โฟมทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โฟมทะเลถูกพัดขึ้นมาบนชายหาด

โฟมทะเล (อังกฤษ: sea foam) เป็นโฟมประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นจากความปั่นป่วนของน้ำทะเลที่มีระดับความเข้มข้นสูงของสารอินทรีย์ละลายน้ำ (ได้แก่ โปรตีน, ลิกนิน และไขมัน) จากแหล่งต่าง ๆ เช่น การย่อยสลายนอกฝั่งหลังปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (ปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง – algal blooms) [1] สารประกอบอินทรีย์เหล่านี้ทำหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิว หรือสารทำให้เกิดฟอง เมื่อน้ำทะเลถูกกวนจากการซัดของคลื่นในเขตชายฝั่ง สารลดแรงตึงผิวภายใต้สภาวะที่ปั่นป่วนเหล่านี้จะช่วยดักจับอากาศให้ก่อตัวเป็นฟองอากาศ และเกาะติดกันเป็นโฟมด้วยแรงตึงผิว โฟมทะเลเป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นทั่วโลก และความแตกต่างขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมทางทะเล น้ำจืดที่ไหลลงทะเล และพื้นผิวดินทรายโดยรอบ[2] เนื่องจากโฟมทะเลมีความหนาแน่นและความคงสภาพต่ำจึงถูกพัดด้วยแรงลมทะเลเข้าฝั่ง เมื่อโฟมทะเลมีปริมาณมากจะก่อตัวเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ทะเลโฟม (sea of foam) โฟมทะเลต่างจากฟองคลื่นเนื่องจากเป็นสารคอลลอยด์ โดยมีฟองอากาศเป็นอนุภาคคอลลอยด์

การก่อตัว[แก้]

โฟมทะเลก่อรูปขึ้นภายใต้สภาวะที่คล้ายคลึงกับการก่อตัวของฟองคลื่น (หรือละอองคลื่น) จากคลื่นหัวแตกอัดอากาศเข้าสู่ชั้นน้ำ ความแตกต่างหลักของโฟมทะเลจากฟองคลื่น คือ การก่อตัวของโฟมทะเลเกิดจากการมีระดับความเข้มข้นสูงของสารอินทรีย์ละลายน้ำบนผิวน้ำทะเล เช่นจากสิ่งมีชีวิตจำพวกพืช ได้แก่แมคโครไฟต์ และแพลงก์ตอนพืช สารอินทรีย์เหล่านี้อาจได้มาจากธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งยิ่งมีความเข้มข้นมากโฟมทะเลที่เกิดขึ้นจะยิ่งคงสภาพนานขึ้นและสะสมเป็นปริมาณมากขึ้น[3] แต่ฟองคลื่นจะคงสภาพเป็นฟองในช่วงสั้นมากและแตกออกเป็นละอองคลื่น

ความสัมพันธ์ เชื่อมโยงและเปรียบเทียบระหว่างขั้นตอนการก่อตัวของโฟมทะเล และการก่อตัวของละอองคลื่น เส้นสีแดงแสดงถึงกระบวนการทางกายภาพที่เป็นอย่างเดียวกันในการก่อตัวของโฟมทะเล และละอองคลื่น

กระบวนการทางกายภาพที่นำไปสู่การก่อตัวของโฟมทะเล คือ

การกระทบของคลื่นผิวน้ำจะดึงอากาศจากบรรยากาศเข้าสู่ชั้นน้ำซึ่งนำไปสู่การสร้างฟอง ฟองอากาศเหล่านี้ถูกผลักให้ไหลวนไปรอบ ๆ ในระยะตื้น ๆ บนผิวน้ำเนื่องจากแรงลอยตัว ฟองอากาศขนาดเล็กมากที่อยู่ในชั้นน้ำจะถูกกวาดเข้าไปเจือปน (กัก) ในน้ำทะเลทั้งหมดในลักษณะสารคอลลอยด์ ทำให้อัตราส่วนของก๊าซที่ละลายในมหาสมุทรชั้นบนมีอัตราส่วนที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่อาจรวมกันได้อีก ฟองอากาศที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่เจือปนกับน้ำจะสะสมสารที่ไม่ชอบน้ำในขณะที่ค่อย ๆ ลอยกลับสู่ผิวน้ำ รวมกับสารอินทรีย์ละลายน้ำที่มีอยู่ในน้ำทะเลบริเวณนั้นจะทำให้คงสภาพเป็นฟองและรวมตัวกันเป็นโฟมทะเล[1]

การศึกษาเกี่ยวกับโฟมทะเลบางชิ้นรายงานว่า การแตกของเซลล์สาหร่ายในช่วงที่มีการพองตัวมากขณะเน่าสลายพร้อม ๆ กัน จะทำให้โอกาสการก่อตัวของโฟมทะเลมีมากขึ้น[3]

เม็ดฝนที่ตกลงมาบนผิวน้ำทะเลสามารถนำไปสู่การก่อตัวและทำลายโฟมทะเลได้เช่นกัน[4] การศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการก่อตัวของโฟมทะเลอาจเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากฝนที่ตกชุกขึ้น[2] ความปั่นป่วน (turbulence) ในชั้นพื้นผิวของทะเลยังอาจส่งผลต่อความเข้มข้นของสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำและช่วยในการสร้างโฟมที่มีสารก่อตัวหนาแน่น[5]

องค์ประกอบ[แก้]

โฟมทะเลมักมีส่วนผสมของวัสดุอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้ว

ส่วนประกอบที่สร้างโฟมทะเลโดยทั่วไปเป็นส่วนผสมของสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ ได้แก่ จากแพลงก์ตอนสัตว์ แพลงก์ตอนพืช สาหร่าย (รวมถึง ไดอะตอม[6]) แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว และ เศษซากพืช[7][5] แม้ว่าการเกิดโฟมทะเลแต่ละครั้งจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป ในบางพื้นที่พบว่าโฟมทะเลประกอบด้วยโปรตีนเป็นหลักซึ่งมีบทบาททั้งในการสร้างโฟมใหม่และคงสภาพโฟมเก่า หรือที่มีไขมันหรือคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก การมีสารประกอบโปรตีนสูงและความเข้มข้นของคาร์โบไฮเดรตต่ำเป็นหลักฐานชี้ให้เห็นว่า มีแบคทีเรียเติบโตจำนวนมาก น้ำตาลที่เคยมีอยู่ในเมือกที่สร้างโดยสาหร่ายหรือพืชได้ถูกแบคทีเรียกินเข้าไปอย่างรวดเร็วและขับถ่ายสารประกอบโปรตีนออกมาปริมาณมาก[3] การวิจัยเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่า เมื่อนำโฟมไปทำให้แห้ง จะพบสารคาร์บอนอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วย กรดฟีนอลิก น้ำตาล น้ำตาลอะมิโน และ กรดอะมิโน

ในอ่าวฟันดีซึ่งมีแอมพิพอด (ชนิด Corophium volutator) อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น อัตราการตายที่สูงโดยธรรมชาติของแอมพิพอด รวมกับการขับถ่ายจากนกทะเลที่กินพวกมัน ทำให้น้ำตาลอะมิโนถูกปล่อยออกมาในบริเวณนั้นและมีความเข้มข้นสูงทำให้เกิดโฟมทะเลได้

ในช่วงปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬพบว่าสารอินทรีย์ที่ก่อโฟมทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมากในบริเวณนั้น[7][8] งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่ามีไมโครแพลงก์ตอนในโฟมทะเลในระดับที่สูงมาก โดยเป็นแพลงก์ตอนพืชจำพวกออโตทรอพ มากกว่าเฮเทโรทรอพ[6] ในบางกรณีโฟมทะเลเกิดจากชีวมวลที่สร้างโดยไดอะตอมบางชนิด นอกจากนี้ยังพบโฟมทะเลที่มีแบคทีเรียหลากหลายจำนวนมาก โฟมทะเลอายุยาวนานมีแนวโน้มที่จะมีความหนาแน่นของแบคทีเรียสูงขึ้น การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า 95% ของแบคทีเรียในโฟมทะเลเป็นแบคทีเรียรูปแท่ง ในขณะที่ผิวน้ำโดยรอบส่วนอื่นมีความหนาแน่นของแบคทีเรียเหล่านี้เพียง 5% - 10%[3] นอกจากนี้ยังมีความแปรปรวนตามฤดูกาลขององค์ประกอบโฟมทะเล[5] ในบางภูมิภาคมีการเกิดละอองเรณูจำนวนมากตามฤดูกาลซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงทางเคมีในโฟมทะเลได้ [2] แม้ว่าโฟมจะไม่เป็นพิษโดยธรรมชาติ แต่ก็อาจมาจากสารปนเปื้อนที่มีความเข้มข้นสูง[1] ฟองโฟมสามารถปนเปื้อนด้วยสารประกอบ ปิโตรเลียม ยาฆ่าแมลง และ สารกำจัดวัชพืช ซึ่งเป็นสารไม่ชอบน้ำสะสมตัวบนผิวฟองขณะลอยตัวสู่ผิวน้ำ

ความคงสภาพและช่วงชีวิต[แก้]

โฟมทะเลนอกเกาะแวนคูเวอร์
โฟมทะเลพัดมาตามลมที่ Sachuest Point National Wildlife Refuge โรดไอแลนด์

ในทางอุณหพลศาสตร์โครงสร้างโฟมทะเลไม่เสถียร แม้ว่าโฟมทะเลบางชนิดสามารถคงสภาพในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายวัน โฟมทะเลมีสองประเภทที่แบ่งตามความคงสภาพ

  • โฟมทะเลที่ไม่เสถียรหรือโฟมชั่วคราวมีอายุสั้นมาก (spume) ฟองอากาศที่เกิดขึ้นในโฟมทะเลอาจแตกออกและปล่อยละอองลอยสู่อากาศทำให้เกิด ละอองทะเล (sea spray)
  • โฟมทะเลที่เสถียรอาจมีอายุนานหลายชั่วโมงถึงหลายวัน (sea foam) โดยบางครั้งอายุของโฟมทะเลเป็นผลมาจากอนุภาคของ ซิลิกา แคลเซียม หรือ เหล็ก ซึ่งทำให้เกิดความคงตัวของโฟมและอายุที่ยาวนาน[1]

นอกจากนี้น้ำทะเลที่มีสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำที่ปล่อยออกมาจากแพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายแมคโครไฟติก ซึ่งถูกปั่นป่วนในสภาพแวดล้อมของคลื่นชายฝั่ง ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะผลิตโฟมที่คงตัวและมีอายุยาวขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำทะเลที่มีส่วนประกอบเหล่านี้เพียงอย่างหนึ่งอย่างเดียว เช่น น้ำทะเลที่ผ่านการกรองในบ่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเล (Ecklonia maxima) จะสามารถสร้างโฟมได้ (จากเครื่องพ่นอากาศ) แต่ขาดความเสถียรจากการกรองสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำในน้ำทะเลออกไป จึงเกิดเป็นฟอง (spume) และแตกในเวลาสั้น ๆ นอกจากนี้สาหร่ายทะเลที่อยู่ในน้ำไหลจะลดการเคลือบผิวด้วยเมือก ซึ่งเป็นสารที่ให้เกิดฟองได้[3] และยังพบว่าเกลือประเภทต่าง ๆ มีผลต่อการเกาะกันของฟองภายในโฟมทะเลซึ่งมีส่วนทำให้ความเสถียรของโฟมต่างกัน

บทบาททางนิเวศวิทยา[แก้]

แหล่งอาหาร[แก้]

ฟองโฟมที่อุดมด้วยแพลงก์ตอนถูกทิ้งไว้ใน แอ่งน้ำ หลัง น้ำขึ้น

การปรากฏขึ้นของโฟมทะเลในสิ่งแวดล้อมทางทะเลมีบทบาทต่อระบบนิเวศหลายประการ รวมถึงการสร้างแหล่งอาหารและการสร้างแหล่งที่อยู่ ในฐานะของการเป็นแหล่งอาหาร โฟมทะเลที่มีองค์ประกอบที่เสถียรซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศมากกว่าเนื่องจากสามารถคงอยู่ได้นานขึ้น จึงสามารถขนถ่ายสารอาหารภายในสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้[3] อายุการสลายตัวที่นานขึ้นส่งผลให้มีโอกาสสูงขึ้นที่พลังงานที่อยู่ในโฟมทะเลจะเคลื่อนย้ายวัฏจักรอาหารไปสู่ระดับโภชนาการที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่นในอ่าวฟันดี แอมพิพอด (Corophium volutator) สามารถบรรลุ 70% ของความต้องการทางโภชนาการจากน้ำตาลและกรดอะมิโนที่ได้จากโฟมทะเล อย่างไรก็ตามในบางครั้งพบว่าโฟมทะเลเป็นพิษต่อสัตว์ ซึ่งอาจมาจากฟีนอลิกที่มีความเข้มข้นสูง และหรือการมีโลหะหนัก หรือยาฆ่าแมลงที่รวมอยู่ในโฟมทะเลเป็นบางครั้ง ทำให้เกิดความเป็นพิษ[5] ทางชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรเคป ประเทศแอฟริกาใต้ โฟมทะเลมักเกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งที่มีสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ในช่วงที่มีลมตะวันตกพัดแรง โฟมที่เกิดขึ้นในสภาวะเหล่านี้อาจเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น จากเศษสารอินทรีย์ที่อยู่ในโฟมทะเล

การถ่ายเทสารอาหาร[แก้]

โฟมทะเลยังทำหน้าที่เป็นตัวขนถ่ายทั้งสิ่งมีชีวิตและสารอาหารภายในสิ่งแวดล้อมทางทะเล และบางครั้งถ่ายเทไปสู่สภาพแวดล้อมอื่น คือ แนวน้ำขึ้นน้ำลง หรือพื้นดินชายฝั่ง การกระทบของคลื่นสามารถทำให้โฟมเข้าไปในแนวน้ำขึ้นน้ำลงและสามารถคงอยู่ได้เมื่อกระแสน้ำลดลง และนำสารอาหารไปยังเขตน้ำขึ้นน้ำลงด้วย[5] นอกจากนี้โฟมทะเลสามารถขนถ่ายสารอาหารให้ลอยตัวไปกับอากาศได้ในสภาวะที่มีลมแรงซึ่งจะถ่ายเทต่อไปยังพื้นดินใกล้เคียง[2] ความสามารถของโฟมทะเลในการขนถ่ายสารต่าง ๆ ยังเป็นประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตระดับมหภาค เนื่องจากเชื้อของสาหร่ายขนาดใหญ่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังสภาพแวดล้อมระดับจุลภาคที่แตกต่างกันได้จึงส่งผลต่อภูมิทัศน์ของน้ำขึ้นน้ำลง และก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยาใหม่ ๆ[9]

แหล่งอาศัย[แก้]

นอกจากนี้โฟมทะเลยังเป็นแหล่งอาศัยของจุลินทรีย์ในทะเลจำนวนมาก งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มไมโครไฟโตแพลงก์ตอน นาโนไฟโตแพลงตอน และไดอะตอมในทะเลโฟม กลุ่มแพลงก์ตอนพืชในโฟมทะเลมีึความหนาแน่นมากกว่าเขตผิวน้ำทะเล[6]

อันตราย[แก้]

ความเป็นพิษ[แก้]

โฟมทะเลที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และมักเป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาพระบบนิเวศในมหาสมุทรที่ดี[7][10][11] อย่างไรก็ตามการที่โฟมทะเลสัมผัสกับสารปนเปื้อนที่มีความเข้มข้นสูงในผิวหน้าของน้ำทะเล ทั้งจากการเน่าเปื่อยของสาหร่ายจำนวนมหาศาล เช่นการเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬขนาดใหญ่ที่สลายตัวใกล้ชายฝั่ง รวมถึงจากการผลิตและการขนส่งเชื้อเพลิงฟอสซิล และสื่งปฏิกูลที่ถูกพัดพาหลังพายุ[1] สารปนเปื้อนเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดโฟมทะเลที่เป็นพิษผ่านการดูดซับลงบนผิวของฟองอากาศ ฟองอาจแตกกระเซ็นและปล่อยสารพิษไปกับฝอยน้ำสู่บรรยากาศ ที่เรียกว่า ละอองคลื่น หรือ ละอองลอย หรืออาจยังคงอยู่ในฟอง สารพิษที่ปล่อยออกมาทางละอองลอยและฟองอากาศแตกสามารถสูดดมได้โดยมนุษย์ จุลินทรีย์ที่ใช้โฟมทะเลเป็นที่อยู่อาศัยได้เพิ่มความไวต่อการสัมผัสสารปนเปื้อน[12] ดังนั้นสารพิษเหล่านี้สามารถรวมเข้ากับวัฏจักรอาหารโดยรอบระบบนิเวศชายฝั่งได้

สาหร่ายสะพรั่งที่เป็นอันตราย[แก้]

โฟมสามารถที่ก่อตัวขึ้นหลังจากการย่อยสลายของสาหร่ายสะพรั่งที่เป็นอันตราย (HABs) นอกจากประกอบด้วยสาหร่ายแล้ว ยังประกอบด้วย ไดโนแฟลเจลเลต และ ไซยาโนแบคทีเรีย[13] ชีวมวลจากสาหร่ายสะพรั่งที่เน่าเปื่อยจะรวมอยู่ในโฟมทะเลในชั้นบนสุดของผิวน้ำทะเล[9] เมื่อโฟมทะเลที่รวมเข้ากับการแตกตัวสารพิษจากสาหร่ายจะแตกกระเซ็นสู่อากาศทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ[14] ได้แก่ สาหร่าย Phaeocystis globosa ในเนเธอร์แลนด์ การสะสมชีวมวลปริมาณมากทำให้สามารถสร้างโฟมพิษจำนวนมากและมักจะซึมลงบนชายหาด

ในการศึกษาสาเหตุของการตายของนกทะเลในแคลิฟอร์เนียในปี 2550 และในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือในปี 2552 ยังพบว่าโฟมทะเลจากสาหร่าย Akashiwo sanguinea ที่เน่าเปื่อยได้ขจัดสารกันน้ำบนขนนกทำให้นกบินได้ยากขึ้น นำไปสู่ภาวะตัวเย็นเกินที่รุนแรงถึงชีวิตในนกหลายชนิด[7]

กิจกรรมของมนุษย์[แก้]

ในขณะที่โฟมทะเลเป็นผลมาจากการปั่นป่วนของน้ำทะเลที่มีส่วนผสมของสารอินทรีย์ในชั้นผิวหน้ามหาสมุทร หรือจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งสามารถนำไปสู่การผลิตโฟมที่มากเกินไปและมักเป็นพิษ[1] นอกจากน้ำมันอินทรีย์ กรดและโปรตีนที่สะสมอยู่ในชั้นบนสุดของผิวน้ำทะเลแล้ว สารประกอบจากระบบการผลิตและขนส่งปิโตรเลียม เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันเครื่องที่ปล่อยหรือรั่วออกจากเรือบรรทุกน้ำมัน สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์เช่นผงซักฟอก สิ่งปฏิกูล และการใช้ยาฆ่าแมลงสามารถเข้าสู่ผิวน้ำทะเลและรวมอยู่ในโฟมได้ และสร้างโฟมทะเลที่มีอายุยาวนานขึ้น ในการศึกษาหนึ่งพบว่า polychlorinated biphenyls (PCBs) ซึ่งเป็นมลพิษอินทรีย์แบบถาวรที่พบว่าสะสมอยู่ในโฟมทะเล[12]

แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและสถานีรับ-เก็บ อาจมีส่วนร่วมในการสร้างโฟมทะเล จากกระบวนการใช้น้ำทะเลเพื่อเปลี่ยนแก๊สธรรมชาติเป็นแก๊สธรรมชาติเหลว[15] การศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่ามี โพรแคริโอต (อาร์เคียและแบคทีเรีย) และไซยาโนแบคทีเรียในโฟมที่สร้างขึ้นใกล้กับสถานีก๊าซธรรมชาติเหลว โพรแคริโอตเหล่านี้สามารถรีไซเคิลสารเคมีที่ปล่อยออกมาจากสถานีซึ่งทำให้เพิ่มการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อื่น นอกจากนี้มีการบันทึกว่าระดับอินทรีย์คาร์บอนรวม (TOC) ที่สูงขึ้นและชีวมวลของแพลงก์ตอนในโฟมทะเลที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้กับสถานีก๊าซธรรมชาติ อินทรีย์คาร์บอนหลังจากดูดซึมโดยโปรคาริโอตจะถูกถ่ายไปยังวัฏจักรอาหารโดยการกลืนกินของสัตว์กินพืช[15]

เหตุการณ์ทะเลโฟมที่สำคัญ[แก้]

  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550: เกิดการสะสมของโฟมทะเลจำนวนมากที่ชายฝั่ง Yamba ทางตอนเหนือของรัฐนิวเซาท์เวลส์[16][17][18]
  • มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551: โฟมทะเลเกิดขึ้นที่ Caloundra และ Point Cartwright บนชายฝั่งซันไชน์ของ ควีนส์แลนด์ ดึงดูดความสนใจจากสื่อทั่วโลก[19][20][21]
  • ธันวาคม พ.ศ. 2554: ถนนเลียบชายฝั่งที่ Cleveleys, แลงคาเชอร์ เต็มไปด้วยโฟมทะเลที่สูงถึงหนึ่งเมตร[22]
  • พ.ศ. 2555: ระหว่างการรายงานสดของ พายุเฮอริเคนไอรีน ใน โอเชียนซิตี้ ทัคเกอร์บาร์นส์ รัฐแมริแลนด์ ถูกปกคลุมไปด้วยโฟมทะเล[23]
  • 24-25 กันยายน พ.ศ. 2555: หลังจากเกิดพายุและลมแรงชายหาดบริเวณ Footdee ของเมืองแอเบอร์ดีน ถูกปกคลุมไปด้วยโฟมทะเล[24]
  • 27-28 มกราคม พ.ศ. 2556: ชายฝั่งซันไชน์ใน ควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย มีโฟมจำนวนมากถูกชะล้างบนบกจากพายุไซโคลนออสวอลด์[25]
  • มิถุนายน พ.ศ. 2559: เกิดโฟมทะเลทั่วชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียถูกพายุพัดถล่ม[26]
  • 28 มีนาคม พ.ศ. 2560: โฟมทะเลถูกสร้างขึ้นโดยพายุไซโคลนเด็บบี้ ที่หาด Sarina ในควีนส์แลนด์ประเทศออสเตรเลีย[27]
  • 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560: พายุเฮอริเคนโอฟีเลียสร้างโฟมทะเลปกคลุมเมือง Cleveleys แลงคาเชอร์[28]
  • มกราคม พ.ศ. 2561: พายุเอลินอร์ทำให้เกิดโฟมอย่างกว้างขวางทั่วชายฝั่งยุโรป[29]
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562: พายุกึ่งเขตร้อน Melissa นำโฟมทะเลมาที่หาด Nantasket ใน Hull รัฐแมสซาชูเซตส์[30]
  • 21 มกราคม พ.ศ. 2563: พายุกลอเรียท่วมเมือง ทอสซาเดอมาร์ ประเทศสเปน โดยมีโฟมทะเลหนาทึบจากน้ำท่วมใหญ่[11][31]
  • 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2563: พายุที่เคปทาวน์ แอฟริกาใต้

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Schilling, Katerina; Zessner, Matthias (1 October 2011). "Foam in the aquatic environment". Water Research (ภาษาอังกฤษ). 45 (15): 4355–4366. doi:10.1016/j.watres.2011.06.004. ISSN 0043-1354.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 HAROLD, E.; SCHLICHTING, JR. (1971). "A Preliminary Study of the Algae and Protozoa in Seafoam". Botanica Marina. 14 (1). doi:10.1515/botm.1971.14.1.24. ISSN 0006-8055.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Velimirov, B. (1980). "Formation and potential trophic significance of marine foam near kelp beds in the benguela upwelling system". Marine Biology. 58 (4): 311–318. doi:10.1007/bf00390779. ISSN 0025-3162.
  4. Veron, Fabrice (2015-01-03). "Ocean Spray". Annual Review of Fluid Mechanics (ภาษาอังกฤษ). 47 (1): 507–538. doi:10.1146/annurev-fluid-010814-014651. ISSN 0066-4189.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Craig, Douglas; Ireland, Robert J.; Bärlocher, Felix (September 1989). "Seasonal variation in the organic composition of seafoam". Journal of Experimental Marine Biology and Ecology. 130 (1): 71–80. doi:10.1016/0022-0981(89)90019-1. ISSN 0022-0981.
  6. 6.0 6.1 6.2 Druzhkov, Nikolai V.; Makarevich, Pavel R.; Bardan, Sergei I. (12 January 1997). "Sea foam as an object of sea-surface film studies". Polar Research (ภาษาอังกฤษ). 16 (2): 117–121. doi:10.3402/polar.v16i2.6630. ISSN 1751-8369.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 What is sea foam? National Ocean Service. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2564.
  8. O'Dowd, Colin; Ceburnis, Darius; Ovadnevaite, Jurgita; Bialek, Jakub; Stengel, Dagmar B.; Zacharias, Merry; Nitschke, Udo; Connan, Solene; Rinaldi, Matteo (2015-10-14). "Connecting marine productivity to sea-spray via nanoscale biological processes: Phytoplankton Dance or Death Disco?". Scientific Reports (ภาษาอังกฤษ). 5: 14883. doi:10.1038/srep14883. ISSN 2045-2322. PMC 4604474. PMID 26464099.
  9. 9.0 9.1 Meneses, Isabel (June 1993). "Foam as a dispersal agent in the rocky intertidal of central Chile". European Journal of Phycology (ภาษาอังกฤษ). 28 (2): 107–110. doi:10.1080/09670269300650171. ISSN 0967-0262.
  10. Dharna Noor. A Spanish Beach Town Is Filling Up With Sea Foam. Gizmodo, 22 มกราคม 2563.
  11. 11.0 11.1 Travis Fedschun. Sea foam floods streets of Spanish town during deadly storm. Fox News, 23 มกราคม 2563.
  12. 12.0 12.1 Napolitano, Guillermo E.; Richmond, Jacqueline E. (February 1995). "Enrichment of biogenic lipids, hydrocarbons and PCBs in stream-surface foams". Environmental Toxicology and Chemistry (ภาษาอังกฤษ). 14 (2): 197–201. doi:10.1002/etc.5620140203. ISSN 0730-7268.
  13. Blauw, A.N.; Los, F.J.; Huisman, J.; Peperzak, L. (November 2010). "Nuisance foam events and Phaeocystis globosa blooms in Dutch coastal waters analyzed with fuzzy logic". Journal of Marine Systems. 83 (3–4): 115–126. doi:10.1016/j.jmarsys.2010.05.003. ISSN 0924-7963.
  14. Administration, US Department of Commerce, National Oceanic and Atmospheric. "Why do harmful algal blooms occur?". oceanservice.noaa.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.
  15. 15.0 15.1 Franzo, Annalisa; Karuza, Ana; Celussi, Mauro; Fornasaro, Daniela; Beran, Alfred; Di Poi, Elena; Del Negro, Paola (2015-04-17). "Foam production as a side effect of an offshore liquefied natural gas terminal: how do plankton deal with it?". Environmental Science and Pollution Research (ภาษาอังกฤษ). 22 (11): 8763–8772. doi:10.1007/s11356-015-4499-2. ISSN 0944-1344.
  16. Samantha Williams, Yamba hit by foam lather, The Daily Telegraph, 27 August 2007. Retrieved 5 November 2010.
  17. Eric Shackle, Australia Foams at the Mouth เก็บถาวร 2012-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, OhmyNews, 26 January 2008. Retrieved 5 November 2010.
  18. Brett M.Christensen, Whipped Ocean – Beach Foam at Yamba New South Wales เก็บถาวร 2016-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Hoax-Slayer.com, August 2008. Retrieved 5 November 2010.
  19. A. Lander, The foam is back!, Sunshine Coast Daily, 20 February 2008. Retrieved 5 November 2010.
  20. A. Lander, No place like foam Sunshine Coast Daily, 24 January 2008. Retrieved 5 November 2010.
  21. Mark Furler, Foam a global hit, Sunshine Coast Daily, 26 January 2008. Retrieved 5 November 2010.
  22. "Sea foam swamps cars at seaside resort of Cleveleys". BBC News. 29 December 2011. สืบค้นเมื่อ 30 November 2012.
  23. "FOX 5's Tucker Barnes Braves the Sea Foam in Ocean City". Fox 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2012.
  24. "Foam swept in as gales hit Scotland". BBC News. 28 September 2012. สืบค้นเมื่อ 30 November 2012.
  25. "Sunshine Coast Winter Wonderland". Ninemsn. 28 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2013. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
  26. "East coast low: Sea foam whipped up by storms could be hazardous to health, toxicologist warns". abc.net.au. 7 June 2016. สืบค้นเมื่อ 11 September 2017.
  27. "Thick sea foam rolls onto Sarina Beach during Cyclone Debbie". abc.net.au. 28 March 2017. สืบค้นเมื่อ 11 September 2017.
  28. [1] The Independent, 16 October 2017. Retrieved 18 October 2017.
  29. "Eleanor whips up sea foam party for dog". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2018-01-04.
  30. "It's Not Snow: Storm Sends Sea Foam Flying At Nantasket Beach". CBS Boston. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
  31. "Sea foam engulfs Spanish streets". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2020-01-22.