ข้ามไปเนื้อหา

แม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัวถา มหายศปัญญา
แม่เจ้า
แม่เจ้าบัวถาเมื่อ พ.ศ. 2477 ขณะอายุ 96 ปี[1]
ชายาเจ้าเมืองแพร่
ก่อนหน้าแม่เจ้าแก้วไหลมา
ถัดไปแม่เจ้าบัวไหล
เกิดพ.ศ. 2381
เมืองแพร่ อาณาจักรรัตนโกสินทร์
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 2478 (ราว 97 ปี)
จังหวัดแพร่ อาณาจักรสยาม
พระสวามีน้อยเทพวงษ์
พระบิดาพระยาบุรีรัตน (หนานปัญญา)
พระมารดาแม่เจ้าเฮือนแก้ว

แม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา (พ.ศ. 2381–2478) เป็นอดีตชายาของเจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองเมืองแพร่องค์สุดท้าย

ประวัติ

[แก้]

แม่เจ้าบัวถา เกิดในวันศุกร์ ปีฉลู[1] เป็นธิดาคนใหญ่ของพระยาบุรีรัตน (หนานปัญญา)[2] หรือเจ้าบุรีปัญญา (เฒ่า) กับแม่เจ้าเฮือนแก้ว ภรรยาเอก มีเจ้าน้องร่วมบิดามารดาคือ พระยาบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา) และมีเจ้าน้องต่างมารดาอีก 5 คน[3] โดยแม่เจ้าเฮือนแก้ว มารดาของแม่เจ้าบัวถา เป็นเจ้าน้องของพระยาพิมพิสารราชา หรือเจ้าหลวงขาเค และทั้งสองสืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองเมืองแพร่จากฝ่ายมารดา คือ เจ้าปิ่นแก้ว[4]

แม่เจ้าบัวถาเข้าเป็นชายาคนแรกของเจ้าพิริยเทพวงษ์[3][5][6] ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เพราะสามีเป็นบุตรของพระยาพิมพิสาร ซึ่งเป็นศักดิ์เป็นลุง[4] แต่ทั้งสองไม่มีบุตรด้วยกัน และตัดสินใจแยกทางกันในเวลาต่อมา ภายหลังแม่เจ้าบัวถาได้รับอุปการะเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี บุตรสาวของพระยาบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยหนู มหายศปัญญา) กับแม่เจ้าคำ เป็นบุตรบุญธรรม[7] พร้อมกับสร้างคุ้มวงศ์บุรีเมื่อ พ.ศ. 2440 ไว้เป็นเรือนหอสำหรับเจ้าสุนันตากับหลวงพงษ์พิบูลย์ (เจ้าพรหม วงศ์พระถาง) ถือเป็นอาคารที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมยุควิกตอเรียหลังแรกในจังหวัดแพร่[1]

แม่เจ้าบัวถาถึงแก่กรรมภายในคุ้มวงศ์บุรี[1] เมื่อ พ.ศ. 2478 สิริอายุได้ 97 ปี

ความสนใจ

[แก้]

แม่เจ้าบัวถาชอบสีฟ้าเพราะท่านเกิดในวันศุกร์ ภายในห้องส่วนตัวของแม่เจ้าในคุ้มวงศ์บุรีจึงตกแต่งด้วยสีฟ้าเพียงห้องเดียว[1] และด้วยความที่แม่เจ้าเกิดปีฉลู เครื่องเงินภายในคุ้มวงศ์บุรีจะมีการสลักลายเป็นรูปวัวตามปีเกิดของท่าน[1]

แม่เจ้าบัวถาสนใจการอุปถัมภ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมในท้องถิ่น มีจิตใจโอบอ้อมอารีแก่คนทุกชนชั้น โดยเฉพาะชนชั้นทาส[1] ท่านเคยให้การอุปถัมภ์วัดศรีชุมในจังหวัดแพร่[8] แม่เจ้ารับช่างเครื่องเงินจากชุมชนพระนอนจำนวนสองคนมาอุปถัมภ์เป็นช่างเงินประจำคุ้ม[1] นอกจากนี้แม่เจ้ายังเลิกทาสสนองพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2448 ด้วยการมอบทรัพย์สินและที่ดินแก่ทาสไว้ตั้งตัวทุกคน มีทาสบางคนที่ยังสมัครใจอยู่เป็นบริวารของคุ้มวงศ์บุรีต่อไป และมีลูกหลานที่สนิทสนมกับทายาทคุ้มวงศ์บุรีสืบมาถึงปัจจุบัน[1]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 โลจน์ นันทิวัชรินทร์ (22 ตุลาคม 2563). "คุ้มวงศ์บุรี เรือนหอไม้สีชมพูอายุ 123 ปีของลูกหลานชายาเจ้าหลวงแพร่องค์สุดท้าย". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 "นามสกุลพระราชทาน". พระราชวังพญาไท. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 53-54
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 16
  5. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (15 ธันวาคม 2560). "จากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสู่ประวัติศาสตร์แบบท้องถิ่นนิยม". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "กบฏเงี้ยว พ.ศ.2445 - การต่อต้านสยามของประเทศราชล้านนา". Huexonline. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย, หน้า 33, 55, 58
  8. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (26 พฤษภาคม 2559). "วัดและชุมชนในเวียงแพร่: ความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชาวเมืองแบบโบราณ". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • บัวผิว วงศ์พระถาง และคณะ. เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย. แพร่ : แพร่ไทยอุสาหการพิมพ์, 2536. 151 หน้า. ISBN 974-89141-2-7