ข้ามไปเนื้อหา

เทือกเขาหิมาลัย

พิกัด: 27°59′N 86°55′E / 27.983°N 86.917°E / 27.983; 86.917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Himalaya)
หิมาลัย
หิมาลยฺ
ภาพมุมกว้างของภูเขาเอเวอเรสต์และภูมิทัศน์โดยรอบ
จุดสูงสุด
ยอดภูเขาเอเวอเรสต์ (เนปาลกับทิเบต)
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
8,848.86 เมตร (29,032 ฟุต)
พิกัด27°59′N 86°55′E / 27.983°N 86.917°E / 27.983; 86.917
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว2,400 กม. (1,491 ไมล์)
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
แผนที่ช่วงหลักของหิมาลัย
ประเทศภูฏาน, จีน, อินเดีย, เนปาล, ปากีสถาน และ บางส่วนของอัฟกานิสถาน
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
การก่อเทือกเขาอัลไพน์
อายุหินCretaceous-ถึง-Cenozoic
ประเภทหินเมทามอร์ฟิก, เซดิเมนทารี

หิมาลัย (हिमालय, จากภาษาสันสกฤต: หิมะ สันสกฤต: हिम, อักษรโรมัน: hima กับ อาลยฺ สันสกฤต: आलय, อักษรโรมัน: ālaya) เป็นเทือกเขาในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกซึ่งแยกอนุทวีปอินเดียออกจากที่ราบสูงทิเบต ในเทือกเขาประกอบด้วยยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกหลายจุด ในจำนวนนี้มีทั้งยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก ภูเขาเอเวอเรสต์ ที่พรมแดนเนปาลกับทิเบต และมีภูเขาที่สูงที่สุดในโลกกว่า 50 ภูเขา ความสูงเกิน 7,200 m (23,600 ft) จากระดับน้ำทะเล ในจำนวนนี้มีภูเขาสิบลูกจากภูเขาสูงเกิน 8,000 เมตรทั่วโลกจำนวนสิบสี่ลูก ในขณะที่ยอดเขาสูงสุดนอกเอเชีย (เขาอากองกากัวในเทือกเขาแอนดีส) สูงเพียง 6,961 m (22,838 ft)[1]

เทิอกเขาหิมาลัยเกิดจากการมุดของแผ่นเปลือกโลกอินเดียลงใต้แผ่นยูเรเชีย เทือกเขากินพื้นที่จากตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือ ไปทางตะวันออกถึงตะวันออกเฉียงเหนือ ความยาวกว่า 2,400 km (1,500 mi)[2]

มีผู้อยู่อาศัยบนหิมาลัยรวม 52.7 ล้านคน[3] ในพื้นที่ห้าประเทศ: ภูฏาน, จีน, อินเดีย, เนปาล และ ปากีสถาน เทือกเขาฮินดูกูชในอัฟกานิสถาน[4] และ Hkakabo Razi ในพม่ากับบังกลาเทศ มักไม่ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย แต่จะถูกนับรวมในระบบแม่น้ำฮินดูกูชหิมาลายัน[5][ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Yang, Qinye; Zheng, Du (2004). Himalayan Mountain System. ISBN 978-7-5085-0665-4. สืบค้นเมื่อ 30 July 2016.
  2. Wadia, D. N. (1931). "The syntaxis of the northwest Himalaya: its rocks, tectonics and orogeny". Record Geol. Survey of India. 65 (2): 189–220.
  3. Apollo, M. (2017). "Chapter 9: The population of Himalayan regions – by the numbers: Past, present and future". ใน Efe, R.; Öztürk, M. (บ.ก.). Contemporary Studies in Environment and Tourism. Cambridge Scholars Publishing. pp. 143–159.
  4. "Is Hindu Kush a part of the Himalayas?". study.com.
  5. "Regional Information".