรห์ย้ายไปปะหังในซูเปอร์ลีกแบบไม่มีค่าตัวในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 โดยเซ็นสัญญาสองปี เขาลงเล่นนัดแรกให้กับสโมสรเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2017 ในนัดที่บุกไปเสมอเปรัก 1–1 เขาทำประตูแรกในซูเปอร์ลีกเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2017 ช่วยให้เอาชนะที-ทีม 5–0[6]

โปลิศ เทโร

[แก้]

วันที่ 7 กันยายน 2020 ซูมาเรห์เซ็นสัญญากับโปลิศ เทโร ในไทยลีก[7] อย่างไรก็ตาม ปะหังไม่เห็นด้วยกับการย้ายครั้งนี้ โดยอ้างเหตุผลว่าเขายังมีสัญญากับทีมอยู่[8]

ทีมชาติ

[แก้]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 ซูมาเรห์ถูกเรียกเพื่อลงซ้อมให้กับทีมชาติมาเลเซียในนัดกระชับมิตรที่จะพบกับศรีลังกาและคีร์กีซสถาน[9] เขาเป็นผู้เล่นโอนสัญชาติคนแรกที่ถูกเรียกติดทีมชาติ[10]

เขาลงเล่นนัดแรกให้กับทีมชาติเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2018 โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองและทำประตูแรกในนามทีมชาติ ช่วยให้เอาชนะศรีลังกา 4-1[11] เขาทำประตูอีกครั้งช่วยให้ทีมเอาชนะมัลดีฟส์ 3-0 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2018 วันถัดมา เขามีชื่อติดทีมชาติในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018[12] วันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2019 เขาทำประตูสำคัญในนาทีสุดท้ายช่วยให้เอาชนะอินโดนีเซีย 3–2 ในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก ต่อมาในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 เขาทำประตูชัยช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะไทย 2–1 เพิ่มโอกาสในการผ่านเข้าสู่รอบถัดไปของฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก[13]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ซูมาเรห์ได้รับสัญชาติมาเลเซียในเดือนเมษายน ค.ศ. 2018 หลังจากที่อาศัยในประเทศกว่า 5 ปี[14] เขาเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนนานาชาติมาซในชาห์อะลัม และมหาวิทยาลัย SEGi[15]

เกียรติประวัติ

[แก้]

สโมสร

[แก้]
PDRM
ปะหัง
โจโฮร์ดารุลตักซิม

ทีมชาติ

[แก้]

มาเลเซีย

รางวัลส่วนตัว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'Missing' Sumareh to resurface...in Thailand". New Strait Times. New Strait Times. สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
  2. "M. Sumareh Biodata". Soccerway. Soccerway. สืบค้นเมื่อ 6 November 2018.
  3. "Sumareh, ada yang tidak puas hati?". 4 October 2018. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  4. "Sumareh's gaffe throws eligibility into question". 4 October 2018. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  5. "Mohamadou Sumareh Taring Singa Utara". mstar. 29 January 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-21. สืบค้นเมื่อ 2020-09-08.
  6. "Pahang vs. T–Team". Soccerway. 27 January 2017.
  7. "เทโรคอนเฟิร์มคว้า "ซูมาเรห์" ตัวจี๊ดทีมชาติมาเลเซียเสริมคม". September 7, 2020. สืบค้นเมื่อ September 8, 2020.
  8. "เรื่องไม่จบ ปาหังเตรียมฟ้อง ซูมาเรห์ ซบเทโรฯ". September 7, 2020. สืบค้นเมื่อ September 8, 2020.
  9. "Senarai 24 Pemain ke kem latihan pusat Skuad Harimau Malaya bermula 8 October 2018". FAM.org. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  10. Firdaus Hashim (13 October 2018). "Sumareh proves he's a deadly tiger on Harimau Malaya debut". New Straits Times. สืบค้นเมื่อ 15 October 2015.
  11. "Jaringan kilat Sumareh benam Sri Lanka". SinarHarian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-13. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
  12. "Malaysia release final 23-man squad for 2018 AFF Suzuki Cup". Fox Sports Malaysia. 4 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-07. สืบค้นเมื่อ 4 November 2018.
  13. "ไทยพ่ายนัดแรก โดนมาเลย์ยิงแซงชนะ 2-1 เกมคัดบอลโลก". November 14, 2019. สืบค้นเมื่อ September 8, 2020.
  14. "Sumareh can join National Team". NST. สืบค้นเมื่อ 13 October 2018.
  15. "Gambia national coach not angry with Sumareh's move to play for Malaysia". NST. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  16. "PDRM crowned MPL champions; FELDA seal promotion". Football SEA. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
  17. "PDRM wins People's Cup-::maldivesoccer.com:- Maldives' first soccer website". www.maldivesoccer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2015. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
  18. Scott. "2018 AFF Suzuki Cup Best XI". www.affsuzukicup.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-19. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]