โกปาอาเมริกาหญิง 2022

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกปาอาเมริกาหญิง 2022
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพโคลอมเบีย
วันที่8–30 กรกฎาคม
ทีม10 (จาก 1 สมาพันธ์)
สถานที่(ใน 3 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศธงชาติบราซิล บราซิล (สมัยที่ 8)
รองชนะเลิศธงชาติโคลอมเบีย โคลอมเบีย
อันดับที่ 3ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
อันดับที่ 4ธงชาติปารากวัย ปารากวัย
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน25
จำนวนประตู87 (3.48 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม172,233 (6,889 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดอาร์เจนตินา ยามิลา โรดริเกซ (6 ประตู)
ผู้เล่นยอดเยี่ยมโคลอมเบีย ลินดา ไกเซโด
ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมบราซิล โลเรนา
รางวัลแฟร์เพลย์ธงชาติชิลี ชิลี
2018
2024

โกปาอาเมริกาหญิง 2022 (สเปน: Copa América Femenina 2022) เป็นการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์ระหว่างประเทศของทวีปอเมริกาใต้ ครั้งที่ 9 โกปาอาเมริกาหญิง[1] จัดขึ้นสำหรับทีมชาติที่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ การแข่งขันจัดขึ้นที่ประเทศโคลอมเบียตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[2]

การแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นรอบคัดเลือกโซนอเมริกาใต้สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2023 ที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[3] โดยให้โควตาผ่านเข้ารอบโดยตรง 3 ตำแหน่งและเพลย์ออฟอีก 2 ตำแหน่ง สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง[4] และอีก 3 ตำแหน่งสำหรับการแข่งขันแพนอเมริกันเกมส์ 2023 ที่ซันติอาโก (นอกเหนือจากชิลีที่ผ่าการคัดเลือกโดยอัตโนมัติในฐานะเจ้าภาพ) นอกจากนี้ ผู้เข้ารอบทั้งสองทีมยังผ่านเข้ารอบการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ที่ประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย หลังจากการแข่งขันครั้งนี้ การแข่งขันจะจัดขึ้นทุก 2 ปีแทนที่จะเป็น 4 ปี[5]

บราซิลป้องกันแชมป์ได้เป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกัน โดยเอาชนะโคลอมเบีย 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศ และเป็นแชมป์สมัยที่ 8 ของพวกทีม[6] ในฐานะผู้ชนะ พวกเขาจะแข่งขันฟินาลิสซิมา 2023 นัดแรก กับทีมชาติอังกฤษ ผู้ชนะการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2022[7]

สนามแข่งขัน[แก้]

ประกาศสถานที่จัดงานเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2564 การแข่งขันจัดขึ้นในสามเมือง ได้แก่ กาลิ, บูการามังกา และอาร์เมเนีย[8][9]

อาร์เมเนีย บูการามังกา กาลิ
เอสตาดิโอเซนเตนาริโอ สนามกีฬาอัลฟอนโซ โลเปซ สนามกีฬาปัสกวล เกร์เรโร
ความจุ: 20,716 ที่นั่ง ความจุ: 28,000 ที่นั่ง ความจุ: 35,405 ที่นั่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Colombia busca organizar la Copa América Femenina de 2022". El Heraldo. Agencia EFE. 30 September 2021. สืบค้นเมื่อ 3 January 2022.
  2. "Colombia, host of the 2022 Copa América Femenina". 27 October 2021. สืบค้นเมื่อ 27 October 2021.
  3. "¿La Copa América femenina vuelve a Argentina en 2022?". Mundo D. 8 September 2020.
  4. "Update on FIFA Women's World Cup and men's youth competitions". FIFA. 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  5. "Alejandro Domínguez: "En CONMEBOL y en el mundo el futuro tiene que ser del fútbol femenino"" (ภาษาสเปน). CONMEBOL. 17 December 2020.
  6. "Brasil conquista su octava estrella en la CONMEBOL Copa América Femenina" (ภาษาสเปน). CONMEBOL. 30 July 2022.
  7. "UEFA and CONMEBOL launch new intercontinental events". UEFA.com. Union of European Football Associations. 2 June 2022. สืบค้นเมื่อ 3 June 2022.
  8. "Cali, Bucaramanga y Armenia serán las sedes de la Copa América Femenina en el 2022". Infobae. 26 December 2021.
  9. "Medellín no será sede de la Copa América femenina". TeleMedellín. 11 March 2022.