แวนด้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แวนด้า
Vanda coerulea
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
อันดับ: หน่อไม้ฝรั่ง
วงศ์: กล้วยไม้
วงศ์ย่อย: Epidendroideae
เผ่า: Vandeae
เผ่าย่อย: Aeridinae
สกุล: แวนด้า
Gaud. ex Pfitzer
ชนิดต้นแบบ
Vanda tessellata
ชื่อพ้อง[1]
  • Ascocentrum Schltr.
  • Euanthe Schltr.
  • Finetia Schltr. 1918, illegitimate homonym, not Gagnep. 1917
  • Neofinetia Hu
  • Nipponorchis Masam. illegitimate
  • Eparmatostigma Garay
  • Trudelia Garay
  • × Trudelianda Garay
  • Christensonia Haager
  • Ascocentropsis Senghas & Schildh.
  • Gunnaria S.C.Chen ex Z.J.Liu & L.J.Chen

แวนด้า (อังกฤษ: Vanda; ย่อชื่อในพืชสวนทางการค้าเป็น V.,)[2] เป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) ซึ่งเป็นสกุลไม่ใหญ่นัก (ประมาณ 87 สปีชีส์)[3] แต่เป็นไม้ดอกสำคัญที่ใช้ในการจัดดอกไม้ กล้วยไม้สกุลนี้ได้รับการพัฒนามากที่สุดในกลุ่มกล้วยไม้ทั้งหมดในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีราคาแพงมากในการจัดสวนดอกไม้เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่มีความสวยงาม มีกลิ่นหอม ทนทาน และสีสันที่จัดจ้าน[4] การปลูกแวนด้าแพร่หลายทั่วเอเชียตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะนิวกินี รวมถึงยังมีบางสายพันธุ์ในรัฐควีนส์แลนด์ และบางเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก[1][5]

ชีววิทยา[แก้]

ชื่อ "แวนด้า" มีที่มาจากภาษาสันสกฤต (वन्दाका)[6] ที่เรียกแวนด้าสายพันธุ์ Vanda roxburghii (ชื่อพ้องกับ Vanda tessellata)[7][8]

แวนด้าส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย แต่บ้างบางพันธุ์ก็เป็นกล้วยไม้ขึ้นบนหิน หรือเป็นกล้วยไม้ที่ขึ้นบนดิน ที่กระจายอยู่ในอินเดีย เทือกเขาหิมาลัย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ทางใต้ของจีน และทางตอนเหนือของออสเตรเลีย

สกุลนี้เติบโตโดยอาศัยการแตกใบด้านข้าง และใบจะสูงไปเรื่อยๆ ตามหลักที่ยึดเอาไว้ ในบางสายพันธุ์ใบจะแบนๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วใบจะกว้าง ใบรีรูปไข่ ตรงกลางเป็นร่อง (strap-leaves) ในขณะที่กล้วยไม้สกุลอื่นมีใบกลม (ทรงกระบอก) ใบอวบน้ำเพื่อปรับตัวให้เก็บกักน้ำหากเข้าสู่ช่วงแล้งน้ำ ลำต้นของแวนด้ามีขนาดที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีบางสายพันธุ์ที่เป็นพันธุ์แคระซึ่งความยาวไม่กี่เมตร แวนด้าสามารถปลูกให้ต้นใหญ่ได้ในเรือนปลูกและในการเพาะเลี้ยงในเรือนปลูก และในสายพันธุ์ไว้อิงอาศัย จะสามารถแผ่ขยายลำต้นได้ใหญ่มากโดยอาศัยระบบรากอากาศซึ่งแผ่ไปทุกทิศทาง

ในช่อดอกจะมีดอกลักษณะแบนรวมกันหลายดอกแผ่ออกด้านข้างในหนึ่งช่อ ส่วนใหญ่มีสีเหลือง-น้ำตาล และมีจุดสีน้ำตาล แต่ก็มีสีขาว เขียว ส้ม แดง และสีไวน์แดงด้วย ที่ปากดอกมีเดือยเล็กๆ แวนด้าออกดอกได้บ่อยทุกๆ สองสามเดือน และดอกยังบานทนได้ถึงสองถึงสามสัปดาห์

กล้วยไม้แวนด้าจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธุ์ Vanda coerulea (ฟ้ามุ่ย) อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการเข้าถึงถิ่นที่อยู่จึงทำให้พบเห็นกันไม่บ่อยนัก อีกทั้งยังพบเห็นได้ไม่บ่อยนักในพื้นที่ป่าที่ได้รับการรบกวนที่ได้รับแสงแดดจัด มันมักจะถูกคุกคามและเสี่ยงจากการถูกทำลายถิ่นที่อยู่[9] มีการห้ามการค้าและการส่งออกกล้วยไม้แวนด้าป่าสีน้ำเงิน (สายพันธุ์Vanda coerulea) หรือฟ้ามุ่ย และแวนด้าป่าอื่นโดยชื่อของกล้วยไม้ต้องห้ามในการซื้อขายจะถูกขึ้นบัญชีในภาคผนวกที่สองของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

การเพาะเลี้ยง[แก้]

แวนด้าเป็นหนึ่งในห้าของสกุลกล้วยไม้ที่มีการปลูกในสวนกล้วยไม้มากที่สุด เพราะว่ามันมีดอกที่มีงดงามมากที่สุดในบรรดาพืชวงศ์กล้วยไม้ทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง] แวนด้ามีส่วนสนับสนุนอย่างมากในงานของนักผสมพันธุ์พืช ในการสร้างสรรค์ไม้ดอกเพื่อส่งตลาดไม้ตัดดอกแวนด้าสายพันธุ์Vanda coerulea(ฟ้ามุ่ย)เป็นหนึ่งในกล้วยไม้ไม่กี่ชนิดที่ให้ดอกสีน้ำเงิน(จริงๆแล้วเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน) ซึ่งได้สีที่น่าพึงพอใจมากในการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและการผสมข้ามสายพันธุ์

กล้วยไม้สีน้ำเงินมักจะหายากในกล้วยไม้ มีเพียงกล้วยไม้พันธุ์ Thelymitra crinita ในสายพันธุ์ terrestrial เท่านั้นจากออสเตรเลียเท่านั้น ที่ให้"สีน้ำเงิน" จริงๆในขณะที่พันธุ์ Aganisia cyanea สายพันธุ์ที่ขึ้นในที่ลุ่มทางตอนเหนือและตอนใต้ของทวีปอเมริกา เป็นพันธุ์ที่เพาะเลี้ยงยาก แต่ให้ดอกสีน้ำเงินเมทัลลิค ทั้งสองสายพันธุ์นี้เหมือนแวนด้ามาก ซึ่งกลีบดอกมีสีม่วงอมน้ำเงินแต้มอยู่ในกลีบดอกอีกด้วย

แวนด้าพันธุ์Vanda dearei เป็นต้นหลักที่ให้สีเหลืองในการผสมพันธุ์แวนด้า สายพันธุ์Vanda Miss Joaquim เป็นแวนด้าดิน ซึ่งผสมพันธุ์ตามธรรมชาติกับกล้วยไม้ดิน(ที่มีใบทรงกระบอก) และเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์

แวนด้าไม่สามารถปลูกโดยการขยายหัว(เทียม) แต่ปลูกด้วยการแยกหน่อ ใบทนแล้งได้ และบางพันธุ์มีใบกลม เป็นทรงกระบอก สายพันธุ์ส่วนใหญ่ของสกุลแวนด้าเกือบจะทุกสายพันธุ์ เป็นพืชอิงอาศัยที่มีขนาดใหญ่มากที่ถูกพบในถิ่นอาศัยที่ได้รับการรบกวน และต้องการแสงแดดมาก แวนด้าที่ปลูกจะมีระบบรากขนาดใหญ่ บางสายพันธุ์จะมีกิ่งแขนกลักษณะคล้ายเสาเพื่อมช้ในการยึดเกาะ และทำให้ต้นโตเป็นต้นใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

การปลูกนี้ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอในปิดปลิดใบแห้งออก สายพันธุ์ที่อาศัยกระเช้าเกาะจะเติบโตได้ดีที่สุด ในกระบะไม้ก้นโปร่งขนาดใหญ่ เพื่อให้ระบบรากอากาศขยายิได้อย่างอิสระ การรบกวนหรือตัดรากแวนด้าที่เจริญเติบโตเต็มที่ออกจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แวนด้าและสายพันธุ์เอื้องกุหลาบ อาจทำให้ออกดอกน้อย และอาจไม่ออกดอกในฤดูนั้นหรืออาจจะนานกว่านั้น การปลูกจึงต้องไม่รบกวนหรือทำลายระบบรากในขณะที่ต้นกำลังจะโตเต็มที่ แวนด้าพันธุ์ใบกลมจะเพาะพันธุ์ได้ง่ายมากๆ

การเพาะเลี้ยงแวนด้าให้รากของแวนด้าเปลือย และในพันธุ์ที่ยึดติดกับกระเช้าปลูกจำเป็นต้องรดน้ำต้นไม้ทุกวัน และให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์เนื่องจากแวนด้าต้องการปุ๋ยมาก (กินปุ๋ย)ในการปลูกแวนด้าในโรงเรือน แวนด้าสามารถเติบโตได้ภายนอกอาคารที่ให้ร่มเงาบ้าง เช่นในฮาวาย กุญแจสำคัญในการปลูกแวนด้าพันธุ์ที่ยึดกับกระเช้าปลูกให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องมีปัจจัยที่ดีในการเจริญเติบโต การปลูกที่มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมซึ่งไม่เอื้ออำนวยและระบบการให้น้ำที่ไม่ดี ส่งผลให้ใบล่วง ลำต้นแห้งลีบ ลำต้นหงิกงอ และลำต้นโทรมได้ แวนด้าพันธุ์ปลูกในกระเช้าปลูกจึงไม่ใช่กล้วยไม้ของผู้ที่เริ่มปลูกกล้วยไม้ ซึ่งมันต้องการการควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อบรรลุความสำเร็จในการเพาะเลี้ยง[10]

การจำแนกชั้น[แก้]

ในการศึกษาระดับโมเลกุลของสกุล แวนด้า ล่าสุด[11] มีการรวมสกุล Ascocentrum, Neofinetia และ Euanthe ในอดีตเข้ากับชื่อพ้อง แวนด้า ด้วย[12][13]

สายพันธุ์[แก้]

รายชื่อด้านล่างเป็นสายพันธุ์ แวนด้า ที่ได้รับการยอมรับจากรายการตรวจสอบโลกของตระกูลพืชที่เลือก (World Checklist of Selected Plant Families) ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019:[14]

Vanda ampullacea
Vanda Robert's Delight
Vanda tricolor
Vanda falcata
Vanda hindsii โดย Lewis Roberts
Vanda lamellata
Vanda garayi

ลูกผสมกล้วยไม้ป่า[แก้]

  • Vanda × boumaniae (V. insignis × V. limbata) (หมู่เกาะซุนดาน้อย)
  • Vanda × charlesworthii (V. bensonii × V. coerulea) (พม่า)
  • Vanda × confusa (V. coerulescens × V. lilacina) (พม่า)
  • Vanda × hebraica (V. denisoniana × V. brunnea) (พม่า)[15]

ลูกผสมข้ามสายพันธุ์[แก้]

Vanda Pachara Delight
Vanda Robert's Delight 'Crownfox Magic'
Vanda Sansai Blue

นี่คือรายชื่อลูกผสมข้ามสายพันธุ์ ถึงแม้ว่ามีหลายสายพันธุ์ที่เป็นโมฆะเพราะมีการเปลี่ยนแปลงเส้นอนุกรมวิธาน เช่น Ascocenda (Ascocentrum x Vanda) กับ Vandofinetia (Vanda x Neofinetia) ไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป เพราะทาง RHS ลดสถานะทั้ง Ascocentrum และ Neofinetia ให้เป็นชื่อพ้องของแวนด้า:

  • Aeridovanda (Aerides × Vanda)
  • Aeridovanisia (Aerides × Luisia × Vanda)
  • Alphonsoara (Arachnis × Ascocentrum × Vanda × Vandopsis)
  • Andrewara (Arachnis × Renanthera × Trichoglottis × Vanda)
  • Aranda (Arachnis × Vanda)
  • Ascocenda (Ascocentrum × Vanda)
  • Ascovandoritis (Ascocentrum × Doritis × Vanda)
  • Bokchoonara (Arachnis × Ascocentrum × Phalaenopsis × Vanda)
  • Bovornara (Arachnis × Ascocentrum × Rhynchostylis × Vanda)
  • Burkillara (Aerides × Arachnis × Vanda)
  • Charlieara (Rhynchostylis × Vanda × Vandopsis)
  • Christieara (Aerides × Ascocentrum × Vanda)
  • Darwinara (Ascocentrum × Neofinetia × Rhynchostylis × Vanda)
  • Debruyneara (Ascocentrum × Luisia × Vanda)
  • Devereuxara (Ascocentrum × Phalaenopsis × Vanda)
  • Eastonara (Ascocentrum × Gastrochilus × Vanda)
  • Fujiora (Ascocentrum × Trichoglottis × Vanda)
  • Goffara (Luisia × Rhynchostylis × Vanda)
  • Hawaiiara (Renanthera × Vanda × Vandopsis)
  • Hagerara (Doritis × Phalaenopsis × Vanda)
  • Himoriara (Ascocentrum × Phalaenopsis × Rhynchostylis × Vanda)
  • Holttumara (Arachnis × Renanthera × Vanda)
  • Isaoara (Aerides × Ascocentrum × Phalaenopsis × Vanda)
  • Joannara (Renanthera × Rhynchostylis × Vanda)
  • Kagawara (Ascocentrum × Renanthera × Vanda)
  • Knappara (Ascocentrum × Rhynchostylis × Vanda × Vandopsis)
  • Knudsonara (Ascocentrum × Neofinetia × Renanthera × Rhynchostylis × Vanda)
  • Leeara (Arachnis × Vanda × Vandopsis)
  • Luisanda (Luisia × Vanda)
  • Luivanetia (Luisia × Neofinetia × Vanda)
  • Lewisara (Aerides × Arachnis × Ascocentrum × Vanda)
  • Maccoyara (Aerides × Vanda × Vandopsis)
  • Macekara (Arachnis × Phalaenopsis × Renanthera × Vanda × Vandopsis)
  • Micholitzara (Aerides × Ascocentrum × Neofinetia × Vanda)
  • Moirara (Phalaenopsis × Renanthera × Vanda)
  • Mokara (Arachnis × Ascocentrum × Vanda)
  • Nakamotoara (Ascocentrum × Neofinetia × Vanda)
  • Nobleara (Aerides × Renanthera × Vanda)
  • Okaara (Ascocentrum × Renanthera × Rhynchostylis × Vanda)
  • Onoara (Ascocentrum × Renanthera × Vanda × Vandopsis)
  • Opsisanda (Vanda × Vandopsis)
  • Pageara (Ascocentrum × Luisia × Rhynchostylis × Vanda)
  • Pantapaara (Ascoglossum × Renanthera × Vanda)
  • Paulara (Ascocentrum × Doritis × Phalaenopsis × Renanthera × Vanda)
  • Pehara (Aerides × Arachnis × Vanda × Vandopsis)
  • Pereiraara (Aerides × Rhynchostylis × Vanda)
  • Phalaerianda (Aerides × Phalaenopsis × Vanda)
  • Raganara (Renanthera × Trichoglottis × Vanda)
  • Ramasamyara (Arachnis × Rhynchostylis × Vanda)
  • Renafinanda (Neofinetia × Renanthera × Vanda)
  • Renanda (Arachnis × Renanthera × Vanda)
  • Renantanda (Renanthera × Vanda)
  • Rhynchovanda (Rhynchostylis × Vanda)
  • Ridleyare (Arachnis × Trichoglottis × Vanda)
  • Robinaria (Aerides × Ascocentrum × Renanthera × Vanda)
  • Ronnyara (Aerides × Ascocentrum × Rhynchostylis × Vanda)
  • Sanjumeara (Aerides × Neofinetia × Rhynchostylis × Vanda)
  • Sarcovanda (Sarcochilus × Vanda)
  • Shigeuraara (Ascocentrum × Ascoglossum × Renanthera × Vanda)
  • Stamariaara (Ascocentrum × Phalaenopsis × Renanthera × Vanda)
  • Sutingara (Arachnis × Ascocentrum × Phalaenopsis × Vanda × Vandopsis)
  • Teohara (Arachnis × Renanthera × Vanda × Vandopsis)
  • Trevorara (Arachnis × Phalaenopsis × Vanda)
  • Trichovanda (Trichoglottis × Vanda)
  • Vascostylis (Ascocentrum × Rhynchostylis × Vanda)
  • Vandachnis (Arachnis × Vandopsis)
  • Vancampe (Acampe × Vanda)
  • Vandachostylis (Rhynchostylis × Vanda)
  • Vandaenopsis (Phalaenopsis × Vanda)
  • Vandaeranthes (Aeranthes × Vanda)
  • Vandewegheara (Ascocentrum × Doritis × Phalaenopsis × Vanda)
  • Vandofinetia (Neofinetia × Vanda)
  • Vandofinides (Aerides × Neofinetia × Vanda)
  • Vandoritis (Doritis × Vanda)
  • Vanglossum (Ascoglossum × Vanda)
  • Wilkinsara (Ascocentrum × Vanda × Vandopsis)
  • Yapara (Phalaenopsis × Rhynchostylis × Vanda)
  • Yusofara (Arachnis × Ascocentrum × Renanthera × Vanda)
  • Yonezawaara (Neofinetia × Rhynchostylis × Vanda)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Kew World Checklist of Selected Plant Families
  2. "Alphabetical list of standard abbreviations of all generic names occurring in current use in orchid hybrid registration as at 31st December 2007" (PDF). Royal Horticultural Society.
  3. Motes, M. R. (2021). The Natural Genus Vanda. Redland Press.
  4. The Orchids, Natural History and Classification, Robert L. Dressler. ISBN 0-674-87526-5
  5. Flora of China v 25 p 471, 万代兰属 wan dai lan shu, Vanda Jones ex R. Brown, Bot. Reg. 6: ad t. 506. 1820.
  6. vandAkA Sanskrit English Dictionary, University of Koeln, Germany
  7. Jones D.L.; และคณะ (2006). "Vanda". Australian Tropical Rainforest Orchids. Centre for Australian National Biodiversity Research (CANBR), Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation (CSIRO), Australian Government. สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.
  8. Garay, L. (1972), On the systematics of the monopodial orchids, Bot. Mus. Leafl. Harvard University, 23(4): 149-212
  9. The Orchids, Natural History and Classification, Robert L. Dressler. ISBN 0-674-87526-5
  10. Illustrated Encyclopedia of Orchids ISBN 0-88192-267-6
  11. Lim, S. (1999). "RAPD Analysis of Some Species in the GenusVanda(Orchidaceae)". Annals of Botany. 83 (2): 193–196. doi:10.1006/anbo.1998.0801.
  12. "Vanda sanderiana | International Plant Names Index".
  13. "World Checklist of Selected Plant Families: Royal Botanic Gardens, Kew".
  14. World Checklist of Selected Plant Families : Vanda
  15. Motes, M., Gardiner, L. M., & Roberts, D. L. (2016). The identity of spotted Vanda denisoniana. Orchid Review, 124(1316), 228-233.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Grove, D. L. 1995. Vandas and Ascocendas. Timber Press, Portland, Oregon. 241 pp.
  • Motes, Martin R., and Alan L. Hoffman. 1997 Vandas, Their botany, history and culture. ISBN 0-88192-376-1

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]