แรงงานรับจ้างและทุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

"แรงงานรับจ้างและทุน" (อังกฤษ: Wage Labour and Capital; เยอรมัน: Lohnarbeit und Kapital) เป็นปาฐกถาวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง (Critique of political economy) ใน ค.ศ. 1847 โดยคาร์ล มาคส์ ซึ่งถูกแผยแพร่เป็นครั้งแรกเป็นบทความใน หนังสือพิมพ์น็อยเออไรนิชเชอ (Neue Rheinische Zeitung) ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1849[1] งานเขียนชิ้นนี้ถูกมองว่าเป็นงานตั้งต้นก่อนศาสตรนิพนธ์ที่ทรงอิทธิพลของมาคส์ว่าด้วย ทุน[2] และมักถูกจับคู่กับคำปราศรัยใน ค.ศ. 1865 ของมาคส์ ค่าจ้าง ราคา และกำไร (Lohn, Preis und Profit) ต่อมาฉบับแปลภาษารัสเซียถูกตีพิมพ์เป็นหนังสือใน ค.ศ. 1883 โดยมีข้อความตอนหนึ่งจาก ทุน เล่ม 1 เรื่อง แนวโน้มทางประวัติศาสตร์ของการสะสมแบบทุนนิยม อยู่ในภาคผนวก[3] ใน ค.ศ. 1885 ฉบับภาษาอังกฤษถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเป็นจุลสาร[4] จุลสารที่อิงจากบทความหนังสือพิมพ์เหล่านั้นถูกตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1885 ที่ฮ็อททิงเงิน-ซือริช (Hottingen (Zürich)) โดยที่มาคส์ไม่รู้แต่มีคำนำสั้น ๆ จากเอ็งเงิลส์[1] ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ ได้ตรวจชำระฉบับภาษาเยอรมันใน ค.ศ. 1891 และเผยแพร่ลงในหนังสือพิมพ์ฟอร์แวทส์ (Vorwärts) ภายหลังจากที่กฎหมายต่อต้านสังคมนิยม (Anti-Socialist Laws) ออกมาแล้วหนึ่งปีก่อนหน้านั้นในประเทศเยอรมนี[5] ใน ค.ศ. 1893 ฉบับแปลภาษาอังกฤษที่ปรับปรุงจากฉบับภาษาเยอรมัน ค.ศ. 1891 ถูกตีพิมพ์ขึ้นที่ลอนดอน[6]

คำอธิบาย[แก้]

ปาฐกถาและบทความชิ้นนี้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจภายใต้ระบอบทุนนิยมและพื้นฐานเชิงวัตถุสภาพ (historical materialism) ของการต่อสู้ทางชนชั้นออกมาในแบบที่ผู้คนเข้าถึงได้ โดยงานเขียนเสนอว่าชนชั้นกระฎุมพีปกครองสังคมทุนนิยมด้วยความเป็นทาสค่าจ้าง (wage slavery) ของคนงาน และอธิบายความยากจนที่ชนชั้นแรงงานประสบพบเจอผ่านทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน[7] งานเขียนแสดงให้เห็นว่ามาคส์ได้พัฒนาทฤษฎีของเขาไปเท่าใดแล้วในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1840 และเป็นรูปแบบเชิงทฤษฎีเริ่มแรกของลัทธิมากซ์ มันเสนอว่า แรงงานที่แปลกแยก (Marx's theory of alienation) เป็นเงื่อนไขสำหรับการสะสมแรงงานเข้าไปในทุนผ่านวิถีการผลิตแบบทุนนิยม (Capitalist mode of production (Marxist theory)) มาคส์เสนอว่าระบอบทุนนิยมเป็นระยะเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ที่ในท้ายที่สุดจะนำไปสู่การปฏิวัติของชนกรรมาชีพ (proletarian revolution)[8]

ประเด็กหลักที่กล่าวถึงในงานเขียนประกอบด้วยพลังแรงงาน (labour power) แรงงาน และการที่พลังแรงงานกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) ทฤษฎีมูลค่าแรงงานถูกนำเสนอซึ่งแบ่งแยกระหว่างแรงงานกับพลังแรงงาน งานเขียนให้นิยามกับคำว่าโภคภัณฑ์ สำรวจว่าหลักการทางเศรษฐศาสตร์เรื่องอุปสงค์และอุปทานส่งผลต่อราคาของสินค้าโภคภัณฑ์บางชนิดอย่างไร และสำรวจว่าทุนกับทุนนิยมไม่มีหน้าที่อื่นใดนอกจากการเพิ่มปริมาณของตนอย่างไร

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Marx, Karl; Engels, Friedrich (1968). "Introduction to Wage Labour and Capital by Friedrich Engels". Marx Engels: Selected Works. New York: International Publishers. p. 64.
  2. Marx, Karl; Engels, Friedrich (1978). Tucker, Robert C. (บ.ก.). The Marx-Engels Reader (2nd ed.). London: W. W. Norton & Company. p. 203. ISBN 978-0-393-09040-6. It may be said that what Marx produced in the lectures of late 1847 was the future argument of Capital in embryo.
  3. Маркса, Карла (1883). Наемный труд и капитал. ЖЕНЕВА: Вольная Русская Типография.
  4. Marx, Karl (1885). Wage-Labour and Capital. แปลโดย Joynes, J. L. London: The Modern Press.
  5. Marx, Karl (1891). Lohnarbeit und Kapital. Berlin: Verlag der Expedition des Vorwärts.
  6. Marx, Karl (1893). Wage-Labour and Capital. แปลโดย Joynes, J. L. (New ed.). London: Twentieth Century Press.
  7. Marx, Karl; Engels, Friedrich (1968). "Notes". Marx Engels: Selected Works. New York: International Publishers. p. 541.
  8. Pospelova, Velta (1977). "Preface". ใน Golman, Lev (บ.ก.). Karl Marx Frederick Engels: Collected Works. Vol. 9. New York: International Publishers. p. XVIII-XIX.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]