แอนโทนี มิงเกลลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนโทนี มิงเกลลา
เกิด6 มกราคม ค.ศ. 1954(1954-01-06)
Ryde, Isle of Wight, ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต18 มีนาคม ค.ศ. 2008(2008-03-18) (54 ปี)
ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ
คู่สมรสคาโรลิน เชา
อาชีพผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้สร้างภาพยนตร์, นักเขียนบท, และ นักแสดง
ปีที่แสดง1981—2008
รางวัล
ออสการ์Best Director
1996 The English Patient
ลูกโลกทองคำBest Motion Picture - Drama
1996 The English Patient
แบฟตาBest Original Screenplay
1991 Truly Madly Deeply
Best Adapted Screenplay
1996 The English Patient
Best Film
1996 The English Patient
LA Britannia Award
2006 Artistic Excellence in Directing

แอนโทนี มิงเกลลา (อังกฤษ: Anthony Minghella) (6 มกราคม ค.ศ. 1954 – 18 มีนาคม ค.ศ. 2008) เป็นผู้กำกับผู้ได้รับรางวัลออสการ์คนสำคัญของอังกฤษ มิงเกลลาเป็นประธานกรรมการสถาบันภาพยนตร์อังกฤษ (British Film Institute) ระหว่างปี ค.ศ. 2003 ถึงปี ค.ศ. 2007

ชีวิตเบื้องต้น[แก้]

แอนโทนี มิงเกลลาเกิดที่ไรด์ที่ไอล์ออฟไวท์ในอังกฤษ เป็นลูกของกลอเรียและเอ็ดเวิร์ดมิงเกลลาเจ้าของโรงงานไอศกรีม เอ็ดเวิร์ด มิงเกลลาเป็นชาวอิตาลี-สก็อตและกลอเรียมาจากเมืองลีดสทางเหนือของอังกฤษ ครอบครัวของกลอเรียแต่เดิมมาจากหมู่บ้านวาลโวริในบริเวณลาซิโอในประเทศอิตาลี มิงเกลลาเข้าโรงเรียนแกรมม่าร์แซนดาวน์และวิทยาลัยเซนต์จอห์น (พอร์ทสมัธ) มิงเกลลาจบปริญญาตรีและโทที่มหาวิทยาลัยฮัล แต่ละทิ้งการเขียนดุษฎีนิพนธ์สำหรับปริญญาเอก

อาชีพ[แก้]

งานชิ้นแรกที่สร้างเป็นงานละครเวทีที่แปลงมาจากหนังสือ Mobius the Stripper โดยเกเบรียล โจซิโพวิซิ เมื่อปี ค.ศ. 1975 แต่งานชิ้นที่ทำให้มิงเกลลาเป็นที่รู้จักเป็นครั้งแรกในฐานะผู้สร้างคืองานที่สร้างจากนวนิยายเรื่อง Whale Music โดยนักประพันธ์ชาวแคนาดา พอล ควอร์ริงตัน[1] งานชิ้นแรกในฐานะผู้กำกับเป็นงานสองชิ้นที่สร้างจากบทละครของซามูเอล เบคเคทท์ เรื่อง Play และ Happy Days ระหว่างคริสต์ทศศวรรษ 1980 มิงเกลลาสร้างละครสำหรับโทรทัศน์เริ่มด้วยรายการต่อเนื่อง Magpie ก่อนที่จะมาเป็นผู้แก้บทละครดรามาต่อเนื่องสำหรับเด็กเรื่อง Grange Hill ให้แก่บีบีซี และต่อมาเขียนเรื่อง The Storyteller ซึ่งเป็นรายการต่อเนื่องของจิม เฮ็นสันนักเล่นหุ่นผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นมิงเกลลาเขียนบางเอพิโซดให้กับ Inspector Morse สำหรับ ไอทีวี ละครเรื่อง Made in Bangkok ที่แสดงที่โรงละครเวสท์เอ็นด์เมื่อปี ค.ศ. 1986 ได้รับความสำเร็จในวงการ

งานกำกับเรื่อง Truly, Madly, Deeply สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1990 สร้างสำหรับรายการชุด Screen Two ของบีบีซีเป็นงานที่สร้างดีเด่นจนสามารถจำหน่ายเป็นภาพยนตร์โดยทั่วไป ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้มิงเกลลาต้องบอกเลิกงานเขียนเอพิโซดให้กับ “นักสืบมอร์ส” ซึ่งขณะนั้นมิงเกลลาคิดว่าจะเป็นงานที่ทำให้ได้รับการประชาสัมพันธ์มากกว่า

ในปี ค.ศ. 1996 มิงเกลลาได้รับรางวัลออสการ์ในฐานะผู้กำกับการแสดงดีเด่นประจำปีสำหรับภาพยนตร์เรื่อง The English Patient ซึ่งมิงเกลลาแปลงมาจากนวนิยายชื่อเดียวกันที่ได้รับรางวัลแมนบุคเคอร์ไพรซ์สำหรับหนังสือดีเด่นประจำปี ที่เขียนโดยไมเคิล ออนดัทเจ (Michael Ondaatje) นักเขียนชาวศรีลังกา-คานาดา ในปี ค.ศ. 1999 มิงเกลลาได้รับการเสนอชื่อสำหรับรางวัลผู้แปลงบทภาพยนตร์ดีเด่นของรางวัลออสการ์ในเรื่อง The Talented Mr. Ripley จากนวนิยายที่เขียนโดยแพทริเชีย ไฮสมิธ (Patricia Highsmith)

มิงเกลลาเพิ่งสร้างภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์บีบีซึเรื่อง The No. 1 Ladies Detective Agency จากนวนิยายที่เขียนโดย อเล็กซานเดอร์ แม็คคอล สมิธ โดยมีจิล สก็อตต์แสดงเป็นเพรชเชียส รามทสเว ซึ่งจะออกอากาศภายในอาทิตย์เดึยวกับที่มิงเกลลาเสียชืวิต

มิงเกลลาสนับสนุนภาพยนตร์เรื่อง I Know I'm Not Alone ที่สร้างโดยนักดนตรีไมเคิล แฟรนติ (Michael Franti) เกึ่ยวกับการเดินทางเพื่อไปแสวงหาสันติภาพที่ประเทศอิรัก, ดินแดนปาเลสไตน์ และ ประเทศอิสราเอล

ในปี ค.ศ. 2005 มิงเกลลากำกับภาพยนตร์สั้นสำหรับการประชุมพรรคการเมืองประจำปีของพรรคแรงงาน ที่แสดงความร่วมมือในการทำงานระหว่างโทนี แบลร์ และ กอร์ดอน บราวน์ แต่ถูกกล่าวหาว่าเป็นภาพพจน์ที่ผิดความจริงโดยปีเตอร์ คอลเล็ทท์จิตแพทย์จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ผู้กล่าวว่า “ถ้าคุณพูดกับผม, พบจะแสดงความสนใจเต็มที่ในเมื่อคุณมีตำแหน่งเหนือกว่าผมหรือผมชื่นชมคุณ ในภาพยนตร์การเมืองสั้น(ของมิงเกลลา) ทั้งสองคนมองตากันราวกับคนรัก ซึ่งผิดความจริงโดยสิ้นเชิง”[2]

มิงเกลลากำกับละครโอเปร่าเป็นครั้งแรกในเรื่อง “มาดามบัตเตอร์ฟลาย” โดย จาโกโม ปุชชีนี ที่แสดงครั้งแรกที่โรงละครโอเปร่าแห่งชาติอังกฤษที่ลอนดอนเมื่อปี ค.ศ. 2005, ที่โรงละครโอเปร่าและบัลเล่ต์แห่งชาติลิธูเอเนียที่วิเนียสในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2006 และที่เมโทรโปลิตันโอเปร่าที่นครนิวยอร์กในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ไอล์ออฟไวท์ตั้งชื่อโรงละครแอนโทนี มิงเกลลาเพื่อเป็นเกียรติแก่มิงเกลลา นอกจากนั้นมิงเกลลายังปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่อง Atonement โดยแสดงเป็นพิธีกรโทรทัศน์ผู้สัมภาษณ์นักประพันธ์ผู้เป็นตัวละครสำคัญในภาพยนตร์

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

มิงเกลลาแต่งงานกับชาวอังกฤษเกิดที่ฮ่องกง คาโรลิน เชานักนาฏกรรมวิธี (choreographer) ลูกชายแม็กซ์ มิงเกลลาเป็นนักแสดง ลูกสาวฮันนาห์เป็นผู้ช่วยการกำกับในภาพยนตร์เรื่อง “มิสเตอร์ริพลีย์ผู้สามารถ” โดมินิคน้องชายของมิงเกลลาก็เป็นนักเขียนบทละครผู้มีชื่อเสียง เอดานาน้องสาวปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับมหกรรมแจ๊สที่ไอล์ออฟไวท์ ดันเตหลานเป็นผู้ร่วมในรายการต่อเนื่องชุด “เด็กอัจฉริยะ” ของช่องสี่

เสียชีวิต[แก้]

มิงเกลลาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2008 จากการที่เลือดไหลไม่หยุดที่โรงพยาบาลชาริงครอสในกรุงลอนดอนหลังจากการผ่าตัดอาทิตย์ก่อนหน้านั้นเพื่อเอามะเร็งทอนซิลและคอออกภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2533[3] [4]

ภาพยนตร์และละคร[แก้]

ผู้กำกับ[แก้]

ค.ศ. ชื่อเรี่อง จากหนังสือ
ผู้ประพันธ์/ผู้เขียนบท
นักแสดง รางวัลออสการ์ได้รับ
และ (เสนอชื่อ)
1990 Truly, Madly, Deeply Truly, Madly, Deeply
แอนโทนี มิงเกลลา
จูเลียต สตีเวนสัน
แอเล็น ริคแมน
1993 Mr. Wonderful Mr. Wonderful'
เอมี ชอร์ และ วิคคี โพลอน
แม็ท ดิลลัน
แอนนาเบลลา ชิโอร์รา
1996 The English Patient
(ชื่อไทย: ในความทรงจำ ความรักอยู่ได้ชั่วนิรันดร์)
The English Patient
ไมเคิล ออนดัทเจ
ราล์ฟ ไฟนส์
คริสติน สก็อต ทอมัส
9 (เสนอชื่อ 12)
1999 The Talented Mr. Ripley
(ชื่อไทย: อำมหิต มร.ริปลีย์)
The Talented Mr. Ripley
แพทริเชีย ไฮสมิธ
แม็ตต์ เดมอน
จูด ลอว์
กวินเน็ธ พัลโทรว์
(เสนอชื่อ 5)
2000 Play Play
ซามูเอล เบคเคทท์
จูเลียต สตีเวนสัน
คริสติน สก็อต ทอมัส
แอเล็น ริคแมน
2003 Cold Mountain
(ชื่อไทย: วิบากรัก สมรภูมิรบ)
Cold Mountain
ชาร์ลส์ เฟรเซีย
นิโคล คิดแมน
เรเน่ เซลเวเกอร์
จูด ลอว์
1 (เสนอชื่อ 7)
2006 Breaking and Entering Breaking and Entering
แอนโทนี มิงเกลลา
จูด ลอว์
จูเลียต บิโนเช
2008 The No. 1 Ladies Detective Agency The No. 1 Ladies Detective Agency
อเล็กซานเดอร์ แม็คคอล สมิธ
จิล สก็อต
แอนิคา โนนิ โรส

ผู้สร้าง[แก้]

ละครบางเรื่อง[แก้]

  • Whale Music
  • Two Planks And A Passion
  • A Little Like Drowning
  • Made In Bangkok
  • Cigarettes and Chocolate

รางวัล[แก้]

  • ค.ศ. 1984: รางวัล London Theatre Critics Circle สำหรับนักเขียนบทละครใหม่ผู้มีอนาคต
  • ค.ศ. 1986: รางวัล London Theatre Critics Circle สำหรับบทละครใหม่ดีเด่น “ทำในกรุงเทพ”
  • ค.ศ. 1988: รางวัล Giles Cooper สำหรับละครวิทยุ “บุหรี่และช็อกโกแลต”
  • ค.ศ. 1992: รางวัลบาฟต้า สำหรับบทละครดีเด่น “รักแท้, คลั่งรัก, รักลึก”
  • ค.ศ. 1997: รางวัลออสการ์ สำหรับผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่นประจำปีในเรื่อง “คนไข้ชาวอังกฤษ”
  • ค.ศ. 1997: รางวัลบาฟต้าสำหรับภาพยนตร์ดีเด่น “คนไข้ชาวอังกฤษ”
  • ค.ศ. 1997: รางวัล Broadcast Film Critics Association Awards สำหรับผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่นและผู้เขียนบทภาพยนตร์ดีเด่นประจำปีในเรื่อง “คนไข้ชาวอังกฤษ”
  • ค.ศ. 1997: รางวัล Directors Guild of America สำหรับผู้ประสพความสำเร็จดีเด่นในทางการสร้างภาพยนตร์ในเรื่อง “คนไข้ชาวอังกฤษ”
  • ค.ศ. 1997: รางวัลลูกโลกทองคำ สำหรับผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่นประจำปีในเรื่อง “คนไข้ชาวอังกฤษ”
  • ค.ศ. 1999: รางวัล National Board of Review สำหรับผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่นประจำปีในเรื่อง “มิสเตอร์ริพลีย์ผู้สามารถ”
  • ค.ศ. 2003: รางวัล National Board of Review สำหรับผู้เขียนบทภาพยนตร์จากนวนิยายดีเด่นประจำปีในเรื่อง “โคลด์เมาทเท็น”

อ้างอิง[แก้]

  1. "Anthony Minghella at Hollywood.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-03. สืบค้นเมื่อ 2013-01-03.
  2. Henderson, Mark (2006-09-06). "The science behind their mutual dislike". The Times Online. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18.
  3. Oscar-winner Minghella dies after cancer op
  4. "Anthony Minghella, Director, Dies at 54". New York Times. 18 March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-19. Anthony Minghella, a British filmmaker who won an Academy Award for his direction of “The English Patient,” died Tuesday morning in London. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]